Please wait...

<< Back

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม 2537


(น.94) รูป 103 คุยกับศาสตราจารย์เฉินซู่เผิงและคณะ


รูป 104 คุยกับศาสตราจารย์เฉินซู่เผิงและคณะ

(น.94) กลับมารับประทานอาหารกลางวันที่เตี้ยวหยูว์ไถ บ่ายสองโมง ศาสตราจารย์เฉินซู่เผิงมากับศาสตราจารย์สูว์กว้านหัว ผู้อำนวยการสถาบันรีโมทเซนซิ่ง แทนศาสตราจารย์เฉินซึ่งมาเป็น


(น.95) รูป 105 อาจารย์เฉินให้หนังสือ

(น.95) ผู้อำนวยการกิตติมศักดิ์ และศาสตราจารย์โจวเฉิงหู่ รองผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการสารสนเทศทางภูมิ- ศาสตร์ Deputy Director of State Key Lab of GIS เรียกเป็นทางการว่า State Key Lab of Resources & Environment Information System หรือ LREIS ทั้งสามท่านเป็นสมาชิกของ Academy of Sciences (Academia Sinica) น่าเสียดายที่ก่อนมาข้าพเจ้ามีงานยุ่งจึงไม่ได้ติดต่อนัดแนะกันให้ดี จึงไม่ได้ไปเยี่ยมสถาบัน ตัวท่านศาส- ตราจารย์ก็ไม่ค่อยจะว่าง เดือนสิงหาคม-กันยายนที่จะถึงนี้ จะจัดการประชุมด้าน Space Application สำหรับ


(น.96) รูป 106 อาจารย์เฉินให้หนังสือ

(น.96) ประเทศในเขตเอเชียแปซิฟิกประมาณ 50 ประเทศ จะขอเชิญรัฐบาลไทยให้ส่งคณะผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วย และว่าอยากเชิญข้าพเจ้าเข้าร่วมด้วย ข้าพเจ้าไม่ได้รับปากทั้งๆที่อยากร่วม ศาสตราจารย์เฉินได้สรุปงานของสถาบันว่า

(น.97)
1. เฝ้าระวังภัยธรรมชาติ (Natural Disaster Monitoring) เช่น ความแห้งแล้ง ดินถูกชะกัดกร่อน (Soil Erosion) ป่าไม้ถูกตัด (Deforestation)
2. พยากรณ์ผลผลิตพืช (Forecasting of Crop Production) พืชที่ศึกษามีข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวเจ้า ฝ้าย ขณะนี้สถานการณ์เศรษฐกิจและสังคมของจีนมีความเปลี่ยนแปลงไปเป็นระบบเศรษฐกิจ การตลาด มีการผลิตเพื่อส่งออกมากขึ้น จำเป็นต้องทราบผลแน่นอนขึ้น ต้องประมาณผลผลิตด้วยการใช้ Remote Sensing และ GIS
3. การวางผังเมือง (Urban Planning) เกิดจากการที่ปัจจุบันคนเข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่ และชนบทเองก็กลายเป็นเมือง (Urbanization)
4. การศึกษาบริเวณฝั่งทะเล ซึ่งเศรษฐกิจเติบโตรวดเร็วมาก ต้องศึกษาด้านระบบเทคโนโลยี รวมทั้งเรื่องภัยธรรมชาติ เช่น ไต้ฝุ่น พายุ
5. การเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อม ในเขตแห้งแล้ง (arid) และกึ่งแห้งแล้ง (semi-arid) ทางตะวันตก การเกิดพายุทรายในมณฑลกานซู ข้าพเจ้าเล่าว่าจะไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ท่านก็บอกว่าที่ฉางชุนมี Remote Sensing Experimental Station อยู่ใต้ China Academy of Sciences เช่นเดียวกัน


(น.98) รูป 107 ไปร้านแมคโดแนล ปักกิ่ง

(น.98) สถานีทดลองนี้มีชื่อว่า จิ้งเยว่ถาน ศึกษาเรื่องการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ใช้เครื่อง Radiometer วัด ติดตามผลผลิตป่าไม้ มีสถาบันภูมิศาสตร์ (Institute of Geography) ทำโมเดลทางคณิตศาสตร์เรื่องผลผลิตทางการเกษตร เน้นหนักเรื่องข้าวโพด (ข้าวเจ้าทำที่อู่ฮั่นและนานกิง ข้าวสาลีทำที่ปักกิ่ง) ศาสตราจารย์วังอันฝูเป็นผู้อำนวยการโครงการ มีคุณหลิวซินถู ผู้อำนวยการ


(น.99) รูป 108 หน้าร้านแมคโดแนล

(น.99) สถาบันศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์ เช่น กล้องที่ใช้กับเครื่องบิน ถ่ายภาพ Scanner ใช้ visible band เครื่อง Spectrometer เป็นต้น สถาบัน Remote Sensing มีโครงการหลายอย่าง เช่น การศึกษาดินแดนซินเกียง ค้นหาแหล่งเหมืองทอง และแหล่งปิโตรเลียม ปัญหาการวางท่อ (pipeline) ปัญหาด้านการคมนาคม การวางท่อทำยาก เพราะจากแหล่งในซินเกียงไปเมืองหลานโจวระยะทางไกลมาก ด้านการหาแหล่งน้ำใต้ดิน ถึงแม้ซินเกียงจะมี

(น.100) หิมะและธารน้ำแข็ง แต่ก็ยังถือว่ามีแหล่งน้ำจำกัด เขตตะวันออกเฉียงเหนือที่ข้าพเจ้าจะไปนั้นมีน้ำพอ มีโครงการจะนำน้ำแยงซีเกียงจากทางใต้ไปใช้ในปักกิ่ง ขณะนี้กำลังศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อม ศาสตราจารย์เฉินเองก็มีประชุมโน่นนี่แยะ ตอนนี้งาน GIS ในจีนก็มีมาก เพราะงานพัฒนาต่างๆ จะต้องทำให้เป็นระบบ ให้กระทรวงต่างๆ ที่ใช้ฐานข้อมูลต่างๆ กัน (Different Database in Different Ministries) มาใช้ข้อมูลร่วมกันได้ การทำแผนที่ภูมิประเทศเกี่ยวกับข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม การพัฒนา software ใช้กับมินิคอมพิวเตอร์ ส่งลูกศิษย์ไปเรียน AIT คุยกันได้แค่นี้ มีคนมาพยักหน้าอยู่หน้าประตูว่าหมดเวลาแล้ว ศาสตราจารย์ทั้งสาม ให้หนังสือข้าพเจ้า


(น.100) รูป 109 เครื่องทอดมันทอด


(น.101) รูป 110 เลือกรับประทานตามรายการ

(น.101) เยอะแยะไปหมด มีทั้ง Proceedings การประชุม หนังสือแผนที่ บทความ พจนานุกรม ให้แผนที่จีนทำ จากภาพดาวเทียมเหมือนที่เคยให้ข้าพเจ้า 2 ปีมาแล้ว แต่โตกว่า ข้าพเจ้าจะเก็บของฝากเขากลับกรุงเทพฯ ก็เลยขอกระเป๋าตราสถาบันที่ใส่หนังสือมาไปด้วย (สวยดี) เดินทางผ่านย่านการค้า สถานีรถไฟที่จะสร้างใหม่อยู่ใกล้ๆเทียนอันเหมิน ไปถึงร้านแมคโดแนล ผู้จัดการมาต้อนรับ


(น.102) รูป 111 เลือกรับประทานตามรายการ

Next >>