Please wait...

พระราชนิพนธ์จีนศึกษา

เกล็ดหิมะในสายหมอก

พิมพ์ครั้งแรก: พ.ศ. 2537

       ที่ทรงบันทึกไว้เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 4-17 มกราคม พุทธศักราช 2537 ซึ่งในพระราชนิพนธ์กล่าวนำ ได้ทรงเล่าไว้ว่า “ถึงแม้ข้าพเจ้าจะเคยเดินทางไปสาธารณรัฐประชาชนจีนหลายครั้ง แต่ครั้งที่ถือว่าเป็นการเดินทางเพื่อประโยชน์ในด้านจีนศึกษาอย่างแท้จริงนั้น ครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งที่สาม กล่าวคือ ในครั้งแรกเดินทางเพื่อทำความรู้จักกับประเทศจีนโดยรวมในพ.ศ. 2524 ครั้งที่สอง พ.ศ.2533เพื่อศึกษาภาคตะวันตกของจีน หรือที่รู้จักกันว่าเส้นทางแพรไหมในสมัยโบราณ ครั้งที่สามคือครั้งนี้ ตั้งใจไปศึกษาเรื่องภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีนคือ มณฑลเหลียวหนิง จี๋หลิน และเฮยหลงเจียง ซึ่งเป็นดินแดนถิ่นกำเนิดของพวกแมนจู ภาษาจีนเรียกว่าพวกหม่านโจว ต่อมาได้รวมตัวกันตั้งราชวงศ์ชิง เข้าบุกปักกิ่งและใช้เป็นราชธานีต่อมาจนสิ้นราชวงศ์ ดินแดนตะวันออกเฉียงเหนือยังเป็นดินแดนสำคัญในประวัติการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน เกล็ดหิมะในสายหมอก จัดพิมพ์เป็นชุด ชุดหนึ่งมี 5 เล่ม ได้แก่ เล่ม 1 ปักกิ่ง เล่ม 2 เหลียวหนิง เล่ม 3 จี๋หลิน เล่ม 4 เฮยหลงเจียง เล่ม 5 ภาคผนวก

ใต้เมฆที่เมฆใต้

พิมพ์ครั้งแรก: พ.ศ. 2538

      “ใต้เมฆที่เมฆใต้”พระราชนิพนธ์ลำดับที่ 31 ในชุดเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการบันทึกการเสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 6 มีนาคม 2538 ในครั้งนี้เสด็จพระราชดำเนินเยือนมณฑลยูนนาน "ยูนนาน" มีความหมายว่า "เมฆใต้" มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติอาศัยอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เช่น ชนชาติไป๋ต้าหลี่ ชนชาติไต่ ฯลฯ ได้ทอดพระเนตรสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ และเสด็จไปทรงเยี่ยมสถาบันทางวิชาการที่น่าสนใจอื่นๆอีกด้วย

เย็นสบายชายน้ำ

พิมพ์ครั้งแรก: พ.ศ. 2540

      พระราชนิพนธ์ลำดับที่ 38 ในชุดเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ ทรงบันทึกในคราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 14-27 เมษายน 2539 ซึ่งเป็นการเดินทางล่องแม่น้ำแยงซีหรือฉางเจียง ในพระราชนิพนธ์ “ความนำ ทรงกล่าวถึงการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ว่า "…หลายปีมาแล้วข้าพเจ้าได้ยินว่าจะมีการสร้างเขื่อนใหญ่ที่สุดในโลกกั้นแม่น้ำฉางเจียง ถ้าโครงการสำเร็จแล้วน้ำจะท่วมพื้นที่กว้างใหญ่ เมืองหรือสถานที่น่าสนใจหลายแห่งจะถูกน้ำท่วมหมด ถ้าอยากจะดูก็ต้องรีบดูในปีสองปีนี้" โครงการสร้างเขื่อนซานเสีย ซึ่งข้าพเจ้าลองแปลเป็นไทยว่า โตรกเขาทั้งสามนี้ เป็นกรณีที่มีการโต้แย้งกันมากทั่วโลกว่า ยังประโยชน์มหาศาลหรือก่อให้เกิดผลเสีย.." ข้าพเจ้าไม่มีความรู้พอที่จะตัดสินว่าสุดท้ายควรทำหรือไม่ แต่ก็จะบันทึกความคิดต่างๆ ที่จะได้ยินได้ฟังต่อไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หวังว่าข้อมูลที่ข้าพเจ้าและคณะบันทึกในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์บ้าง…"

คืนถิ่นจีนใหญ่

พิมพ์ครั้งแรก: พ.ศ. 2541

      พระราชนิพนธ์ลำดับที่ 41 ในชุดเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ และเป็นครั้งที่ 8 ของการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ทรงบันทึกไว้เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 25 มิถุนายน – 4 กรกฎาคม 2540 เป็นคราวที่เสด็จฯ ไปทรงร่วมพิธีส่งมอบฮ่องกงคืนแก่จีน เมื่อวันที่ กรกฎาคม 2540 อันถือเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของโลก นอกจากนี้ยังเสด็จฯ เยือนสถานที่สำคัญต่างๆ ในมณฑลกวางตุ้ง ดังความในพระราชนิพนธ์ "คำนำ" ว่า "ข้าพเจ้าถือโอกาสที่จะเดินทางไปฮ่องกงครั้งนี้ไปมณฑลกวางตุ้งด้วย เพื่อจะได้รู้จักเมืองซัวเถา เมืองแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นแผ่นดินบรรพบุรุษของคน ไทยที่มีเชื้อสายจีนจำนวนมาก ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 8 แล้วที่ข้าพเจ้าไปเมืองจีน แต่ก็ไม่ค่อยจะได้ไปซ้ำที่ ที่ซัวเถา แต้จิ๋วนี้ยังไม่เคยไปเลย แถมหาหนังสืออ่านก็ยังไม่ได้เรื่องราวที่อยากทราบอีกหลายเรื่อง นอกจากนั้นยังอยากจะเห็นมาเก๊า ดินแดนใต้การปกครองของโปรตุเกส ซึ่งจะกลับคืนเป็นของจีนใน ค.ศ. 1999 เมืองเสิ่นเจิ้นซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่อยู่ติดกับฮ่องกง และเมืองจูไห่ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีนที่อยู่ติดกับมาเก๊าด้วย..

พระราชนิพนธ์เสด็จฯ เยือนจีน

            ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนแต่ละครั้ง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระอักษรบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้โดยละเอียด และมีพระวิริยะทรงพระราชนิพนธ์สารคดีบันทึกการเดินทาง พิมพ์เป็นหนังสือเผยแพร่ความรู้และข้อสนเทศด้านต่างๆ เกี่ยวกับจีน..

ต่อไป >>

<< ย้อนกลับ