Please wait...

<< Back

มหาวิทยาลัยยูนนาน

จากหนังสือ

ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 116-120



(น.116) รูป 125 ไปมหาวิทยาลัยยูนนาน

(น.116) ถึงมหาวิทยาลัยยูนนาน นายหวังเสวียเหริน อธิการบดีต้อนรับพาไปนั่งที่ห้องรับแขก กล่าวต้อนรับว่ามหาวิทยาลัยของเขามีนักศึกษาหมื่นกว่าคน มี 20 คณะ 80 กว่าสาขาวิชา มีวิชาการทั้งด้านอักษรศาสตร์ กฎหมาย เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น มีอาจารย์พันกว่าคน มีพนักงานอีกต่างหาก เมื่อ 2 ปีก่อนมีงานฉลอง 70 ปีการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ผู้นำของจีนคือประธานาธิบดีและนายกฯ หลี่เผิง มาลงนาม มหาวิทยาลัยยูนนานติดต่อทางด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้แก่ มหาวิทยาลัยศิลปากร เกษตรศาสตร์ และเชียงใหม่ เมื่อปีที่แล้วได้พบข้าพเจ้าในงานฉลอง 50 ปีมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัย ยูนนานมีชื่อเสียงในด้านคณิตศาสตร์ อาจารย์ฝังล่าเกิง นักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลกเคยสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยนี้ 12 ปี เป็นอาจารย์ของอธิการบดี ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์เช่นกัน น่าเสียดายที่อาจารย์ผู้นี้เสียชีวิตแล้วในปี ค.ศ. 1986


(น.117) รูป 126 ห้องสมุดมหาวิทยาลัย

(น.117) ขณะที่ไปปาฐกถาที่ญี่ปุ่น นอกจากนั้นที่มหาวิทยาลัยยูนนานยังมีนักคณิตศาสตร์ที่สามารถอีกหลายคน ไปดูห้องสมุด มีห้องอ่านหนังสือ ห้องที่ 1 มีเรื่องประวัติศาสตร์จีน บรรณารักษศาสตร์ จดหมายเหตุภาษาต่างประเทศ ห้องอ่านหนังสือ ห้องที่ 2 มีหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ สารสนเทศศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์ ปฐพีวิทยา มีทั้งภาษาจีนและภาษาต่างประเทศ เป็นพวกหนังสืออ้างอิง อีกห้องมีบรรณารักษศาสตร์และวารสารจีน อีกห้องเป็นห้องศิลปศาสตร์สำหรับนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มีห้องสำหรับพวกศาสตราจารย์นักวิจัย มี 12 ห้อง และมีห้องข้อมูลวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี


(น.118) รูป 127 ห้องหนังสือโบราณ
(น.118) จากนั้นไปดูห้องหนังสือเก่า มี 1,000 กว่าชื่อเรื่อง หนังสือชนชาติต่างๆ จากท้องถิ่น หนังสือราชการเก่าๆ สมัยราชวงศ์หมิงและชิง หนังสือแบบเรียนจีน แบบเรียนภาษาต่างประเทศ เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม สารานุกรมต่างประเทศ พจนานุกรมต่างๆ หนังสือชนิดต่างๆ หนังสือชนิดโบราณแบบเก่าแก่ มัดเอาไว้ เช่น หนังสือด้านประวัติศาสตร์ ในห้องมีเครื่องป้องกันไฟไหม้ และป้องกันโจรอัตโนมัติ เวลามีโจรมาลักของเสียงจะดัง ส่วนวิธีป้องกันหนอนและความชื้นข้างในหนังสือไม่ทราบว่าทำอย่างไร มีหนังสือประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่ง อายุ 800 กว่าปี ต้องเอามาปะในกระดาษอื่น ที่มหาวิทยาลัยยูนนานมีอยู่เล่มเดียว นอกจากนั้นมีหนังสือคำอธิบายคัมภีร์ซุนชิว หนังสือประวัติศาสตร์เกาหลี (เกาโกลี่) หนังสือประวัติศาสตร์ชุดนี้ทั่วโลกมีอยู่แค่ 3 ชุดเท่านั้น ที่เกาหลีใต้ก็มีไม่ครบ หนังสือโบราณทั้งหมดมี 162,000 เล่ม เล่มที่เก่าสุดมีอายุ 800 กว่าปี ข้าพเจ้าสงสัยว่าหนังสือเก่ามากมายแค่นี้เอามา
(น.119) จากไหน เขาบอกว่าประเพณีจีนคนชอบเก็บหนังสือโบราณ และบริจาคให้มหาวิทยาลัย หนังสืออีกเล่มที่น่าสนใจเป็นหนังสือนิเวศวิทยาเล่มแรกของจีน มีลักษณะเป็นพจนานุกรมพฤกษศาสตร์ สมัยราชวงศ์ชิง จักรพรรดิคังซี ที่จริงตำราเล่มนี้เริ่มเขียนมาตั้งแต่สมัยซ่ง แบ่งเป็นแผนกๆ เช่น แผนกดอกไม้ มีดอกเหมย อธิบายว่ามีกี่ชนิด อะไรบ้าง อธิบายลักษณะและอธิบายด้วยว่าดอกไม้นี้เติบโตอยู่ในสวนธรรมดา หนังสือภาพชนชาติส่วนน้อยในมณฑลยูนนานสมัยราชวงศ์ชิงปีที่ 18 ในรัชกาลกวางสู เขาอวดว่าไม่มีที่อื่นอีก มีภาพสีสวยงามมาก แต่ที่ยากก็คือในสมัยต่างๆ นั้นชื่อชนชาติก็เรียกไม่เหมือนกับในปัจจุบัน เช่นพวกจ้วง เรียกว่า พวกหลงเหริน พวกอาข่า เรียกว่า ซานซู ส่วนพวกไป๋และพวกอี๋ เรียกว่า หลอหลอ ทำให้นึกถึงอาณาจักรต้าหลี่น่านเจ้าโบราณ เห็นจะเป็นพวกหลอหลอ แต่ไม่ชัดเจนว่าเป็นไป๋หรือเป็นอี๋หนังสือเล่มนี้ยังมีภาพชนกลุ่มน้อยอีกหลายเผ่า มานึกได้อยู่อย่างหนึ่งว่าสมัยนี้เราศึกษาเรื่องชนเผ่าต่างๆ เพราะเราสนใจวิชาการด้านมานุษยวิทยา หรือเพื่อการพัฒนาประเทศ แต่ข้าพเจ้าคิดว่าพวกที่แต่งหนังสือเช่นนี้ในสมัยก่อนทำไว้เพื่อประโยชน์ในการปกครอง มองออกนอกหน้าต่างห้องสมุด อธิการบดีชี้ให้ดูตึกบริหาร เป็นตึกเก่าแก่หลังคาสีเหลือง ตึกเรียนการศึกษาต่อเนื่อง ตึกเคมี


(น.120) รูป 128 ที่เก็บหนังสือ

(น.120) ลงมาชั้นล่างห้องสมุด มหาวิทยาลัยยูนนานมอบหนังสือให้ข้าพเจ้าจำนวนหนึ่ง รวมทั้งหนังสือที่ท่านอธิการแต่งเองด้วย มาดามเฉินบอกว่าแต่ก่อนนี้มหาวิทยาลัยยูนนานมีคณะเกษตร คณะแพทย์ และคณะอุตสาหกรรม ขณะนี้แยกออกมาเป็นมหาวิทยาลัยต่างหาก



จัดหมวดหมู่สารสนเทศ

มหาวิทยาลัยยูนนาน

ถึงมหาวิทยาลัยยูนนาน นายหวังเสวียเหริน อธิการบดีต้อนรับพาไปนั่งที่ห้องรับแขก กล่าวต้อนรับว่ามหาวิทยาลัยของเขามีนักศึกษาหมื่นกว่าคน มี 20 คณะ 80 กว่าสาขาวิชา มีวิชาการทั้งด้านอักษรศาสตร์ กฎหมาย เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น มาดามเฉินบอกว่าแต่ก่อนนี้มหาวิทยาลัยยูนนานมีคณะเกษตร คณะแพทย์ และคณะอุตสาหกรรม ขณะนี้แยกออกมาเป็นมหาวิทยาลัยต่างหาก มหาวิทยาลัยยูนนานมีชื่อเสียงในด้านคณิตศาสตร์ อาจารย์ฝังล่าเกิง นักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลกเคยสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยนี้ 12 ปี เป็นอาจารย์ของอธิการบดี ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์เช่นกัน น่าเสียดายที่อาจารย์ผู้นี้เสียชีวิตแล้วในปี ค.ศ. 1986 ขณะที่ไปปาฐกถาที่ญี่ปุ่น นอกจากนั้นที่มหาวิทยาลัยยูนนานยังมีนักคณิตศาสตร์ที่สามารถอีกหลายคน เมื่อ 2 ปีก่อนมีงานฉลอง 70 ปีการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ผู้นำของจีนคือประธานาธิบดีและนายกฯ หลี่เผิง มาลงนาม[1]

ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยยูนนานติดต่อทางด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้แก่ มหาวิทยาลัยศิลปากร เกษตรศาสตร์ และเชียงใหม่ เมื่อปีที่แล้วได้พบข้าพเจ้าในงานฉลอง 50 ปีมหาวิทยาลัยศิลปากร[2]

สถานที่ต่างๆภายในมหาวิทยาลัย
ห้องสมุดมหาวิทยาลัย
ห้องอ่านหนังสือ ห้องที่ 1 มีเรื่องประวัติศาสตร์จีน บรรณารักษศาสตร์ จดหมายเหตุภาษาต่างประเทศ ห้องอ่านหนังสือ ห้องที่ 2 มีหนังสือเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ฟิสิกส์ สารสนเทศศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์ ปฐพีวิทยา มีทั้งภาษาจีนและภาษาต่างประเทศ เป็นพวกหนังสืออ้างอิง อีกห้องมีบรรณารักษศาสตร์และวารสารจีน อีกห้องเป็นห้องศิลปศาสตร์สำหรับนักศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มีห้องสำหรับพวกศาสตราจารย์นักวิจัย มี 12 ห้อง และมีห้องข้อมูลวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี[3]

ห้องหนังสือโบราณ

ห้องหนังสือเก่า มี 1,000 กว่าชื่อเรื่อง หนังสือชนชาติต่างๆ จากท้องถิ่น หนังสือราชการเก่าๆ สมัยราชวงศ์หมิงและชิง หนังสือแบบเรียนจีน แบบเรียนภาษาต่างประเทศ เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม สารานุกรมต่างประเทศ พจนานุกรมต่างๆ หนังสือชนิดต่างๆ หนังสือชนิดโบราณแบบเก่าแก่ มัดเอาไว้ เช่น หนังสือด้านประวัติศาสตร์ ในห้องมีเครื่องป้องกันไฟไหม้ และป้องกันโจรอัตโนมัติ เวลามีโจรมาลักของเสียงจะดัง ส่วนวิธีป้องกันหนอนและความชื้นข้างในหนังสือไม่ทราบว่าทำอย่างไร มีหนังสือประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์ซ่ง อายุ 800 กว่าปี ต้องเอามาปะในกระดาษอื่น ที่มหาวิทยาลัยยูนนานมีอยู่เล่มเดียว นอกจากนั้นมีหนังสือคำอธิบายคัมภีร์ซุนชิว หนังสือประวัติศาสตร์เกาหลี (เกาโกลี่) หนังสือประวัติศาสตร์ชุดนี้ทั่วโลกมีอยู่แค่ 3 ชุดเท่านั้น ที่เกาหลีใต้ก็มีไม่ครบ หนังสือโบราณทั้งหมดมี 162,000 เล่ม เล่มที่เก่าสุดมีอายุ 800 กว่าปี ข้าพเจ้าสงสัยว่าหนังสือเก่ามากมายแค่นี้เอามาจากไหน เขาบอกว่าประเพณีจีนคนชอบเก็บหนังสือโบราณ และบริจาคให้มหาวิทยาลัย หนังสืออีกเล่มที่น่าสนใจเป็นหนังสือนิเวศวิทยาเล่มแรกของจีน มีลักษณะเป็นพจนานุกรมพฤกษศาสตร์ สมัยราชวงศ์ชิง จักรพรรดิคังซี ที่จริงตำราเล่มนี้เริ่มเขียนมาตั้งแต่สมัยซ่ง แบ่งเป็นแผนกๆ เช่น แผนกดอกไม้ มีดอกเหมย อธิบายว่ามีกี่ชนิด อะไรบ้าง อธิบายลักษณะและอธิบายด้วยว่าดอกไม้นี้เติบโตอยู่ในสวนธรรมดา หนังสือภาพชนชาติส่วนน้อยในมณฑลยูนนานสมัยราชวงศ์ชิงปีที่ 18 ในรัชกาลกวางสู เขาอวดว่าไม่มีที่อื่นอีก มีภาพสีสวยงามมาก แต่ที่ยากก็คือในสมัยต่างๆ นั้นชื่อชนชาติก็เรียกไม่เหมือนกับในปัจจุบัน เช่นพวกจ้วง เรียกว่า พวกหลงเหริน พวกอาข่า เรียกว่า ซานซู ส่วนพวกไป๋และพวกอี๋ เรียกว่า หลอหลอ ทำให้นึกถึงอาณาจักรต้าหลี่น่านเจ้าโบราณ เห็นจะเป็นพวกหลอหลอ แต่ไม่ชัดเจนว่าเป็นไป๋หรือเป็นอี๋หนังสือเล่มนี้ยังมีภาพชนกลุ่มน้อยอีกหลายเผ่า มานึกได้อยู่อย่างหนึ่งว่าสมัยนี้เราศึกษาเรื่องชนเผ่าต่างๆ เพราะเราสนใจวิชาการด้านมานุษยวิทยา หรือเพื่อการพัฒนาประเทศ แต่ข้าพเจ้าคิดว่าพวกที่แต่งหนังสือเช่นนี้ในสมัยก่อนทำไว้เพื่อประโยชน์ในการปกครอง[4]


อ้างอิง

1. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 116,117,120
2. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 116
3. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 117
4. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 118,119