Please wait...

<< Back

กบฏไท่ผิง

จากหนังสือ

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 139

(น. 139)รวมทั้งพวกกบฏไท่ผิงและรัฐบาลก๊กมินตั๋ง จึงได้รับการเรียกขานว่า “นครแห่งเมืองหลวงสิบราชวงศ์” เมืองนานกิงมีหลายชื่อเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละสมัย เช่น จินหลิง มั่วหลิง เจี้ยนเยี่ย เจี้ยนคัง เจียงหนิง และหนานจิง เนื่องจากเคยมีชื่อว่า เจียงหนิง เมืองหนานจิง จึงมีชื่อย่อว่า หนิง และชื่อมณฑลเจียงซูก็มาจากอักษรคำแรกของเมืองเจียงหนิงกับเมืองซูโจว เมืองนานกิงล้อมรอบด้วยแม่น้ำลำคลองและภูเขาน้อยใหญ่ ทิวทัศน์สวยงามยิ่ง ทางด้านเหนือมีแม่น้ำแยงซีไหลผ่าน ส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือมีภูเขาจื่อจินซานหรือจงซานหนือจินหลิงซาน ที่เรียกกันว่า จื่อจินซาน ซึ่งแปลว่า ภูเขาม่วงอมทอง นั้น เพราะเป็นภูเขาที่มีแผ่นชั้นหิน (shale) สีม่วง เมื่อกระทบกับแสงอาทิตย์ หากมองระยะไกล จะเห็นเป็นสีม่วงอมทอง เขาจื่อจินซานทอดตัว

เจียงหนานแสนงาม หน้า 251,257,258

(น. 251) สมัยกบฏไท่ผิงหรือไต้เผ็ง (ค.ศ. 1850 – 1864) และช่วงที่ซูโจวตกอยู่ใต้การยึดครองของต่างประเทศ สวนนี้ถูกทิ้งโดยไม่มีการบำรุงรักษา สมัยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน (ค.ศ. 1949 – ปัจจุบัน) ได้ปรับปรุงสวนนี้ขึ้นมาใหม่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนเมื่อ ค.ศ. 1952 มีผู้มาใช้เป็นสถานที่สำหรับถ่ายภาพยนตร์ด้วย และยังเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยี่ยมชม

(น. 257)ส่วนตัวและวัดวาอาราม สมัยราชวงศ์ซ่งและหยวนนิยมศิลปะการจัดต้นไม้และหิน สมัยราชวงศ์ชิงนิยมสวนและศาลา กล่าวโดยสรุปเขาถือว่า “บนแผ่นดินนี้สวนในเจียงหนานเป็นเลิศในความงาม สวนซูโจวงามเป็นเลิศในเจียงหนาน” ศิลปะในการจัดสวนซูโจวมีวิวัฒนาการมาร่วมพันปี ถึงราชวงศ์หมิงและชิงควรนับได้ว่า เป็นศิลปะที่เป็นแบบฉบับ ทั้งยังได้ผสมผสานเข้ากับศิลปะสถาปัตยกรรมหลากหลายรูปแบบ ศิลปะการสลักลวดลาย โคลงกลอน ภาพวาด การเขียนตุ้ยเหลียน นับเป็นศิลปะอันงดงามสมบูรณ์ยิ่ง สวนของจีนแบ่งเป็นสวนหลวงและสวนราษฎร์หรือสวนของเอกชน สวนหลวง เป็นที่ประทับและที่พักผ่อนหย่อนพระทัยของจักรพรรดิ มักมีขนาดใหญ่ มีการตกแต่งหลากหลายรูปแบบ นอกจากเป็นของจีนแท้ๆ แล้ว ยังนิยมเอาของแปลกๆ มาสะสมไว้ หรือมีรูปแบบสถาปัตยกรรมต่างประเทศมาผสมอยู่ด้วย รวมทั้งเป็นที่รวบรวมพืชสัตว์หายาก ส่วนสวนราษฎร์มีขึ้นภายหลังสวนหลวง (ซูโจวมีชื่อที่สุด) ผู้สร้างส่วนใหญ่เป็นขุนนาง (มักเป็นขุนนางนอกราชการ) หรือพ่อค้าที่มีฐานะดี รักธรรมชาติ และชมชอบศิลปะแขนงต่างๆ หรือพวกนักปราชญ์ นักคิด มีขนาดเล็กกว่าสวนหลวง จากนั้นไปพิพิธภัณฑ์เมืองซูโจว สมัยกบฏไต้เผ็ง หรือไท่ผิงเทียนกั๋ว เคยใช้เป็นที่ทำการหลี่ซิ่วเฉิง ญาติของหงซิ่วฉวนผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าของพวกกบฏ และได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ในพื้นที่หลายมณฑลทางตะวันออกเฉียงใต้ที่พวกกบฏยึดครองไว้ได้ กบฏไท่ผิงเป็นกบฏชาวนาครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์จีน เกิดขึ้น

(น. 258)ในสมัยราชวงศ์ชิงระหว่าง ค.ศ. 1850 – 1864 พวกกบฏเริ่มก่อการในอำเภอกุ้ยผิง ภูมิภาคปกครองตนเองก่วงซี (กวางสี) แล้วเข้ายึดครองพื้นที่อีกหลายมณฑล พวกกบฏตั้งเมืองหลวงที่นานกิง และมีอุดมการณ์ว่าจะตั้งประเทศสวรรค์เปี่ยมสันติ (ไท่ผิงเทียนกั๋ว)

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 53

(น.53) อุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ
ตรงทางออกจากห้องมีรูปเจิ้งเฉิงกง
ห้องต่อไป เล่าเรื่องการปราบฝิ่น มีกระบอกสูบฝิ่น ลายมือหลินเจ๋อสูที่เขียนต่อต้านฝิ่น
ภาพทหารอังกฤษเข้ามารบที่เซี่ยเหมิน (เอ้หมึง) ในสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 จีนถูกบังคับให้เปิดเซี่ยเหมิน (ฮกเกี้ยน-แอ้มุ้ง ฝรั่งเรียกว่า Amoy ไทยเรียก เอ้หมึง) และฝูโจว เป็นสถานีการค้าของชาวตะวันตก
เหตุการณ์ชาวนาก่อกบฏ
สภาพสังคมจีนหลังสงครามฝิ่น
ค.ศ. 1851-สมัยอาณาจักรไท่ผิง มีเรื่องราวของหงซิ่วฉวน หัวหน้ากบฏไท่ผิง มณฑลทางใต้ที่พวกกบฏยึดได้ การตั้งไท่ผิงเทียนกั๋ว (เมืองแมนแดนสันติ)
สมัยหลังสงครามฝิ่น คนจีนเห็นว่าตัวเองสู้ฝรั่งไม่ได้ จึงพยายามเรียนรู้เทคโนโลยีของตะวันตก เพื่อต่อต้านตะวันตก (หรือเพื่อปกป้องตนเองให้พ้นจากการยึดครองของตะวันตก)