<< Back
น่านเจ้า
จากหนังสือ
ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 46-51
(น.46) รูป 46 แผนที่น่านเจ้าสมัยโบราณ
รูป 47 แผนที่น่านเจ้า
(น.47) รูป 48 ภายในพิพิธภัณฑ์
(น.47) ดูนิทรรศการเรื่องน่านเจ้า (หนานเจา) ประเทศนี้อยู่ระหว่างปี ค.ศ 738 – 902 (ต้าหลี่ปี ค.ศ. 937 – 1253) ประชาชนของประเทศทั้งสองเป็นชนชาติส่วนน้อยคือพวกไป๋ มีภาพถ่ายแสดงแผนที่น่านเจ้าสมัยโบราณเป็นรูปงู 2 หัว หัวสองหัวไขว้กัน ด้านหนึ่งมีรูปปลา อีกด้านมีรูปหอยสังข์ เขาว่าพวกไป๋นับถือปลากับหอย
มีแผนที่น่านเจ้าในตอนนั้นใหญ่กว่ายูนนานเดี๋ยวนี้ รวมพม่า ส่วนหนึ่งของไทย ส่วนหนึ่งของเสฉวน และกุ้ยโจว แผนที่ฉบับนี้กระทรวงการต่างประเทศของจีนอนุมัติแล้วให้เป็นแผนที่ประวัติศาสตร์ ข้าพเจ้าสงสัยว่าทำไมกระทรวงการต่างประเทศจะต้องเกี่ยวกับเรื่องโบราณ ๆ แบบนี้ เขาอธิบายว่าแผนที่เป็นเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องพิจารณาให้ดีก่อนเผยแพร่ (อาจมีปัญหาชายแดนได้)
(น.48) รูป 49 โบราณวัตถุที่แสดงอิทธิพลของพุทธศาสนาในต้าหลี่
(น.48) แผนภูมิแสดงกษัตริย์ของอาณาจักรน่านเจ้า ระบบเรียกชื่อกษัตริย์ของน่านเจ้า ใช้ชื่อคำหลังของพ่อเป็นชื่อหน้าของลูก เช่น พีล่อโก๊ะ โก๊ะล่อฝง ฝงกาอี้ (คนนี้ตายไปก่อนเลยไม่ได้เป็นกษัตริย์) สมัยที่ข้าพเจ้ายังเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ต้องท่องจำชื่อพวกนี้ เพราะเขาบอกว่าเป็นอาณาจักรไทยโบราณ ยังสงสัยอยู่เลยว่าทำไมถึงชื่อผิดมนุษย์มนาแบบนี้ ต่อมาคิดเสียว่าท่านพวกนี้อาจจะชื่ออย่างอื่นแบบไทย แต่ว่าจีนใช้อักษรจีนเขียนเลยเป็นแบบนี้ อย่างอาณาจักรทวารวดี บันทึกจดหมายเหตุจีนยังเรียกว่าโตโลโปตี้ ได้ทราบว่าสมัยนี้นักวิชาการเขาพิสูจน์ได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ค้นพบใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ว่าพวกนี้คงจะเป็นคนเชื้อชาติไป๋ไม่ใช่คนไทย เป็นอันว่าตัดออกได้ ถึงเดี๋ยวนี้ข้าพเจ้ายังเชื่ออยู่ว่าคนเผ่าไทย (ไท) ได้อยู่อาศัยในดินแดนจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแถบยูนนาน กวางสี ในอินเดีย พม่า เวียดนาม มาเป็นเวลาพัน ๆ ปีแล้วเพียงแต่ไม่มีอำนาจรัฐเท่านั้น ทั้งนี้ มีหลักฐานทางโบราณคดี ภาษา มานุษยวิทยาสนับสนุน นอกนั้นยังมีพระนามกษัตริย์โบราณ ต้าฉางเหย ต้าเทียนซิง ต้าอี้หนิง โบราณวัตถุที่จัดว่าอยู่ในสมัยนี้มีหลายอย่าง เช่น เครื่องเคลือบมีตัวหนังสือจารึก ตัวหนังสือที่เห็นดูเหมือนจะเป็นภาษาจีน แต่ข้าพเจ้าอ่านไม่ออก
(น.49) ในสมัยนี้มีเมืองหลายเมือง มีภาพแสดงให้ดู เช่น เมืองไท่เหอ (มีภาพถ่ายสภาพปัจจุบัน) ตั้งตามแนวแม่น้ำที่ไหลลงทะเลสาบ (7 กิโลเมตรจากพิพิธภัณฑ์นี้) เมืองหยางจีหมี เมืองต้าหลี่ (สมัยราชวงศ์ หมิง) เมืองหลงเหว่ยเฉิงหรือเซี่ยกวนคือบริเวณที่เรายืนอยู่ขณะนี้ มีแผนที่ของทะเลสาบเอ๋อร์ไห่ซึ่งด้านหนึ่ง (ตะวันตก) เป็นเขาชางซาน มียอดที่สำคัญ 19 ยอด มีห้วย 18 สาย หิมะที่อยู่บนยอดเขาเหล่านี้ บางส่วนจะละลายลงมาในทะเลสาบ นอกจากทะเลสาบเอ๋อร์ไห่แล้วยังมีแหล่งน้ำอื่น ๆ เช่น ซื่อปี๋หู
ในด้านโบราณวัตถุที่แสดงความเชื่อถือของคนในอาณาจักรนี้ เช่น บริเวณเมืองเก่าไท่เหอมีรูปกวนอิมหยู่ถง (คำว่าหยู่ถงนี้เข้าใจว่าเป็นทองแดงที่มีวิธีหล่ออย่างหนึ่ง) สิ่งของต่าง ๆ ที่ขุดพบในพระเจดีย์ต่าง ๆ เช่น รูปเจดีย์ทำด้วยทองเหลืองอยู่ในเจดีย์ พระพุทธรูป จารึกต่าง ๆ รูปนกต้าเผิง เป็นสัตว์ที่ชนชาติเหล่านั้นนับถือ จารึกที่มีข้อความบรรยายว่าเป็นจารึกสันสกฤตมีเป็นจำนวนมาก ข้าพเจ้าดูแล้วคิดว่าอาจจะไม่เป็นภาษาสันสกฤตก็ได้ ต้องพิจารณาตัวอักษรอีกครั้งหนึ่ง
รูปถ่ายเจดีย์สามองค์ที่เราจะไปดูกันบ่ายนี้ อายุพันกว่าปีแล้ว มีตู้แสดงสิ่งของต่าง ๆ ทางศาสนา มีวัชระ รูปเจดีย์วัดหงเซิง สมัยราชวงศ์ซ่ง วัดฝูกูสมัยราชวงศ์ถัง สิ่งของที่พบในสุสาน เช่น หอยเบี้ย กระจก สำริด (ถึงตอนนี้เข้าใจว่าคนแถวนั้น หรือกษัตริย์ที่ปกครองเมืองหรืออาณาจักรในแถบนี้นับถือพุทธศาสนามหายานที่เป็นแบบตันตระ หรือลัทธิลามะแบบทิเบต)
อีกด้านหนึ่งของห้องมีตารางแสดงพระนามกษัตริย์ต้าหลี่ซึ่งเป็นคนแซ่ต้วน ส่วนพวกน่านเจ้านั้นเขาว่าเป็นคนแซ่เหมิง น่านเจ้าเคยทำสงครามกับราชวงศ์ถัง ต่อมามีการทำสัญญาตกลงกันยอมอยู่ในอิทธิพล
(น.50) รูป 50 จำลองพระพุทธรูปจากถ้ำ
(น.50) ของราชวงศ์ถัง กษัตริย์จีนราชวงศ์ถังตั้งเจ้าเมืองที่ปกครองแถบนี้ (มีจารึก) จารึกที่น่าสนใจคือจารึกที่เขียนในรัชสมัยพระนางอู๋เสอเทียน (บูเช็กเทียน) คือคำว่า กว๋อ ที่แปลว่า ประเทศ ใช้ตัวอักษร 圀แทนตัว 國
ซึ่งใช้เช่นนี้จนสิ้นราชวงศ์หมิง ที่ให้ใช้ตัว 固 เพราะอักษร 方 ที่อยู่ด้านในสี่เหลี่ยม หมายถึง ทิศ คือ การคุมอำนาจได้ 4 ทิศ
จารึกปี ค.ศ. 766 เล่าประวัติอาณาจักรน่านเจ้าอยู่ที่เต๋อหัวเหนือไท่เหอ 5 กิโลเมตรจากพิพิธภัณฑ์นี้
อีกห้องแสดงศิลปะน่านเจ้าและต้าหลี่
มีรูปโบราณสถาน ในแถบถ้ำบริเวณอำเภอเจี้ยนชวน มีถ้ำที่สำคัญอยู่ 16 แห่ง มีพระพุทธรูป 130 รูป มีรูปพระอินเดียที่เล่าเรื่องกันมาว่าเป็นกวนอิมแปลงกายมา ถือแจกันและก้านต้นหลิว มีพระพุทธรูปพระศากยมุนีและพระสาวก รูปแม่ทัพ รูปวิมลเกียรติ
(น.51) รูป 51 รูปกองทัพสมัยน่านเจ้า
จัดหมวดหมู่สารสนเทศ
น่านเจ้า
น่านเจ้า (หนานเจา) ประเทศนี้อยู่ระหว่างปี ค.ศ 738 – 902 (ต้าหลี่ปี ค.ศ. 937 – 1253) ประชาชนของประเทศทั้งสองเป็นชนชาติส่วนน้อยคือพวกไป๋ [1]
ที่ตั้ง
มีภาพถ่ายแสดงแผนที่น่านเจ้าสมัยโบราณเป็นรูปงู 2 หัว หัวสองหัวไขว้กัน ด้านหนึ่งมีรูปปลา อีกด้านมีรูปหอยสังข์ เขาว่าพวกไป๋นับถือปลากับหอย
มีแผนที่น่านเจ้าในตอนนั้นใหญ่กว่ายูนนานเดี๋ยวนี้ รวมพม่า ส่วนหนึ่งของไทย ส่วนหนึ่งของเสฉวน และกุ้ยโจว แผนที่ฉบับนี้กระทรวงการต่างประเทศของจีนอนุมัติแล้วให้เป็นแผนที่ประวัติศาสตร์ ข้าพเจ้าสงสัยว่าทำไมกระทรวงการต่างประเทศจะต้องเกี่ยวกับเรื่องโบราณ ๆ แบบนี้ เขาอธิบายว่าแผนที่เป็นเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องพิจารณาให้ดีก่อนเผยแพร่ (อาจมีปัญหาชายแดนได้) [2]
รูป 46. แผนที่น่านเจ้าสมัยโบาณ
รูป 47. แผนที่น่านเจ้า
กษัตริย์ของอาณาจักรน่านเจ้า
แผนภูมิแสดงกษัตริย์ของอาณาจักรน่านเจ้า ระบบเรียกชื่อกษัตริย์ของน่านเจ้า ใช้ชื่อคำหลังของพ่อเป็นชื่อหน้าของลูก เช่น พีล่อโก๊ะ โก๊ะล่อฝง ฝงกาอี้ (คนนี้ตายไปก่อนเลยไม่ได้เป็นกษัตริย์) สมัยที่ข้าพเจ้ายังเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ต้องท่องจำชื่อพวกนี้ เพราะเขาบอกว่าเป็นอาณาจักรไทยโบราณ ยังสงสัยอยู่เลยว่าทำไมถึงชื่อผิดมนุษย์มนาแบบนี้ ต่อมาคิดเสียว่าท่านพวกนี้อาจจะชื่ออย่างอื่นแบบไทย แต่ว่าจีนใช้อักษรจีนเขียนเลยเป็นแบบนี้ อย่างอาณาจักรทวารวดี บันทึกจดหมายเหตุจีนยังเรียกว่าโตโลโปตี้ ได้ทราบว่าสมัยนี้นักวิชาการเขาพิสูจน์ได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ค้นพบใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ว่าพวกนี้คงจะเป็นคนเชื้อชาติไป๋ไม่ใช่คนไทย เป็นอันว่าตัดออกได้ ถึงเดี๋ยวนี้ข้าพเจ้ายังเชื่ออยู่ว่าคนเผ่าไทย (ไท) ได้อยู่อาศัยในดินแดนจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแถบยูนนาน กวางสี ในอินเดีย พม่า เวียดนาม มาเป็นเวลาพัน ๆ ปีแล้วเพียงแต่ไม่มีอำนาจรัฐเท่านั้น ทั้งนี้ มีหลักฐานทางโบราณคดี ภาษา มานุษยวิทยาสนับสนุน นอกนั้นยังมีพระนามกษัตริย์โบราณ ต้าฉางเหย ต้าเทียนซิง ต้าอี้หนิง โบราณวัตถุที่จัดว่าอยู่ในสมัยนี้มีหลายอย่าง เช่น เครื่องเคลือบมีตัวหนังสือจารึก ตัวหนังสือที่เห็นดูเหมือนจะเป็นภาษาจีน[3]
รูป 49. โบราณวัตถุที่แสดงอิทธิพลของพุทธศาสนาในต้าหลี่
เมืองสำคัญและภูมิประเทศ
ในสมัยนี้มีเมืองหลายเมือง มีภาพแสดงให้ดู เช่น เมืองไท่เหอ (มีภาพถ่ายสภาพปัจจุบัน) ตั้งตามแนวแม่น้ำที่ไหลลงทะเลสาบ (7 กิโลเมตรจากพิพิธภัณฑ์นี้) เมืองหยางจีหมี เมืองต้าหลี่ (สมัยราชวงศ์ หมิง) เมืองหลงเหว่ยเฉิงหรือเซี่ยกวน คือบริเวณที่เรายืนอยู่ขณะนี้ มีแผนที่ของทะเลสาบเอ๋อร์ไห่ ซึ่งด้านหนึ่ง (ตะวันตก) เป็นเขาชางซาน มียอดที่สำคัญ 19 ยอด มีห้วย 18 สาย หิมะที่อยู่บนยอดเขาเหล่านี้ บางส่วนจะละลายลงมาในทะเลสาบ นอกจากทะเลสาบเอ๋อร์ไห่แล้วยังมีแหล่งน้ำอื่น ๆ เช่น ซื่อปี๋หู[4]
โบราณวัตถุ
ในด้านโบราณวัตถุที่แสดงความเชื่อถือของคนในอาณาจักรนี้ เช่น บริเวณเมืองเก่าไท่เหอ มีรูปกวนอิมหยู่ถง (คำว่าหยู่ถงนี้ เข้าใจว่าเป็นทองแดงที่มีวิธีหล่ออย่างหนึ่ง) สิ่งของต่าง ๆ ที่ขุดพบในพระเจดีย์ต่าง ๆ เช่น รูปเจดีย์ทำด้วยทองเหลืองอยู่ในเจดีย์ พระพุทธรูป จารึกต่าง ๆ รูปนกต้าเผิง เป็นสัตว์ที่ชนชาติเหล่านั้นนับถือ จารึกที่มีข้อความบรรยายว่าเป็นจารึกสันสกฤตมีเป็นจำนวนมาก ข้าพเจ้าดูแล้วคิดว่าอาจจะไม่เป็นภาษาสันสกฤตก็ได้ ต้องพิจารณาตัวอักษรอีกครั้งหนึ่ง
รูปถ่ายเจดีย์สามองค์ที่เราจะไปดูกันบ่ายนี้ อายุพันกว่าปีแล้ว มีตู้แสดงสิ่งของต่าง ๆ ทางศาสนา มีวัชระ รูปเจดีย์วัดหงเซิง สมัยราชวงศ์ซ่ง วัดฝูกู สมัยราชวงศ์ถัง สิ่งของที่พบในสุสาน เช่น หอยเบี้ย กระจก สำริด (ถึงตอนนี้เข้าใจว่าคนแถวนั้น หรือกษัตริย์ที่ปกครองเมืองหรืออาณาจักรในแถบนี้ นับถือพุทธศาสนามหายานที่เป็นแบบตันตระ หรือลัทธิลามะแบบทิเบต)[5]
ความสัมพันธ์กับจีน
น่านเจ้าเคยทำสงครามกับราชวงศ์ถัง ต่อมามีการทำสัญญาตกลงกันยอมอยู่ในอิทธิพล
(น.50) รูป 50 จำลองพระพุทธรูปจากถ้ำ
ของราชวงศ์ถัง กษัตริย์จีนราชวงศ์ถังตั้งเจ้าเมืองที่ปกครองแถบนี้ (มีจารึก) จารึกที่น่าสนใจคือจารึกที่เขียนในรัชสมัยพระนางอู๋เสอเทียน (บูเช็กเทียน) คือคำว่า กว๋อ ที่แปลว่า ประเทศ ใช้ตัวอักษร [ตัวจีน] แทนตัว 國
ซึ่งใช้เช่นนี้จนสิ้นราชวงศ์หมิง ที่ให้ใช้ตัว [ตัวจีน] เพราะอักษร 方 ที่อยู่ด้านในสี่เหลี่ยม หมายถึง ทิศ คือ การคุมอำนาจได้ 4 ทิศ
จารึกปี ค.ศ. 766 เล่าประวัติอาณาจักรน่านเจ้าอยู่ที่เต๋อหัว เหนือไท่เหอ 5 กิโลเมตรจากพิพิธภัณฑ์นี้) [6]
อ้างอิง
1. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 47
2. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 47
3. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 48
4. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 49
5. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 49
6. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 49-50