<< Back
สวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนสิบสองปันนา
จากหนังสือ
ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 145-155
(น.145) รูป 161 ชาวลื้อจารใบลาน
(น.145) จากนั้นเดินทางทางรถยนต์เพื่อไปสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนสิบสองปันนา มาดามเฉินเล่าว่าคนที่เริ่มต้นทำสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ เมื่อประมาณ 60 ปีมาแล้วชื่อนายไช่ซีเถา เดินเท้ามาจากมณฑลเสฉวน การสร้างสวนพฤกษศาสตร์เช่นนี้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนชาวยูนนานเป็นอย่างมาก แถวๆ นี้มีพื้นที่มาก ประชากรน้อย ต้องหาอาชีพต่างๆ ให้โดยการนำเอาพืชจากประเทศต่างๆ มาปลูก ยาสูบซึ่งปัจจุบันเป็นรายได้หลักของมณฑลก็ได้นำพันธุ์ดีจากสหรัฐฯ มาปลูก
ชาวไต่หรือชาวไทลื้อนี้ มาดามบอกว่าผู้หญิงทำงานมากกว่าผู้ชาย ภรรยาเห็นสามีทำงานหนักมากก็รู้สึกไม่สบายใจ ต้องแบ่งมาทำมากกว่าแบบนี้ไม่ทราบตีความว่าผู้หญิงถูกกดขี่ หรือผู้หญิงมีค่าต่อสังคมมากกว่าผู้ชาย
สิ่งที่พัฒนายากที่สุดคือเรื่องการศึกษาเป็นงานที่ใช้เงินมาก งบประมาณ 3,000 ล้านหยวนก็ยังไม่พอ มีทางที่จะช่วยเหลือตั้งเป็นโครงการ “ความหวัง” ซี ว่าง กง เชอ เปิดโอกาสให้ประชาชน บริษัทองค์กรต่างๆ บริจาคช่วยเด็ก ให้ค่าหนังสือเรียนคนละ 60 หยวน/ปี เด็กพวกนี้ไม่ต้องเสียค่าอาหาร ช่วยให้มีรายได้ระหว่างเรียนการขายพืชต่างๆ ยังยากเพราะถนนยังไม่ดีทั่วถึง เช่น แตงโมที่นี่ขายราคาถูกมากแต่ปักกิ่งแพงมาก
(น.146) รูป 162 สวนพฤกษศาสตร์
(น.146) ชาวบ้านเผาป่ากันมาก รัฐบาลห้ามทำลายป่า แต่ที่ทำกินเขาใช้วิธี แบ่งเป็นแปลงๆ เว้นไว้แปลงหนึ่ง แล้วหมุนเวียนไปอีก รายได้เฉลี่ยชาวบ้านแถบนี้ 945 หยวน/คน/ปี แต่ของประเทศราว 804 หยวน/คน/ปี
ไปถึงที่สวนพฤกษศาสตร์ ได้เห็นต้นว่างเทียน หรือตะเคียนสามพอน (Parashore-ashinensi) สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธทรงปลูกไว้เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ.1986
คนที่มาต้อนรับเราเป็นรองผู้อำนวยการของสวนพฤกษศาสตร์ที่นี่ชื่อนายเฉินจิ้น เขาเป็นชาวเจียงซู จบจากมหาวิทยาลัยนานกิงทางด้านเกษตรศาสตร์พืชสวน (horticulture) ขณะนี้มีอายุ 30 กว่าปีแล้ว มาอยู่ที่นี่ตั้งแต่อายุ 20 ปีเศษ เขาพาไปเข้าห้องน้ำก่อน แล้วจึงไปที่ร้านอาหาร เมื่อคุยกันได้ความว่าปัจจุบันทางสภาวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน (Academia Sinica) ให้งบประมาณมา 80% ส่วนใหญ่เป็นหมวด
(น.147) ค่าตอบแทนและเงินเดือน อีก 20% ต้องหาเองโดยรับบริจาคจากบุคคลทั่วไป จากมูลนิธิสาธารณประโยชน์ในประเทศจีน หรือในยูนนานเององค์การระหว่างประเทศ เพาะพันธุ์พืชจำหน่าย ทำร้านอาหาร รับนักท่องเที่ยว มีที่พักให้ด้วย พืชที่ปลูกแถบนี้มีพืชเมืองร้อน พืชมีกลิ่นหอม เครื่องเทศ ไม้ดอกต่างๆ ท่านรองผู้อำนวยการเคยติดต่อกับเจ้าหน้าที่การเกษตรของไทย ได้ติดต่อกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แต่ไม่เคยไปเมืองไทย ในการวิจัยเน้นหนักเรื่องของการทำพืชที่สาธิตให้ราษฎรเข้ามาดู โดยการทำวนเกษตร ใช้พืชเศรษฐกิจราคาแพงหลายชนิดปลูกรวมๆ กัน เน้นเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ให้ชาวบ้านมีรายได้ยั่งยืนตลอดไป (sustainability of income) เช่น วิจัยการปลูกยางและต้องการปลูกชาด้วยทำอย่างไร ชาต้องมีร่มเงาดีพอสมควรในระยะเริ่มต้น นอกจากนั้นต้องการศึกษาไม้ผลของไทย จีน อินโดนีเซีย เอามาทดลองปลูก บอกว่าทุเรียนปลูกไม่ค่อยขึ้น กำลังทดลองจำปาดะอีกอย่าง ผลไม้นอกนั้นที่ปลูกไว้มีเงาะ มะไฟ น้อยหน่า
กลางวันนี้รับประทานปลีกล้วย เนื้อสับ เห็ดหัวเช่าผัด (คล้ายๆ เห็ดกระดุม แต่ใหญ่กว่ามาก) ผักดีดทราย (ผักบุ้ง) ส้มตำมะละกอเมืองสิบสองปันนานี้เขาเรียกมะละกอว่าหมากก้วยสำเภา เพราะฉะนั้นส้มตำเรียกว่าส้มหมากก้วยสำเภา ผักหนัง ผักกูด (ภาษาจีนเรียกว่าหลงจัว) ผักมือนาค (อุ้งตีนมังกร) ห่อหมกปลีกล้วย ส้มโอ
(น.148) รูป 163 – 164 สวนกล้วยไม้
(น.148) เมื่อรับประทานเสร็จแล้วเดินออกไปดูสวนกล้วยไม้ มี 3,000 กว่าต้น ไม่งามนัก เพราะไม่ได้ปลูกเพื่อการวิจัยผสมพันธุ์ รวบรวมพันธุ์ มีทั้งกล้วยไม้ต้นและที่เกาะตามต้นไม้อื่น ในด้านกล้วยไม้นี้ ดร.ธวัชชัย บอกว่ากล้วยไม้ของสิบสองปันนามีน้อยกว่าของเรา เรามีกว่าพันชนิดเดินดูบริเวณสวนที่ปลูกพืชคละกัน มีหลายอย่าง เช่น มะเดื่อปล้อง มะไฟ กาหลา (ของเราก็มีแต่ไม่เคยเห็นชนิดที่ก้านยาวแบบนี้) กล้วยป่า (Musa acuminata) สะสมกล้วยป่าพวกนี้เอาไว้เพื่อเป็นฐานในการปรับปรุงพันธุ์ และสะสมไว้ในลักษณะ Gene bank เก็บเนื้อเยื่อ (in vitro) ใช้วิธีการทางเคมีวิเคราะห์ดูว่าเป็นพันธุ์เดียวกันหรือต่างกันอย่างไร
(น.149) รูป 165 สวนสะสมพันธุ์ปาล์ม
(น.149)ไปดูที่สวนสะสมพันธุ์ปาล์ม ที่แปลกอย่างหนึ่งคือปาล์มที่เขาเรียกตามภาษาไทลื้อว่า ปาล์มดั้งช้าง (Elephant trunk) เมื่อออกช่อดอกแล้วต้นก็จะตายไปเลย แบบเดียวกับต้นไผ่ (Monocarpic) ฉะนั้นต้องเพาะพันธุ์ใหม่อยู่เรื่อยๆ ปาล์มชนิดนี้ไม่เห็นมีในเมืองไทย อยู่ในหนังสือ List of Plants in Xishuangbanna เรียบเรียงโดย Yunnan Institute of Tropical Botany , Academia Sinica ต้นปาล์มในสวนนี้เขาติดเบอร์และขีดเส้นแดงเอาไว้บนลำต้นเพื่อวัดขนาดเส้นรอบวง เส้นผ่าศูนย์กลางรอบอก หวายต่างๆ สะสมไว้ราว 20 กว่า species มีต้นเต่าร้างหรือต้นซุก กล้วยชนิดต่างๆ แปลงพืชน้ำมัน ไม้ลง จีนเรียกเพิงฉุ่ยหนาน มีประโยชน์คือทำให้เบนซินไม่จับตัวเป็นไข (Horsfieldia kingii ในหนังสือ List of Plants in Xishuangbanna หน้า 97) มะม่วงหิมพานต์
(น.150) รูป 166 เรือนยอดของเต่าร้างยักษ์ (Caryota urens) สวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนสิบสองปันนา เมืองลุน
(น.150) พืชตระกูลไทร (ficus) ขณะนี้มีอยู่ 30 กว่า species พืชชนิดนี้ทางสวนสนใจที่จะสะสมเพิ่มเติมอีก เพราะเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อการรักษาระบบนิเวศ (Eco system) ไม้ไฮ-ไทร เขาเก็บต้นไทรชนิดที่เราชอบเรียกกันว่าไทรเพชฌฆาตหรือไทรพันเอาไว้ให้คนดู คนที่มาเที่ยวสวนไม่เคยไปเที่ยวในป่าจะเห็นเป็นของแปลกตาคือนกกินผลไทรแล้วมาถ่ายมูลลงบนต้นไม้อื่นๆ ต้นไทรก็จะงอกไวกลายเป็นกาฝาก พอโตขึ้นๆ ก็จะพันคลุมต้นไม้เดิม บางที (บ่อยครั้ง) จะคลุมรัดต้นไม้เดิมตาย นอกจากนั้นมีน้ำเต้า ภาษาจีนว่าหูหลู
เสินมี่กัว ในหนังสือหน้า 269 (Synsepalum dulcificum) เป็นพืชมาจากแอฟริกา ผลเมื่อแรกกินมีรสเปรี้ยว ต่อมาเปลี่ยนเป็นรสหวานจัดเป็นผลไม้ประเภท mysterious fruit
เขามีของเล่นให้ดูอย่างหนึ่งคือต้นไม้เต้นรำ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง (เป็นไม้พุ่ม) ภาษาจีนเรียกว่าฟงหลิวเฉ่า แปลตามตัวว่าหญ้าเจ้าชู้ แต่ไม่ใช่หญ้าเจ้าชู้ของเรา ไทยเรียกพืชชนิดนี้ว่า ช้อยนางรำ (Codariocalyx
(น.151) รูป 167 ต้นไม้เต้นรำ
รูป 168 อโศกเหลือง
(น.151) gyrans) เดิมทีเราเดินมาเขาเปิดเพลงชนชาติไต่ดังลั่น ยอดไม้นี้แกว่งไปมา เราลองเปลี่ยนเป็นเพลงสุนารีร้อง (เผอิญทูตทหารมีติดมา) มันก็เต้นรำตอนหลังไม่เปิดเพลงมันก็เต้น เห็นจะเป็นด้วยลมพัดเสียมากกว่า
ประทัดดอย ผกากรอง
สวนสัก มีต้นสักอายุประมาณ 30 กว่าปี ปลูกเป็นแนวแบบปลูกสวนป่า ไม่ได้ขึ้นเองตามธรรมชาติ พวกหวายที่เขาปลูกสะสมพันธุ์ก็อยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้ในสวนนี้
(น.152) รูป 169 สวนไผ่
(น.152) พืชอื่นที่เดินดูมีอโศกเหลือง (Saraca declinata) ต้นมะฮังใบเล็ก มะหล่อ ของสกุล Macaranga เป็นพวกไม้เบิกนำ สมอไทยมีผลร่วงอยู่ใต้ต้นมาก รองผู้อำนวยการบอกว่าเป็นยาสมุนไพรที่เป็นประโยชน์หลายอย่างเช่น แก้ไอ แก้คออักเสบ และตัวเองก็เก็บมาแทะ ข้าพเจ้าก็เก็บมาแทะตามอย่างขมๆ เฝื่อนๆ แต่รู้สึกว่าเป็นประโยชน์จริงๆ
พื้นที่รวบรวมพืชตระกูลยาง (Dipterocarpus) ต่างๆ มียางนา พลวง เหียง เป็นต้น
พื้นที่รวบรวมพืชมีกลิ่นหอม (Aromatic plants) มีกระดังงา (สะบันงา) ในส่วนนี้มีประมาณ 100 กว่า species ต้มสกัดน้ำหอมออกมา ส่วนใหญ่ขยายพันธุ์โดยตอน ประยงค์หรือหอมไกล พวกพืชสมุนไพร มีอาจารย์อีกท่านมาช่วยอธิบาย ท่านผู้นี้เป็นนักพฤกษศาสตร์ที่มีความชำนาญสูงมากชื่อหลิวหงเนา (Liu Hong Nao) อธิบายกันว่าเป็นอาจารย์เต็ม สมิตินันทน์ ของจีน อาจารย์หลิวไม่รู้ภาษาอังกฤษอ่านได้แต่ละภาษาละตินชื่อต้นไม้ คอยเปิดหนังสือให้เรา เช่น Cinnamo-
(น.153) รูป 170 สวนไผ่
(น.153) mum cassia อยู่หน้า 18 ต้นเจี้ยวกู่หลาน (Gymnostemma pentaphylla) อยู่หน้า 72
เดินต่อไปดูสวนไผ่ ต้องผ่านโต๊ะที่ชาวบ้านเอาโน่นเอานี่มาวางขายบางอย่างที่ตลาดก็มี ดูแล้วก็ขันเพราะอะไรๆ ก็เก็บขายได้เรียบ เมล็ดมะกล่ำตาหนู เมล็ดมะกล่ำตาช้าง เมล็ดยาง เมล็ดกระถิน เอามาร้อยเป็นสายสร้อยได้ ยังมีแหวนเป็นรูปหัวใจและร้อยเป็นสายสะบ้าลิง สะบ้าหนังก็ขาย ลูกหวาย ขนเม่น หอยทับทิมก็ไปเอามาจากไหนไม่ทราบมาร้อยสร้อยคอขาย ลูกปัดก็อีก ต้นไม้ที่แยกใส่กระถางขายนึกว่าจะมีอะไรที่แท้เป็นไมยราบที่เป็นวัชพืช ตอนเราเด็กๆ ชอบเตะให้มัน “หลับ” เป็นของฟรีไม่ต้องซื้อ นอกจากไมยราบมีต้นวาสนา
(น.154) รูป 171 สะพานแขวน
(น.154) สวนไผ่มีไผ่ 150 กว่าชนิด คนไทลื้อมีชีวิตเกี่ยวข้องกับไผ่มาก สวนไผ่เมืองร้อนก็คงเป็นที่นี่ มีทั้งที่ออกเป็นกอ (sympodium) และออกเป็นลำๆ แยกกัน (monopodium) มีไผ่ชนิดต่างๆ มาก เช่น ไผ่ใหญ่ ไผ่ฮก ไผ่เป๊าะ อยากเดินเข้าไปดูชนิดต่างๆ แต่เขาไม่ให้เข้าไป บอกว่ามันรก
เดินไปดูที่สะพานแขวนข้ามแม่น้ำซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำโขง มีคนอาบแดดและเล่นน้ำในแม่น้ำมาก กลับจากสะพานเห็นต้นเต่าร้างค่อนข้างใหญ่ เลยเรียกเต่าร้างยักษ์ (Caryota urens) จดชื่ออาจารย์ 2 ท่าน ไว้คือ อาจารย์หลี่ลี่หมิง (Li Li Meng) และอาจารย์หลิวหงเนา (Liu Hong Nao)
(น.155) รูป 172 ลากลับ
(น.155) ข้าพเจ้าอยากดูหอพรรณไม้ (Herbarium) ของเขา ได้ยินว่ามีพรรณไม้หลายอย่าง การจัดและดูแลรักษาดี มีเครื่องดูดอากาศ แต่ไม่มีพนักงานอยู่เพราะเป็นวันหยุด จึงเปิดเข้าไปดูไม่ได้
เราเลยลากลับ ขากลับนี้เดินทางโดยรถ คุยกับมาดามเฉิน ถามมาดามว่าเป็นคนหูหนานแต่ทำไมมาทำงานอยู่ยูนนาน มาดามบอกว่าเมื่อเรียนจบจากมหาวิทยาลัยที่เทียนสิน (เป่ยหยาง) อันเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของจีนแห่งหนึ่ง ทางด้านเครื่องกลปั่นทอ ตอนนั้นอายุยังน้อย คิดแต่จะทำประโยชน์ มีอุดมการณ์ จะไปพัฒนาประเทศในที่ห่างไกล ตอนนั้นยูนนานห่างไกลมากที่สุดแห่งหนึ่ง ไม่มีทางรถไฟ ถนนก็ไม่ค่อยจะดี เดินทางจากเทียนสินถึงคุนหมิง ใช้เวลาถึงครึ่งเดือน รถแล่นน้อยต้องรอเป็นอาทิตย์ ช่วงนั้นปี ค.ศ. 1957 อายุ 22-23 ปี ที่ต้องทำงานลำบากกว่าคนอื่นเพราะเป็นสมาชิกของพรรค ต้องเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นจึงสมัครไป ปัญหาของยูนนานคือเรื่องการคมนาคม และการศึกษา
อำเภอในยูนนานที่ติดทิเบต มีคนทิเบตอยู่มาก อากาศหนาวเดือนกันยายนหิมะตกจนถึงเมษายน รถธรรมดาไปไม่ได้ ต้องเอารถกวาดหิมะแหวกทางไปก่อน ส่วนถนนที่รถแล่นนั้นนั่งรถแล้วเหมือนเต้นดิสโก้ ฟังเขาแล้วก็ขัน เพราะคำว่าถนนดิสโก้นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกถนนสายที่เข้าไปที่โครงการที่ใช้ “ทฤษฎีใหม่” ของท่าน คือการขุดบ่อน้ำ ปลูกพืชต่างๆ แต่ทางเข้าก็ต้องดิสโก้น่าดู ตอนนี้คงจะดีขึ้นแล้ว
จัดหมวดหมู่สารสนเทศ
สวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนสิบสองปันนา
อยู่ที่เมืองลุน คนที่เริ่มต้นทำสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ เมื่อประมาณ 60 ปีมาแล้วชื่อนายไช่ซีเถา เดินเท้ามาจากมณฑลเสฉวน
ปัจจุบันทางสภาวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน (Academia Sinica) ให้งบประมาณมา 80% ส่วนใหญ่เป็นหมวดค่าตอบแทนและเงินเดือน อีก 20% ต้องหาเองโดยรับบริจาคจากบุคคลทั่วไป จากมูลนิธิสาธารณประโยชน์ในประเทศจีน หรือในยูนนานเององค์การระหว่างประเทศ เพาะพันธุ์พืชจำหน่าย ทำร้านอาหาร รับนักท่องเที่ยว มีที่พักให้ด้วย[1]
บทบาทในการพัฒนาพันธุ์พืชเศรษฐกิจ
การสร้างสวนพฤกษศาสตร์เช่นนี้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนชาวยูนนานเป็นอย่างมาก แถวๆ นี้มีพื้นที่มาก ประชากรน้อย ต้องหาอาชีพต่างๆ ให้โดยการนำเอาพืชจากประเทศต่างๆ มาปลูก ยาสูบซึ่งปัจจุบันเป็นรายได้หลักของมณฑลก็ได้นำพันธุ์ดีจากสหรัฐฯ มาปลูก[2]
พืชที่ปลูกแถบนี้มีพืชเมืองร้อน พืชมีกลิ่นหอม เครื่องเทศ ไม้ดอกต่างๆ ท่านรองผู้อำนวยการเคยติดต่อกับเจ้าหน้าที่การเกษตรของไทย ได้ติดต่อกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แต่ไม่เคยไปเมืองไทย ในการวิจัยเน้นหนักเรื่องของการทำพืชที่สาธิตให้ราษฎรเข้ามาดู โดยการทำวนเกษตร ใช้พืชเศรษฐกิจราคาแพงหลายชนิดปลูกรวมๆ กัน เน้นเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ให้ชาวบ้านมีรายได้ยั่งยืนตลอดไป (sustainability of income) เช่น วิจัยการปลูกยางและต้องการปลูกชาด้วยทำอย่างไร ชาต้องมีร่มเงาดีพอสมควรในระยะเริ่มต้น นอกจากนั้นต้องการศึกษาไม้ผลของไทย จีน อินโดนีเซีย เอามาทดลองปลูก บอกว่าทุเรียนปลูกไม่ค่อยขึ้น กำลังทดลองจำปาดะอีกอย่าง ผลไม้นอกนั้นที่ปลูกไว้มีเงาะ มะไฟ น้อยหน่า[3]
สวนพันธุ์พืชชนิดต่างๆภายในสวนพฤกษศาสตร์
สวนกล้วยไม้
สวนกล้วยไม้ มี 3,000 กว่าต้น ไม่งามนัก เพราะไม่ได้ปลูกเพื่อการวิจัยผสมพันธุ์ รวบรวมพันธุ์ มีทั้งกล้วยไม้ต้นและที่เกาะตามต้นไม้อื่น ในด้านกล้วยไม้นี้ ดร.ธวัชชัย บอกว่ากล้วยไม้ของสิบสองปันนามีน้อยกว่าของเรา เรามีกว่าพันชนิดเดินดูบริเวณสวนที่ปลูกพืชคละกัน มีหลายอย่าง เช่น มะเดื่อปล้อง มะไฟ กาหลา (ของเราก็มีแต่ไม่เคยเห็นชนิดที่ก้านยาวแบบนี้) กล้วยป่า (Musa acuminata) สะสมกล้วยป่าพวกนี้เอาไว้เพื่อเป็นฐานในการปรับปรุงพันธุ์ และสะสมไว้ในลักษณะ Gene bank เก็บเนื้อเยื่อ (in vitro) ใช้วิธีการทางเคมีวิเคราะห์ดูว่าเป็นพันธุ์เดียวกันหรือต่างกันอย่างไร[4]
สวนสะสมพันธุ์ปาล์ม
ที่สวนสะสมพันธุ์ปาล์ม ที่แปลกอย่างหนึ่งคือปาล์มที่เขาเรียกตามภาษาไทลื้อว่า ปาล์มดั้งช้าง (Elephant trunk) เมื่อออกช่อดอกแล้วต้นก็จะตายไปเลย แบบเดียวกับต้นไผ่ (Monocarpic) ฉะนั้นต้องเพาะพันธุ์ใหม่อยู่เรื่อยๆ ปาล์มชนิดนี้ไม่เห็นมีในเมืองไทย อยู่ในหนังสือ List of Plants in Xishuangbanna เรียบเรียงโดย Yunnan Institute of Tropical Botany , Academia Sinica ต้นปาล์มในสวนนี้เขาติดเบอร์และขีดเส้นแดงเอาไว้บนลำต้นเพื่อวัดขนาดเส้นรอบวง เส้นผ่าศูนย์กลางรอบอก หวายต่างๆ สะสมไว้ราว 20 กว่า species มีต้นเต่าร้างหรือต้นซุก กล้วยชนิดต่างๆ แปลงพืชน้ำมัน ไม้ลง จีนเรียกเพิงฉุ่ยหนาน มีประโยชน์คือทำให้เบนซินไม่จับตัวเป็นไข (Horsfieldia kingii ในหนังสือ List of Plants in Xishuangbanna หน้า 97) มะม่วงหิมพานต์[5]
สวนไทร
พืชตระกูลไทร (ficus) ขณะนี้มีอยู่ 30 กว่า species พืชชนิดนี้ทางสวนสนใจที่จะสะสมเพิ่มเติมอีก เพราะเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อการรักษาระบบนิเวศ (Eco system) ไม้ไฮ-ไทร เขาเก็บต้นไทรชนิดที่เราชอบเรียกกันว่าไทรเพชฌฆาตหรือไทรพันเอาไว้ให้คนดู คนที่มาเที่ยวสวนไม่เคยไปเที่ยวในป่าจะเห็นเป็นของแปลกตาคือนกกินผลไทรแล้วมาถ่ายมูลลงบนต้นไม้อื่นๆ ต้นไทรก็จะงอกไวกลายเป็นกาฝาก พอโตขึ้นๆ ก็จะพันคลุมต้นไม้เดิม บางที (บ่อยครั้ง) จะคลุมรัดต้นไม้เดิมตาย นอกจากนั้นมีน้ำเต้า ภาษาจีนว่าหูหลู
เสินมี่กัว ในหนังสือหน้า 269 (Synsepalum dulcificum) เป็นพืชมาจากแอฟริกา ผลเมื่อแรกกินมีรสเปรี้ยว ต่อมาเปลี่ยนเป็นรสหวานจัดเป็นผลไม้ประเภท mysterious fruit
เขามีของเล่นให้ดูอย่างหนึ่งคือต้นไม้เต้นรำ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง (เป็นไม้พุ่ม) ภาษาจีนเรียกว่าฟงหลิวเฉ่า แปลตามตัวว่าหญ้าเจ้าชู้ แต่ไม่ใช่หญ้าเจ้าชู้ของเรา ไทยเรียกพืชชนิดนี้ว่า ช้อยนางรำ (Codariocalyxgyrans) เดิมทีเราเดินมาเขาเปิดเพลงชนชาติไต่ดังลั่น ยอดไม้นี้แกว่งไปมา เราลองเปลี่ยนเป็นเพลงสุนารีร้อง (เผอิญทูตทหารมีติดมา) มันก็เต้นรำตอนหลังไม่เปิดเพลงมันก็เต้น เห็นจะเป็นด้วยลมพัดเสียมากกว่า
ประทัดดอย ผกากรอง[6]
สวนสัก
สวนสัก มีต้นสักอายุประมาณ 30 กว่าปี ปลูกเป็นแนวแบบปลูกสวนป่า ไม่ได้ขึ้นเองตามธรรมชาติ พวกหวายที่เขาปลูกสะสมพันธุ์ก็อยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้ในสวนนี้
พืชอื่นที่เดินดูมีอโศกเหลือง (Saraca declinata) ต้นมะฮังใบเล็ก มะหล่อ ของสกุล Macaranga เป็นพวกไม้เบิกนำ สมอไทยมีผลร่วงอยู่ใต้ต้นมาก รองผู้อำนวยการบอกว่าเป็นยาสมุนไพรที่เป็นประโยชน์หลายอย่างเช่น แก้ไอ แก้คออักเสบ และตัวเองก็เก็บมาแทะ ข้าพเจ้าก็เก็บมาแทะตามอย่างขมๆ เฝื่อนๆ แต่รู้สึกว่าเป็นประโยชน์จริงๆ[7]
สวนพืชยางและพืชส่งกลิ่นหอม
พื้นที่รวบรวมพืชตระกูลยาง (Dipterocarpus) ต่างๆ มียางนา พลวง เหียง เป็นต้น
พื้นที่รวบรวมพืชมีกลิ่นหอม (Aromatic plants) มีกระดังงา (สะบันงา) ในส่วนนี้มีประมาณ 100 กว่า species ต้มสกัดน้ำหอมออกมา ส่วนใหญ่ขยายพันธุ์โดยตอน ประยงค์หรือหอมไกล พวกพืชสมุนไพร มีอาจารย์อีกท่านมาช่วยอธิบาย ท่านผู้นี้เป็นนักพฤกษศาสตร์ที่มีความชำนาญสูงมากชื่อหลิวหงเนา (Liu Hong Nao) อธิบายกันว่าเป็นอาจารย์เต็ม สมิตินันทน์ ของจีน อาจารย์หลิวไม่รู้ภาษาอังกฤษอ่านได้แต่ละภาษาละตินชื่อต้นไม้ คอยเปิดหนังสือให้เรา เช่น Cinnamomum cassia อยู่หน้า 18 ต้นเจี้ยวกู่หลาน (Gymnostemma pentaphylla) อยู่หน้า 72[8]
สวนไผ่
สวนไผ่มีไผ่ 150 กว่าชนิด คนไทลื้อมีชีวิตเกี่ยวข้องกับไผ่มาก สวนไผ่เมืองร้อนก็คงเป็นที่นี่ มีทั้งที่ออกเป็นกอ (sympodium) และออกเป็นลำๆ แยกกัน (monopodium) มีไผ่ชนิดต่างๆ มาก เช่น ไผ่ใหญ่ ไผ่ฮก ไผ่เป๊าะ อยากเดินเข้าไปดูชนิดต่างๆ แต่เขาไม่ให้เข้าไป บอกว่ามันรก
เดินไปดูที่สะพานแขวนข้ามแม่น้ำซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำโขง มีคนอาบแดดและเล่นน้ำในแม่น้ำมาก กลับจากสะพานเห็นต้นเต่าร้างค่อนข้างใหญ่ เลยเรียกเต่าร้างยักษ์ (Caryota urens) จดชื่ออาจารย์ 2 ท่าน ไว้คือ อาจารย์หลี่ลี่หมิง (Li Li Meng) และอาจารย์หลิวหงเนา (Liu Hong Nao)
ข้าพเจ้าอยากดูหอพรรณไม้ (Herbarium) ของเขา ได้ยินว่ามีพรรณไม้หลายอย่าง การจัดและดูแลรักษาดี มีเครื่องดูดอากาศ แต่ไม่มีพนักงานอยู่เพราะเป็นวันหยุด จึงเปิดเข้าไปดูไม่ได้[9]
อ้างอิง
1. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 145-147
2. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 145
3. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 147
4. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 148
5. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 149
6. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 150-151
7. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 151-152
8. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 152-153
9. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 154-155