<< Back
พิพิธภัณฑ์ชนกลุ่มน้อย
จากหนังสือ
เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 333-339
(น. 333) เครื่องบินลงที่คุนหมิงเวลา 11 นาฬิกาพอดี กงสุล (คุณกมล อรจันทร์) และข้าราชการสถานกงสุลมารับ ไปที่โรงแรมโกลเด้นดราก้อนที่เคยมาพัก แต่เขาตกแต่งใหม่จนจำไม่ได้ ใหญ่โตมโหฬาร คณะสถานกงสุลและคณะที่ร่วมเดินทางกันมารดน้ำสงกรานต์ข้าพเจ้า แล้วรับประทานอาหารกลางวัน
หลังอาหารไปพิพิธภัณฑ์ชนกลุ่มน้อย มีคุณเผิงเริ่นตง ผู้อำนวยการฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ของมณฑลยูนนานนั่งรถไปด้วย คุณเผิงเรียนภาษาไทยรุ่นเดียวกับอธิบดีจางจิ่วหวนและกงสุลหลิวหย่งซิง
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้แสดงเรื่องราวของชนกลุ่มน้อยในมณฑลยูนนาน ซึ่งมีอยู่ 25 ชนเผ่า เช่น ลีซอ เย้า แม้ว (อยู่ไม่ไกลจาก
(น. 334) รูป 223 พิพิธภัณฑ์ชนกลุ่มน้อยยูนนาน
The Nationality Museum, Yunnan Institute of the Nationalities.
(น. 334) คุนหมิง) น่าซี (ส่วนใหญ่อยู่ที่เมืองลี่เจียง) พวกฮาหนีหรืออีก้อ (ที่เหมิงไห่ และสิบสองปันนา) พวกว้าและปู้หลัง (สิบสองปันนา) พวกทิเบต (จงเตี้ยน) จ้วง (หงเหอโจว) เป็นต้น
ในตู้มีหุ่นแสดงเครื่องแต่งกายของชนเผ่าต่างๆ เช่น เสื้อผ้าที่ทำจากหญ้าของพวกอี๋ (อยู่ที่ฉู่สง) เสื้อผ้าเปลือกไม้ของพวกฮาหนี เสื้อผ้าฟางของพวกจ้วง เสื้อผ้าหนังสัตว์ของพวกน่าซีและพวกหุย เสื้อผ้าป่านของพวกอี๋ เสื้อผ้าทำด้วยหัวเฉ่า (fireweed) ของพวกไต่ หรือไทย
(น. 335) แสดงกี่ทอผ้าของเผ่าต่างๆ ผ้าลายนานาของพวกไต่ เครื่องมือการทำบาติกแบบยูนนาน มาจากจิ่งหงหรือเชียงรุ่ง พืชต่างๆ ที่ใช้เป็นสีย้อม งานปัก เช่น รองเท้า ผ้าสำหรับสะพายลูก และอื่นๆ
เครื่องเงินพื้นเมืองและเครื่องมือทำเครื่องเงิน
หน้ากากแบบต่างๆ ส่วนมากใช้ในพิธีกรรม มีรูปถ่ายของพิธีกรรมที่ใช้หน้ากาก มีคำอธิบายเป็นภาษาจีนและอังกฤษ วัสดุที่ทำหน้ากากมีทั้งน้ำเต้า ไม้ กระดาษ หนัง มีหน้ากากเล่นงิ้วของชนเผ่าไต่ การทำพิธีเข้าทรง ภาพหัวเชิดสิงโต มังกร เทพต่างๆ ของพวกเย้า ภาพการทำพิธีโตเป็นผู้ใหญ่ พิธีตรุษจีน พิธีฝังขวัญของพวกจิ่งพอที่เต๋อหง ประตูบ้านของพวกฮาหนี เทวดาเฝ้าหมู่บ้านของพวกปู้หลัง หุ่นไม้รูปชายหญิงของพวกว้าสำหรับสังเวยเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ เครื่องประกอบพิธีที่เป็นเขาควาย เรือนที่บนหลังคาทำเป็นกาแลของพวกเผ่าว้าและฮั่น (จีน) และเรือนของชนเผ่าต่างๆ ซึ่งมีรูปแบบต่างกัน
(น. 335) รูป 224 หน้ากากแบบต่างๆ
Various types of masks.
(น. 336) รูป 225 กลอง
A drum.
(น. 336) อุปกรณ์ดนตรีและเครื่องประกอบการแสดงของเผ่าต่างๆ เช่น อุปกรณ์สำหรับเล่นสิงโต กลองเพลในวัดของพวกไต่ ระนาดเหล็กของพวกไต่เอวลาย แคนของพวกแม้ว กลองชุดเป็นแถว 5 ใบของพวกว้า
ขึ้นไปชั้นบน มีระฆังชุดและกลองมโหระทึกสำริดของพวกจ้วงและพวกไต่
เครื่องเป่า เช่น ขลุ่ยชนิดต่างๆ เครื่องเป่าทำด้วยน้ำเต้า โหวดดินเผาทำเป็นรูปสัตว์เป่าได้ (โหวดเป็นเครื่องดนตรีที่คล้ายแคนในในอีสานของไทยก็มี) ปี่ มีปี่ที่ลิ้นทำด้วยทองแดง ปี่ของทิเบต แคนแบบต่างๆ
(น. 337) เครื่องสี มีสะล้อหรือซอที่กะโหลกทำด้วยเขาวัว น้ำเต้า และกะลามะพร้าว ซอซึ่งมีลักษณะเหมือนซอด้วงทำด้วยกระดูกม้า ซอหน้าขึงด้วยเปลือกไม้ ซอกระบอกไม้ไผ่ ซอด้วงสามสาย ซอด้วงสี่สาย หน้าซอขึงด้วยหนังงู เครื่องดนตรีประเภทพิณ
กลองชนิดต่างๆ และเครื่องประกอบจังหวะ เช่น กลองรูปปลาของพวกจ้วง ฆ้อง ฉาบ ระฆังทิเบต ฉิ่งต่างๆ
ภาพการแสดงการเป่าใบไม้ของพวกลีซอ
ห้องแสดงตัวอักษรของพวกไต่ อาจารย์เกาลี่ นักวิชาการชาวไป๋มาอ่านหนังสือของพวกไต่ให้ฟัง ภาษาไต่สิบสองปันนาและที่เต๋อหงไม่เหมือนกัน เอกสารที่อ่านเป็นคำสั่งของเจ้าหม่อมคำลือ เจ้าผู้ครองสิบสองปันนาคนสุดท้าย เกี่ยวกับการขุดเหมืองฝายกักเก็บน้ำ มีบางคำที่เราฟังเข้าใจ
(น. 337) รูป 226 ผู้เชี่ยวชาญอ่านเอกสารชนเผ่า
The expert deciphering tribal documents.
(น. 338) มีเรื่องภาษาใบไม้ ซึ่งจะแสดงอารมณ์ต่างๆ เช่น พริก แปลว่า เกลียด เม็ดพริก แปลว่า เกลียดมาก ถ่าน แปลว่า ข่าวฉุกเฉินหรือหมู่บ้านถูกเผา ข้าพเจ้าเขียนรายละเอียดเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ [[ใต้เมฆที่เมฆใต้]] หนังสือรูปภาพพวกผูหมี่ จารึกของพวกไต่
ไปที่ร้านหนังสือ ซื้อหนังสือเกี่ยวกับชนเผ่าต่างๆ
ไปนั่งสนทนากัน มีคุณเผิง คุณเก๋อซาง (เป็นคนทิเบต) อธิการบดีสถาบันชนกลุ่มน้อย และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยชนกลุ่มน้อย ข้าพเจ้าถามถึงเรื่องการบริการการศึกษาและการรักษาพยาบาลของพวกชนกลุ่มน้อยในยูนนานในเขตทุรกันดาร คุณเผิงอธิบายว่ามีหมอดูแล ส่วนการศึกษาก็เป็นไปตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการจีน ชนกลุ่มน้อยเรียนในโรงเรียนระดับประถมและมัธยม รัฐบาลช่วยออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางครึ่งหนึ่ง ต้องเรียนภาษาของตนและภาษาจีน ขณะนี้ที่สถาบันชนกลุ่มน้อยมีการสอนภาษาไทยด้วย
อาจารย์เจ้าเจียเหวิน อธิการบดีสถาบันชนกลุ่มน้อยกล่าวว่าเขาต้อนรับข้าพเจ้าสามครั้งแล้ว และเล่างานของสถาบันว่าพยายามอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆ ไว้ บุตรหลานของชนกลุ่มน้อยได้เรียนประถมมัธยมและระดับสูงกว่านั้น แต่ยังเข้ามหาวิทยาลัยน้อย ที่สถาบันมีการสอนระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี สอนเรื่องประวัติศาสตร์ชนกลุ่มน้อยและอีกหลายสาขาวิชา พยายามสร้างความสัมพันธ์กับประเทศที่มีชนกลุ่มน้อยเหมือนกัน เช่น ประเทศไทยและประเทศอื่นๆ มีการเปิดสอนวิชาเกี่ยวกับเอเชียตะวันออก สถานกงสุลไทยในคุนหมิงได้มีส่วนช่วย
(น. 339) สนับสนุนพวกอาจารย์ที่สอนภาษาไทยไปเรียนในประเทศไทย หวังว่าเด็กที่เรียนจบมาจะมีโอกาสใช้ภาษาไทยและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศไทยต่อไป ขณะนี้มีการสอนภาษาเวียดนามและภาษาพม่าด้วย จะเปิดสอนภาษาลาวและเขมรต่อไป วิชาพม่า มีอาจารย์พม่ามา แต่เวียดนามยังไม่ได้ส่งอาจารย์มาช่วยสอน
จัดหมวดหมู่สารสนเทศ
พิพิธภัณฑ์ชนกลุ่มน้อย
ตั้งอยู่ที่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน
บทบาท
อนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติพันธุ์ส่วนน้อย
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้แสดงเรื่องราวของชนกลุ่มน้อยในมณฑลยูนนาน ซึ่งมีอยู่ 25 ชนเผ่า เช่น ลีซอ เย้า แม้ว (อยู่ไม่ไกลจากคุนหมิง) น่าซี (ส่วนใหญ่อยู่ที่เมืองลี่เจียง) พวกฮาหนีหรืออีก้อ (ที่เหมิงไห่ และสิบสองปันนา) พวกว้าและปู้หลัง (สิบสองปันนา) พวกทิเบต (จงเตี้ยน) จ้วง (หงเหอโจว) เป็นต้น อาจารย์เจ้าเจียเหวิน อธิการบดีสถาบันชนกลุ่มน้อยกล่าวว่าเขาต้อนรับข้าพเจ้าสามครั้งแล้ว และเล่างานของสถาบันว่าพยายามอนุรักษ์วัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆ ไว้ [1]
สร้างความสัมพันธ์กับประเทศที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนน้อยอื่นๆ
ที่สถาบันมีการสอนระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี สอนเรื่องประวัติศาสตร์ชนกลุ่มน้อยและอีกหลายสาขาวิชา พยายามสร้างความสัมพันธ์กับประเทศที่มีชนกลุ่มน้อยเหมือนกัน เช่น ประเทศไทยและประเทศอื่นๆ มีการเปิดสอนวิชาเกี่ยวกับเอเชียตะวันออก สถานกงสุลไทยในคุนหมิงได้มีส่วนช่วยสนับสนุนพวกอาจารย์ที่สอนภาษาไทยไปเรียนในประเทศไทย หวังว่าเด็กที่เรียนจบมาจะมีโอกาสใช้ภาษาไทยและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศไทยต่อไป ขณะนี้มีการสอนภาษาเวียดนามและภาษาพม่าด้วย จะเปิดสอนภาษาลาวและเขมรต่อไป วิชาพม่า มีอาจารย์พม่ามา แต่เวียดนามยังไม่ได้ส่งอาจารย์มาช่วยสอน [2]
สิ่งที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์
เครื่องแต่งกายชนเผ่า
ในตู้มีหุ่นแสดงเครื่องแต่งกายของชนเผ่าต่างๆ เช่น เสื้อผ้าที่ทำจากหญ้าของพวกอี๋ (อยู่ที่ฉู่สง) เสื้อผ้าเปลือกไม้ของพวกฮาหนี เสื้อผ้าฟางของพวกจ้วง เสื้อผ้าหนังสัตว์ของพวกน่าซีและพวกหุย เสื้อผ้าป่านของพวกอี๋ เสื้อผ้าทำด้วยหัวเฉ่า (fireweed) ของพวกไต่ หรือไทย แสดงกี่ทอผ้าของเผ่าต่างๆ ผ้าลายนานาของพวกไต่ เครื่องมือการทำบาติกแบบยูนนาน มาจากจิ่งหงหรือเชียงรุ่ง พืชต่างๆ ที่ใช้เป็นสีย้อม งานปัก เช่น รองเท้า ผ้าสำหรับสะพายลูก และอื่นๆ
เครื่องเงินพื้นเมืองและเครื่องมือทำเครื่องเงิน[3]
พิธีกรรมชนเผ่า
หน้ากากแบบต่างๆ ส่วนมากใช้ในพิธีกรรม มีรูปถ่ายของพิธีกรรมที่ใช้หน้ากาก มีคำอธิบายเป็นภาษาจีนและอังกฤษ วัสดุที่ทำหน้ากากมีทั้งน้ำเต้า ไม้ กระดาษ หนัง มีหน้ากากเล่นงิ้วของชนเผ่าไต่ การทำพิธีเข้าทรง ภาพหัวเชิดสิงโต มังกร เทพต่างๆ ของพวกเย้า ภาพการทำพิธีโตเป็นผู้ใหญ่ พิธีตรุษจีน พิธีฝังขวัญของพวกจิ่งพอที่เต๋อหง ประตูบ้านของพวกฮาหนี เทวดาเฝ้าหมู่บ้านของพวกปู้หลัง หุ่นไม้รูปชายหญิงของพวกว้าสำหรับสังเวยเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์ เครื่องประกอบพิธีที่เป็นเขาควาย เรือนที่บนหลังคาทำเป็นกาแลของพวกเผ่าว้าและฮั่น (จีน) และเรือนของชนเผ่าต่างๆ ซึ่งมีรูปแบบต่างกัน[4]
เครื่องดนตรีและอุปกรณ์ประกอบการแสดง
อุปกรณ์ดนตรีและเครื่องประกอบการแสดงของเผ่าต่างๆ เช่น อุปกรณ์สำหรับเล่นสิงโต กลองเพลในวัดของพวกไต่ ระนาดเหล็กของพวกไต่เอวลาย แคนของพวกแม้ว กลองชุดเป็นแถว 5 ใบของพวกว้า
ขึ้นไปชั้นบน มีระฆังชุดและกลองมโหระทึกสำริดของพวกจ้วงและพวกไต่
เครื่องเป่า เช่น ขลุ่ยชนิดต่างๆ เครื่องเป่าทำด้วยน้ำเต้า โหวดดินเผาทำเป็นรูปสัตว์เป่าได้ (โหวดเป็นเครื่องดนตรีที่คล้ายแคนในในอีสานของไทยก็มี) ปี่ มีปี่ที่ลิ้นทำด้วยทองแดง ปี่ของทิเบต แคนแบบต่างๆ
เครื่องสี มีสะล้อหรือซอที่กะโหลกทำด้วยเขาวัว น้ำเต้า และกะลามะพร้าว ซอซึ่งมีลักษณะเหมือนซอด้วงทำด้วยกระดูกม้า ซอหน้าขึงด้วยเปลือกไม้ ซอกระบอกไม้ไผ่ ซอด้วงสามสาย ซอด้วงสี่สาย หน้าซอขึงด้วยหนังงู เครื่องดนตรีประเภทพิณ
กลองชนิดต่างๆ และเครื่องประกอบจังหวะ เช่น กลองรูปปลาของพวกจ้วง ฆ้อง ฉาบ ระฆังทิเบต ฉิ่งต่างๆ
ภาพการแสดงการเป่าใบไม้ของพวกลีซอ[5]
ภาษาชนเผ่า
ห้องแสดงตัวอักษรของพวกไต่ อาจารย์เกาลี่ นักวิชาการชาวไป๋มาอ่านหนังสือของพวกไต่ให้ฟัง ภาษาไต่สิบสองปันนาและที่เต๋อหงไม่เหมือนกัน เอกสารที่อ่านเป็นคำสั่งของเจ้าหม่อมคำลือ เจ้าผู้ครองสิบสองปันนาคนสุดท้าย เกี่ยวกับการขุดเหมืองฝายกักเก็บน้ำ มีบางคำที่เราฟังเข้าใจ
มีเรื่องภาษาใบไม้ ซึ่งจะแสดงอารมณ์ต่างๆ เช่น พริก แปลว่า เกลียด เม็ดพริก แปลว่า เกลียดมาก ถ่าน แปลว่า ข่าวฉุกเฉินหรือหมู่บ้านถูกเผา ข้าพเจ้าเขียนรายละเอียดเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ ใต้เมฆที่เมฆใต้ หนังสือรูปภาพพวกผูหมี่ จารึกของพวกไต่[6]
อ้างอิง
1. เจียงหนานแสนงาม หน้า 333,334,338
2. เจียงหนานแสนงาม หน้า 338,339
3. เจียงหนานแสนงาม หน้า 334-335
4. เจียงหนานแสนงาม หน้า 335
5. เจียงหนานแสนงาม หน้า 336,337
6. เจียงหนานแสนงาม หน้า 337,338