Please wait...

<< Back

วัดต้าเจาชื่อ

จากหนังสือ

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 105-109

(น.105) วัดต้าเจาซื่อมีประวัติยาวนานถึงกว่า 1,300 ปี สมัยราชวงศ์ถัง สร้างเมื่อ ค.ศ. 647 สมัยกษัตริย์ซงจ้านกานปู้ เล่ากันว่าเจ้าหญิงเหวินเฉิงพระมเหสีสร้างวัดนี้เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระศากยมุนีที่นำมาจากจีน (เชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้หล่อจากพระพักต์ของพระพุทธเจ้าเมื่อมีพระชนมายุได้ 12 พรรษา ใช้โลหะหลายชนิดผสมกัน หล่อที่แคว้นมคธ) มีอีกวัดคือ วัดเสี่ยวต้าเจา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปของพระมเหสีที่เป็นเจ้าหญิงเนปาล เนื่องจากเล่ากันว่าวัดนี้ตะเกียงเนยสว่างตลอดเวลา เพราะชาวบ้านเอาเนยมาถวายเป็นเชื้อไฟตลอด บริเวณที่ตั้งวัดต้าเจาซื่อ เดิมเป็นทะเลสาบ เล่าเรื่องกันว่า เจ้าหญิงเหวินเฉิงศึกษาภูมิประเทศของทิเบต มองเห็นเป็นรูปนางยักษ์ วิธีปราบก็คือ สร้างวัดตามบริเวณสำคัญของนางยักษ์ เพื่อต่อต้านอำนาจของนาง ทะเลสาบนี้อยู่ตรงกลางหัวใจของนางยักษ์พอดี จึงควรสร้างวัดเพื่อกำจัดสิ่งชั่วร้ายบริเวณนั้น (เข้าใจว่าใช้วิธีการดูฮวงจุ้ยตามแบบจีน)
(น.105) รูป 92 พระพุทธรูปพระศากยมุนีแบบโจโว (พระพักต์ 12 พรรษา)
(น.105) รูป 93 ปัทมสัมภวะ
(น.106) รูป 94 เสาไม้จันทน์
(น.106) เมื่อมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีวัด คนเริ่มหลั่งไหลมานมัสการ รอบๆ วัดจึงเติบโตขึ้นมาเป็นเมืองลาซา ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชนเผ่าทิเบตจะอยู่กันมากบริเวณซานหนาน พอสร้างวัดต้าเจาซื่อ ศูนย์กลางทางศาสนาย้ายมาอยู่ที่นี่ วัดมีอาคารสูง 4 ชั้น สร้างสมัยหลัง เดิมวัดนี้เล็กมาก ภายหลังขยายออกไปอีก มีรูปกวนอิม 1,000 มือ เสาไม้เป็นไม้จันทร์ดั้งเดิม ศิลปะการสร้างปนกันทั้งแบบทิเบต เนปาลและจีน เป็น 3 แบบ ข้างหลังดูเหมือนจะเป็นแบบเนปาลหรืออินเดีย กรอบประตูก็ดูเป็นของอินเดีย เข้าไปในวิหารที่สำคัญ คือที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่เจ้าหญิงเหวินเฉิงนำมาประดิษฐาน เล่ากันว่าพระพุทธรูปองค์นี้พระพุทธเจ้าเป็นผู้ให้สร้าง โดยดูจากพระองค์จริง (คล้ายๆ ตำนานพระแก่นจันทน์) ประมาณ 600-700 ปีมาแล้วมีผู้นำมาประเทศจีน มีผู้ศรัทธาบางคนเดินทางมาไกล 1,000 กิโลเมตรเดิน 1 ก้าวก็ลงไหว้แล้วลุกเดินต่อ 1 ก้าว ยังมาถึงได้ แต่ก่อนนี้ใช้น้ำมันเนยทั้งหมด แต่ปัจจุบันรู้สึกว่าเนยแบบนี้คุณภาพไม่ดี ใช้น้ำมันพืชสะอาดกว่า นำเข้าจากเนปาล ขึ้นบันไดไปที่ดาดฟ้าวัด เห็นหลังคาทองคำ 3 ยอด และมีธรรมจักรกับกวางหมอบ 2 ข้าง ด้านที่ประทับของดาไลลามะ มีเครื่องตกแต่งเป็นรูปมังกรน้ำ มีงวงเหมือนคชสีห์
(น.107) รูป 95 ธรรมจักรกับกวางหมอบ 2 ข้าง
(น.107) รูป 96 เครื่องประดับบนหลังคาวัดมีลักษณะคล้ายหอระฆัง
(น.108) ตำหนักปันฉานลามะองค์เก่าที่เพิ่งสิ้นพระชนม์ไป เลี้ยงชาเนย ชาวทิเบตเกือบทุกคนทำเอง ใส่กระติกรับประทานทั้งวัน ที่นี่สิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดคือ พระพุทธรูป ถึงเราจะไม่ยอมเชื่อตำนานเรื่องพระพุทธเจ้าเป็นผู้ให้สร้าง ก็ยังรู้สึกถึงความสงบและความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปองค์นี้ ก่อนกลับ ไปที่หนึ่งเรียกกันว่า ตำหนักสุริยประภา เป็นที่ประทับของดาไลลามะ นั่งรับประทานชาเนยและขนมต่างๆ รองนายกเทศมนตรีบรรยายว่า ลาซาเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของทิเบต มี 7 อำเภอ 1 เขต ใน 7 อำเภอนั้นมีอยู่อำเภอหนึ่งที่เลี้ยงปศุสัตว์ นอกนั้นทำการเกษตร ประชากร 475,000 คน 87.5% เป็นชาวทิเบต จีนเปิดประเทศประมาณ 20 กว่าปี เมืองลาซาก็พยายามเปิดกว้างเช่นกัน เนื้อที่เพิ่มขึ้นจาก 3 ตารางกิโลเมตรมาเป็น 52 ตารางกิโลเมตร รายได้ต่อหัวในเขตเกษตรและปศุสัตว์มีรายได้ 1,760 หยวนต่อปี ลาซามี GDP สูงที่สุดในทิเบต ปัจจุบันลาซามีระบบสาธารณสุขดี มีโรงพยาบาลใหญ่ตามอำเภอ ส่วนตำบลมีสถานีอนามัย ไปดูที่ประทับดาไลลามะ มีห้องโถงใหญ่ ใช้ประกอบพิธีศาสนา ของที่ตั้งบูชาอยู่เป็นของดั้งเดิม เสาใช้พรมหุ้มตามธรรมเนียมทิเบต ทุกวัดจะมีที่ประทับดาไลลามะและพระปันฉานลามะ เพราะเมื่อมีงานสำคัญ 2 องค์นี้ต้องเด็จร่วมงาน แต่ละปีมีงานทางศาสนา 8 วัน ลามะจากทุกทิศจะมาร่วมประกอบศาสนพิธี
(น.109) มีห้องพระอาจารย์ของดาไลลามะ ที่ตู้เขียนรูปกษัตริย์ซงจ้านกานปู้ มีฉากหลังเป็นรูปสถานที่สำคัญในเมืองลาซาโบราณ เตียงมี 2 แบบ เตียงสำหรับนั่งกับเตียงสำหรับนอน ห้องบรรทมดาไลลามะ ของใช้ที่วางอยู่เป็นของดั้งเดิม มีของที่อินเดียและอังกฤษถวาย เครื่องใช้ของลามะมี 2 สีคือ สีแดงกับสีเหลือง วัดนี้มีพระลามะอยู่ไม่มาก มีเพียง 110 รูป (อาจจะเป็นวัดประเภทที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญเฉยๆ ไม่ได้เป็นพระอาราม เวลามีศาสนกิจพระจึงมา)
(น.109) รูป 97 ตู้เก็บพระรูปพระโพธิสัตว์และรูปหล่อพระอาจารย์ของดาไลลามะ




จัดหมวดหมู่สารสนเทศ

วัดต้าเจาชื่อ

วัดต้าเจาซื่อ หรือวัดโจคัง มีประวัติยาวนานถึงกว่า 1,300 ปี สมัยราชวงศ์ถัง สร้างเมื่อ ค.ศ. 647 สมัยกษัตริย์ซงจ้านกานปู้[1] เมื่อมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และมีวัด คนเริ่มหลั่งไหลมานมัสการ รอบๆ วัดจึงเติบโตขึ้นมาเป็นเมืองลาซา ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 7 ชนเผ่าทิเบตจะอยู่กันมากบริเวณซานหนาน พอสร้างวัดต้าเจาซื่อ ศูนย์กลางทางศาสนาย้ายมาอยู่ที่นี่[2] วัดนี้มีพระลามะอยู่ไม่มาก มีเพียง 110 รูป (อาจจะเป็นวัดประเภทที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญเฉยๆ ไม่ได้เป็นพระอาราม เวลามีศาสนกิจพระจึงมา)[3]

เจ้าหญิงเหวินเฉิง ผู้ทรงสถาปนาวัดต้าเจาซื่อ

เล่ากันว่าเจ้าหญิงเหวินเฉิงพระมเหสีสร้างวัดนี้เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระศากยมุนีที่นำมาจากจีน (เชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้หล่อจากพระพักต์ของพระพุทธเจ้าเมื่อมีพระชนมายุได้ 12 พรรษา ใช้โลหะหลายชนิดผสมกัน หล่อที่แคว้นมคธ) มีอีกวัดคือ วัดเสี่ยวต้าเจา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปของพระมเหสีที่เป็นเจ้าหญิงเนปาล เนื่องจากเล่ากันว่าวัดนี้ตะเกียงเนยสว่างตลอดเวลา เพราะชาวบ้านเอาเนยมาถวายเป็นเชื้อไฟตลอด บริเวณที่ตั้งวัดต้าเจาซื่อ เดิมเป็นทะเลสาบ เล่าเรื่องกันว่า เจ้าหญิงเหวินเฉิงศึกษาภูมิประเทศของทิเบต มองเห็นเป็นรูปนางยักษ์ วิธีปราบก็คือ สร้างวัดตามบริเวณสำคัญของนางยักษ์ เพื่อต่อต้านอำนาจของนาง ทะเลสาบนี้อยู่ตรงกลางหัวใจของนางยักษ์พอดี จึงควรสร้างวัดเพื่อกำจัดสิ่งชั่วร้ายบริเวณนั้น (เข้าใจว่าใช้วิธีการดูฮวงจุ้ยตามแบบจีน)[4]

ภายในวัด

วัดมีอาคารสูง 4 ชั้น สร้างสมัยหลัง เดิมวัดนี้เล็กมาก ภายหลังขยายออกไปอีก มีรูปกวนอิม 1,000 มือ เสาไม้เป็นไม้จันทร์ดั้งเดิม ศิลปะการสร้างปนกันทั้งแบบทิเบต เนปาลและจีน เป็น 3 แบบ ข้างหลังดูเหมือนจะเป็นแบบเนปาลหรืออินเดีย กรอบประตูก็ดูเป็นของอินเดีย ขึ้นบันไดไปที่ดาดฟ้าวัด เห็นหลังคาทองคำ 3 ยอด และมีธรรมจักรกับกวางหมอบ 2 ข้าง[5]

พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ภายในวิหาร

เข้าไปในวิหารที่สำคัญ คือที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่เจ้าหญิงเหวินเฉิงนำมาประดิษฐาน เล่ากันว่าพระพุทธรูปองค์นี้พระพุทธเจ้าเป็นผู้ให้สร้าง โดยดูจากพระองค์จริง (คล้ายๆ ตำนานพระแก่นจันทน์) ประมาณ 600-700 ปีมาแล้วมีผู้นำมาประเทศจีน มีผู้ศรัทธาบางคนเดินทางมาไกล 1,000 กิโลเมตรเดิน 1 ก้าวก็ลงไหว้แล้วลุกเดินต่อ 1 ก้าว ยังมาถึงได้ แต่ก่อนนี้ใช้น้ำมันเนยทั้งหมด แต่ปัจจุบันรู้สึกว่าเนยแบบนี้คุณภาพไม่ดี ใช้น้ำมันพืชสะอาดกว่า นำเข้าจากเนปาล[6]

ส่วนที่ประทับขององค์ดาไลลามะ

ด้านที่ประทับของดาไลลามะ มีเครื่องตกแต่งเป็นรูปมังกรน้ำ มีงวงเหมือนคชสีห์ ตำหนักปันฉานลามะองค์เก่าที่เพิ่งสิ้นพระชนม์ไป เลี้ยงชาเนย ชาวทิเบตเกือบทุกคนทำเอง ใส่กระติกรับประทานทั้งวัน ที่นี่สิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดคือ พระพุทธรูป ถึงเราจะไม่ยอมเชื่อตำนานเรื่องพระพุทธเจ้าเป็นผู้ให้สร้าง ก็ยังรู้สึกถึงความสงบและความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปองค์นี้ ก่อนกลับ ไปที่หนึ่งเรียกกันว่า ตำหนักสุริยประภา เป็นที่ประทับของดาไลลามะ ไปดูที่ประทับดาไลลามะ มีห้องโถงใหญ่ ใช้ประกอบพิธีศาสนา ของที่ตั้งบูชาอยู่เป็นของดั้งเดิม เสาใช้พรมหุ้มตามธรรมเนียมทิเบต ทุกวัดจะมีที่ประทับดาไลลามะและพระปันฉานลามะ เพราะเมื่อมีงานสำคัญ 2 องค์นี้ต้องเสด็จร่วมงาน แต่ละปีมีงานทางศาสนา 8 วัน ลามะจากทุกทิศจะมาร่วมประกอบศาสนพิธี มีห้องพระอาจารย์ของดาไลลามะ ที่ตู้เขียนรูปกษัตริย์ซงจ้านกานปู้ มีฉากหลังเป็นรูปสถานที่สำคัญในเมืองลาซาโบราณ เตียงมี 2 แบบ เตียงสำหรับนั่งกับเตียงสำหรับนอน ห้องบรรทมดาไลลามะ ของใช้ที่วางอยู่เป็นของดั้งเดิม มีของที่อินเดียและอังกฤษถวาย เครื่องใช้ของลามะมี 2 สีคือ สีแดงกับสีเหลือง [7]


อ้างอิง

1. ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 105
2. ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 106
3. ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 109
4. ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 105
5. ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 106
6. ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 106
7. ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 106,108-109