Please wait...

<< Back

จักรพรรดิกวงสู

จากหนังสือ

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 189

(น.189) จักรพรรดิกวงสวี่ตั้งดาไลลามะองค์ที่ 13 พอตั้งไม่นานก็เปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลจีนเลยให้การรับรอง ป้ายที่จักรพรรดิเฉียนหลงเขียนให้วังโปตาลา แต่เขาอวดว่าที่ในหอจดหมายเหตุเป็นของแท้ เขียนเมื่อ ค.ศ. 1760 เป็นปีที่ 25 ในรัชกาล หนังสือรายงาน (เขียนบนกระดาษ) ว่าทหารเนปาลโจมตีถึงทิเบตแล้ว ให้ทหารจีนไปปราบให้ได้ เอานายพล 2 ท่านจากเสฉวนมาประจำการที่เมืองลาซา และภาคส่วนหลังของทิเบต บันทึกเสนาบดีทิเบตร่วมกับพระปันฉานลามะรายงานจักรพรรดิเต้ากวง ขอให้ปรับปรุงกฎหมายทิเบต 29 ข้อ บันทึกประวัติที่อังกฤษเข้ามารุกรานทิเบต ฆ่าคนตายไป 3,000 คน ชิงทรัพย์สินชาวบ้าน ทำลายวัด สมัยสาธารณรัฐ มีโทรเลขของยวนซีไขถึงดาไลลามะองค์ที่ 13 ลายมือเจียงไคเช็คถึงดาไลลามะองค์ที่ 13 ให้เข้าข้างรัฐบาลกลางของจีน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ดาไลลามะองค์นี้มรณภาพใน ค.ศ. 1933 ในปี ค.ศ. 1940 ตั้งองค์ที่ 14 โทรเลขประธานกิจการมองโกล ทิเบต หวงมู่ซง หลังจาก ค.ศ. 1959 มีลายมือประธานเหมาและหลิวเซ่าฉีถึงดาไลลามะ จดหมายหลิวเซ่าฉี จดหมายโจวเอินไหลถึงดาไลลามะ ลายมือเติ้งเสี่ยวผิงและเจียงเจ๋อหมิ

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 39,55

(น.39) ทางเข้ามีรูปสัตว์ต่างๆ 2 ด้าน มีต้นไทรต้นใหญ่ (Rong) เข้าไปมีป้ายเขียนตำแหน่งที่นายพลหลินเจ๋อสูเคยปฏิบัติงาน เป็นผู้ว่าราชการมณฑล 14 มณฑล เคยทำลายฝิ่นที่ป้อมหู่เหมิน เมืองตงก่วน มณฑลก่วงตง (กวางตุ้ง) มีศิลาจารึกของจักรพรรดิกวางสู มีเนื้อหา 3 ประการ
1. แต่งตั้งให้มีตำแหน่งกิตติมศักดิ์ (หลังเสียชีวิต)
2. ตอนมีชีวิตอยู่ทำผิดอะไร ยกโทษให้หมด
3. ดูแลคนในครอบครัว ให้ลูกชาย 3 คนรับราชการ

(น.55) เมื่อการปฏิรูป 100 วันใน ค.ศ. 1898 ของจักรพรรดิกวางสูล้มเหลว กระแสการปฏิรูปอ่อนลง มีนักปฏิรูปถูกประหารชีวิต บ้านเมืองอ่อนแอ จนถึงการก่อการที่ก่วงโจว (กวางโจว) ครั้งที่ 9 ในปีซินไห้ เมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1911 มีชาวฝูเจี้ยนเข้าร่วมกับ ดร.ซุนยัตเซ็นจำนวนมาก ในการปฏิวัติที่กวางโจวมีวีรบุรุษ 72 ท่าน หลายท่านเป็นชาวฝูโจว มีอยู่ 19 ท่านที่จารึกชื่อในอนุสาวรีย์ จริงๆ มีมากกว่านั้น ยังมีชาวจีนโพ้นทะเลที่เข้าร่วมก่อการครั้งนี้อีก 29 คน พวกนี้ตายหมดในคราวเดียวกัน*
คนหนึ่งที่มีบทบาทในการปฏิวัติครั้งนี้ ชื่อ หลินเจว้ยหมิน ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1911 มีจดหมายต่างๆ ที่เขาเขียน มาตั้งแสดงไว้ด้วย
ลายมือซุนยัตเซ็นที่เขียนว่า “เทียนเซี่ยเหวยกง” “แผ่นดินนี้เป็นของส่วนรวม” (天下为公)
หลินซู แปลนิยายฝรั่งเศสมากมาย มีคนแปลให้ฟังและเรียบเรียง (ลักษณะเดียวกับเจ้าพระยาพระคลังแปลสามก๊ก)
ที่จริงมีห้องที่ว่าด้วยฝูเจี้ยนยุคใหม่ แต่ไม่มีเวลาดู
ไปดูนิทรรศการภาพวาดและเขียนอักษรพู่กันจีนที่ส่วนโดมตรงกลาง ชั้นบนเป็นศิลปะร่วมสมัย ส่วนใหญ่เป็นฝีมือจิตรกรชาวฝูเจี้ยน บางคนไปอยู่ต่างประเทศ มีภาพที่เขียนแบบฝรั่งด้วย