Please wait...

<< Back

เสิ่นหยาง

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า242


(น.242) รูป 394 เดินทางต่อไปเฮยหลงเจียง

(น.242) พอเดาได้ แต่บางทีความหมายก็ต่างกัน เช่นคำว่าเฉาจื่อ จีนแปลว่ากระดาษชำระ แต่ญี่ปุ่นแปลว่ากระดาษเขียนจดหมาย ภาษานี้ก็สัมพันธ์กับเสียงร้องเพลง ภาษาจีนเสียงเปิดร้องได้ง่าย แต่ว่าภาษาอังกฤษมีท้ายคำ ออกเสียงยาก ท่านว่าภาษาอิตาเลียนเหมาะกับการร้องเพลงมากกว่า ลาคณะมณฑลจี๋หลินขึ้นรถไฟ นักข่าวซื้อปิงถังหูลู่มาให้อร่อยดี อาจารย์สารสินบอกว่าอยู่เมืองจีนหลายปียังไม่ได้ชิม เป็นผลไม้แดงชุบน้ำตาลเคี่ยว มีขายมาตั้ง 100 กว่าปีมาแล้ว มีรูปในหนังสือ รถไฟสาย 209 ซึ่งออกจากเสิ่นหยางมาฉางชุน และเดินทางต่อไปเฮยหลงเจียง ตามกำหนดดังนี้
ฉางชุน 14 : 16
เต๋อหุ้ย 15 : 34

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า118

(น.118) เช้านี้เราไปที่พิพิธภัณฑ์เฮยเหอ เริ่มด้วยหุ่นจำลองเมืองปัจจุบัน แล้วเข้าไปดูส่วนที่เป็นประวัติศาสตร์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน ค.ศ.1931 เวลา 10 นาฬิกา 20 นาที กองทัพญี่ปุ่นตีเสิ่นหยาง ภายใน 4 เดือนญี่ปุ่นก็สามารถยึดเสิ่นหยาง ฉางชุน และฮาร์บินได้ ญี่ปุ่นยึดเฮยเหออยู่ 13 ปี ใช้ทั้งเครื่องบินและปืนใหญ่ ในตู้แสดงปืนกลของญี่ปุ่น มีโรงงานผลิตอาวุธขนาดใหญ่ ในเฮยเหอมี 2 แห่ง มีโกดังกระสุน ขุดอุโมงค์ 1,500 กว่าอุโมงค์

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 5 ภาคผนวก หน้า25,26

(น.25) สุสานของพระจักรพรรดิและจักรพรรดินีแห่งราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644 - 1911) สุสานของพระจักรพรรดิ จักรพรรดินีและพระสนมแห่งราชวงศ์ชิง จัดแบ่งเป็นหมู่สุสานได้ 4 แห่ง แต่ละแห่งประกอบด้วยสุสานหลายสุสาน หมู่สุสานทั้ง 4 แห่งมีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้

(น.26) รูป

(น.26) 3. สุสานตงหลิง ปัจจุบันอยู่ในบริเวณอำเภอจุนฮวา ในมณฑลเหอเป่ย นอกเมืองปักกิ่งไปทางตะวันออก ณ ที่นี้มีสุสานเสี้ยวหลิงของพระจักรพรรดิซุ่นจื้อ สุสานจิ่งหลิงของพระจักรพรรดิคังซี สุสานยู่ว์หลิงของจักรพรรดิเฉียนหลง สุสานติ้งหลิงของพระจักรพรรดิเสียนเฟิง สุสานหุ้ยหลิงและสุสานจาวซีหลิงของพระจักรพรรดินีในพระจักรพรรดิชิงไท่จง (พระเจ้าหวงไท่จี๋) นอกจากนั้นยังมีสุสานอื่น ๆ อีกหลายสุสานของพระสนมต่าง ๆ ในพระจักรพรรดิราชวงศ์ชิง สุสานตงหลิงมีอาณาบริเวณกว้างขวาง เป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งของจีนที่ได้รับการอนุรักษ์เป็นพิเศษ