Please wait...

<< Back

คุนหมิง

(น. 340)
3. การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวของยูนนานอาศัยทัศนียภาพธรรมชาติที่สวยงาม โบราณสถานที่น่าสนใจ และประเพณีหลายหลากของชนกลุ่มน้อย ถือได้ว่ามีทรัพยากรท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ที่สุดมณฑลหนึ่ง เมื่อปีที่แล้วในบรรดา 31 มณฑลและนครของประเทศรวมกัน ยูนนานถือได้ว่าเป็นอันดับที่ 7 ในด้านการท่องเที่ยวและเป็นที่ 1 ในภาคตะวันตก มณฑลที่ประสบความสำเร็จทางด้านการท่องเที่ยวส่วนมากเป็นมณฑลทางทิศตะวันออก ได้แก่ มณฑลกวางตุ้ง นครปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง มณฑลฮกเกี้ยน
4. อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อัญมณี และการป่าไม้ ในสี่ปีมานี้การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจได้เพิ่มขึ้นมากมาย การขยายสนามบินที่คุนหมิงก็เสร็จแล้ว ยังมีสนามบินใหม่อีก 4 แห่ง คือที่ลี่เจียง ต้าหลี่ (สองแห่งนี้เปิดใช้แล้ว) อีกสอง

เจียงหนานแสนงาม หน้า 359

(น. 359) รูป 243 คนไทยในยูนนาน
(น. 359) กลับโรงแรมรับประทานอาหารกลางวัน คณะกระทรวงเกษตรและคณะขององคมนตรีพิจิตรซึ่งพอดีมาทัศนศึกษาที่มณฑลยูนนานมาร่วมรับประทานด้วย ตอนบ่ายพบกับนักธุรกิจและนักเรียนไทยในคุนหมิง แล้วไปสนามบินเพื่อเดินทางกลับกรุงเทพฯ ข้าพเจ้ามาจีนครั้งนี้ 13 วัน ได้ไปปักกิ่ง เจียงหนาน และคุนหมิง แม้จะอยู่ที่เจียงหนาน 7 วัน ก็ยังนับว่าน้อย ได้ท่องแดนเจียงหนานไม่ถ้วนทั่ว มิตรสหายชาวจีนพยายามจัดให้ข้าพเจ้าได้เยือนเจียงหนานแสนงามให้มากที่สุด รวมทั้งเล่าข้อมูลต่างๆ ที่น่าสนใจให้ฟัง เป็นประสบการณ์เสี้ยวหนึ่งแห่งชีวิตที่มีสีสันยิ่ง.


จัดหมวดหมู่สารสนเทศ

คุนหมิง

นครคุนหมิงซึ่งเป็นเสิ่งเสียซื่อ เรียกกันว่า “คุนหมิงซื่อ”[1]

ภูมิประเทศ

ตั้งอยู่บนที่ราบสูงภาคกลางของมณฑลยูนนาน ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,900 เมตร[2]

ภูมิอากาศ

ฝนยังตกไม่หยุดเลยตั้งแต่เช้า ท่านหวังบอกว่า นี่คืออากาศเมืองคุนหมิง ฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงก็เป็นเช่นนั้น [3]
มาดามเฉินอธิบายว่านครคุนหมิงนี้มีอากาศสบายตลอดปี ไม่ร้อนไม่หนาว ถือว่าเป็นเมืองแห่งฤดูใบไม้ผลิ นอกจากเวลาฝนตกจะหนาวนอกจากนั้นยังมีดอกไม้สวยงาม [4]

การเพาะปลูก/พรรณไม้

พืชเพาะปลูกในคุนหมิง มีข้าวเจ้า ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วปากอ้า ถั่วเหลือง และ.........ท่านประธานหันมาตะโกนแบบค่อยๆ ว่า “โปเตโต้” 2 ครั้งแล้วหันไปบอกคุณเฉินเป็นภาษาจีน คุณเฉินเลยร้องว่า อ๋อ มันฝรั่ง สำหรับข้าวเจ้าและผักต่างๆ ปลูกหน้าร้อน ปลูกได้ 2 ครั้ง หน้าหนาวปลูกข้าวสาลีและถั่ว [5] ในห้องนั้นประดับด้วยดอกไม้เมืองหนาวที่สวยงาม ปลูกในคุนหมิงนี้เอง (ออกนอกเมืองไปหน่อยหนึ่ง มีทั้งดอกทิวลิป ดอกกุหลาบ ดอกแกลดิโอลัส ดอกคาร์เนชั่น เป็นต้น) [6] ถึงพืชอย่างอื่นที่ปลูกกันมาก ท่านผู้ว่าฯ บอกว่าที่มีการปลูกกันเป็นพิเศษคือการปลูกอ้อย ทำน้ำตาลได้ 8 แสนตัน ส่งทั่วมณฑล ที่สิบสองปันนามีภูมิประเทศคล้ายประเทศไทย จึงปลูกชายาสูบ และดอกไม้กันมาก ในคุนหมิงก็ปลูก ส่งออกไปยังสิงคโปร์และฮ่องกง ดอกไม้บางชนิดก็มีในมณฑลอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่ทางไต้หวันกับฮอลแลนด์มาลงทุน ดอกกล้วยไม้ พันธุ์มาจากประเทศไทย เขาว่ามีบริษัทของเกาหลีเอาต้นอ่อนกล้วยไม้จากประเทศไทยมาปลูกที่คุนหมิงและส่งออกขายญี่ปุ่น เกาหลีมาเช่าที่ดินทำเรื่องการเกษตรในแถบรอบๆ ทะเลสาบคุนหมิงหรือเทียนฉือ [7] ออกไปนอกเมืองเป็นเขตชนบท ขณะนั้นเริ่มจะเข้าฤดูชุนเทียนหรือฤดูใบไม้ผลิ ดอกท้อบานสีชมพู ตามไร่นาจะปลูกผักต่างๆ ที่แถบนี้เป็นที่สูงๆ ต่ำๆ เป็นลูกคลื่น ฉะนั้นคนทำนาขั้นบันได (ซึ่งดีกว่าทำแบบไร่ ที่ไม่สนใจกับเส้นระดับ) ภาษาจีนเรียกว่า ชีเถียน ที่เห็นมากที่สุดคือ ผักน้ำมัน (โหยวช่าย) ออกดอกสีเหลือง พวกเราที่ไม่ทราบว่า ดอกเหลืองนี้เป็นดอกอะไรก็เดา จี้บอกว่าเห็นจะเป็นดอกผักกวางตุ้ง แต่ป้าจันท้วงว่าไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะถ้าปล่อยผักไว้จนออกดอกแค่นี้ก็กินไม่ได้แล้ว ต้องใช้ทำพันธุ์ และใครจะทำพันธุ์กันมากมายเช่นนี้ มี ดร.ธวัชชัยตัดสินโดยอธิบายว่าเป็นพวกเดียวกับที่พวกฝรั่งเอาเมล็ดมาทำมัสตาร์ด นอกจากนั้นที่เห็นปลูกกันมากอีกอย่างคือถั่วปากอ้า หรือที่จีนเรียกว่า ฉานโต้ว ส่วนที่เป็นป่า (ซึ่งมีน้อย) เป็นต้นสนส่วนใหญ่ ตามเขาซึ่งค่อนข้างจะเป็นเขาหัวโล้น มองเห็นว่าต้นไม้ยังไม่โตเต็มที่ ปลูกใหม่ ลุงเซิงบอกว่าเป็นต้นอัน ดูใกล้ๆ ก็ต้นยูคาลิปตัสนั่นเอง มียูคาลิปตัสหลายพันธุ์ ดินแถวนี้ลึกๆ ไปคงจะไม่ค่อยดี และยูคาลิปตัสขึ้นเร็วกว่าสน (ส่วนใหญ่เป็นสนสามใบ) [8] ถนนมีบาทวิถีกว้าง มีไม้ใหญ่ปลูกเป็นแนว 1-2 แถวร่มรื่น ส่วนใหญ่เป็นพรรณไม้ต่างถิ่น Silky oak (Grevillea robusta) และต้นอันหรือยูคาลิปตัสหลายชนิด (Eucalyptus spp.) จากออสเตรเลียแทรกด้วยไม้ conifers พื้นเมือง และหลิว (Salix spp.) ตามสวนสาธารณะและสวนหย่อม ท้อ (Prunus persica) ดอกสีชมพูบ๊วย (Prunus mume) ดอกสีขาวและสีแดง กำลังบานสะพรั่งในต้นฤดูใบไม้ผลิ มีทั้งชนิดดอกลาและดอกซ้อน ชาวจีนนิยมนำมาใส่กระถางแบบไม้ดัดขนาดใหญ่ กิ่งก้านคดงอไปมาสวยงามเหมือนภาพวาดของจีนที่พบทั่วไป นอกจากนี้ตามโรงแรมและอาคารศูนย์การค้านิยมนำกระถางกุหลาบพันปี (Rhododendron arboreum) สีแดงสด และชา หรือ Camellias หลากสี ตั้งประดับทั่วไป[9] ไม้ หนานมู่ ไม่ทราบว่าภาษาไทยจะว่าอะไร ข้าพเจ้าเข้าใจว่าคงจะมีในเมืองไทยเพราะเป็นไม้ที่ได้จากป่าแถวๆ มณฑล ยูนนาน และ เสฉวน ซึ่งอากาศไม่ต่างจากประเทศไทยมากนัก [10] เขาปลูกข้าวบนภูเขาแล้วสูบน้ำขึ้นไปที่คุนหมิงนี้ทำอย่างไร ท่านประธานฯ หัวเราะว่า ที่นี่ข้างบนภูเขาเขาไม่ปลูกข้าวกันหรอก ปลูกอะไรที่ไม่ต้องใช้น้ำมาก พอเข้าฤดูฝนก็มีฝนมากปลูกอะไรได้หลายอย่าง ที่คุนหมิงมีศูนย์บำรุงพืชสัตว์ พืชนี้เอาจากท้องถิ่น และมาจากมณฑลอื่น ส่วนสัตว์มีทั้งอยู่ในประเทศและจากต่างประเทศ เช่น วัวนมจากฮอลแลนด์ ผสมกับวัวของจีน การเลี้ยงโคนมนั้นใช้หญ้าธรรมชาติเป็นส่วนมาก ส่วนน้อยใช้หญ้าปลูกพิเศษ สำหรับโรงโคนมนั้นเขามีที่ดินสำหรับปลูกหญ้าพิเศษ โคนมที่เลี้ยงกันมี 3 อย่างคือ รัฐบาล กรรมสิทธิ์ และของเอกชน[11]

เศรษฐกิจ

อุตสาหกรรม/สินค้าส่งออก

กล้องส่องทางไกลที่ผลิตในนครคุนหมิงนี่เอง เขาอวดว่าส่งไปขายสหรัฐฯ มากที่สุด ครองตลาดในสหรัฐฯ ถึง 40 % คุนหมิงเป็นอู่ต่อเรือที่ต่อเรือที่ใช้ในแม่น้ำส่งไปขายต่างประเทศ [12] ไปถึงที่โรงงานผลิตยานครคุนหมิง เมื่อเข้าไปแล้วไปที่ห้องพักใส่เสื้อคลุมสีขาว ใส่หมวก มีถุงหุ้มรองเท้า แล้วไปที่ห้องประชุมเล็กๆ นายหลี่หนานเกา ผู้อำนวยการ กล่าวต้อนรับ และบรรยายสรุปเกี่ยวกับความเป็นมาของโรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการผลิตยารักษาโรคไข้มาลาเรีย สรุปความได้ว่าโรงงานแห่งนี้เป็นวิสาหกิจผลิตยาหลายชนิดใหญ่ที่สุดในมณฑลยูนนาน ได้รับสิทธิในการประกอบการนำเข้าและ ส่งออกได้ โรงงานมีพื้นที่ 170,000 ตารางเมตร ส่วนที่เป็นพื้นที่ก่อสร้าง 100,000 ตารางเมตร ปัจจุบันมีคนงาน 1,580 คน โรงงานผลิต 11 โรง มีห้องวิจัยทางเภสัชกรรม เครื่องมือทางการแพทย์ และสำนักงานบริหาร ผลิตทั้งยาฉีด ยาน้ำ ยาผง ยาเม็ด แคปซูล และยาเป่า ตลอดจนยาสมุนไพร ยาผสม ยาปฏิชีวนะ ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการประกอบยาด้วย มีผลิตภัณฑ์มากกว่า 200 ชนิด โรงงานได้ใช้ประโยชน์จากการที่มณฑลยูนนานได้ชื่อว่า “เมืองราชาแห่งสมุนไพร” ได้พัฒนายาชนิดใหม่จากธรรมชาติที่มีลักษณะพิเศษ เช่น ชิงเฮาซู่ เฮาเจี่ยหมี ตำรับปรับปรุงใหม่ เจ้าเหรินสูตรสามเจ็ด เทียนหมาซู่ (Gastrodini) และเฉ่าอูเจี่ยซู่ เป็นต้น อันเป็นประโยชน์ต่อวงการเภสัชกรรมและการอนามัย [13]

วิถีชีวิต

ภายในระบบคอมมูน

บ้านเรือนราษฎรทำด้วยไม้มีเสาสูง ใช้รถม้า มีงานอีกอย่างคือการทำป่าไม้และมีป่าทึบเขตสงวนพันธุ์พืชของรัฐบาล สองข้างทางมีคนขี่ควายและจูงควายเดินไปเดินมา ถามจากท่านท้าวฯ ท่านบอกว่าที่นี่เวลาทำนาเขาไถนาเสียก่อน ตอนนั้นยังปล่อยน้ำเข้านาไม่มากนัก แล้วจึงปล่อยน้ำเข้าให้มากขึ้นอีกหน่อยแล้วคราดอีก 3 ครั้ง ด้วยวิธี “เล่นสกี” อย่างที่ได้กล่าวแล้วในตอนที่เขียนถึงเมืองเสฉวน ต้นไม้ที่ปลูก 2 ข้างทางส่วนใหญ่จะเป็นต้น อัน หรือต้นยูคาลิปตัส ซึ่งชาวไต่เรียกว่าต้นใบหอม มีการปลูกตามคันนา ทำสวนท้อและข้าวสาลี ก็ปนกันลงไปในบริเวณใกล้ๆ นั้น ส่วนมากข้าวสาลีเขาจะปลูกใต้ต้นท้อนั่นเอง ในนาบางที่ปลูกบัว ซึ่งท่านท้าวฯ ออกเสียงเป็น โบ ซึ่งเขาปลูกขายทั้งดอกทั้งฝัก น้ำแถวนี้ได้จากอ่างเก็บน้ำ ซงหมง ซึ่งสร้างมากว่า 20 ปีแล้ว ที่สูงๆ ตามไหล่เขาก็ปลูกโดยการส่งน้ำขึ้นไป ไกลออกไปอีกมีเขื่อนดินใหญ่และอ่างเก็บน้ำชื่อว่าอ่าง ซุงโหม (ห เป็นอักษรนำ) อ่างนี้เก็บน้ำได้ประมาณล้านกว่าลูกบาศก์เมตรเขาถือว่าเป็นอ่างขนาดเล็ก มีเหมืองส่งน้ำไปเข้าไร่นา (น้ำเหมืองนี้ภาษาไต่ออกเสียงว่าน้ำ เหมิง) สังเกตเห็นว่าแถวนี้เป็นเขตหินปูนทั้งนั้น ถนนที่เราแล่นอยู่นี้ เป็นถนนยางมะตอย ซึ่งเรียบดีมาก ข้างถนนมีทรายกองอยู่สำหรับซ่อมถนนที่ชำรุด เห็นคนเดินมาข้างทางหาบกระบุงด้วยไม้คาน ข้างหนึ่งเอาลูกใส่ไว้กระบุงอีกข้างใส่ของ ท่านท้าวฯ เล่าว่าควายเป็นของคอมมูนแต่คอมมูนจะให้ชาวนาเลี้ยงตามบ้านควายที่เป็นของชาวนาเองก็มี โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนกลุ่มน้อย ส่วนมากจะเลี้ยงของตนเอง รถไถเป็นของคอมมูนก็มี ของส่วนตัวก็มี ถ้าเป็นของชาวนา ถ้าคอมมูนจะขอยืมก็ต้องให้ค่าเช่า ผู้ที่มีรถไถเองมักจะต้องซื้อน้ำมัน ซึ่งไม่ใช่คอมมูน แต่เป็นของรัฐบาล คอมมูนเองก็ต้องซื้อน้ำมันรัฐบาล โรงสีจะเป็นของกองการผลิต (เซิง ฉาน ตุ้ย) บางโรงก็เป็นของรัฐบาล โรงสีขนาดเล็กมีตามหมู่บ้าน เช่น เขตสิบสองปันนามี่ทั้งครกกระเดื่องที่ใช้เท้าเหยียบและแบบใช้มือตำ ตามทางมีเตาเผาอิฐอยู่ด้วย ตามนาข้าวสาลีซึ่งเกี่ยวไปแล้วมีกองปุ๋ยหมักอยู่เป็นระยะๆ นาแถวนี้เลี้ยงด้วยน้ำห้วย (ภาษาไต่เรียกอย่างนี้) ข้าพเจ้าถามว่ามีการเลี้ยงไหมหรือไม่ ท่านท้าวฯ บอกว่ามี มีทั้งชนิดเลี้ยงตามบ้าน และเลี้ยงในโรงรวมกัน เดี๋ยวนี้การเลี้ยงไหมเป็นอาชีพรองของครอบครัวสมาชิกคอมมูน ตามคอมมูนมักจะมีเครื่องสาวไหม คันนาที่นี่ส่วนใหญ่จะไม่โตนัก ไม่ค่อยจะมีการปลูกผักตามคันนามากเท่าที่เสฉวน มีการปลูกถั่วอยู่บ้างแต่ก็น้อย มีการปลูกถั่วเหลืองสำหรับทำเป็นอาหาร ถามว่าทำถั่วเน่า (อาหารไทยใหญ่ทำจากถั่วเหลือง ข้าพเจ้าคิดว่าเรียกได้ว่าเป็นข้าวเกรียบอย่างหนึ่ง) บ้างหรือเปล่า พูดคำว่า ถั่วเน่า ท่านท้าวฯ ก็รู้จักทันทีแล้วบอกว่าแถวสิบสองปันนาเขาก็ทำกัน [14]

การคมนาคม

พาหนะของที่นี่ส่วนใหญ่เป็นรถเทียมม้าหลายแบบ มีเทียม 1 ตัว เป็นม้าแกลบเทียมล่อ เทียมลาก็มี มีเหมือนกันที่เทียม 3 คือเทียมม้าแกลบคู่และเทียมล่อ (ตัวโตกว่า) อยู่ข้างหลัง[15] จีนและไทยร่วมมือตกลงกันพัฒนาบริเวณแม่น้ำโขง ติดต่อกันผ่านทางพม่าและลาว มีโครงการสร้างถนนจากคุนหมิงที่ติดต่อลงมาได้ถึงเชียงใหม่ ในส่วนที่อยู่ใน ประเทศก็กำลังสร้างอยู่ ถ้าถนนสายนี้เสร็จแล้วจะมีประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนความร่วมมือกันระหว่างประเทศแถบนี้ หวังว่าจะเสร็จใน 3-4 ปี นอกจากทางรถยนต์แล้ว มีแผนในเรื่องการปรับปรุงทางรถไฟทั้งในประเทศและนอกประเทศออกไปทางใต้ถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ทางตะวันออกถึงประเทศกัมพูชา และจะต่อออกไปถึงเวียดนามด้วย[16] ต่อไปจากคุนหมิงไปต้าหลี่นอกจากจะปรับปรุงสนามบิน ปรับปรุงถนนแล้ว ยังจะสร้างทางรถไฟสำหรับขนสินค้าที่สำคัญคือ ถ่านหิน[17] รถที่แล่นไปมาก็มีนานาชนิดดังได้พรรณนามาแล้วทีหนึ่ง คือ มีทั้งรถยนต์ รถบรรทุก รถเทียมม้า รถขนถ่านหิน (กุดัง) รถอีแต๋น (ขนของ คนโดยสาร) รถสกายแล็บ บรรทุกคนมากมายมหาศาล มีม้ามากกว่าวัวควาย [18]

สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว

ที่คุนหมิงนี้ยังมีทะเลสาบซุ่ยหู ซึ่งบางฤดูมีนกบินมาจากไซบีเรีย (ฤดูหนาว) ชาวบ้านชอบเอาอาหารมาป้อนนก รอบๆ สวนมีคนเอาขนมปังสำหรับเลี้ยงนกมาขาย วันไหนอากาศไม่ดีไม่มีคนมา พนักงานของสวนจะป้อนนกเอง[19]

พิพิธภัณฑ์มณฑลยูนนาน
พิพิธภัณฑ์นครคุนหมิง
พิพิธภัณฑ์ชนกลุ่มน้อย
หอดูดาวยูนนาน
สถาบันพฤกษศาสตร์คุนหมิง
สถาบันชนชาติมณฑลยูนนาน
ป่าหิน
โรงงานผลิตยานครคุนหมิง
มหาวิทยาลัยยูนนาน
หมู่บ้านจำลองชนกลุ่มน้อย
วัดหัวถิงซื่อ

(น.306) รูป 138 ตอนหยุดพักจะไปป่าหิน

(น.307 รูป 139 บทกวีของท่านประธานเหมาเจ๋อตุง กล่าวชมธรรมชาติ


อ้างอิง

1. ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 228
2. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 234
3. ย่ำแดนมังกร หน้า 344
4. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 18
5. ย่ำแดนมังกร หน้า 286
6. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 17
7. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 22
8. ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 27,28
9. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 234
10. ย่ำแดนมังกร หน้า 27,30
11. ย่ำแดนมังกร หน้า 332,333,334,335
12. เย็นสบายชายน้ำ หน้า 9
13. ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 110,111
14. ย่ำแดนมังกร หน้า 300,301,302,303,304,305
15. ย่ำแดนมังกร หน้า 285
16. ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 19,20
17. ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 21
18. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 28
19. ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 110