Please wait...

<< Back

ฉางชุน

จากหนังสือ

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่งหน้า66

(น.66) บริเวณจี๋หลิน มีโรงงานเคมีขนาดใหญ่ ผลิตปุ๋ยเคมีพลาสติก สีย้อม ภริยาของท่านเคยทำงานโรงงานเคมี ที่ฉางชุน

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่งหน้า97

(น.97) ข้าพเจ้าเล่าว่าจะไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ท่านก็บอกว่าที่ฉางชุนมี Remote Sensing Experimental Station อยู่ใต้ China Academy of Sciences เช่นเดียวกัน

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลินหน้า4,6,7,26,32

(น.4) รูป 4 เจ้าภาพไปส่งที่สถานีรถไฟ
รูป 5 ในรถไฟ

(น.4) ที่สถานีลาท่านรองผู้ว่าฯ และคณะ มีผู้อำนวยการสำนักงานรถไฟมาส่งด้วย กระทรวงรถไฟจีนจัดรถให้ 15 คัน พาพวกเราเดินทางไปส่งถึงฉางชุน เส้นทางเดินทางมีแต่หิมะปกคลุม ดูสวยงามดีไปอีกแบบ


(น.6) รูป 9 ลงที่สถานีฉางชุน


(น.7) รูป 10 ลงที่สถานีฉางชุน


รูป 11 ลงที่สถานีฉางชุน

(น.7) ขึ้นรถ ได้ความว่ารถคาดิแลคคันนี้เพิ่งสั่งเข้ามาจากสหรัฐฯ ใช้รับข้าพเจ้าเป็นคนแรก ท่านรองอธิบายว่าจี๋หลินมีเนื้อที่ 187,400 ตารางกิโลเมตร มีพลเมือง 25 ล้านคน มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ สามารถส่งออกได้ มีธรรมชาติที่งดงาม เช่น ฉางไป๋ซาน ซึ่งสหประชาชาติอนุรักษ์เป็นมรดกโลก เป็นสถานที่

(น.26) ตอนค่ำไปที่ตึก 10 พบผู้ว่าราชการมณฑลและภรรยา แนะนำบุคคลต่าง ๆ เช่น ท่านรองผู้ว่าราชการมณฑลเลขาธิการรัฐบาล รองอธิบดีตำรวจ รองอธิบดีวิเทศสัมพันธ์ นายกเทศมนตรีเมืองฉางชุน ผู้ว่าฯ กล่าวต้อนรับว่า ประชาชน 25 ล้านคนต้อนรับแขกจากประเทศไทยและเพื่อนจากกระทรวงการต่างประเทศ ท่านเคยไปเมืองไทย ตอนไปประชุมที่ญี่ปุ่น บริษัทซีพีเชิญไปได้เยี่ยมนายกรัฐมนตรี ได้ไปเห็นระบบเศรษฐกิจของไทย ศูนย์การค้า วัด วัง ไปเล่นน้ำทะเล

(น.32) ที่เมืองฉางชุนนี้มีมัสยิด 2 แห่ง มีการชวนดื่มกันบ่อยตามธรรมเนียมกันเปย จะต้องดื่มหมด แต่ว่าหลาย ๆ ทีก็ต้องพูดว่าครึ่งแก้ว มีเหล้าองุ่นพิเศษอย่างหนึ่งทำด้วยองุ่นป่า ท่านผู้ว่าฯ รับรองว่าไม่มีมลภาวะ สังเกตดูแขกที่มาชอบไวน์ออกรสเปรี้ยว แต่ที่นี่ชอบดื่มไวน์หวาน ๆ มากกว่า

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลินหน้า38,61,62,73,110,112,114

(น.38) ระหว่างนั่งรถผ่านโรงงานที่สร้างเลนส์กล้องถ่ายภาพทางอากาศ เมืองนี้เป็นเมืองทางวิชาการ ทั้งมณฑลมีมหาวิทยาลัย 40 กว่าแห่ง ส่วนมากอยู่ที่ฉางชุน ไปถึงที่วัง ผู้อำนวยการจางซื่อเจี้ยคอยรับ พาเข้าในอาคารห้องแรกจัดแสดงภาพเกี่ยวกับชีวิตของจักรพรรดิผู่หยี หรือที่เรียกกันในภาษาไทยว่าพระเจ้าปูยี พระองค์ประทับที่วังนี้ระหว่าง ค.ศ. 1932 - 1945 มีภาพเป็นกษัตริย์ตอนพระชนม์ 3 พรรษา


(น.61) รูป 106 รูปภาพและสิ่งของของจักรพรรดิ

(น.61) ปี ค.ศ. 1931 ญี่ปุ่นบุกจีน และสนับสนุนให้ปูยีจากเทียนสินไปอยู่ที่ตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งรัฐแมนจูกัว ค.ศ. 1932 มาฉางชุน ค.ศ. 1934 ญี่ปุ่นสถาปนาปูยีเป็นจักรพรรดิแมนจูกัว ภาพถ่ายกับญาติหน้าวัง ภาพสปายญี่ปุ่น ค.ศ. 1931 ผู่เจี๋ยแต่งงานกับคนญี่ปุ่น ปูยีไม่ไว้ใจ ระแวงว่าจะแย่งบัลลังก์จึงไม่ติดต่อกันอีก พระองค์กลายเป็นคนมีนิสัยหวาดระแวง ดูหมอดูให้ตัวเอง ถือโชคลางต่างๆ เช่น งบประมาณแผ่นดินต้องมีเลข 6 ตลอด เพราะถือว่าเลข 6 เป็นเลขมงคลสำหรับพระองค์


(น.62) รูป 107 รูปภาพและสิ่งของของจักรพรรดิ


รูป 108 รูปภาพและสิ่งของของจักรพรรดิ


รูป 109 รูปภาพและสิ่งของของจักรพรรดิ

(น.62) ปี ค.ศ. 1936 หว่านหรงเริ่มถูกขังในตำหนักเย็น ติดฝิ่นบ้างแล้ว สวมชุดญี่ปุ่น ภาพถานยู่หลิงกับผู่เจี๋ย ภาพสนมคนที่ 4 หลี่ยู่ฉิน ตอนนั้นญี่ปุ่นอยากให้แต่งงานกับสาวญี่ปุ่นแต่ปูยีไม่ยอม และแต่งกับหลี่ยู่ฉินซึ่งเป็นนักเรียนอายุ 15 ปี เนื่องจากหลี่ยู่ฉินเป็นเด็กนักเรียนธรรมดา ๆ ไม่เคยมีความรู้เรื่องราชสำนัก ปูยีจึงต้องควบคุมตั้งกฎเกณฑ์ให้มากมาย เช่น ให้ทำตามกฎเกณฑ์ลัทธิขงจื้อ เป็นผู้หญิงต้องเชื่อฟังพ่อ สามี และลูกชาย ปี ค.ศ. 1956หย่ากับปูยีและแต่งงานใหม่ ขณะนี้อายุ 67 ปี ยังอยู่ฉางชุน

(น.73)สรุปนิทรรศการว่า อย่าลืมประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มนุษย์ต้องการพัฒนา และโลกต้องการสันติภาพ ในห้องสุดท้ายนี้มีหนังสือขายหลายเล่ม มีเรื่องเกี่ยวกับนิทรรศการเรื่องเมืองฉางชุน และเรื่องประวัติ-ศาสตร์เกี่ยวกับการรถไฟซึ่งเป็นขั้นตอนการเข้ายึดอำนาจของญี่ปุ่น

(น.110) กลับไปรับประทานอาหาร ทางสถานทูตแจ้งข่าวมาว่า ท่านพูมี วงวิจิด อดีตรักษาการประธานประเทศลาว ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม ข้าพเจ้าขอให้ท่านเอกอัครราชทูตไปวางพวงมาลาแทน เข้าใจว่าจะมีการจัดพิธีศพเป็นการภายใน ไม่ได้เชิญแขกภายนอก หลังอาหารพบอาจารย์ 2 ท่าน คือ ศาสตราจารย์เฝิงเจียจางกับศาสตราจารย์จ้าวหวาชาง ศาสตราจารย์เฝิงเป็นประธานคณะวิชาการของสถานี Remote Sensing ที่ฉางชุน


(น.112) รูป 192 เวลาเดินบนน้ำแข็งต้องระวังให้ดีเพราะลื่นมาก



(น.112) ต่างประเทศมาร่วมงานด้วย เช่น จากมหาวิทยาลัยชีบะ และสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมอิวาเตะ ประเทศญี่ปุ่น มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยบอสตัน สหรัฐอเมริกามาทำงานได้ 3 ปีแล้ว แต่ก่อนนี้รังสีดวงอาทิตย์และปริมาณ Ultraviolet จะมีเท่าไรนั้นไม่ได้เป็นที่สนใจมากนัก เพราะไม่ได้คิดกันว่าจะมีผลกระทบต่อมนุษย์มากนัก ต่อมาค้นพบว่ามีผลทั้งในด้านสุขภาพของคนโดยตรงและเกษตรกรรม (น้ำแล้ง น้ำท่วม) จึงให้ความสำคัญต่องานนี้มากขึ้น ตอนที่ภูเขาไฟพินาตูโบในฟิลิปปินส์ระเบิดสามารถวัดความเปลี่ยนแปลงของแสงอาทิตย์ที่มาสู่โลก (ถูกมลภาวะบัง) ได้จากฉางชุน ที่สถานีมีงานด้านการพัฒนาการใช้เรดาร์ (SAR) และ Multispectral Scanner ชนิดที่ติดเครื่องบิน ในการวิเคราะห์ภาพต่าง ๆ (image processing) เขียน software เอง แต่ด้าน hardware จีนยังพัฒนาได้ไม่ดี ใช้ของอเมริกาและญี่ปุ่น นอกจากนั้นทำเรื่องการใช้ Microwave, Laser การใช้ Spectrometer วัดในพื้นที่ภาคสนาม การ

(น.114) คำอธิบายก็ยังไม่เข้าใจ คือ เครื่องวัด Bidirectional Reflection Spectrum สำหรับเรื่องพื้นที่ศึกษา (Test Site) ศาสตราจารย์จ้าวเป็นคนอธิบายว่าสถาบันได้เลือกพื้นที่ประมาณ 300 ตารางกิโลเมตร ในเขตพื้นที่ราบซงเหลียวกับภูเขาในแถบตะวันออกของมณฑลจี๋หลิน ห่างจากเมืองฉางชุน 13.5 กิโลเมตร ในพื้นที่นี้มีสภาพภูมิศาสตร์ สภาพธรรมชาติที่หลากหลาย มีทรัพยากรธรรมชาติมาก มีพื้นที่ป่า (ปลูก) และป่าชั้นที่ 2 (Secondary Forest คือป่าที่ขึ้นมาเองตามธรรมชาติแทนป่าชั้นแรก) มีพืชชั้นสูงราว 530 ชนิด ในด้านอุทกวิทยามีแม่น้ำอีถง ไหลตามแนวเหนือใต้ มีอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติมากมาย มีลักษณะต่าง ๆ กันในแง่ของมลภาวะ ตะกอน ซึ่งเหมาะแก่การศึกษาด้าน Remote Sensing สามารถศึกษาด้านธรณีวิทยา ธรณีสัณฐาน ปฐพีวิทยา พืชพันธุ์ต่าง ๆ ได้ด้วย ที่ดินผืนนี้มีลักษณะเป็นตัวแทนของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เพราะอยู่ศูนย์กลางของภูมิภาค และมีลักษณะที่เหมือนกับส่วนอื่น ๆ ปี ค.ศ. 1979 มีการทดลองใช้ Aerial Remote Sensing นักวิชาการหลายชาติมาประมาณ 400 คน คิดว่าไทยก็มาด้วย ค.ศ. 1980 สร้าง Large Scale Simulation Remote Sensing Lab วัด ground spectrum measurement ซึ่งอาจารย์บอกว่าได้ผลเรื่องป่าไม้มากกว่าพืชอื่น ต่อมาได้ทำสถานีวัดแสงจากดวงอาทิตย์ที่ทำงานอัตโนมัติ มีมหาวิทยาลัยด้านการเกษตรปลูกพืชต่าง ๆ

Next >>