Please wait...

<< Back

สนธิสัญญานานกิง

ประเภทคำ

สนธิสัญญา
คำอธิบายเพิ่มเติม

จากหนังสือ

คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 144 ,156

(น.144) เมืองฮ่องกง อังกฤษยึดฮ่องกงและพัฒนาการในช่วงแรก (ค.ศ. 1841-1851) เรื่องปัญหาฝิ่น เขาว่าเป็นเพราะหลินเจ๋อสูทำลายฝิ่นของอังกฤษ อังกฤษจึงยกทัพเรือมาปราบ (ในส่วนนี้เขาแสดงเรื่องเกี่ยวกับสงคราม แสดงอาวุธต่างๆ คล้ายๆ กับที่ดูเมื่อเช้านี้ที่พิพิธภัณฑ์สงครามฝิ่น เช่น กล้องส่องทางไกลของอังกฤษ รูปเรือ Nemesis ทำลายเรือรบจีน รูปปืนใหญ่ รูปเครื่องมือสูบฝิ่น) สุดท้ายมีผู้แทนจีนจากราชสำนักชิงมาหาอังกฤษ (Sir Henry Pottinger) และลงนามในสนธิสัญญานานกิงในเรือคอนวอลลิส ซึ่งจอดในแม่น้ำฉางเจียง เมืองนานกิง (ให้สัตยาบันใน ค.ศ. 1843)

(น.156)สนธิสัญญานานกิง ค.ศ. 1842 (ตรงกับรัชกาลที่ 3) ข้อที่มีผลกับไทยอย่างหนึ่งคือ การยกเลิกการค้าผูกขาดแบบสิบสามห้าง ข้อนี้ทำให้ข้อได้เปรียบของไทยที่ค้าโดยตรงในระบบบรรณาการหมดไป

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 217 ,

ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฉินจนถึงรัชสมัยของจักรพรรดิเตากวางในราชวงศ์ชิง ฮ่องกงอยู่ในขอบเขตอำนาจอธิปไตยของจีน ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากทำสงครามฝิ่นสองครั้ง อังกฤษบังคับรัฐบาลชิงซึ่งฉ้อราษฎร์บังหลวงและไร้ความสามารถให้ลงนามในสนธิสัญญานานกิง ค.ศ. 1842 และอนุสัญญาปักกิ่ง ค.ศ. 1860 ใน ค.ศ. 1898 อังกฤษบังคับรัฐบาลชิงอีกครั้งให้ลงนามในอนุสัญญาขยายฮ่องกง และครอบครองเขตฮ่องกงทั้งหมด แม้ว่าจะแยกกันนาน ความผูกพันทางเลือดเนื้อของประชาชนในผืนแผ่นดินใหญ่และเพื่อนร่วมชาติชาวฮ่องกงก็ไม่เคยถูกตัดขาด ความรู้สึกร่วมกันเพื่อความอยู่ดีกินดีของชาติก็ไม่ถูกตัดขาดเช่นเดียวกัน ประชาชนจีนไม่เคยยอมรับสัญญาไม่เสมอภาคที่ตนเองถูกบังคับ แม้แต่วันเดียวก็ไม่เคยลืมความรู้สึกอัปยศที่ฮ่องกงถูกยึดครอง และไม่เคยหยุดยั้งการต่อสู้ที่ไม่ย่อท้อเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยและเพื่อการปลดปล่อยฮ่องกงกลับมาเป็นของชาติจีน