Please wait...

<< Back

ทิเบต


รูป 87 ภาพฝาผนังรูปบ้านและประวัติดาไลลามะองค์ที่ 5
Wall painting depicting the city of Lhasa and the story of the 5th Dalai Lama.

(น.98) รูปพระอาจารย์จงคาปา (เป็นผู้ก่อตั้งนิกายเกลุกปะหรือนิกายเหลือง) เป็นอาจารย์ของพระดาไลลามะและพระปันฉานลามะ เขาเล่าว่าแต่แรกผู้ที่จะได้เป็นดาไลลามะและปันฉานลามะ จะต้องเป็นผู้รอบรู้ มีลูกศิษย์ลูกหามาก ต่อมามีระบบการสรรหาทารกสืบทอดวิญญาณ รูปศิษย์คนสำคัญของพระอาจารย์จงคาปา ในตู้มีพระไตรปิฎกอยู่มากมาย ใส่ตู้ปิดกุญแจเอาไว้ ขอดูพระไตรปิฎก ต้องไปตามคนเก็บกุญแจมา หากุญแจอยู่พักใหญ่ เมื่อหากุญแจพบยังไขไม่ได้ เพราะรูกุญแจอยู่สูง พอดีมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคนหนึ่งตัวสูงมาก จึงไขเปิดตู้และหยิบคัมภีร์ออกมาได้ ฉบับที่หยิบมานี้เป็นสมุดพับ กระดาษดำเขียนตัวอักษรด้วยหรดาล เขาบอกว่ากระดาษที่เขียนเป็นกระดาษพิเศษของทิเบต มีสรรพคุณสำคัญคือ แมลงไม่กิน คัมภีร์ฉบับนี้เป็นปรัชญาปารมิตาสูตร กระดาษบางหน้าติดกัน จะว่าเป็นเพราะความชื้นก็ไม่น่าจะใช่เพราะทิเบตอากาศแห้ง อีกอย่างหนึ่งคือเก็บเอาไว้เฉยๆ ไม่มีคนอ่าน เนื่องจากมีคัมภีร์มากอ่านไม่ทัน


(น.98) รูป 89 คัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตร กระดาษดำหมึกทอง
Prajnaparamitasutra, gold ink on black paper.

(น.99) ในห้องมีภาพดาไลลามะองค์ที่ 5 เฝ้าจักรพรรดิซุ่นจื้อ ใน ค.ศ. 1652 จักรพรรดิสถาปนาดาไลลามะ ตามประวัติว่ามีผู้ติดตามจากทิเบตไปปักกิ่ง 3,000 กว่าคน ขึ้นบันไดไปสองชั้น มีที่เก็บพระกริ่ง ทำด้วยโลหะผสม 2,600 องค์ การหล่อพระแบบนี้ใช้แร่ธาตุหายาก 10 ชนิดขึ้นไป วิธีหล่อแบบนี้ทำในทิเบต เนปาล และอินเดีย ข้าพเจ้าสงสัยว่าธรรมเนียมพระกริ่งทิเบตเป็นอย่างไร ลืมถาม อาจฟังผิด ในห้องมีตะเกียงเนย ชาวบ้านนำเนยมาจากบ้าน มาเติมอยู่ตลอดเวลา ไฟจึงไม่ดับเลย อีกห้อง มีโบราณวัตถุที่พ่อค้าชาวทิเบตผู้หนึ่งซื้อจากที่ต่างๆ นำมาถวายพระ ประมาณ 200 กว่าชิ้น ถวายใน ค.ศ. 1995 เข้าไปในถ้ำธรรมราชา (ฝ่าหวังต้ง) เป็นห้องที่เก่าแก่ที่สุดในวังโปตาลา มีอายุราว 1,360 ปี เป็นห้องที่กษัตริย์ซงจ้านกานปู้มาพักปฏิบัติธรรม มีรูปกษัตริย์ซงจ้านกานปู้ เจ้าหญิงทรีซุน (ภฤกุตี) จากเนปาลซึ่งเป็นมเหสีอีกพระองค์หนึ่ง (เป็นผู้นำพุทธศาสนามาทิเบต เช่นเดียวกับเจ้าหญิงเหวินเฉิง) เจ้าหญิงเหวินเฉิง เสนาบดีทิเบตผู้ที่เป็นตัวแทนกษัตริย์ไปกรุงฉังอานเพื่อสู่ขอเจ้าหญิงเหวินเฉิง (มีเรื่องว่าเสนาบดีผู้นี้จะต้องผ่านการทดสอบสติปัญญาหลายอย่าง เช่น ต้องเอาเชือกร้อยไข่มุกซึ่งมีรูเลี้ยวไปเลี้ยวมา 9 ครั้ง ต้องคัดเลือกจับคู่แม่ม้าลูกม้า ต้องดูออกว่าคนไหนเป็นเจ้าหญิงตัวจริง) เสนาบดีผู้ประดิษฐ์อักษรทิเบตและเขียนไวยากรณ์ทิเบต

(น.100) มีรูปสนมชาวทิเบตซึ่งมีลูกกับกษัตริย์ มีเตาไฟและหม้อ ซึ่งเชื่อว่าเป็นของดั้งเดิมที่กษัตริย์และเจ้าหญิงใช้ อีกห้องจัดเป็นห้องนิทรรศการโบราณวัตถุและศิลปวัตถุด้านศาสนาและสังคมของทิเบต เช่น เครื่องแต่งกายของข้าราชการตำแหน่งต่างๆ รูปเทวดาของอินเดียหรือเนปาล อายุประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 9 ตะเกียงเนยทอง เป็นของที่เจียงไคเช็กถวายดาไลลามะองค์ที่ 14 (ปัจจุบัน) กาน้ำชา และถ้วยชาแบบต่างๆ ในสมัยต่างๆ ประกาศนียบัตรที่ UNESCO มอบให้ ยกย่องให้วังโปตาลาเป็นมรดกโลก รูปพระอาจารย์มิลาเรปา หรือมิลารัสปา (คริสต์ศตวรรษที่ 11) เป็นศิษย์เอกของผู้ก่อตั้งนิกายก๋าจี่ปา หรือ กากยูปะ (Kagyur pa) หรือนิกายขาว ซึ่งมีนับถือมากทางภาคตะวันออก เครื่องประกอบพิธีของทิเบตเป็นเงินลงยา (cloisonné) และประดับอัญมณี ข้าพเจ้าสงสัยว่าปะการังมาอยู่ในทิเบตได้อย่างไร เขาอธิบายว่าสมัยก่อนทิเบตอยู่ในทะเล เมื่อแผ่นดินยกตัวขึ้น ปะการังจึงมาอยู่ในดินและขุดได้ ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือเปล่า น่าสงสัยว่าสมัยที่ทิเบตอยู่ใต้น้ำมีปะการังแบบนี้หรือยัง สังข์ (ใหญ่มาก) ใช้เป่าในพิธีที่ดาไลลามะออกว่าราชการ ตาราเขียวทพด้วยแก้วคริสตัล วัชรปาณีอยู่บนดอกบัว 8 กลีบ (น.105) วัดต้าเจาซื่อมีประวัติยาวนานถึงกว่า 1,300 ปี สมัยราชวงศ์ถัง สร้างเมื่อ ค.ศ. 647 สมัยกษัตริย์ซงจ้านกานปู้ เล่ากันว่าเจ้าหญิงเหวินเฉิงพระมเหสีสร้างวัดนี้เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระศากยมุนีที่นำมาจากจีน (เชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้หล่อจากพระพักต์ของพระพุทธเจ้าเมื่อมีพระชนมายุได้ 12 พรรษา ใช้โลหะหลายชนิดผสมกัน หล่อที่แคว้นมคธ) มีอีกวัดคือ วัดเสี่ยวต้าเจา เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปของพระมเหสีที่เป็นเจ้าหญิงเนปาล เนื่องจากเล่ากันว่าวัดนี้ตะเกียงเนยสว่างตลอดเวลา เพราะชาวบ้านเอาเนยมาถวายเป็นเชื้อไฟตลอด บริเวณที่ตั้งวัดต้าเจาซื่อ เดิมเป็นทะเลสาบ เล่าเรื่องกันว่า เจ้าหญิงเหวินเฉิงศึกษาภูมิประเทศของทิเบต มองเห็นเป็นรูปนางยักษ์ วิธีปราบก็คือ สร้างวัดตามบริเวณสำคัญของนางยักษ์ เพื่อต่อต้านอำนาจของนาง ทะเลสาบนี้อยู่ตรงกลางหัวใจของนางยักษ์พอดี จึงควรสร้างวัดเพื่อกำจัดสิ่งชั่วร้ายบริเวณนั้น (เข้าใจว่าใช้วิธีการดูฮวงจุ้ยตามแบบจีน)


(น.105) รูป 92 พระพุทธรูปพระศากยมุนีแบบโจโว (พระพักต์ 12 พรรษา)
Sakayamuni at twelve, Jokhang Monastery.


รูป 93 ปัทมสัมภวะ
Padmasambhava.

(น.108) ตำหนักปันฉานลามะองค์เก่าที่เพิ่งสิ้นพระชนม์ไป เลี้ยงชาเนย ชาวทิเบตเกือบทุกคนทำเอง ใส่กระติกรับประทานทั้งวัน ที่นี่สิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดคือ พระพุทธรูป ถึงเราจะไม่ยอมเชื่อตำนานเรื่องพระพุทธเจ้าเป็นผู้ให้สร้าง ก็ยังรู้สึกถึงความสงบและความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูปองค์นี้ ก่อนกลับ ไปที่หนึ่งเรียกกันว่า ตำหนักสุริยประภา เป็นที่ประทับของดาไลลามะ นั่งรับประทานชาเนยและขนมต่างๆ รองนายกเทศมนตรีบรรยายว่า ลาซาเป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของทิเบต มี 7 อำเภอ 1 เขต ใน 7 อำเภอนั้นมีอยู่อำเภอหนึ่งที่เลี้ยงปศุสัตว์ นอกนั้นทำการเกษตร ประชากร 475,000 คน 87.5% เป็นชาวทิเบต จีนเปิดประเทศประมาณ 20 กว่าปี เมืองลาซาก็พยายามเปิดกว้างเช่นกัน เนื้อที่เพิ่มขึ้นจาก 3 ตารางกิโลเมตรมาเป็น 52 ตารางกิโลเมตร รายได้ต่อหัวในเขตเกษตรและปศุสัตว์มีรายได้ 1,760 หยวนต่อปี ลาซามี GDP สูงที่สุดในทิเบต ปัจจุบันลาซามีระบบสาธารณสุขดี มีโรงพยาบาลใหญ่ตามอำเภอ ส่วนตำบลมีสถานีอนามัย ไปดูที่ประทับดาไลลามะ มีห้องโถงใหญ่ ใช้ประกอบพิธีศาสนา ของที่ตั้งบูชาอยู่เป็นของดั้งเดิม เสาใช้พรมหุ้มตามธรรมเนียมทิเบต ทุกวัดจะมีที่ประทับดาไลลามะและพระปันฉานลามะ เพราะเมื่อมีงานสำคัญ 2 องค์นี้ต้องเด็จร่วมงาน แต่ละปีมีงานทางศาสนา 8 วัน ลามะจากทุกทิศจะมาร่วมประกอบศาสนพิธี

(น.110) ลานหน้าวัดมีตลาด เขาว่าคนจากเนปาลมาขายของมาก หลายคนมามีครอบครัวตั้งถิ่นฐานอยู่ทิเบตเลย กลับมารับประทานอาหารกลางวันที่โรงแรม แล้วออกไปพิพิธภัณฑ์ทิเบต เวลา 15.20 น. พิพิธภัณฑ์นี้สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1999 เปิดในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน ตรงห้องโถงมีรูปถ่ายทิวทัศน์ทิเบต รูปแม่น้ำยาร์ลุง ตรงโค้งใหญ่ที่สุด รูปทุ่งหญ้าภาคเหนือของทิเบต รูปโบราณสถานที่อาหลี่ (Ngari) หรืองารีในภาษาทิเบต ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งในอาณาจักรกู่เก๋อ และรูปภูเขาหิมาลัย มีป้ายลายมือประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมินลงวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2001 การจัดแสดงแบ่งเป็นส่วนดังนี้ ส่วนที่ 1 วัฒนธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของทิเบต จัดแสดงเครื่องมือหินต่างๆ แบ่งเป็นสามสมัยคือ สมัยหินเก่า (Paleolithic) สมัยหินใหม่ (Neolithic) และสมัยโลหะ เริ่มยุค Pleistocene ก็มีมนุษย์แล้ว นอกจากมีเครื่องมือหินแล้ว มีเครื่องปั้นดินเผาด้วย เครื่องปั้นดินเผาวัฒนธรรมชูกง (Chugong) ทำละเอียดกว่าของวัฒนธรรมคาโร (Karo) การเปรียบเทียบเครื่องมือหินกับเครื่องมือยุคปัจจุบัน แสดงฟอสซิลพืชพันธุ์ต่างๆ บางคนเชื่อว่าชิงเคอเป็นพืชที่เจ้าหญิงเหวินเฉิงนำเข้ามาสมัยซงจ้านกานปู้ แต่การพบฟอสซิลแสดงว่าเป็นพืชในพื้นที่ เครื่องมือที่ทำด้วยเขาและกระดูกสัตว์ ภาพเขียนบนหินตามถ้ำ มีรูปถ่ายและแผนที่ที่ตั้งถ้ำ ภาพที่เขียนส่วนใหญ่เป็นภาพล่าสัตว์และการทำพิธี (หมอผีเต้นรำ)

(น.111) ส่วนที่ 2 มีสาระข้อมูลประวัติศาสตร์ที่แสดงว่าทิเบตไม่แบ่งแยกจากจีน เช่น เรื่องเจ้าหญิงเหวินเฉิงและศิลาจารึกพันธมิตรลุง-หลาน ค.ศ. 823 (แสดงการยุติสงครามระหว่างราชวงศ์ถังและอาณาจักรถู่โป๋) แผนที่ทิเบตที่เจ้าหญิงเหวินเฉิงคิดขึ้นเป็นภาพนางยักขินี สร้างวัดที่บริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกายนางยักษ์ วัดต้าเจาซื่ออยู่ที่หัวใจ ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทิเบตมีรัฐบาลท้องถิ่น มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสาเกีย (Sakya) บัณฑิตสาเกียมีจดหมายเจริญไมตรีกับมองโกล มีตราที่กุบไลข่านให้หลานเจ้าเมืองสาเกียมีอำนาจปกครองทิเบต เอกสารการปกครอง พวกหนังสือเวียนออกคำสั่งเกี่ยวกับการจ่ายภาษีสมัยต้นราชวงศ์หยวน เงินตราในสมัยนี้


(น.111) รูป 98 แผนที่ทิเบตวาดเป็นภาพยักขินีแสดงที่ตั้งวัดต่างๆ ที่จะทำให้ยักขินีอยู่กับที่
Map of Tibet in the shape of an ogress depicting locations of monasteries pinning down the ogress.


(น.112) รูป 99 รูปต้นสาละ
Sala tree.

(น.112) สมัยราชวงศ์หมิงรัฐบาลกลางสนับสนุนศาสนาทุกนิกาย ขณะที่ราชวงศ์หยวนสนับสนุนแต่พวกสาเกีย มีตราสำหรับท้องถิ่นต่างๆ เอกสารมอบที่ดินและตำแหน่งแก่ขุนนางในท้องที่ มีภาพเขียนเล่าเรื่องจักรพรรดิหงอู่ (จูหยวนจาง) ให้รัฐบาลท้องถิ่นนำลามะไปสวดมนต์ในวังที่เมืองหนานจิง มีตัวหนังสือเขียนบรรยายเป็น 5 ภาษา คือ ภาษาทิเบต ภาษาจีน ภาษามองโกล ภาษาอาหรับ และภาษาแมนจู รูปต้นไม้ (ต้นสาละ) ที่จักรพรรดิเฉียนหลงเขียนให้พระปันฉานลามะองค์ที่ 6 มีอักษรบรรยาย 3 ภาษา เขียนว่า จักรพรรดิจะฉลองวันพระราช
สมภพ 70 พรรษา เชิญปันฉานลามะองค์ที่ 6 ไปปักกิ่ง
สมัยรัฐบาลท้องถิ่น (ค.ศ. 1642-1951) มีสาระโดยย่อว่า
ค.ศ. 1642 ดาไลลามะกับปันฉานลามะ ส่งทูตไปเฝ้าจักรพรรดิชิงที่แมนจูเรีย
ค.ศ. 1643 ดาไลลามะองค์ที่ 5 สามารถสถาปนานิกายเหลืองเกลุกปะ รวมศาสนาและการปกครองเข้าด้วยกัน
ค.ศ. 1751 มอบอำนาจให้ดาไลลามะองค์ที่ 7 ไปปกครองทิเบต
สมัยจักรพรรดิเฉียนหลงออกประกาศ 29 ข้อ ใน ค.ศ. 1793 กำหนดเสนาบดีจากส่วนกลางไปทิเบต ขอบเขตอำนาจดาไลลามะ ปันฉานลามะในการหาทารกสืบวิญญาณ กำหนดเรื่องการเป็นพระพุทธเจ้าผู้มี

(น.113) ชีวิต รายชื่อเสนาบดีประจำทิเบต แจกันสำหรับใส่ฉลากให้เด็กที่จะได้เป็นดาไลลามะจับ มักจะจับฉลากกันอยู่หน้าวัดต้าเจาซื่อ
หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของทิเบต เขียนทั้งภาษาทิเบต และภาษาจีน มี 17 หน้า
ตะเกียงเนยทำด้วยทองคำ ที่เจียงไคเช็กถวายดาไลลามะองค์ที่ 14 เหมือนกับที่เห็นที่วังโปตาลา
รูปอู๋จางซินประธานกิจการมองโกเลีย-ทิเบต ของรัฐบาลก๊กมินตั๋ง เยี่ยมผู้สืบทอดดาไลลามะองค์ที่ 13 คือ ดาไลลามะองค์ที่ 14
รูปการเซ็นสัญญา 17 ข้อ เกี่ยวกับการปลดปล่อยทิเบต วันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1951 ฝ่ายทิเบต รองประธานสภา ประธานสภาประชาชน เป็นคนลงนาม
แจกันหยกที่ประธานเหมาเจ๋อตุงถวาย
ส่วนที่ 3 วัฒนธรรมและศิลปะ ศิลปหัตถกรรมทิเบต พูดถึงวิวัฒนาการภาษาทิเบต ระบบสะกดเสียง เมื่อ 1,300 ปีมาแล้ว เสนาบดีของกษัตริย์ซงจ้านกานปู้เป็นผู้ประดิษฐ์อักษรทิเบต มีนิทรรศการเกี่ยวกับเอกสารทิเบตสมัยต่างๆ การเขียนด้วยหมึกทองและเงิน ลายมือสมัยต่างๆ ที่มีแบบต่างกัน อักษรตัวพิมพ์ของทิเบต
นอกจากนั้นแสดงพู่กันและเครื่องเขียน สำหรับเขียนภาษาทิเบต ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นดินสอเขียนบนกระดาษ กระดาษก็มีกระดาษพิเศษ ทำจากพืชชนิดหนึ่งกันตัวหนอนที่ชอบกัดกระดาษได้

(น.114) คัมภีร์ภาษาทิเบต สมัยกษัตริย์ราชวงศ์ถู่โป๋ที่เรียกว่า ธรรมราชา 3 องค์ มีคัมภีร์หลายฉบับที่แปลจากภาษาสันสกฤต รูปถ่ายสำนักการแปลที่เมืองซานหนานที่แปลพระสูตรต่างๆ นักแปลคัมภีร์กันจูร์ ตันจูร์ (Kanjur Tanjur) ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 8 ภาพอาจารย์อตีศะ (Atisa ค.ศ. 982-1054) ซึ่งมาจากเบงกอลในคริสต์ศตวรรษที่ 11 คัมภีร์ใบลาน คัมภีร์เปลือกไม้ชนิดหนึ่ง ปีเตอร์บอกว่า เป็นคัมภีร์โบราณยุคคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่เก่าแก่สมบูรณ์ที่สุด เขียนด้วยอักษร Gilgit ขอเขาเปิดตู้ดู ทางพิพิธภัณฑ์อุตส่าห์เอากุญแจเปิดให้ดู ข้าพเจ้าไม่ได้ดูตอนเขาเปิดตู้เพราะไม่เชี่ยวชาญคัมภีร์เหล่านี้ (ได้ความว่าเปิดแล้วก็ยังไม่ทราบว่าเป็นคัมภีร์อะไร เพราะว่าแผ่นหลังที่เป็น colophon บอกเรื่องขาดหายไป) ด้านศิลปะการแสดง มีหน้ากากงิ้วทิเบต เป็นงิ้วทางศาสนา หน้ากากรูปฮู่ฝ่าหรือธรรมบาล รูปวัชรปาณี เครื่องแต่งตัวงิ้วทิเบต รูปทังตง เกียลโป (Thangton Gyelpo) เป็นผู้ก่อตั้งคณะงิ้วทิเบต ในคริสต์ศตวรรษที่


(น.114) รูป 100 คัมภีร์ต่างๆ
Scriptures.

Next >>