Please wait...

<< Back

ทิเบต


รูป 50 พระพุทธรูปในวิหารพระไมเตรยะ (พระศรีอาริย์)
Buddha images in Maitreya Shrine.


(น.58) รูป 51 ถวายผ้าทังการูปปัทมสัมภวะที่ทำในเมืองไทยให้ผู้นำชมวัด
Presenting Padmasambhava Thangka woven in Thailand to the monk who guided us through the monastery

(น.58) รูปที่ดูวันนี้เป็นภาพพระดาไลลามะองค์ที่ 6 เฝ้าจักรพรรดิ มีรูปวัดถาเอ่อร์ รูปการต้อนรับอันยิ่งใหญ่ที่พระราชวังเฉิงเต๋อ (พระราชวังฤดูร้อน) นอกกรุงปักกิ่ง พระผู้บรรยายบอกว่ายังไม่แน่ว่าปีหน้าจะปั้นรูปอะไร อาจเป็นรูปการเข้าสู่สุขาวดี หรือรูปเจ้าหญิงเหวินเฉิงเสด็จทิเบต ดูศิลปะการปั้นเนยนี้แล้วนึกถึงเทศกาลปราสาทผึ้งของเรา ที่เอาขี้ผึ้งมาปั้นหรือแกะสลักในเทศกาลทางพุทธศาสนา ก่อนออกเดินทางถวายผ้าทังกา (ภาพพระบฏ) ที่เตรียมมา และถวายเงิน

(น.59) เราเดินทางต่อไปทะเลสาบชิงไห่ เป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดในจีน มีเนื้อที่ 4,583 ตารางกิโลเมตร คนขับรถอธิบายว่ามีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่ของฮ่องกงทั้งหมดถึง 4 เท่า (มีพื้นที่รวม 1,066 ตารางกิโลเมตร) ตอนเตรียมการเดินทางต้องตัดสินใจอยู่นานว่าจะดูอะไรๆ ใกล้ๆ เมืองซีหนิง ซึ่งยังมีที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง หรือจะไปทะเลสาบ ซึ่งต้องนั่งรถไฟ 2-3 ชั่วโมง ทะเลสาบก็ดูจะไม่มีอะไรเป็นพิเศษนอกจากเป็นห้วงน้ำใหญ่ ในที่สุดก็ตัดสินใจไป เพราะเป็นเส้นทางสู่ทิเบตและเป็นสภาพภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะพิเศษ ดูทิวทัศน์ 2 ข้างทาง รถผ่านอำเภอหวงจงซึ่งเป็นถิ่นของพวกหุย มีมัสยิด ดูหนังสือบรรยายสภาพทั่วไปของมณฑลว่าเป็นที่กำเนิดของแม่น้ำสำคัญ 3 สาย คือ แม่น้ำฉังเจียง แม่น้ำหวงเหอ และแม่น้ำโขง มีแร่ธาตุต่างๆ อุดมสมบูรณ์ เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ทองคำ ทองแดง ที่เพาะปลูกมีน้อยแต่ก็เพาะปลูกได้ดี มีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ทะเลทรายกับทะเลหิน เป็นส่วนที่ใช้อะไรไม่ได้ มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานในชิงไห่เมื่อ 30,000 ปีมาแล้ว มีตำนานว่าในสมัยราชวงศ์ถัง กษัตริย์ซงจ้านกานปู้แห่งราชวงศ์ถู่โป๋ของทิเบต ส่งเสนาบดีไปเมืองฉังอานสู่ขอพระราชธิดาของจักรพรรดิจีน คือ เจ้าหญิงเหวินเฉิง เจ้าหญิงเดินทางไปทิเบตต้องผ่านชิงไห่


(น.60) รูป 52 ลังเลี้ยงผึ้ง
Bee culture.

(น.60) มีเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ (รถผ่าน) มีการเพาะปลูกข้าวสาลี และชิงเคอ ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร บางคนว่าเป็นลูกเดือย แต่ดูอีกทีก็ไม่ใช่ บางคนก็ว่าเป็นข้าวบาร์เลย์ชนิดหนึ่ง บนภูเขาเขาว่ามียาจีนหลายอย่าง เช่น “หญ้าฤดูหนาวเป็นหนอน ฤดูร้อนเป็นหญ้า” และบัวหิมะ เป็นต้น มีทะเลสาบใหญ่ 4 แห่ง ติดรถไฟ แล้วไปต่อ 2 ข้างทางเป็นภูเขา มีการเพาะปลูก แต่ไม่ได้ตัดเป็นขั้นบันได หยุดรถเข้าห้องน้ำที่สภาตำบลหวงหยวน แล้วเดินทางต่อ แล้วไปหยุดอีกทีที่ภูเขาสุริยันจันทรา ซึ่งมีประวัติเล่าว่า เมื่อเจ้าหญิงเหวินเฉิงจะเดินทางไปทิเบต พระราชบิดาพระราชทานกระจกที่ส่องแล้วเห็นเมืองฉังอาน จะได้รู้สึกว่าบ้านเมืองอยู่ใกล้ เมื่อมาถึงภูเขาสุริยันจันทรานี้ ส่องกระจกไม่เห็นเมืองฉังอาน จึงทิ้งกระจกไป มีคนมาบรรยายว่ากำลังสร้างรูปเจ้าหญิงเหวินเฉิง แต่ยังสร้างไม่เสร็จ ตอนนี้เห็นมีแต่ศาลาบนเขาและร้านรวงขายของที่ระลึก ลมพัดแรงหนาวจะตาย กลับขึ้นรถ เดินทางต่อ แถวนี้มีแม่น้ำเล็กๆชื่อว่า เต้าถั่งเหอ เรื่องตำนานว่าเจ้าหญิงเหวินเฉิงร้องไห้คิดถึงบ้าน น้ำตากลายเป็นแม่น้ำไหลสวนทางกับแม่น้ำอื่นๆ แถวนี้กลับไปฉังอาน รถแล่นต่อไปมีเต็นท์ตั้งอยู่ เป็นพวกคนเลี้ยงผึ้ง หยุดที่เต็นท์หนึ่ง เจ้าของเป็นคนมาจากมณฑลเสฉวนมาเลี้ยงผึ้งที่นี่ เพราะอยู่ใกล้กับไร่ผักน้ำมัน (อิ๋วไช่) ที่กำลังออกดอกสีเหลือง ดอกน้ำมันที่นี่บานช้ากว่าที่เจียงหนาน 3 เดือน ที่จริงก็ไม่ได้เห็นอะไร เพราะเข้าใกล้รังผึ้งก็ไม่ได้ ถ้าไม่ใส่ชุดป้องกันผึ้งมันจะต่อยเอา เจ้านี้ขายผลิตผลไปหมดแล้วมีให้ดูขวดหนึ่ง (เห็นจะเก็บเอาไว้กินเอง) กลิ่นหอมดี ที่เต็นท์มีหมาสวยดี แต่ท่าทางจะดุ เคราะห์ดีเขาผูกเอาไว้ มีลูกแมวสีสวาดน่ารักก็เลยขอเขาอุ้มเล่น ที่จริงสถานทูตจะให้ดูการเลี้ยงผึ้งอีกเจ้าหนึ่ง ที่มีการผลิตผลิตภัณฑ์จากผึ้งครบวงจร นอกจากน้ำผึ้งแล้วยังมีนมผึ้ง เกสรผึ้งอีก แต่สันนิษฐานว่าขบวนเรายาวหาที่จอดรถไม่ได้ ก็เลยเอาที่ง่ายๆ อยู่ข้างทาง

(น.68)
3. ระบำที่เล่นงานวัด เทวดา 9 เศียร ไม่ทราบว่าเป็นพวกฮู่ฝ่าหรือธรรมปาลหรือเปล่า คนอธิบายบอกว่าความหมายคือ ให้คนรักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ฆ่าสิงสาราสัตว์ ขจัดสิ่งเลวร้าย
4. ร้องเพลงที่ราบสูงทิเบต เป็นเพลงที่ได้รับความนิยมสูงสุดเพลงหนึ่งในจีน
5. ผู้ชาย 4 คน ร้องเพลงรัก เล่นดนตรีเอง
6. แสดงพิธีการแต่งงานแบบหนึ่งของทิเบต ดูไม่ค่อยรู้เรื่อง เจ้าสาวถักเปียเล็กๆ หลายอัน มีขบวนแห่มารับเจ้าสาว พ่อแม่เจ้าสาวออกมาเพื่อนเจ้าสาวซ่อนเจ้าสาวไว้ ฝ่ายหญิงเรียกร้องสิ่งตอบแทน ฝ่ายชายต้องยอมรับเงื่อนไข ก่อนออกจากบ้าน เจ้าสาวเดินรอบบ้าน 3 รอบ แสดงความอาลัยอาวรณ์


(น.68) รูป 57 หนุ่มทิเบตถิ่นอัมโดร้องเพลงรัก
Amdo Tibetan lads singing love songs.

(น.71)
3. ต้องใช้ที่ราบสูงชิงไห่ให้เป็นประโยชน์ในการสร้างสรรค์เศรษฐกิจ แก้ปัญหาความยากจน เช่น ใช้ประโยชน์จากเหมืองแร่ การผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ พัฒนาการใช้น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ การพัฒนาสมุนไพรจีนและทิเบต ปศุสัตว์ในที่ราบสูง และส่งเสริมการท่องเที่ยว
4. การพัฒนาต้องให้สมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม การศึกษา การสาธารณสุข การกีฬา ด้านวัฒนธรรม โทรทัศน์ วิทยุ หอสมุด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การพัฒนาการศึกษา และสุขภาพอนามัยของเกษตรกรและประชาชนในเขตเลี้ยงปศุสัตว์
5. การปฏิรูปเปิดกว้างสู่ภายนอก ต้องเตรียมการรับมือกับเศรษฐกิจอย่างใหม่ เช่น การที่จีนจะเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก หรือเศรษฐกิจสมัยใหม่ที่ใช้ระบบ hi-tech นอกจากจะต้องพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแล้ว ต้องประดิษฐ์ คิดสร้างระบบต่างๆ เช่น ระบบการปกครอง ระบบบริหารงาน เป็นต้น พูดถึงกลยุทธ์การพัฒนาภาคตะวันตกของจีน มีความมุ่งหมายให้ชาวชิงไห่ทุกชนชาติได้ร่วมกันสร้างชาติและมีความเป็นอยู่ดี อยากเชิญคนไทยมาท่องเที่ยวและมาลงทุน ขณะนี้ก็มีชาวต่างชาติมาลงทุนบ้างแล้ว แต่มูลค่าการลงทุนยังไม่มาก ประเทศที่มามากมี แคนาดา สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ฮ่องกงก็มีมา มีโครงการร่วมทุนหลายโครงการ (ประมาณ 120 โครงการ แต่ขนาดของ

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 86,87,88


(น.86) รูป 80 คณะต้อนรับชาวทิเบตที่สนามบินก้งก่า ลาซา
With Tibetan welcoming party at the Gonggar Airport, Lhasa.

(น.86) ไปสนามบินเพื่อเดินทางต่อไปทิเบต ตอนนั่งรถไปสนามบินสวนกับขบวนรถของรัฐมนตรีต่างประเทศถังเจียสวน มาถึงที่ลาซาประมาณบ่ายโมงครึ่ง มีคณะต้อนรับคือ รองประธานสภาทิเบตเป็นผู้หญิง เคยพบกันที่เมืองไทย พิธีต้อนรับเหมือนที่ชิงไห่คือ ให้ดีดเกลือไปข้างหลัง 3 ที และดีดเหล้าไปข้างหลังอีก 3 ที ไม่ต้องดื่ม

(น.87) ถ่ายรูปหมู่กับคณะผู้นำทิเบตที่มารับ เข้าห้องน้ำและนั่งรถไปนครลาซา คำว่า ลาซา แปลว่า เมืองเทพ สนามบินลาซานี้ชื่อ สนามบินก้งก่า อยู่ห่างจากเมืองประมาณ 90 กิโลเมตร (ไม่ทราบว่าจริงหรือเปล่า เพราะเอกสารของสถานทูตบอกว่า 100 กิโลเมตร ในเครื่องบินบอกว่า 80 และคนขับรถบอกว่า 90) ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมงครึ่ง รถแล่นเลียบแม่น้ำหย่าลู่จ้างปู้ ภาษาทิเบตว่า แม่น้ำยาร์ลุงซังโป (Yarlung Zangbo) ต้นน้ำอยู่ในทิเบต แล้วไหลไปลงอินเดีย เป็นแม่น้ำพรหมบุตร ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน ส่วนที่ไม่มีเมฆเป็นสีฟ้าแจ๋ว คนขับรถบอกว่าที่นี่ไม่ค่อยจะมีอุตสาหกรรมเลยไม่มีมลภาวะ ที่ลาซานี้สบาย หน้าหนาวไม่หนาวมาก หน้าร้อนไม่ร้อนเกินไป หิมะไม่ตกแต่ฝนตก รถแล่นเลียบแม่น้ำสายนี้ อีกด้านเป็นภูเขา ภูเขาที่นี่ไม่มีต้นไม้มีแต่หิน ดูแล้วหน้าหนาวน่าจะมีหิมะ เพราะกัดเซาะหินทรายไหลลงจากภูเขาเป็นทาง คนขับรถบอกว่าคนแก่มาที่นี่ไม่เป็นอะไร แต่คนหนุ่มสาวอาจจะไม่สบาย คนหนึ่งมาจากปักกิ่งอายุ 96 ยังไม่เห็นเป็นอะไร

(น.88) รถแล่นข้ามแม่น้ำ 2 ข้างทางเป็นไร่นา แปลงผักก็ดูอุดมสมบูรณ์ดี เป็นช่วงเก็บเกี่ยว แล่นตามแม่น้ำลาซาเข้าเมืองลาซา ฝนตกลงมาหน่อยหนึ่ง ข้ามแม่น้ำอีกครั้งก็เข้าเมือง ไปถึงโรงแรมมีคนเต้นแบบสิงโตแต่เป็นตัวจามรี ไม่ได้ดูมาก ขึ้นบนห้อง รองประธานสภากับอธิบดีวิเทศสัมพันธ์ของทิเบตมาพูดถึงโปรแกรม แล้วให้พักผ่อน ส่ง email ได้ ท่านทูตก็ดูสบายดีไม่มีใครเป็นอะไร ท่านรองประธานสภาเดินมาเล่าถึงรายการ แต่บอกว่าวันนี้ห้ามทำอะไรทั้งนั้นพรุ่งนี้จะได้สบาย ในห้องนอนมี oxygen ให้เราทดลองสูดรู้สึกจั๊กจี้ ชักหิวก็เลยกินหมูเส้นกับมาม่าหมูสับ ลองโทรศัพท์ถึงซุปที่กรุงเทพฯ ก็โทรฯ ได้ สัญญาณชัดเจนดี ที่จริงเขาห้ามอาบน้ำสระผม ทดลองดูก็ไม่เห็นเป็นอะไร เขามีอุปกรณ์ออกกำลังกาย แต่ยังไม่กล้าลอง


(น.88) รูป 81 ระบำทิเบต “ระบำจามรีกับนายพราน” ต้อนรับหน้าโรงแรมที่พัก
Yaks and hunters dance in front of the hotel.

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 96,98,99,100,105,108,110,111,112,113,114,115,116,117,118,119,120,121,122,123

(น.96) เริ่มต้นไปที่วังแดงก่อน อาคารที่เราเห็นในปัจจุบันสร้างสมัยดาไลลามะองค์ที่ 13 เป็นสถานที่ใหญ่โอฬาร มีสิ่งที่น่าสนใจชมมาก ทางเดินชมวกวนเหมือนเข้าเขาวงกต ถ้าไปเองไม่มีคนนำคงจะหลงทาง จะเขียนตามที่เห็นก็ยังงงไม่ทราบว่าจะเล่าจะเขียนอย่างไรดี ห้องที่เข้าห้องแรก ฝาผนังทำเป็นช่องๆ เก็บคัมภีร์กันจูร์ของทิเบต อายุราว 300 กว่าปี น้ำหมึกที่เขียนเป็นทองคำ อยู่นานเท่าไรสีก็ไม่ลบเลือน หน้ารูปเคารพมีตะเกียงที่ใช้เนย เข้าใจว่าเป็นวิหารพระอวโลกิเตศวร มีรูปพระดาไลลามะองค์ที่ 1 ถึง 4 พระประธานเป็นรูปพระศากยมุนี มีรูปพระดาไลลามะองค์ที่ 5 มีรูปพระอาจารย์ 8 องค์ หรือว่าเป็นพระไภษัชยคุรุ มีสถูปวิญญาณของพระดาไลลามะองค์ที่ 11 ขณะนี้เห็นตามที่ต่างๆ ในวัง มีบันไดพาด เจ้า หน้าที่กำลังไปบันทึกว่า ในวังมีอะไรบ้าง เช่น ใช้ทองเท่าไร ใช้อัญมณีเท่าไร


(น.96) รูป 86 คัมภีร์กันจูร์
Tibetan Canons.

Next >>