Please wait...

<< Back

วัดชางจู

จากหนังสือ

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 154-158

(น.154) รูป 132 ลามะกำลังสวดมนต์
(น.154) เดินทางต่อไปวัดชางจู (วัดตรันดรุก Trandruk Lamasery) แปลว่า ไข่มุกอันรุ่งเรือง ตามชื่อภาษาจีน (ชาง = เจริญรุ่งเรือง จู = ไข่มุก) ถ้าตามความหมายภาษาทิเบตตรงกับคำว่า เหยาหลง เหยาเป็นเหยี่ยวชนิดหนึ่ง เล็กกว่าเหยี่ยวทั่วไป เหยาหลงหรือเหยี่ยวมังกร จึงเป็นสัตว์ผสม เอาชื่อสองอย่างมาผสมกัน เป็นโบราณสถานที่ได้รับการอนุรักษ์อันดับที่ 7 และเป็นวิหารรุ่นแรกของทิเบต ตามประวัติว่าผู้สร้างคือกษัตริย์ซงจ้านกานปู้ พระองค์สร้างวัดแบบนี้ 12 วัด เจ้าหญิงเหวินเฉิงมาพักในฤดูหนาว บูรณะในสมัยดาไลลามะองค์ที่ 5 ในแผนที่ทิเบตที่เป็นรูปยักขินี ตามที่เจ้าหญิงเหวินเฉิงคิดขึ้น วัดนี้อยู่ตรงไหล่ขวาของยักษ์ (หนังสือบางเล่มว่าเป็นไหล่ซ้าย)
(น.155) มีเรื่องเล่ากันว่า วัดนี้เคยมีทะเลสาบใหญ่ ใต้น้ำมีสัตว์ประหลาด 5 ตัว (เหยาหลง) คอยทำร้ายผู้คน กษัตริย์ซงจานกานปู้ปราบสัตว์ประหลาดได้ ในห้องโถงพระลามะสวดมนต์ ภาพผนังในห้องโถงเป็นภาพใหม่แต่ว่าเขียนได้ดี เป็นเรื่องพุทธประวัติ ประสูติ ตัดพระเกศา แบบที่คนไทยแต่ก่อนเรียกว่าปางพระเจ้าตัดเกศ บำเพ็ญทุกรกิริยา ตอนนั้นมีเด็กเอาไม้มาแยงพระกรรณ ก็ไม่รู้สึกอะไร ตอนนี้ในศิลปะไทยไม่มีภาพมารวิชัย ตรัสรู้ ยมกปาฏิหาริย์ เสด็จลงจากดาวดึงส์ มีภาพที่ไม่ทราบว่าเป็นภาพอะไร ปรินิพพาน ถวายพระเพลิง
(น.155) รูป 133 พระพุทธรูปทิเบต
(น.156) รูป 134 พระกวนอิม 11 หน้า 1,000 มือ
(น.157) รูป 135 หม้อและเตาไฟที่เชื่อว่าใครได้ลูบจะมีฝีมือทำกับข้าวดีขึ้น
(น.157) วิหารธรรมราชา มีรูปกษัตริย์ซงจ้านกานปู้ เจ้าหญิง 2 องค์ และเสนาบดี 2 คน ภาพตาราเขียว และตาราขาว
วิหารตารา มีรูปตาราขาว พระอีก 5 องค์ คือ พระไวโรจนะ พระรัตนสัมภวะ อโมฆสิทธิ อักโษภยะ อมิตาภะ สาวกสำคัญอีก 8 องค์ ดูแล้วงงไม่ทราบว่าองค์ไหนเป็นองค์ไหน
วิหารกวนอิม กวนอิม 11 หน้า 1,000 มือ มีรูปวัชรปาณี (น่ากลัว) ในห้องนั้นมีหม้อและเตาไฟที่เชื่อกันว่า เจ้าหญิงเหวินเฉิงเคยใช้ พูดกันว่า ถ้าใครไปลูบหม้อนี้แล้วจะมีฝีมือทำกับข้าวดีขึ้น
วิหารพระฉางโซ่ว หรืออมิตายุส มีรูปตาราขาว ตาราเขียว
วิหารพระปัทมสัมภวะ ปางต่างๆ 8 ปาง อยู่ข้างละ 4 ดูน่ากลัว สำหรับปราบปีศาจต่างๆ มีรูปปัทมสัมภวะปั้นด้วยดิน
ชั้นบนเป็นดาดฟ้ามีห้องเป็นกุฏิพระ ที่นี่มีพระอยู่ 50 กว่ารูป เข้าไปในห้องที่เก็บของล้ำค่า ที่ได้ดูมีดังนี้
(น.158) ทังกาประดับไข่มุกที่มีชื่อเสียงที่สุด เป็นรูปพระนางตาราขาวนั่งห้อยพระบาทข้างหนึ่ง เป็นปางที่เรียกว่า ราชลีลาสนะ ทำขึ้นสมัยราชวงศ์หมิง บางคนดูว่าหน้าตาเหมือนพระเนปาล มีเรื่องเล่าว่า มเหสีเอาทรัพย์สินที่สะสมมาให้สร้างทังกาประดับมุกนี้ ทังกามีหลายชนิดได้แก่ ภาพวาด ภาพไหมปัก ภาพทอ ภาพประดับไข่มุก ภาพผ้าปะต่อกัน (ตุยซิ่ว หรือ patchwork) ในห้องนั้นมีภาพอื่นๆ เช่น ภาพพระศากยมุนี ซึ่งเชื่อกันว่าเจ้าหญิงเหวินเฉิงนำมา ลักษณะของภาพเป็นศิลปะจีน แต่ไม่น่าจะเก่าถึงราชวงศ์ถัง ทอด้วยเส้นทอง จีวรเป็นลายมงคล 8
ภาพกวนอิม ลักษณะเป็นศิลปะจีน ใช้เส้นผมทอ ห้องบรรทมดาไลลามะและพระปันฉานลามะ พระประธานเป็นพระปัทมสัมภวะโลหะผสมอายุเกือบพันปี ทังกาที่แขวนอยู่เป็นของโบราณทั้งหมด พระนิกายเกลุกปะเป็นผู้เขียน ภาพหนึ่งเป็นภาพแสดงสายสืบทอดการสอนศาสนาของอาจารย์ต่างๆ ออกมาดูบ้านที่เจ้าหญิงเหวินเฉิงเคยประทับ อยู่หน้าประตูวัด ไม่ได้อยู่ในบริเวณวัด ของเก่าคงพังไปหมดแล้ว ที่เห็นคงจะสร้างขึ้นใหม่ มีใครๆ ถามว่าจะเข้าไปฟังพระสวดอีกไหม ข้าพเจ้าว่าไม่ฟังแล้ว เพราะเกือบทุ่มหนึ่งแล้ว กลับโรงแรม มีงานเลี้ยงที่ผู้นำท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพ เมืองนี้เป็นบ้านเดิมของมาดามเซริง อาหารแปลกของวันนี้คือ หัวแพะวางบนโต๊ะทั้งหัว

จัดหมวดหมู่สารสนเทศ


วัดชางจู

วัดชางจู (วัดตรันดรุก Trandruk Lamasery) แปลว่า ไข่มุกอันรุ่งเรือง ตามชื่อภาษาจีน (ชาง = เจริญรุ่งเรือง จู = ไข่มุก) ถ้าตามความหมายภาษาทิเบตตรงกับคำว่า เหยาหลง เหยาเป็นเหยี่ยวชนิดหนึ่ง เล็กกว่าเหยี่ยวทั่วไป เหยาหลงหรือเหยี่ยวมังกร จึงเป็นสัตว์ผสม เอาชื่อสองอย่างมาผสมกัน เป็นโบราณสถานที่ได้รับการอนุรักษ์อันดับที่ 7 และเป็นวิหารรุ่นแรกของทิเบต[1]

ประวัติโดยสังเขป

ตามประวัติว่าผู้สร้างคือกษัตริย์ซงจ้านกานปู้ พระองค์สร้างวัดแบบนี้ 12 วัด เจ้าหญิงเหวินเฉิงมาพักในฤดูหนาว บูรณะในสมัยดาไลลามะองค์ที่ 5 ในแผนที่ทิเบตที่เป็นรูปยักขินี ตามที่เจ้าหญิงเหวินเฉิงคิดขึ้น วัดนี้อยู่ตรงไหล่ขวาของยักษ์ (หนังสือบางเล่มว่าเป็นไหล่ซ้าย) และมีเรื่องเล่ากันว่า วัดนี้เคยมีทะเลสาบใหญ่ ใต้น้ำมีสัตว์ประหลาด 5 ตัว (เหยาหลง) คอยทำร้ายผู้คน กษัตริย์ซงจานกานปู้ปราบสัตว์ประหลาดได้[2]

อาคารต่างๆภายในวัด





ห้องทำวัตร ในห้องโถงพระลามะสวดมนต์ ภาพผนังในห้องโถงเป็นภาพใหม่แต่ว่าเขียนได้ดี เป็นเรื่องพุทธประวัติ ประสูติ ตัดพระเกศา แบบที่คนไทยแต่ก่อนเรียกว่าปางพระเจ้าตัดเกศ บำเพ็ญทุกรกิริยา ตอนนั้นมีเด็กเอาไม้มาแยงพระกรรณ ก็ไม่รู้สึกอะไร ตอนนี้ในศิลปะไทยไม่มีภาพมารวิชัย ตรัสรู้ ยมกปาฏิหาริย์ เสด็จลงจากดาวดึงส์ มีภาพที่ไม่ทราบว่าเป็นภาพอะไร ปรินิพพาน ถวายพระเพลิง[3]

วิหารต่างๆ


วิหารธรรมราชา มีรูปกษัตริย์ซงจ้านกานปู้ เจ้าหญิง 2 องค์ และเสนาบดี 2 คน ภาพตาราเขียว และตาราขาว
วิหารตารา มีรูปตาราขาว พระอีก 5 องค์ คือ พระไวโรจนะ พระรัตนสัมภวะ อโมฆสิทธิ อักโษภยะ อมิตาภะ สาวกสำคัญอีก 8 องค์ ดูแล้วงงไม่ทราบว่าองค์ไหนเป็นองค์ไหน
วิหารกวนอิม กวนอิม 11 หน้า 1,000 มือ มีรูปวัชรปาณี (น่ากลัว) ในห้องนั้นมีหม้อและเตาไฟที่เชื่อกันว่า เจ้าหญิงเหวินเฉิงเคยใช้ พูดกันว่า ถ้าใครไปลูบหม้อนี้แล้วจะมีฝีมือทำกับข้าวดีขึ้น
วิหารพระฉางโซ่ว หรืออมิตายุส มีรูปตาราขาว ตาราเขียว
วิหารพระปัทมสัมภวะ ปางต่างๆ 8 ปาง อยู่ข้างละ 4 ดูน่ากลัว สำหรับปราบปีศาจต่างๆ มีรูปปัทมสัมภวะปั้นด้วยดิน[4]

ห้องเก็บสมบัติภายในกุฏิ


ชั้นบนเป็นดาดฟ้ามีห้องเป็นกุฏิพระ ที่นี่มีพระอยู่ 50 กว่ารูป เข้าไปในห้องที่เก็บของล้ำค่า ที่ได้ดูมีดังนี้
ทังกาประดับไข่มุกที่มีชื่อเสียงที่สุด เป็นรูปพระนางตาราขาวนั่งห้อยพระบาทข้างหนึ่ง เป็นปางที่เรียกว่า ราชลีลาสนะ ทำขึ้นสมัยราชวงศ์หมิง บางคนดูว่าหน้าตาเหมือนพระเนปาล มีเรื่องเล่าว่า มเหสีเอาทรัพย์สินที่สะสมมาให้สร้างทังกาประดับมุกนี้ ทังกามีหลายชนิดได้แก่ ภาพวาด ภาพไหมปัก ภาพทอ ภาพประดับไข่มุก ภาพผ้าปะต่อกัน (ตุยซิ่ว หรือ patchwork)
ในห้องนั้นมีภาพอื่นๆ เช่น ภาพพระศากยมุนี ซึ่งเชื่อกันว่าเจ้าหญิงเหวินเฉิงนำมา ลักษณะของภาพเป็นศิลปะจีน แต่ไม่น่าจะเก่าถึงราชวงศ์ถัง ทอด้วยเส้นทอง จีวรเป็นลายมงคล 8
ภาพกวนอิม ลักษณะเป็นศิลปะจีน ใช้เส้นผมทอ[5]

ห้องบรรทมขององค์ลามะ

ห้องบรรทมดาไลลามะและพระปันฉานลามะ พระประธานเป็นพระปัทมสัมภวะโลหะผสมอายุเกือบพันปี ทังกาที่แขวนอยู่เป็นของโบราณทั้งหมด พระนิกายเกลุกปะเป็นผู้เขียน ภาพหนึ่งเป็นภาพแสดงสายสืบทอดการสอนศาสนาของอาจารย์ต่างๆ[6]

อื่นๆ

ออกมาดูบ้านที่เจ้าหญิงเหวินเฉิงเคยประทับ อยู่หน้าประตูวัด ไม่ได้อยู่ในบริเวณวัด ของเก่าคงพังไปหมดแล้ว ที่เห็นคงจะสร้างขึ้นใหม่ [7]



อ้างอิง

1. ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 154
2. ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 154-155
3. ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 155
4. ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 157
5. ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 157-158
6. ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 158
7. ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 158