<< Back
กานซู
(น.140) รูป 97. เครื่องใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น วัวเทียมเกวียน
Vehicles such as ox-cart.
(น.140) ด้ายถัก ฟางข้าวสาลี หมอนเด็กรูปสัตว์ หมวกเด็ก ถังใส่แป้งข้าวสาลีทำด้วยกระดาษอัด หน้ากากไม้ของชาวทิเบตในกานซู ขนมที่ใช้ในงานแต่งงานของชนเผ่าตงเซียง พวกนี้เป็นชาวมุสลิมเผ่ามองโกเลียใช้ภาษาอัลตาอิก มองโกเลียน (Altalic Mongolian) ปนกับจีนและเตอร์ก เขียนหนังสืออักษรอาหรับและจีน มีผู้กล่าวว่าพวกนี้เป็นลูกหลานของทหารเจงกิสข่านที่ประจำอยู่ในเหอโจว (หลินเซีย) ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ตอนที่มาโจมตีอาณาจักรเซี่ยตะวันตกในสมัยราชวงศ์หมิง พวกนี้ไม่ได้อพยพกลับแต่ยังอยู่แถวนั้น และ
(น.141) รูป 98. ผ้าปะเป็นรูปต่าง ๆ
Quilts.
(น.141) หันมาทำการเกษตร และทอพรม (ที่เล่าเรื่องอย่างยืดยาวเพราะข้าพเจ้าค้นข้อมูลมา จะไม่เขียนก็เสียดาย)
เกี้ยวเทียมลาในพิธีแต่งงานกานซู
พิมพ์ไม้สำหรับพิมพ์ภาพติดหน้าประตู
เผ่าคาซักเป็นเผ่าที่ปักผ้าได้สวยงาม อยู่ใกล้ ๆ แคว้นคาซักสถาน (Kazakhstan) ของโซเวียต แถวนั้นมีแม่น้ำอีลี่ไหลจากเทียนซาน เล่ากันว่า
(น.142) ในศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลมีพวกเยว่จือ ซึ่งถูกพวกฉยุงหนูขับไล่มาทางตะวันตก พยายามจะมาอยู่บริเวณนี้ แต่ถูกพวกอูซุน ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่าเร่ร่อน พูดภาษาตระกูลภาษาเตอร์กขับไล่ลงไปทางตะวันตกเฉียงใต้ นักจดหมายเหตุจีนบันทึกไว้ว่าพวกอูซุนมีตาฟ้าหนวดแดง พวกคาซักเป็นลูกหลานของอูซุนนี่เอง ขณะนี้ประชากรมีน้อยกว่าคนจีนชาวฮั่น และชาวเววูเอ๋อร์ ในนิทรรศการนี้นอกจากจะแสดงผ้าปักแล้ว ยังมีกระเป๋าหนังแพะตุ๊กตาเจ้าสาวขี่ลา ต้องใช้ผ้าแดงคลุมหน้า แสดงรองเท้าชาวเขาทำด้วยผ้า เหมาะสำหรับใส่ปีนเขาในเขตที่มีหินเยอะ ข้าพเจ้าสังเกตว่ารองเท้านี่พวกชาวเขาโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกฮ่อในเมืองไทยที่ข้าพเจ้าเคยเห็นก็ทำรองเท้าแบบนี้ใช้กัน
ผ้าปักฝีมือคนจีน (ฮั่น) แต่แรกข้าพเจ้าดูแล้วคิดว่าเป็นฝีมือชาวเขา เพราะใช้วิธีปักไขว้แบบชาวเขาปัก ลายก็คล้าย ๆ กัน ไปดูใกล้ ๆ ก็รู้สึกว่าคนปักเขามีความอุตสาหะมาก ใช้ผ้าเนื้อละเอียดแล้วตีเส้นเป็นตาตารางเอง
ที่กานซูมีการแกะตัวหนึ่ง ซึ่งของกานซูนี้เหมือนตัวหนังตะลุงของไทยมาก สีสันคล้ายคลึงกัน เขาเล่นหนังตะลุง (จีน) เหมือนกับเล่นงิ้วพื้นเมือง เล่นกันหลายเรื่อง เคยไปแสดงที่อิตาลีได้รับความนิยมมาก ข้าพเจ้าไม่ทันได้ซักถามเขาว่าวิธีเล่นหนังกานซูนั้นทำอย่างไรบ้าง ใช้จออย่างไร และพากษ์อย่างไร
สำหรับหัวหุ่นนั้นเป็นไม้คล้าย ๆ กับหัวหุ่นของชวา ที่เรียกว่าวาหยังโกเล็ก ไม่ได้ถามเขาว่าเล่นอย่างไร
นอกจากนั้นมีงานฝีมือต่าง ๆ เช่นภาพประดับเรื่องฟางข้าว ผ้าปะติดเป็นภาพ แม้แต่ประดิษฐ์กระดาษห่อทอฟฟี่เป็นภาพก็มี
(น.143) รูป 99. ว่าวจีน ข้าพเจ้าชอบว่าวมาก แต่ไปจีนคราวนี้ไม่ได้ซื้อว่าวจีนมา
Chinese kites. I am very fond of kites, but on this trip I did not buy any.
(น.143) ขนมที่ใช้บูชาบรรพบุรุษทำด้วยแป้ง
เอี๊ยมเด็กลายต่าง ๆ ว่าวใหญ่เป็นรูปตัวงิ้ว
ตัวหุ่นแสดงเสื้อผ้าของคนกลุ่มน้อยในกานซู เท่าที่จำได้มีพวกถู่ เป็นพวกที่อยู่แถว ๆ ทะเลสาบโกโกนอร์ (ชิงไห่) ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถูกขับไล่มาอยู่แถว ๆ เหอซี กลุ่มพวกทิเบตในกานซูก็มีหลายพวก ข้าพเจ้าไม่เคยทราบเลยว่าทิเบตก็ยังแบ่งเป็นหลายพวก เท่าที่เห็นในวันนี้มี 4 หรือ
ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 221-224
(น.221)(น.221)ระดับหนึ่ง ส่วนจังหวัดทั่วๆ ไปจะใช้ว่าตี้ชีว์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคำว่า “โจว” เป็นศัพท์เก่าแก่ด้านการปกครองที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์จีนมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 220) ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบันจึงมีชื่อเขตการปกครองในระดับต่างๆ ของจีนเป็นจำนวนมากที่มีคำว่าโจวติดอยู่ด้วย โดยที่มิได้มีฐานะเป็นจื้อจื้อโจวแต่อย่างไร ทั้งนี้เพราะคำว่าโจวในเขตการปกครองเหล่านั้นได้ใช้กันมาเป็นเวลานานแล้ว ดังตัวอย่างประกอบข้างล่างนี้
นครที่ขึ้นต่อมณฑล (เสิ่งเสียซื่อ) ที่มีคำว่า “โจว” อยู่ด้วย เช่น หลานโจวในมณฑลกานซู เจิ้งโจวในมณฑลเหอหนาน หังโจวในมณฑลเจ้อเจียง และกว่างโจวในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง)
จังหวัด (ตี้ชีว์) ที่มีคำว่า “โจว” อยู่ด้วย เช่น ฮุยโจวในมณฑลอานฮุย หยางโจวในมณฑลเจียงซู และไถโจวในมณฑลเจ้อเจียง
เมืองที่ขึ้นต่อจังหวัด (ตี้ชีว์เสียซื่อ) เช่น สุยโจวในมณฑลหูเป่ย จังโจวในมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) และเฉาโจวหรือที่คนไทยเรียกว่าเมืองแต้จิ๋วในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง)
ดังนั้น คำว่า “จื้อจื้อโจว” ที่ภาษาอังกฤษใช้ว่า “Autonomous Prefecture” จึงน่าจะแปลเป็นภาษาไทยว่า “จังหวัดปกครองตนเอง” มีผู้แปลคำนี้ว่า “แคว้นปกครองตนเอง” ซึ่งดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกับความรับรู้ของคนไทยเท่าใดนัก เพราะคำว่าแคว้นในภาษาไทยสื่อความหมายถึงเขตการปกครองที่มีอิสระและปลอดจากอำนาจรัฐส่วนกลางในระดับสูง ขณะที่จื้อจื้อโจวของจีนมีอำนาจปกครองตนเองในระดับหนึ่งปัจจุบัน (ตามสถิติ พ.ศ. 2532) ประเทศจีนมีจื้อจื้อโจวอยู่ 30 จื้อจื้อโจวมณฑลที่มีมากที่สุดคือมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) มี 8 จื้อจื้อโจว รองลงมาคือมณฑลชิงไห่มี 6 จื้อจื้อโจว ภูมิภาคการปกครองตนเอง
(น.222) ชนชาติอุยกูร์ซินเจียง (ซินเกียง) มี 5 จื้อจื้อโจว มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) และมณฑลกุ้ยโจวมีมณฑลละ 3 จื้อจื้อโจว มณฑลกานซูมี 2 จื้อจื้อโจว มณฑลจี๋หลิน มณฑลหูเป่ย และมณฑลหูหนานมีมณฑลละ 1 จื้อจื้อโจว
(น.223)ประเทศจีนมีอำเภอ
(น.224) ปกครองตนเองทั้งหมด 110 อำเภอ มณฑลที่มีมากที่สุดคือมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) มี 28 อำเภอ ภูมิภาคปกครองตนเองชนชาติจ้วงกว่างซี (กวางสี) มี 12 อำเภอ มณฑลกุ้ยโจวมี 11 อำเภอ มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) มี 8 อำเภอ มณฑลกานซู มณฑลชิงไห่ และมณฑลไห่หนาน (ไหหลำ) มีมณฑลละ 7 อำเภอ ภูมิภาคการปกครองตนเองชนชาติอุยกูร์ซินเจียง (ซินเกียง) มี 6 อำเภอ มณฑลหูหนานมี 6 อำเภอ มณฑลเหลียวหนิงมี 5 อำเภอ มณฑลเห่อเป่ย มี 4 อำเภอ มณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) มี 3 อำเภอ มณฑลจี๋หลินและมณฑลหูเป่ยมีมณฑลละ 2 อำเภอ มณฑลเจ้อเจียงและมณฑลเฮยหลงเจียงมีมณฑลละ 1 อำเภอ
เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 24
(น. 24) ซากช้าง Stegodon herunghensis หรือช้างงากระบี่ เป็นช้างดึกดำบรรพ์ชนิดหนึ่ง พบใน ค.ศ. 1973 ขณะที่ทำระบบชลประทาน อายุประมาณ 2-5 ล้านปี พบที่เหอสุ่ย มณฑลกานซู ยาว 8 เมตร สูงถึง 4.3 เมตร ได้พิมพ์เรื่องนี้ในตำราเรียนของเด็ก ทำวีดีโอเทปประกอบด้วย อยู่ในสมัยไพลส์โตซีน (Pleistocene) ตอนต้น
เจียงหนานแสนงาม หน้า 44
(น. 44) สิงหาคม ค.ศ. 1937 พรรคก๊กมินตั๋งกับพรรคคอมมิวนิสต์ร่วมมือกันเป็นหนที่ 2 ปรับกองทัพเป็นกองทัพต้านญี่ปุ่น แบ่งเป็นสองกองทัพใหญ่ คือกองทัพลู่ที่ 8 ดูแลการรบที่มณฑลส่านซี กานซู และหนิงเซี่ย มีนายพลจูเต๋อเป็นผู้บัญชาการ ท่านเผิงเต๋อไหวเป็นรองผู้บัญชาการ และปรับกลยุทธ์แถวลุ่มแม่น้ำฉังเจียง ให้กองทัพลู่ที่ 4 คุม การโจมตีทัพญี่ปุ่นของกองพลที่ 115 แห่งกองทัพลู่ที่ 8 ได้รับชัยชนะงดงาม ทหารญี่ปุ่นตายหมื่นกว่าคน เป็นการลบความเชื่อที่ว่าญี่ปุ่นไม่มีวันแพ้