Please wait...

<< Back

ฉางชุน


(น.242) รูป 394 เดินทางต่อไปเฮยหลงเจียง

(น.242) พอเดาได้ แต่บางทีความหมายก็ต่างกัน เช่นคำว่าเฉาจื่อ จีนแปลว่ากระดาษชำระ แต่ญี่ปุ่นแปลว่ากระดาษเขียนจดหมาย ภาษานี้ก็สัมพันธ์กับเสียงร้องเพลง ภาษาจีนเสียงเปิดร้องได้ง่าย แต่ว่าภาษาอังกฤษมีท้ายคำ ออกเสียงยาก ท่านว่าภาษาอิตาเลียนเหมาะกับการร้องเพลงมากกว่า ลาคณะมณฑลจี๋หลินขึ้นรถไฟ นักข่าวซื้อปิงถังหูลู่มาให้อร่อยดี อาจารย์สารสินบอกว่าอยู่เมืองจีนหลายปียังไม่ได้ชิม เป็นผลไม้แดงชุบน้ำตาลเคี่ยว มีขายมาตั้ง 100 กว่าปีมาแล้ว มีรูปในหนังสือ รถไฟสาย 209 ซึ่งออกจากเสิ่นหยางมาฉางชุน และเดินทางต่อไปเฮยหลงเจียง ตามกำหนดดังนี้
ฉางชุน 14 : 16
เต๋อหุ้ย 15 : 34

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียงหน้า49

(น.49) อาหารพิเศษของคนอีสาน (จีน) คือแผ่นถั่วเหลือง ใส่ผักชี ต้นหอม แล้วราดน้ำเค็มๆ คล้ายๆ น้ำจิ้มเป็ดปักกิ่ง ใส่ถั่วแดงด้วย วิธีทำแผ่นแบบนี้คือเอาน้ำเต้าหู้เทในเข่ง เอาผ้ากรองเป็นชั้นๆ รายการต่อไปคือเนื้อกวางผัดสับปะรด นกมังกรบินที่ฉางชุนบอกว่าเลี้ยงไม่ได้ แต่ที่นี่เขาบอกว่าเลี้ยงได้ แต่เลี้ยงยาก

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียงหน้า118

(น.118) เช้านี้เราไปที่พิพิธภัณฑ์เฮยเหอ เริ่มด้วยหุ่นจำลองเมืองปัจจุบัน แล้วเข้าไปดูส่วนที่เป็นประวัติศาสตร์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน ค.ศ.1931 เวลา 10 นาฬิกา 20 นาที กองทัพญี่ปุ่นตีเสิ่นหยาง ภายใน 4 เดือนญี่ปุ่นก็สามารถยึดเสิ่นหยาง ฉางชุน และฮาร์บินได้ ญี่ปุ่นยึดเฮยเหออยู่ 13 ปี ใช้ทั้งเครื่องบินและปืนใหญ่ ในตู้แสดงปืนกลของญี่ปุ่น มีโรงงานผลิตอาวุธขนาดใหญ่ ในเฮยเหอมี 2 แห่ง มีโกดังกระสุน ขุดอุโมงค์ 1,500 กว่าอุโมงค์ ในตู้มีหน้ากากกันพิษ รูปศูนย์ตำรวจลับและ