<< Back
เส้นทางคุนหมิง-ฉู่ฉยง-ต้าหลี่
จากหนังสือ
ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 238
(น.238)เส้นทางคุนหมิง-ฉู่ฉยง-ต้าหลี่
ถนนสองข้างทางส่วนใหญ่มีต้นยูคาลิปตัสหลายชนิด (Eucalyptus spp.) ปลูกเรียงแถวถี่ 1-2 แถว โคนต้นทาสีขาวทุกต้นเป็นที่สังเกตได้ง่ายแก่ผู้ขับขี่ยวดยานตอนกลางคืน ไม้โตเร็วชนิดอื่นที่ปลูกแทรก เช่น Silky oak (Grevillea robusta) Alnus nepaulensis ไม้จำพวก conifers บางชนิด ทางการอนุญาตให้ชาวบ้านละแวกใกล้เคียงรานกิ่งไปทำเชื้อเพลิงได้ แต่ไม่ให้โค่นต้น ต้นไม้ริมทางหลวงจึงมีทรงชะลูด
บริเวณภูเขาหัวโล้นจากการแผ้วถางป่ามานานหลายศตวรรษปกคลุมด้วยสนสามใบ ยูนนาน Pinus yunnanensis ซึ่งคล้ายคลึงกับสนสามใบ Pinus kesiya ของไทย ลำต้นของสนส่วนใหญ่แคระแกร็นเนื่องจากผิวหน้าดินถูกกัดชะ ป่าสนเหล่านี้ปลูกโดยอาศัยแรงงานบางพื้นที่ที่ห่างไกลอาศัยการโปรยเมล็ดจาก เครื่องบิน (aerial seeding) สนสามใบยูนนานขึ้นยึดพื้นที่เสื่อมโทรมได้ดีมาก สามารถแพร่พันธุ์ต่อไปได้ตามธรรมชาติ ตามหุบเขาและร่องน้ำที่ชุ่มชื้นจะพบต้นไม้ใบกว้างจำพวก oaks & chestnuts หรือไม้ก่อ (Fagaceae) camellias หรือชา (Theaceae) อบเชย (Lauraceae) ฯลฯ ขึ้นแทรกทั่วไปคล้ายป่าก่อสนเขา (lower montane osk-pine forest) ทางภาคเหนือของไทย
พื้นที่ภูเขาใกล้หมู่บ้านมักจะปกคลุมด้วยป่ายูคาลิปตัส ซึ่งปลูกไว้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มและให้ความอบอุ่น และนำใบมาสกัดเป็นน้ำมันยูคาลิปตัส
จัดหมวดหมู่สารสนเทศ
เส้นทางคุนหมิง-ฉู่ฉยง-ต้าหลี่
สภาพบริเวณโดยรอบตลอดเส้นทาง
- ถนนสองข้างทางส่วนใหญ่มีต้นยูคาลิปตัสหลายชนิด (Eucalyptus spp.) ปลูกเรียงแถวถี่ 1-2 แถว โคนต้นทาสีขาวทุกต้นเป็นที่สังเกตได้ง่ายแก่ผู้ขับขี่ยวดยานตอนกลางคืน ไม้โตเร็วชนิดอื่นที่ปลูกแทรก เช่น Silky oak (Grevillea robusta) Alnus nepaulensis ไม้จำพวก conifers บางชนิด ทางการอนุญาตให้ชาวบ้านละแวกใกล้เคียงรานกิ่งไปทำเชื้อเพลิงได้ แต่ไม่ให้โค่นต้น ต้นไม้ริมทางหลวงจึงมีทรงชะลูด
- บริเวณภูเขาหัวโล้นจากการแผ้วถางป่ามานานหลายศตวรรษปกคลุมด้วยสนสามใบ ยูนนาน Pinus yunnanensis ซึ่งคล้ายคลึงกับสนสามใบ Pinus kesiya ของไทย ลำต้นของสนส่วนใหญ่แคระแกร็นเนื่องจากผิวหน้าดินถูกกัดชะ ป่าสนเหล่านี้ปลูกโดยอาศัยแรงงานบางพื้นที่ที่ห่างไกลอาศัยการโปรยเมล็ดจากเครื่องบิน (aerial seeding) สนสามใบยูนนานขึ้นยึดพื้นที่เสื่อมโทรมได้ดีมาก สามารถแพร่พันธุ์ต่อไปได้ตามธรรมชาติ ตามหุบเขาและร่องน้ำที่ชุ่มชื้นจะพบต้นไม้ใบกว้างจำพวก oaks & chestnuts หรือไม้ก่อ (Fagaceae) camellias หรือชา (Theaceae) อบเชย (Lauraceae) ฯลฯ ขึ้นแทรกทั่วไปคล้ายป่าก่อสนเขา (lower montane osk-pine forest) ทางภาคเหนือของไทย
- พื้นที่ภูเขาใกล้หมู่บ้านมักจะปกคลุมด้วยป่ายูคาลิปตัส ซึ่งปลูกไว้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้มและให้ความอบอุ่น และนำใบมาสกัดเป็นน้ำมันยูคาลิปตัส[1]
อ้างอิง
1. ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 238