Please wait...

<< Back

" มุ่งไกลในรอยทราย วันอาทิตย์ที่ 8 เมษายน 2533 "


(น.31) รูป 26. ช่วงบ่ายวันที่ 8 เมษายน ไปที่วัดลามะหย่งเหอกง
On April 8th in the afternoon, we went to a Lamaist monastery.

พระราชโอรสคือ พระเจ้าเฉียนหลงได้ขึ้นครองราชย์ จึงอุทิศตำหนักนี้ถวายเป็นของวัดลามะ เมื่อ ค.ศ. 1744 เพื่อให้ชาวทิเบตและชาวมองโกลมีความภักดีต่อแมนจู ได้เชิญลามะ 7 องค์ มาจากมองโกเลีย ปลายสมัยราชวงศ์ชิงวัดนี้ทรุดโทรมมากเพราะไม่มีทุนบูรณะ มาบูรณะใหม่เมื่อปลด


(น.32) รูป 27. เตาเผากำยานทำด้วยสำริด เตาเช่นนี้มีในปักกิ่งเพียง 2 ใบคือใบนี้กับที่พระราชวังหลวง
Bronze incense burner: there are only two of this type of burner in Peking. The other one is in the Imperial Palace.


รูป 28. ศิลาจารึก 4 ภาษา (มองโกล, ทิเบต, จีน, แมนจู) กล่าวถึงความเคารพของพระเจ้าเฉียนหลงต่อศาสนาลามะ
Quadralingual inscription (Mongol, Tibetan, Chinese and Manchu), describing Emperor Qian Long's devotion to the Lamaism.


รูป 29. เขาพระสุเมรุทำด้วยสำริด
Bronze Meru Mountain.

(น.33) ปล่อยแล้ว ขณะนี้ก็มีพระชาวมองโกลอยู่วัดนี้ได้รับความคุ้มครองจากโจวเอินไหล ตอนปฏิวัติวัฒนธรรมนักศึกษาจะมาทำลายวัด ท่านโจวได้ให้ท่านหันเหนียนหลงมาคุยกับนักศึกษาไม่ให้เข้าทำลาย จึงรักษาไว้ได้ ขณะนี้มีพระลามะอยู่ 30 องค์ เราเดินดูภายในวัด ที่วัดมีเตาเผากำยานทำด้วยสำริด ในปักกิ่งมีเพียง 2 ใบ คือที่วัดนี้กับที่พระราชวังหลวง ศิลาจารึกมี 4 ภาษา ทิศตะวันออกเป็นภาษามองโกเลีย ตะวันตกเป็นภาษาทิเบต ทิศเหนือภาษาจีน ทิศใต้เป็นภาษาแมนจู ว่ากันว่าภาษาจีนเป็นลายพระหัตถ์ของพระเจ้าเฉียนหลงเอง ภาษามองโกเลียกับภาษาแมนจูดูตัวอักษรคล้าย ๆ กัน เนื้อหาของจารึกทุกด้านเหมือนกัน กล่าวถึงพระเจ้าเฉียนหลงเคารพศาสนาลามะ (ลามะจีวรเหลือง) เพื่อความสามัคคีกับมองโกเลีย

(น.34) ด้านนอกมีภูเขาซูหมี คือเขาพระสุเมรุ สร้างในรัชกาลพระเจ้าว่านลี่ ราชวงศ์หมิง เป็นทรรศนะของนิกายลามะในเรื่องของจักรวาล ที่มีทะเลกับเขาสัตภัณฑ์สลับกัน บนยอดเขาเป็นทางเข้าประตูสวรรค์ ข้าพเจ้าไม่ทราบจะบรรยายเขาพระสุเมรุว่าอย่างไร จึงขออ้างคำพรรณนาม่านวันทองในเรื่องขุนช้างขุนแผน
“เจ้าปักเป็นหิมพานตาตะหง่านงาม
อร่ามรูปพระสุเมรุภูผา
วินันตกอัสกัณฑ์เป็นหลั่นมา
การวิกอิสินธรยุคนธร
อากาศคงคาชลาสินธุ์
มุจลินทร์ห้าแถวแนวสลอน
ไกรลาสสะอาดเอี่ยวอรชร
ฝูงกินนรคนธรรพ์วิทยา”
ในอาคารอีกหลังมีพระพุทธรูปในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต พระอรหันต์ 18 พระองค์ เล่ากันว่าธรรมเนียมอินเดียมี 16 องค์ จีนเติมอีก 2 องค์ ด้านนอกมีพระพรหมซึ่งคนไทยมาสร้างถวาย


(น.35) รูป 30. ภายในอาคารมีพระพุทธรูป
Images of the Buddhas inside the temple.


รูป 31. ภายในอาคารมีพระพุทธรูป
Images of the Buddhas inside the temple.


รูป32. ภาพพระบฏพุทธประวัติ เป็นผ้าปัก เล่ากันว่าเป็นฝีพระหัตถ์พระมารดาพระเจ้าเฉียนหลง
Embroidered banner depicting the life of the Buddha, said to be the Buddha, said to be the handiwork of Emperor Qian Long's mother.


(น.36) รูป 33. อ่างอาบน้ำพระเจ้าเฉียนหลงตอนทรงพระเยาว์
Emperor Qian Long's bathtub when he was young.

อีกห้องเป็นพระอมิตาภะอยู่กลาง ด้านตะวันตกมีพระไภษัชยคุรุ ตะวันออกเป็นพระโพธิสัตว์ (สิงโตร้อง) ฝาผนังแขวนภาพพระบฏปักไหมสีต่าง ๆ เอาผ้ามาต่อ ๆ กัน เล่าต่อกันมาว่าเป็นฝีมือพระมารดาพระเจ้าเฉียนหลง อีกอาคารเป็นอาคารแบบทิเบตซ้อนกัน 5 ชั้น เป็นที่ซึ่งพระลามะจะต้องมาทำพิธีทุก ๆ เช้า ครั้งหนึ่งเป็นเวลาชั่วโมงกว่า ๆ มีคัมภีร์ศาสนา แท่นที่ประทับของดาไลลามะ ข้าง ๆ เป็นธรรมาสน์ของปันชานลามะ ประมุขอีกคนหนึ่งของนิกายในฝ่ายพุทธจักร ที่นี่ก็มีรูปพระอรหันต์ 500 องค์ แต่ทำแปลกไปกว่าที่อื่นคือทำรูปภูเขาด้วยไม้จันทน์แดง พระอรหันต์ทำด้วยทองคำ เงิน สำริด เหล็ก และดีบุก ตั้งอยู่ตามภูเขา นอกจากนั้นมีอ่างอาบน้ำพระเจ้าเฉียนหลงตอนอายุ 3 วัน ในวิหารอีกหลังมีรูปพระเมตไตรย ทำด้วยไม้จันทน์ขาวทั้งต้น เป็นพระยืนสูง 18 เมตร ไม้จันทน์ทั้งต้นที่ใช้แกะสลักพระยืนยาว 26 เมตร


(น.37) รูป 34. ห้องนี้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์
This chamber is used as a museum of the monastery.

Next >>