Please wait...

<< Back

มุ่งไกลในรอยทราย ภาคผนวก

ราชวงศ์ที่ปกครองจีน



(น.362) รูป

(น.363)
ราชวงศ์ที่ปกครองจีน
1. ราชวงศ์เซี่ย ประมาณก่อน ค.ศ. 2205 – 1766 บางหลักฐานระบุว่าประมาณก่อน ค.ศ. 1994 – 1523
2. ราชวงศ์ซาง ประมาณก่อน ค.ศ. 1766 – 1122 บางหลักฐานระบุว่าประมาณก่อน ค.ศ. 1523 – 1027
3. ราชวงศ์โจว ประมาณก่อน ค.ศ. 1122 – 770 บางหลักฐานระบุว่าประมาณก่อน ค.ศ. 1027 – 770
4. ยุคชุนชิว ก่อน ค.ศ. 770 – 476
5. ยุคจ้านกว๋อ ก่อน ค.ศ. 476 – 221
6. ราชวงศ์ฉิน ก่อน ค.ศ. 221 – 206
7. ราชวงศ์ฮั่น ก่อน ค.ศ. 206 – ค.ศ. 220
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ก่อน ค.ศ. 206 – ค.ศ. 8
หวังหมางยึดอำนาจ (ราชวงศ์ซิน) ค.ศ. 8 – 23
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ค.ศ. 25 – 220
8. สมัยสามก๊ก ค.ศ. 220 – 265
ราชวงศ์เว่ย (ก๊กของโจโฉ ตั้งเมืองหลวงที่ลั่วหยาง) ค.ศ. 220 – 265
ราชวงศ์สู่หรือสู่อั่น (ก๊กของเล่าปี่ ตั้งเมืองหลวงที่เฉิงตู) ค.ศ. 221 – 263
ราชวงศ์หวู (ก๊กของซุนกวน ตั้งเมืองหลวงที่หนานจิง) ค.ศ. 222 – 280

(น.364) 9. ราชวงศ์จิ้นตะวันตก ค.ศ. 265 – 317 ราชวงศ์นี้สามารถรวบรวมประเทศจีนหลังสมัยสามก๊กให้เป็นปึกแผ่นอยู่ประมาณ 50 ปีเศษ
10. ราชวงศ์ใต้และราชวงศ์เหนือ (สมัยแห่งการแตกแยกทางการเมือง)
ราชวงศ์ใต้
ราชวงศ์จิ้นตะวันออก ค.ศ. 317 – 420 ราชวงศ์นี้สืบสันตติวงศ์มาจากราชวงศ์จิ้นตะวันตก ใน ค.ศ. 317 อพยพหนีการรุกรานของพวกอนารยชน 5 ชนเผ่ามาอยู่ทางใต้ และมาตั้งเมืองหลวงที่หนานจิง
ราชวงศ์หลิวซ่ง ค.ศ. 420 – 479
ราชวงศ์ฉีใต้ ค.ศ. 479 – 502
ราชวงศ์เหลียง ค.ศ. 502 – 557
ราชวงศ์เฉิน ค.ศ. 557 – 589
ราชวงศ์ต่าง ๆ ทางภาคใต้ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่หนานจิง เมื่อรวมกับราชวงศ์หวูของซุนกวน ซึ่งเคยตั้งเมืองหลวงอยู่ที่หนานจิงเหมือนกัน จะมีจำนวนทั้งหมด 6 ราชวงศ์ จึงเรียกราชวงศ์ทางใต้รวมกันว่า ราชวงศ์เหนือใต้ หรือหกราชวงศ์ ได้แก่ ราชวงศ์หวู จิ้นตะวันออก หลิวซ่ง ฉีใต้ เหลียง และเฉิน

(น.365)
ราชวงศ์เหนือ
แคว้นทั้ง 16 ของอนายชน 5 เผ่า ค.ศ. 304 – 439
แคว้น เชื้อชาติ มณฑล ระยะเวลา (ค.ศ.)
ราชวงศ์จ้าวภาคต้น ฉยุงหนู  ซานซี  304 – 329
ราชวงศ์เฉิงฮั่น ตี  เสฉวน  304 – 347
ราชวงศ์จ้าวภาคปลาย เจี๋ย  เหอเป่ย  319 – 351
ราชวงศ์เหลียงภาคต้น ฮั่น (จีน)  กานซู  314 – 376
ราชวงศ์เหยียนภาคต้น เซียนเปย  เหอเป่ย  349 – 370
ราชวงศ์ฉินภาคต้น ตี  ส่านซี  351 – 394
ราชวงศ์เหยียนภาคหลัง เซียนเปย  เหอเป่ย  384 – 409
ราชวงศ์ฉินภาคหลัง เชียง  ส่านซี  384 – 417
ราชวงศ์ฉินตะวันตก เซียนเปย  กานซู  385 – 431
ราชวงศ์เหลียงภาคหลัง ตี  กานซู  386 – 403
ราชวงศ์เหลียงใต้ เซียนเปย  กานซู  397 – 414
ราชวงศ์เหลียงเหนือ ฉยุงหนู  กานซู  401 – 439
ราชวงศ์เหยียนใต้ เซียนเปย  ชานตง  400 – 410
ราชวงศ์เหลียงตะวันตก ฮั่น (จีน)  กานซู  400 – 421
ราชวงศ์เซี่ย ฉยุงหนู  ส่านซี  407 – 431
ราชวงศ์เหยียนเหนือ ฮั่น (จีน) เหลียวหนิง  409 – 439
ในบรรดาแคว้นต่าง ๆ 16 แคว้นนี้ สันนิษฐานว่ามีอยู่ 3 แคว้นที่ชาวจีนเป็นผู้ก่อตั้ง ได้แก่

(น.366)
ราชวงศ์เหลียงภาคต้น ค.ศ. 314 – 376
ราชวงศ์เหลียงตะวันตก ค.ศ. 400 – 421
ราชวงศ์เหยียนเหนือ ค.ศ. 409 – 439
อนารยชนทั้ง 5 เผ่า
ฉยุงหนู - เตอร์ก
เจี๋ย - เตอร์ก
เซียนเปย - มองโกล
ตี - ทิเบต
เชียง - ทิเบต
ราชวงศ์เว่ยเหนือหรือโทปาเวีย ค.ศ. 386 – 534
ราชวงศ์เว่ยตะวันออก ค.ศ. 534 – 550
ราชวงศ์ฉีเหนือ ค.ศ. 550 – 577
ราชวงศ์เว่ยตะวันตก ค.ศ. 535 – 557
ราชวงศ์โจวเหนือ ค.ศ. 557 – 581
ในช่วงนี้ดินแดนทางภาคเหนือของจีนตกอยู่ใต้การยึดครองของพวกอนายชน ซึ่งได้ก่อตั้งแคว้นและราชวงศ์ต่าง ๆ ขึ้นอนารยชนพวกนี้ได้รับวัฒนธรรมจีน และได้แต่งงานผสมผสานกับพวกคนจีน และมีส่วนช่วยสร้างสรรค์พุทธศิลป์บนเส้นทางแพรไหม
11. ราชวงศ์สุย ค.ศ. 581 – 618
ราชวงศ์สุยยึดอำนาจจากราชวงศ์โจวเหนือใน ค.ศ. 581 พอถึง ค.ศ. 589 ก็ล้มราชวงศ์เฉินในภาคใต้ได้ ประเทศจีนจึงรวมเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง

(น.367)
12. ราชวงศ์ถัง ค.ศ. 618 – 907
13. สมัยห้าราชวงศ์ ค.ศ. 907 – 960 อยู่ทางภาคเหนือของจีน ตั้งเมืองหลวงที่ไคฟง
ราชวงศ์เหลียงภาคหลัง ค.ศ. 907 – 923
ราชวงศ์ถังภาคหลัง ค.ศ. 923 – 936
ราชวงศ์จิ้นภาคหลัง ค.ศ. 936 – 946
ราชวงศ์ฮั่นภาคหลัง ค.ศ. 947 – 950
ราชวงศ์โจวภาคหลัง ค.ศ. 951 – 960
ในสมัยนี้ยังมีแคว้นต่าง ๆ อีก 10 แคว้น อยู่ทางภาคเหนือ 2 แคว้น และภาคใต้ 8 แคว้น
14. ราชวงศ์ซ่ง (ซ้อง) ค.ศ. 960 – 1279
ราชวงศ์ซ่งตั้งราชวงศ์ใน ค.ศ. 960 แต่รวมจีนได้ทั้งประเทศใน ค.ศ. 979
ราชวงศ์ซ่งเหนือ ค.ศ. 960 – 1126
ราชวงศ์ซ่งใต้ ค.ศ. 1127 – 1279
สมัยราชวงศ์ซ่งเป็นสมัยที่ชนเผ่าต่าง ๆ ที่อยู่ติดกับทางภาคเหนือของจีนได้ยกกำลังมารุกรานจีนและได้ก่อตั้งราชวงศ์ต่าง ๆ หลายราชวงศ์ดังนี้
ราชวงศ์เหลียว (เผ่าฉีตาน) ค.ศ. 946 – 1125
ราชวงศ์เซี่ยตะวันตก (เผ่าตันกุตน ค.ศ. 1038 – 1227
ราชวงศ์จิน (เผ่า Jürchen) ค.ศ. 1115 – 1234 ราชวงศ์จินได้ครองดินแดนภาคเหนือของจีนทั้งหมดในค.ศ. 1126

(น.368)
ราชวงศ์หยวน ก่อตั้งอาณาจักร ค.ศ. 1206
ผนวกราชวงศ์เซี่ยตะวันตก ค.ศ. 1227
ผนวกราชวงศ์จีน ค.ศ. 1234
ตั้งนามราชวงศ์ว่าหยวนใน ค.ศ. 1271
ผนวกราชวงศ์ซ่งใต้ ค.ศ. 1279
15. ราชวงศ์หยวน ค.ศ. 1279 – 1368
16. ราชวงศ์หมิง ค.ศ. 1368 – 1644
17. ราชวงศ์ชิง ค.ศ. 1644 – 1911
18. สาธารณรัฐ ค.ศ. 1912 – 1949
19. สาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. 1949 – ปัจจุบัน
รายพระนามพระจักรพรรดิที่กล่าวถึงใน "มุ่งไกลในรอยทราย" และปีที่ครองราชย์

(น.369) รายพระนามพระจักรพรรดิที่กล่าวถึงใน “มุ่งไกลในรอยทราย” และปีที่ครองราชย์
ราชวงศ์ฉิน ฉินซื่อหวงตี้ (จิ๋นซีฮ่องเต้) เจ้าผู้ครองแคว้นฉิน ก่อน ค.ศ. 246 - 221 จักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์ฉินก่อน ค.ศ. 221 – 210
ราชวงศ์ฮั่น ฮั่นอู่ตี้ ก่อน ค.ศ. 140 – 87
ราชวงศ์ถัง
ถังไท่จง ค.ศ. 626 – 649
ถังเกาจง ค.ศ. 649 – ปลาย ค.ศ. 683
ถังจงจง ค.ศ. 684 ครองราชย์ได้เพียงเดือนเศษก็ถูกพระนางอู่เจ๋อเทียน(บูเช็กเทียน) ซึ่งเป็นพระราชมารดาปลดออกจากตำแหน่ง
ถังรุ่ยจง ค.ศ. 684 – 690 เป็นจักรพรรดิแต่ในพระนามอำนาจการปกครองอยู่ที่พระนางอู่เจ๋อเทียน
จักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียน ค.ศ. 690 – 705 (ตั้งนามราชวงศ์ว่าโจว)
ถังจงจง ค.ศ. 705 – 707
พระมเหสีของจักรพรรดิถังจงจง และพระญาติของพระนาง (ตระกูลเว่ย) ยึดอำนาจการปกครองอยู่ 3 ปี ค.ศ. 707 – 710
ถังรุ่ยจง ค.ศ. 710 – 712
ถังเสวียนจง (หมิงหวง) ค.ศ. 712 – 756

(น.370) ราชวงศ์ซ่ง ซ่งเกาจง ค.ศ. 1127 – 1162
ราชวงศ์หมิง
หงอู่ ค.ศ. 1368 – 1398
หย่งเล่อ ค.ศ. 1403 – 1424
เจิ้งเต๋อ ค.ศ. 1506 – 1522
ว่านลี่ ค.ศ. 1573 – 1620
ราชวงศ์ชิง
คังซี ค.ศ. 1661 – 1722
หย่งเจิ้ง ค.ศ. 1723 – 1736
เฉียนหลง ค.ศ. 1736 – 1795
ซวนถ่ง (หรือปูยี) ค.ศ. 1908 – 1911
นอกจากพระจักรพรรดิต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในหนังสือได้กล่าวถึงเจงกิสข่านด้วย เจงกิสข่านมีชื่อเดิมว่าเตมูจิน เกิดเมื่อประมาณ ค.ศ. 1167 ก่อตั้งอาณาจักรมองโกลใน ค.ศ. 1206 ปกครองอาณาจักรในช่วง ค.ศ. 1206 – 1227 เป็นปู่ของกุบิไลข่าน ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์หยวน สังเขปเส้นทางแพรไหม

(น.371) สังเขปเส้นทางแพรไหม
คำว่า “เส้นทางแพรไหม” หรือ “The Silk Road” เป็นคำที่นักภูมิศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อบารอน เฟอร์ดิ-นานด์ ฟอน ริชโทเฟน บัญญัติขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพื่อใช้เรียกเส้นทางการค้าระหว่างประเทศก่อนสมัยใหม่ ที่ดำเนินการโดยกองคาราวาน เชื่อมการติดต่อค้าขายระหว่างจีนกับแว่นแคว้นต่าง ๆ ในเอเชียกลาง เอเชียใต้ เอเชียตะวันตก และยุโรป หลังจากนั้นคำนี้ก็ใช้กันอย่างแพร่หลายสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้ว ถือกันว่าเส้นทางแพรไหมทางบกเริ่มขึ้นเมื่อประมาณปลายศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล มีจุดเริ่มต้นที่เมืองฉางอานหรือซีอานผ่านเมืองต่าง ๆ ทางภาคตะวันตกของจีน อันเป็นดินแดนที่มีชนหลายเผ่าอาศัย จึงมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย รวมทั้งผ่านทะเลทรายโกบี ทะเลทรายตากลามากันอันเลื่องชื่อ จากนั้นมีเส้นทางต่อไปยังเอเชียกลาง เอเชียใต้ เอเชียตะวันตก และยุโรป เส้นทางแพรไหมทางบกเป็นเส้นทางที่มีความสำคัญยิ่งต่อเศรษฐกิจโลกในสมัยโบราณมานานหลายศตวรรษ อีกทั้งยังเป็นเหตุให้จีนและแว่นแคว้นต่าง ๆ ทางภาคตะวันตกของจีนได้สังสรรค์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกันด้วย ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 เป็นต้นมา เส้นทางแพรไหมทางบกเริ่มเสื่อมลงเรื่อย ๆ จนหมดความสำคัญอย่างสิ้นเชิงในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื่องจากเศรษฐกิจของจีนได้ขยายตัวลงมาทางใต้ วิทยาการเกี่ยวกับการเดินเรือมีความเจริญมากขึ้น และสถานการณ์ระหว่างประเทศมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน เส้นทางแพรไหมทางทะเล จึงเข้ามามีบทบาทแทนแต่การติดต่อค้าขายทางบกก็ยังคงมีอยู่บ้างในเส้นทางสั้น ๆ


(น.372) รูปบน แผนที่แสดงเส้นทางแพรไหมสมัยราชวงศ์ฮั่น


รูปล่าง แผนที่แสดงเส้นทางแพรไหมสมัยราชวงศ์ถัง

(น.373) แม้ว่าเส้นทางแพรไหมจะเสื่อมไปตามกาลเวลาเฉกเช่นสิ่งอื่น ๆ ในโลกแต่โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปะ หัตถกรรม ดนตรี และสิ่งต่าง ๆ อีกมากมาย ที่ชนหลายเผ่าได้ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นบนเส้นทางสายนี้ เป็นมรดกอันล้ำค่าของมนุษยชาติ ควรแก่การศึกษาค้นคว้าหาความรู้ อีกทั้งยังเป็นมนต์เสน่ห์อันสำคัญดึงดูดให้นักท่องเที่ยวชาติต่าง ๆ หลั่งไหลกันมาเยี่ยมชมอยู่เสมอ. การเทียบชื่อเมืองบางเมืองบนเส้นทางแพรไหมระหว่างภาษาจีนและภาษาอังกฤษ

(น.374) การเทียบชื่อเมืองบางเมืองบนเส้นทางแพรไหม ระหว่างภาษาจีนและภาษาอังกฤษ
 ภาษาจีน   ภาษาอังกฤษ
  ฮามี        Hami
  ทู่หลู่ฟัน      Turpan, Turfan
  อู่หลู่มู่ฉี      Urumqi
  อีหนิง        Gulija
  คู่เอ๋อเล่อ      Korla
  คูเชอ        Kucha, Kuqa
  ไป้เฉิง        Bay, Bai
  อาเคอซู      Aksu
  ปาฉู่        Maralwexi, Maralbashi
  ข่าชือ        Kashgar
  รั่วเจียง      Qarkilik, Charkilik
  เฉี่ยม่อ      Qarqan, Charchan, Cherchen
  เหอเถียน      Khotan
  ซาเชอ        Yarkant, Yarkand
รายงานผลการตรวจสอบตัวอย่าง ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จาก A view of westerned of Great Wall. Jiayuguan. สาธารณรัฐประชาชนจีน

Next >>