Please wait...

<< Back

สวนพฤกษศาสตร์สมุนไพรสิบสองปันนา

จากหนังสือ

ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 123-128


(น.123) รูป 131 สวนพฤกษศาสตร์สมุนไพรสิบสองปันนา

(น.123) ตอนเข้าตัวเมืองเห็นได้ว่าเป็นเมืองที่กำลังมีความเปลี่ยนแปลงสูง มีการก่อสร้าง ถนนสองข้างปลูกปาล์มน้ำมัน (ที่นี่ไม่ได้ทำประโยชน์อะไรเพียงแต่สำหรับประดับถนน) ถนนที่เราแล่นผ่านเป็นสายหลัก เราพักที่ Crown Hotel ซึ่งเป็นโรงแรมใหม่เพิ่งเปิดเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมานี่เอง โดยบริษัทบุหรี่ของมณฑลยูนนานเป็นผู้ลงทุน ขณะนี้มีคนมาจากมณฑลอื่นๆ มาลงทุนหลายบริษัท พนักงานของโรงแรมนี้หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสคล่องแคล่วดี เวลาเดินผ่านจะพูด Good Morning, Good afternoon (ตามโอกาส) และโค้งแบบญี่ปุ่น พักผ่อนที่โรงแรมครู่หนึ่งแล้วไปสวนพฤกษศาสตร์สมุนไพรสิบสองปันนา ขึ้นกับกรรมาธิการวิทยาศาสตร์การแพทย์ของจีน นายเฉินซินหรง รองผู้อำนวยการศูนย์บรรยายความเป็นมาของศูนย์ว่าสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1983 สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์สมุนไพรแห่งจีน มีหน้าที่วิจัยพรรณไม้แถบร้อนและอบอุ่น วิจัยสมุนไพรที่คนกลุ่ม


(น.124) รูป 132 สวนพฤกษศาสตร์สมุนไพรสิบสองปันนา


(น.124) รูป 133 ยาต่างๆ ที่ทำจากสมุนไพร

(น.124) น้อยในสิบสองปันนาใช้และที่อยู่ในป่าแถบภาคใต้ ปัจจุบันมีพนักงาน 87 คน เป็นบุคลากรระดับศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์ 5 คน ช่างเทคนิค 17 คน มีแผนกวิจัย 3 แผนก มีห้องวิจัยทางเคมีแผนกปลูกพืชสมุนไพร และแผนกวิจัยธรรมชาติสิบสองปันนา มีงานวิจัยสกัดตัวยาจากพืช เช่น ต้นเลือดมังกร (จันทน์ผา Dracaena cochinchinensis) วงศ์ Agavaceae พืชชนิดนี้มีอายุยืน มีคุณค่าทางยา ช่วยรักษาเลือดลมสตรี ยังมีเห็ดหลินจือปลูกไว้ที่นี่ด้วย ต้นไม้ที่เรียกเป็นภาษาจีนว่าฟางต้าไห่ มีคนบอกว่าภาษา


(น.125) รูป 134 พืชต่างๆ ที่เขาเก็บดองเอาไว้

(น.125) ลาวเรียกว่าจอมบ้าน คือ ต้นพุงทะลาย (Scaphium scaphigerum) ซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก อยู่บริเวณเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ต้นเหมี่ยนเฉีย (มะค่าโมง) ใช้เม็ดเป็นยา นอกจากนั้นยังมีต้นขี้กา (Gymnostemma centaphylla) หญ้าหนวดแมว แก้ร้อนในและบำรุงตา กระวาน หมากแนง สีเสียด หมากสามตอน ฯลฯ เข้าไปดูในห้องแสดงพันธุ์ไม้มีแผนผังสวน แบ่งออกเป็นอาคาร สำนักงาน ที่พักพนักงาน บริเวณแปลงปลูกพืชสมุนไพร ในห้องเห็บตัวอย่างเมล็ดพืชต่างๆ และส่วนต่างๆ ของพืชที่ดองเก็บไว้ในขวด


(น.126) รูป 135 เที่ยวชมในสวน

(น.126) ออกไปข้างนอกกลางสนามมีต้น “เลือดมังกร” หรือจันทน์ผา ที่สวนนี้มีจันทน์ผาอีกชนิดหนึ่งมาจากโซมาเลีย (Dracaena draco) จีนมีเพียง 2 ต้นเท่านั้น อีกต้นอยู่ที่เมืองอู่ซี (ในมณฑลยูนนาน) เดินเข้าสวนสมุนไพร มีต้นปรง (ใช้ราก) แก้ร้อนใน แก้อักเสบในกระเพาะ ในสวนมีต้นไม้ ส่วนมากปลูกเอาไว้ราว 30 กว่าปีมาแล้ว คือต้นระย่อม (Rauvolfia vomitoria) แก้โรคโลหิตจาง ต้นตันเซียง เป็นไม้หอมที่ได้จากอินเดีย (Santalum album) ต้นไม้ชนิดนี้เขาว่าในอินเดียต้องใช้เวลา 30 ปี ไม้จึงมีกลิ่นหอม ที่จีนนำมาปลูกได้ 15 ปีแล้ว นอกนั้นมีต้นกฤษณา (Aquilaria sinensis) ชะมวง ต้น


(น.127) รูป 136 ปลูกต้นไม้


รูป 137 ต้นจันทน์ผา


(น.128) รูป 138 ต้นไม้ในสวน

(น.128) พุงทะลาย ต้นเหม่ย เติ้งมู่ (Maytenus hookeri) เป็นพวกปอชนิดหนึ่งของท้องถิ่น เขาว่ามีสรรพคุณแก้มะเร็ง ต้นกระเบาจีน (Hydnocarpus ammanensis) คล้ายๆ กับกระเบาไทย (มองดูก็ทราบว่าเป็นกระเบา) เมล็ดให้น้ำมัน มีสรรพคุณรักษาโรคเรื้อนได้เหมือนของไทย นอกจากนั้นมีเร่ว กระวานป่า เป็นต้น ในสวนนี้มีพืชต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ไม่สามารถจะพรรณนาได้อีก จึงขอยุติแต่เพียงเท่านี้ ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือพืชสมุนไพรหลายชนิดที่มีอยู่ในสวนแห่งนี้ สามารถปลูกใต้ต้นไม้ใหญ่ได้ ทางสวนจึงส่งเสริมให้ประชาชนปลูกเป็นรายได้ โดยไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่า



จัดหมวดหมู่สารสนเทศ

สวนพฤกษศาสตร์สมุนไพรสิบสองปันนา

อยู่ที่เมืองเชียงฮุ่ง (เชียงรุ่ง) หรือที่ภาษาจีนเีรียกว่า จิ่งหง สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1983 สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์สมุนไพรแห่งจีน มีหน้าที่วิจัยพรรณไม้แถบร้อนและอบอุ่น วิจัยสมุนไพรที่คนกลุ่มน้อยในสิบสองปันนาใช้และที่อยู่ในป่าแถบภาคใต้ ปัจจุบันมีพนักงาน 87 คน เป็นบุคลากรระดับศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์ 5 คน ช่างเทคนิค 17 คน มีแผนกวิจัย 3 แผนก มีห้องวิจัยทางเคมีแผนกปลูกพืชสมุนไพร และแผนกวิจัยธรรมชาติสิบสองปันนา[1]

ผลงานวิจัย

มีงานวิจัยสกัดตัวยาจากพืช เช่น ต้นเลือดมังกร (จันทน์ผา Dracaena cochinchinensis) วงศ์ Agavaceae พืชชนิดนี้มีอายุยืน มีคุณค่าทางยา ช่วยรักษาเลือดลมสตรี ยังมีเห็ดหลินจือปลูกไว้ที่นี่ด้วย ต้นไม้ที่เรียกเป็นภาษาจีนว่าฟางต้าไห่ มีคนบอกว่าภาษาลาวเรียกว่าจอมบ้าน คือ ต้นพุงทะลาย (Scaphium scaphigerum) ซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก อยู่บริเวณเขาสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ต้นเหมี่ยนเฉีย (มะค่าโมง) ใช้เม็ดเป็นยา นอกจากนั้นยังมีต้นขี้กา (Gymnostemma centaphylla) หญ้าหนวดแมว แก้ร้อนในและบำรุงตา กระวาน หมากแนง สีเสียด หมากสามตอน ฯลฯ[2]

ห้องแสดงพันธุ์ไม้

เข้าไปดูในห้องแสดงพันธุ์ไม้มีแผนผังสวน แบ่งออกเป็นอาคาร สำนักงาน ที่พักพนักงาน บริเวณแปลงปลูกพืชสมุนไพร ในห้องเก็บตัวอย่างเมล็ดพืชต่างๆ และส่วนต่างๆ ของพืชที่ดองเก็บไว้ในขวด ออกไปข้างนอกกลางสนามมีต้น “เลือดมังกร” หรือจันทน์ผา ที่สวนนี้มีจันทน์ผาอีกชนิดหนึ่งมาจากโซมาเลีย (Dracaena draco) จีนมีเพียง 2 ต้นเท่านั้น อีกต้นอยู่ที่เมืองอู่ซี (ในมณฑลยูนนาน) เดินเข้าสวนสมุนไพร มีต้นปรง (ใช้ราก) แก้ร้อนใน แก้อักเสบในกระเพาะ ในสวนมีต้นไม้ ส่วนมากปลูกเอาไว้ราว 30 กว่าปีมาแล้ว คือ ต้นระย่อม (Rauvolfia vomitoria) แก้โรคโลหิตจาง ต้นตันเซียง เป็นไม้หอมที่ได้จากอินเดีย (Santalum album) ต้นไม้ชนิดนี้เขาว่าในอินเดียต้องใช้เวลา 30 ปี ไม้จึงมีกลิ่นหอม ที่จีนนำมาปลูกได้ 15 ปีแล้ว นอกนั้นมีต้นกฤษณา (Aquilaria sinensis) ชะมวง ต้นพุงทะลาย ต้นเหม่ย เติ้งมู่ (Maytenus hookeri) เป็นพวกปอชนิดหนึ่งของท้องถิ่น เขาว่ามีสรรพคุณแก้มะเร็ง ต้นกระเบาจีน (Hydnocarpus ammanensis) คล้ายๆ กับกระเบาไทย (มองดูก็ทราบว่าเป็นกระเบา) เมล็ดให้น้ำมัน มีสรรพคุณรักษาโรคเรื้อนได้เหมือนของไทย นอกจากนั้นมีเร่ว กระวานป่า เป็นต้น ในสวนนี้มีพืชต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ไม่สามารถจะพรรณนาได้อีก จึงขอยุติแต่เพียงเท่านี้ ข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือพืชสมุนไพรหลายชนิดที่มีอยู่ในสวนแห่งนี้ สามารถปลูกใต้ต้นไม้ใหญ่ได้ ทางสวนจึงส่งเสริมให้ประชาชนปลูกเป็นรายได้ โดยไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่า [3]

อ้างอิง

1. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 121,123-124
2. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 124-125
3. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 125-126,128