<< Back
หลี่เผิง
ประเภทคำ
บุคคลสำคัญ
คำอธิบายเพิ่มเติม
อดีตผู้นำจีน
จากหนังสือ
เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 236
(น. 236)ค.ศ. 1994 ระหว่างรองนายกรัฐมนตรีหลี่หลานชิงของจีนกับรัฐมนตรีอาวุโสลีกวนยูของสิงคโปร์ ความเหมาะสมของซูโจวคือ การอยู่ใกล้เซี่ยงไฮ้ (ข้าพเจ้ายังไม่ค่อยเข้าใจว่าตกลงการอยู่ใกล้เซี่ยงไฮ้นั้นเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี
เรื่องดีคือติดต่อกับเซี่ยงไฮ้ได้ง่ายเพราะเป็นศูนย์ความเจริญของประเทศอยู่แล้ว จะได้ใช้บริการต่างๆ แต่บางคนว่าไม่ดีคือ เซี่ยงไฮ้จะแย่งการบริการต่างๆ ไปหมด) มีทะเลสาบจิงจี้ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าทะเลสาบซีหูในหังโจว
ห้าปีแรกเป็นการพัฒนาด้านใต้ของเขตที่ 1 ภายใน 15 ปีจะพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสูง โครงการนี้รัฐบาลสนับสนุนเต็มที่ มีผู้นำมาเยี่ยมชมกว่า 40 คนแล้ว เช่น ท่านหลี่เผิง ท่านจูหรงจี ผู้นำต่างชาติก็มา
นายกรัฐมนตรีโกจ๊กตงของสิงคโปร์กล่าวว่าการการพัฒนาไปได้เร็วกว่าที่คิด มีการพัฒนาด้านต่างๆ ดังนี้ ๐ การวางระบบเศรษฐกิจแบบการตลาด เรื่องสิทธิประโยชน์กฎหมายด้านเศรษฐกิจการค้า ๐ การวางผังเมือง ๐
การจัดการบริหาร กฎเกณฑ์ต่างๆ นั้นตั้งขึ้นตามความเหมาะสมของประเทศจีนและของซูโจว มีการลงทุนในอุตสาหกรรมหลายด้าน เช่น semiconductor ลงทุนไปแล้ว 250 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้านเภสัชกรรม
ด้านอุตสาหกรรมอาหาร ประเทศที่มาลงทุนมาก เช่น เยอรมนี (Siemens) ญี่ปุ่น (Hitachi, Sumitomo) อังกฤษ (Wellcome)
คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 32
(น.32) ปัญญา ส่งเสริมพลศึกษา ส่งเสริมการศึกษา ที่ประกอบทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ อาคารสถานที่มีพอเพียง นอกจากอาคารเรียน ยังมีหอพักอาจารย์ หอพักนักศึกษา สระว่ายน้ำ สนามกีฬา หอประชุมใหญ่
ห้องสมุดที่มีหนังสือกว่าแสนเล่ม ผู้นำประเทศที่มาเยือนมหาวิทยาลัยนี้มีหลายท่าน เช่น ท่านเติ้งเสี่ยวผิง ประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน นายกรัฐมนตรีหลี่เผิง จากนั้นไปดูห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
เริ่มสร้างห้องปฏิบัติการตั้งแต่ ค.ศ. 1993 ย้ายมาอยู่ห้องปัจจุบันเมื่อ ค.ศ. 1995 ใน Lab นี้มีการศึกษา computer graphic, sonography, mathematic, morphology, internet,
เครื่องอัดสัญญาณ artificial intelligence และ pattern recognition ศึกษาสาขาต่างๆที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์อยู่ใน Lab เดียวกันนี้ เช่น ในด้านการแพทย์ ข้าพเจ้านำคอมพิวเตอร์มาด้วย
แต่ไม่สามารถต่อ Internet ได้ ลองใช้ Speed ต่างๆ แล้วก็ไม่สำเร็จ ดูเหมือนจะเป็นที่สายโทรศัพท์ของโรงแรม ก็เลยปรึกษาขอให้ส่งคนมาช่วยดูให้ที่โรงแรม ไปดูห้องสมุด ในห้องสมุดก็มีบริการ Internet ติดต่อกับสถาบันการศึกษาในประเทศอื่นๆ กำลังตั้งศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกำลังมีงานวิจัยเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 199
(น.199) ประมาณ 23.30 น. แขกผู้ใหญ่เข้ามาในห้องบนเวทีทั้งฝ่ายอังกฤษและฝ่ายจีน ข้าพเจ้ามองเห็นไม่ชัดว่าเป็นใครกันบ้าง ที่แน่ก็มี Prince of Wales, นายกรัฐมนตรี Tony Blair,
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ Robin Cook, ผู้ว่าราชการ Chris Patten ฝ่ายจีนเห็นประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน นายกรัฐมนตรีหลี่เผิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เฉียนฉีเฉิน เมื่อมาพร้อมกันแล้ว Prince of Wales พระราชทานพระราชดำรัส มีความว่า ท่านประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน ท่านนายกรัฐมนตรีหลี่เผิง และท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย
พิธีที่สำคัญและพิเศษนี้แสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาที่เป็นทั้งการเปลี่ยนแปลงและการต่อเนื่องในประวัติศาสตร์ของฮ่องกง ประการแรก แสดงว่าฮ่องกงกลับเป็นของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามปฏิญญาร่วมจีนอังกฤษ (Sino-British Joint Declaration) ซึ่งทำขึ้นใน ค.ศ.1984 หลังจากที่อังกฤษบริหารอยู่นานถึง 150 ปี
พิธีนี้ยังฉลองความต่อเนื่อง เพราะว่าในปฏิญญาร่วมนั้นมีข้อตกลงต่างๆ ที่ตามมา เพื่อช่วยในการปฏิบัติตามสัญญา ช่วยให้เขตบริหารพิเศษฮ่องกงมีรัฐบาลของตนเอง มีสังคมของตนเอง ระบบเศรษฐกิจของตนเอง และวิถีชีวิตของตนเอง
ค่ำนี้ ข้าพเจ้าขอยกย่องผู้ที่แปลงความคิด “หนึ่งประเทศ สองระบบ” มาเป็นปฏิญญาร่วม และยกย่องผู้ที่อุทิศตนทำหน้าที่อย่างหนักในช่วง 13 ปีที่ผ่านมาในการตกลงรายละเอียดเรื่องปลีกย่อยที่จะทำให้ปฏิบัติตามปฏิญญาร่วมได้
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 209,210
(น.209) ที่ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จัตุรัสเทียนอันเหมินในปักกิ่ง ทำยกพื้นมีการแสดงต่างๆมากมาย เมื่อใกล้เวลาพิธี ผู้ใหญ่ฝ่ายจีนและฝ่ายฮ่องกงเข้ามา ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นพิธีกรของงานนี้คือ
รองนายกรัฐมนตรีเฉียนฉีเฉินซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการเตรียมการตั้งเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ประกาศว่าจะเริ่มต้นงาน วงโยธวาทิตของกองทัพปลดแอก (People’s Liberation Army)
บรรเลงเพลงชาติจีน ประธานาธิบดีประกาศตั้งรัฐบาลเขตบริหารพิเศษฮ่องกงของสาธารณรัฐประชาชนจีน จากนั้นเป็นการสาบานตนเข้าดำรงตำแหน่งเริ่มต้นจากนายต่งเจี้ยนหัว (Tung Chee-hwa)
หัวหน้าคณะผู้บริหาร (Chief Executive) ของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง โดยมีนายกรัฐมนตรีหลี่เผิงเป็นผู้รับฟังคำสาบาน กลุ่มต่อมาเป็นพนักงานรัฐชั้นผู้ใหญ่ (Principal Officials)
นำกล่าวโดยคุณแอนสัน ชาน และสาบานต่อนายกรัฐมนตรีหลี่เผิง เช่นเดียวกัน ต่อจากนั้นเป็นการสาบานของสภาบริหาร (Executive Council-ExCo) สาบานต่อนายกต่งเจี้ยนหัว
(น.210) การสาบานของสภานิติบัญญัติเฉพาะกาล (Provisional Legislative Council-Legco มีหน้าที่ออกกฎหมาย ควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหาร) สาบานต่อนายต่งเจี้ยนหัว
การสาบานของผู้พิพากษาศาลฎีกา (Court of Final Appeal มีหน้าที่พิจราณาคดีฎีกา ใส่เสื้อคลุมสีดำ) และผู้พิพากษาศาลสูง (High Court ตัดสินได้ทั้งคดีแพ่งและอาญา ใส่เสื้อคลุมสีแดง)
สาบานต่อนายต่งเจี้ยนหัว คำสาบานนั้นมีเนื้อหาเหมือนกันคือ จะยึดมั่นในกฎหมาย Basic Law มีความภักดีต่อ HKSAR รับใช้ HKSAR ด้วยความซื่อสัตย์ เมื่อเสร็จแล้วนายกรัฐมนตีหลี่เผิงกล่าวสุนทรพจน์ว่า
ในโอกาสอันยิ่งใหญ่นี้ ในนามของรัฐบาลจีน ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีในโอกาสการสถาปนารัฐบาลของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ข้าพเจ้าใคร่ถือโอกาสนี้แสดงความขอบคุณแขกผู้มีเกียรติที่มาในพิธีนี้
ข้าพเจ้าขอขอบคุณสมาชิกคณะกรรมการเตรียมการตั้ง HKSAR และสมาชิกคณะกรรมการคัดเลือกรัฐบาลแรกของ HKSAR และผู้ที่สนับสนุนการกลับคืนสู่จีนของฮ่องกง ตั้งแต่วันนี้กฎหมาย
Basic Law ของ HKSAR มีผลบังคับใช้หัวหน้าคณะผู้บริหารท่านแรก พนักงานรัฐชั้นผู้ใหญ่ สมาชิกสภาบริหาร สมาชิกสภานิติบัญญัติเฉพาะกาล ผู้พิพากษาศาลฎีกาและศาลสูง
ท่านทั้งหลายได้สาบานตนเข้าดำรงตำแหน่งแล้วประวัติศาสตร์ได้มอบความรับผิดชอบที่สำคัญให้แก่ท่าน ข้าพเจ้าหวังว่าท่านจะปฏิบัติตาม Basic Law อย่างตั้งใจ ทำหน้าที่ด้วยความสำนึกสมกับที่ประชาชนคาดหวัง ด้วยความรักจีนและรักฮ่องกง
ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 116
(น.116) ถึงมหาวิทยาลัยยูนนาน นายหวังเสวียเหริน อธิการบดีต้อนรับพาไปนั่งที่ห้องรับแขก กล่าวต้อนรับว่ามหาวิทยาลัยของเขามีนักศึกษาหมื่นกว่าคน มี 20 คณะ 80 กว่าสาขาวิชา มีวิชาการทั้งด้านอักษรศาสตร์
กฎหมาย เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น มีอาจารย์พันกว่าคน มีพนักงานอีกต่างหาก เมื่อ 2 ปีก่อนมีงานฉลอง 70 ปีการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ผู้นำของจีนคือประธานาธิบดีและนายกฯ หลี่เผิง
มาลงนาม มหาวิทยาลัยยูนนานติดต่อทางด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้แก่ มหาวิทยาลัยศิลปากร เกษตรศาสตร์ และเชียงใหม่ เมื่อปีที่แล้วได้พบข้าพเจ้าในงานฉลอง 50 ปีมหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัย ยูนนานมีชื่อเสียงในด้านคณิตศาสตร์ อาจารย์ฝังล่าเกิง นักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลกเคยสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยนี้ 12 ปี เป็นอาจารย์ของอธิการบดี ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์เช่นกัน น่าเสียดายที่อาจารย์ผู้นี้เสียชีวิตแล้วในปี ค.ศ. 1986
เย็นสบายชายน้ำ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 42,46
(น.42) อีกห้องท่านประธานเหมาเคยมาอยู่ 41 วัน ท่านแต่งบทกวีชิ่งหยวนชุนที่นี่ เป็นของขวัญให้คนในก๊กมินตั๋งชื่อ หลิ่วยาจื่อ (ให้ทำไม?) มีหมวกท่านประธานเหมาตอนมาเจรจา
ท่านโจวเอินไหลให้โต๊ะกลมในห้องเดิมเป็นของหรัวกว๋อโหม (mó) โจวเอินไหลเคยใช้เป็นโต๊ะอาหาร ห้องของท่านหลินโปฉยู เป็นหนึ่งในเจ็ดของคนสำคัญพรรครุ่นแรก มีหนังสือพิมพ์ชื่อ เ
จี้ยรื่อเป้า อยู่บนโต๊ะ เลยหยิบมาให้อาจารย์สารสินอ่าน มีบทบรรณาธิการ กล่าวถึงสุนทรพจน์ประธานาธิบดีเจียงไคเช็ก เรื่องความทุกข์ยากของประชาชน ห้องทำงานของต่งปี้อู่ เป็นคนที่ดูแลแนวร่วมของพรรค ในค.ศ. 1945
ท่านเป็นตัวแทนรัฐบาลไปประชุมสหประชาชาติครั้งแรกที่ซานฟรานซิสโก ห้องทำงานของผู้หญิง ห้องนี้รู้สึกเย็นดีกว่าเพื่อน มีแบบฟอร์มผู้หญิงเวลาออกไปทำงาน แต่แรกไม่มีเครื่องแบบ
ท่านโจวเอินไหลออกเงินตัวเองให้พวกนี้ไปซื้อผ้าตัดแบบฟอร์ม ชั้นล่าง มีรูปเติ้งอิ่งเชากับหลี่เผิง บิดาของท่านหลี่เผิงเป็นสมาชิกพรรคคนสำคัญในเกาะไหหลำ เสียชีวิตไป
เพื่อนสมาชิกส่งหลี่เผิงมาให้ท่านโจวเอินไหลเลี้ยงอยู่เดือนหนึ่งก็ส่งไปอยู่เหยียนอาน ผู้อธิบายบอกว่าตอนแรกท่านหลี่เผิงเองก็ไม่ทราบว่ามีรูปนี้
ผู้ถ่ายภาพคือเลขานุการของโจวเอินไหลชื่อ ต่งเสี่ยวเผิง เป็นคนชอบถ่ายรูป ดูเสร็จแล้วถ่ายรูปหมู่กับกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มฝ่ายไทย ฝ่ายตำรวจ ฝ่ายกระทรวงการต่างประเทศ แล้วกลับโรงแรมเลย
น.46) การค้ากับไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี การพัฒนาการค้าขายมีแนวโน้มว่าจะดีขึ้น ปัจจุบันโครงการแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 จะสร้างฉงชิ่งให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าตามแม่น้ำ ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีหลี่เผิง และประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน
คิดว่าจะกระชับความสำคัญกับไทยมากขึ้น ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศและเป็นประโยชน์ในการสร้างมิตรภาพ วันพรุ่งนี้ ข้าพเจ้าจะลงเรือไปดูโครงการซานเสีย อันเป็นโครงการที่รัฐบาลจีนสนับสนุนมาก ท่านนายกเทศมนตรีเองเพิ่งกลับมาจากการตรวจโครงการเมื่อเดือนก่อน
รู้สึกว่าการดำเนินโครงการราบรื่นดี อาจจะเสร็จก่อนกำหนดเวลา ทางมณฑลต้องพยายามปรับปรุงเตรียมแผนรองรับ ข้าพเจ้าถามว่าเมื่อมีโครงการซานเสียแล้วจะเปลี่ยนแปลงสภาพของฉงชิ่งอย่างไร นายกเทศมนตรีกล่าวว่า
การสร้างเขื่อนใหญ่ที่สุดของโลกสำเร็จได้จะมีประโยชน์ในการป้องกันน้ำท่วม เพิ่มความสามารถในการขนส่งทางเรือและการท่องเที่ยว ฉงชิ่งต้องปรับปรุงให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น ในแม่น้ำแยงซีนี้ เรือขนส่ง 1,000 ตัน
ในหน้าน้ำน้ำมากจะขนส่งได้ 3,000 ตัน หลังการสร้างเขื่อนจะเพิ่มเป็น 10,000 ตัน เมื่อสร้างเขื่อนเสร็จแล้วท่าเรือปัจจุบันจะท่วมไป ต้องสร้างใหม่ที่ถนนปิงเจียง เรือที่ใช้ในแม่น้ำเป็นพวกเรือพ่วงเป็นแถวๆ ประมาณ 2,000 - 3,000 ตัน
ต้องเตรียมเรื่องการขนถ่ายสินค้า ข้าพเจ้าถามเรื่องการใช้น้ำชลประทาน ท่านนายกเทศมนตรีว่า ตอนต้นของแม่น้ำไม่ได้มีประโยชน์มากเท่าไรในเรื่องการ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 66,71
(น.66) เวลา 15.00 น. คุณถังเฟิงหยุน รองอธิบดีประจำสำนักงานบริหารคณะกรรมการก่อสร้างโครงการซานเสีย บรรยายให้ฟัง เขาได้รับมอบจากสำนักงานของเขาซึ่งขึ้นกับสำนักนายกรัฐมนตรีให้มาต้อนรับ
รัฐบาลตั้งคณะทำงานโครงงานนี้ตั้งแต่ ค.ศ. 1992 เพื่อให้การก่อสร้างเขื่อนซานเสียเป็นไปโดยราบรื่น ท่านนายกรัฐมนตรีหลี่เผิงเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของคณะ
มีรองนายกรัฐมนตรีผู้ว่าราชการมณฑลเสฉวนและมณฑลหูเป่ยเป็นกรรมการ รวมทั้งผู้แทนของกระทรวงต่าง ๆ 27 กระทรวง สำนักงานนี้แบ่งหน่วยงานออกเป็น 3 ส่วนคือ
(น.71) ช่องที่สองเป็นคลองเดินเรือ มีบานประตูทดน้ำบังคับขนาดถึง 5 ชั้นด้วยกัน สามารถให้เรือขนาด 10,000 ตันผ่านได้ เมื่อเขื่อนซานเสียนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จจะทำให้การเดินเรือในแม่น้ำฉางเจียงขึ้นไปถึงนครฉงชิ่ง
(เมืองจุงกิงในสมัยก่อน) ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางเรือได้ถึง 35 % ทั้งนี้เพราะอ่างเก็บน้ำนี้จะมีร่องน้ำลึกมากขึ้นและกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวก็จะลดลงด้วย
การก่อสร้างโครงการเขื่อนซานเสียใช้เวลาทั้งสิ้น 17 ปี ได้เริ่มลงมือมาตั้งแต่ ค.ศ.1993 แบ่งขั้นตอนการก่อสร้างออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะแรก เป็นขั้นการเตรียมงานและผันลำน้ำ
เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ ค.ศ.1993 มาจนถึง ค.ศ.1997 เป็นเวลา 5 ปี ได้มีพิธีเปิดการก่อสร้างเป็นทางการ โดยท่านนายกรัฐมนตรีหลี่เผิง เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ.1994
ดำเนินการก่อสร้างทำนบดินปิดช่องลำน้ำทางฝั่งขวาทั้งทางด้านเหนือและท้ายน้ำเชื่อมติดกับเกาะจงเป่า เพื่อขุดเบิกทางลำน้ำให้กว้างและลึกลง พร้อมกับก่อสร้างกำแพงคอนกรีตบดอัดตามแนวยาวขนานกับตัวเกาะเพื่อใช้สำหรับผันลำน้ำฉางเจียง
ขุดคลองเดินเรือชั่วคราวทางด้านฝั่งซ้าย รวมทั้งดำเนินงานอพยพราษฎรบริเวณหัวงานและอ่างเก็บน้ำ ระยะที่สอง ค.ศ.1998-2003 เป็นเวลา 6 ปี เป็นการก่อสร้างทำนบดินและหินด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำ
มาเชื่อมติดกับกำแพงคอนกรีตบดอัดซึ่งก่อสร้างไว้ในระยะแรกโอบล้อมลำน้ำทางด้านซ้ายของเกาะจงเป่า เพื่อผันน้ำเข้าสู่คลองผันน้ำที่ขุดไว้ด้านฝั่งขวาซึ่งแล้วเสร็จในระยะแรก แล้วจึงขุดและก่อสร้างตัวเขื่อน
ทางระบายน้ำล้นและโรงไฟฟ้าทางฝั่งซ้าย คาดว่าจะติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 91
(น.91) ซานเสียจะเห็นได้ว่ามีประวัติที่เก่าเก่และอนาคตมีความหวัง นายกรัฐมนตรีหลี่เผิงมาตรวจการดำเนินงานการอพยพที่นี่ 4 ครั้งแล้ว การสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างได้เร็วขึ้น นอกจากนั้นจะสร้างทางรถไฟและสนามบิน
นครนี้จะเจริญก้าวหน้าไปได้ไว เพราะอุดมด้วยแก๊สธรรมชาติและแร่เกลือ กิจการท่องเที่ยวเจริญ มีนักท่องเที่ยว 3 ล้านคน เรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวนั้นถือได้ว่าส่วนหนึ่งเรียนประสบการณ์จากไทย
นักธุรกิจจากว่านเซี่ยนได้ไปประเทศไทยและมาบรรยายสภาพของประเทศไทยให้นายกเทศมนตรีฟัง คนจีนนิยมข้าวไทยมากด้วย มิตรภาพไทยจีนจะเจริญอยู่ตลอดไปเหมือนแม่น้ำแยงซี
ข้าพเจ้าถามท่านนายกเทศมนตรีว่าท่านเป็นชาวเมืองนี้หรือเปล่า ท่านบอกว่า ท่านเป็นคนว่านเซี่ยนโดยกำเนิด กินน้ำแม่น้ำฉางเจียง แม่น้ำฉางเจียงสร้างเมืองนี้มา ประชาชนกินน้ำนี้ เลือกนายกเทศมนตรี
ข้าพเจ้าถามว่าคำขวัญหน้าตึกริมน้ำ ท่านเป็นผู้คิดใช่ไหม ท่านนายกเทศมนตรีบอกว่าใช่ มีแนวคิดว่าการสร้างเมืองและการสร้างเขื่อนมีส่วนสัมพันธ์กัน เรียกร้องให้ประชาชนขยันและเป็นพลังร่วมกันสร้างประเทศชาติ
จากนั้นไปที่ว่าการสำนักงานก่อสร้าง ข้างหน้ามีรูปปั้นบุคคล มีนายช่างส่องกล้องธีโอโดไลท์ อีกคนจด field book สถาปนิก คนกวาดพื้น ถือว่าเป็นคนสำคัญเพราะล้างหน้าให้เมืองและให้นายกเทศมนตรีด้วย
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 155
(น.155) ไปยืนอยู่ที่สันเขื่อน มีแผนที่ให้ดูบริเวณก่อสร้าง เป็นบริเวณเดียวกันกับที่ท่านนายกรัฐมนตรีหลี่เผิงประกาศเริ่มโครงการเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1994 ปีหน้าเป็นปีที่สำคัญที่สุด เพราะจะเริ่มกั้นน้ำน้ำไหล 20,000
ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ตอนนี้ขุดดินไปได้เนื้อดิน 21 ล้านลูกบาศก์เมตรแล้ว จะต้องขุดลึกอีก 23 ล้านลูกบาศก์เมตร คลองนี้จะเปิดราววันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1997 ปั้นจั่นที่ใช้ก่อสร้างนี้ซื้อจากสหรัฐฯ บริษัทของอเมริกันแจ้งให้ทราบว่า
จะพยายามหาแหล่งเงินกู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวกับรัฐบาลอเมริกัน บริษัทจะกดดันรัฐบาลยอมให้นักธุรกิจมาได้ ถ้าไม่มาจะเสียเปรียบบริษัทอื่นๆ ตอนนี้ใช้เครื่องจักรกล 1,500 เครื่อง มีรถบรรทุกใหญ่ขนาดบรรทุกได้ 77 ตัน
แถวนี้หินแข็งไม่จำเป็นต้องใช้เสาเข็ม ประตูระบายน้ำออกแบบก่อน แล้วจึงเอามาได้ มีหอสูงคอยคุมข้อมูลสำหรับการระบายน้ำของเขื่อนว่า ควรเปิดประตูบานไหน ปิดบานไหน ใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมการเปิดปิดประตูและระบบต่างๆ
บริเวณนี้เป็นศูนย์บริหารโครงการ การบริหารต้องใช้คนที่มีความสามารถสูง คนที่เคยบริหารเขื่อนเก่อโจวป้ามาแล้วเขาบริหารได้ดีมาก ก็จะย้ายมาทำงานแถวนี้ ไม่มีเวลาดูเรื่องอื่นอีก เพราะว่าจะต้องเดินทางต่อไปให้ถึงเขื่อนเก่อโจวป้า ตามกำหนดเวลาที่เขื่อนจะเปิดให้เรือผ่าน
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 194
(น.194) ช่วยคนประสบภัยน้ำท่วม ทางการก็เลยดูแลเด็กคนนี้ให้มีโอกาสได้รับการศึกษาที่ดี คนที่ตายส่วนมากเป็นพวกที่หนีน้ำไม่ทัน น้ำพัดมาแรงมาก บางคนหนีไม่ทันเพราะมัวแต่เสียดายของ
บริเวณที่มีคนตายมากคือที่ใกล้แม่น้ำและใกล้ภูเขา บ้านเรือนชาวบ้านแถบภูเขามักจะสร้างด้วยอิฐหรือดิน โดนน้ำก็จะถล่มได้ง่าย ทางที่เราเดินทางอยู่นี้เป็นทางด่วนไปสนามบิน ตอนที่ท่านนายกรัฐมนตรีหลี่เผิงมา
ถนนน้ำท่วม 3 วัน ต้องอ้อมอีกทาง ถ้าไม่จำเป็นก็ยังไม่ใช้เฮลิคอปเตอร์ เพราะค่าใช้จ่ายสูง ตอนที่รถแล่นอยู่ที่ชานเมืองเห็นมีอาคารสูงๆ อยู่มาก มาดามเกาบอกว่าเป็นอาคารที่อยู่อาศัยราคาถูก เพราะอยู่ไกล แต่ก็มีรถประจำทางเข้าเมือง ริมทะเลสาบต้องกั้นกระสอบทราย ไปถึงสนามบินเป็นสนามบินใหม่ ใหญ่และทันสมัย
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 221
(น.221) เมื่อกลับมาถึงเตี้ยวหยูว์ไถ อาจารย์สารสินเอาหนังสือพิมพ์มาแปลข่าวให้ฟัง มีข่าวข้าพเจ้าไปพบท่านประธานาธิบดี และไปมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมแห่งปักกิ่ง ตอนเที่ยงนายกรัฐมนตรีหลี่เผิงและมาดามจูหลินเลี้ยงอาหารกลางวัน
ก่อนหน้านั้นนายกฯ หลี่เผิง ให้พวกบริษัทต่างประเทศที่มาลงทุนเข้าพบ คราวนี้ได้พบกับหลานสาวท่านนายกฯ อีก ตอนนี้อายุ 9 ปี เรียนจบชั้น ป.3 เปิดเทอมใหม่จะอยู่ชั้น ป.4 แล้ว เข้าไปนั่งในห้องรับแขกก่อน ท่านถามถึงการเดินทางว่าเป็นอย่างไร
อากาศไม่ร้อนหรือ ข้าพเจ้าเล่าว่าสบายดี ที่ว่าร้อนคนไทยอย่างข้าพเจ้าก็เคยชินจึงไม่เป็นอะไร ตอนนี้กำลังรวบรวมสิ่งที่ได้ยินได้ฟังเพื่อกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอบคุณที่ท่านนายกรัฐมนตรีจัดให้ได้ดูงานอย่างละเอียด ท่านนายกฯ
กล่าวว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสนพระราชหฤทัยเรื่องโครงการเขื่อนซานเสียมาก ตอนที่เข้าเฝ้าฯ ทรงตั้งคำถามหลายข้อ คราวนี้คงจะกราบทูลตอบคำถามได้ (ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถามว่าอะไร และท่านนายกฯ กราบทูลไปแล้วว่าอย่างไร ไม่ทราบว่าจะต้องทูลอะไรเพิ่มเติม)
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 264
(น.264) ในด้านการศึกษา ที่เซี่ยงไฮ้นี้มีมหาวิทยาลัยมาก จนคนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้อาจจะคะแนนต่ำกว่าที่อื่น ไปถึงโรงแรมจิ่นเจียง (ใหม่) ถนนฉางเล่อ เป็นโรงแรมใหญ่มาก ห้องที่ให้ข้าพเจ้าอยู่นั้นใหญ่โตเสียจนเดินหลงทาง
มีห้องนอน ห้องน้ำสองห้อง ห้องเขียนหนังสือกับรับแขก ห้องเขียนหนังสือเฉยๆ ห้องรับประทานอาหาร และห้องครัว ดูก็กว้างขวางดี แต่เดินหลงทางได้ง่าย เดินมาคนละทางก็ไม่เห็นกัน จึงมักจะชนกัน รับประทานอาหารกลางวันแล้วไปท่าเรือไว่ทัน
ลงเรือล่องแม่น้ำหวงผู่ เรือลำนี้มีชื่อว่าโหยวเห่า แปลว่า มิตรภาพดี ผู้นำจีนเคยนั่งเรือลำนี้ เช่น ท่านเติ้งเสี่ยวผิง นายกรัฐมนตรีหลี่เผิง ท่านประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน มีภาพถ่ายเติ้งเสี่ยวผิงนั่งเรือนี้เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1992
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 288
(น.288) ในวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1990 นายกรัฐมนตรีหลี่เผิง ในฐานะตัวแทนรัฐบาล มาประกาศว่ารัฐบาลจะบุกเบิกพัฒนาเขตผู่ตง ต่อมาเมื่อมีการประชุมสภาของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนสมัยที่ 14
ก็ประกาศเพิ่มเติมว่าจะสร้างเซี่ยงไฮ้เป็นหัวมังกรของจีน ให้เป็นทั้งศูนย์การค้า เศรษฐกิจ และการเงิน ท่านเติ้งเสี่ยวผิงเคยมาเขตนี้ ท่านมาเมื่อ ค.ศ. 1992 ใน ค.ศ. 1994 ท่านเติ้งกลับมาเยี่ยมอีก และได้ข้ามสะพานหยางผู่
ท่านประธานาธิบดีก็มาเมื่อปีที่แล้ว ในบริเวณนี้ได้วางแผนโครงสร้างพื้นฐาน เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น เส้นทางการคมนาคม สนามบิน โรงพยาบาล สถานศึกษา ธนาคาร ฯลฯ ประกาศเป็นเขตปลอดภาษี ชักชวนให้ชาวต่างประเทศมาลงทุน
เขตผู่ตงแบ่งออกเป็นเขตย่อย 4 เขต คือ 1)เขตหลู่เจียจุ่ย เป็นเขตการเงินและการค้า 2)เขตจินเฉียว เป็นเขตดำเนินการส่งออก มีนิคมอุตสาหกรรมที่ทันสมัย 3) เขตไว่เกาเฉียว เป็นเขตการค้าเสรี
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 7
(น.7) มาดามถามถึงหนังสือเรื่อง เจียงหนานแสนงาม ข้าพเจ้าว่าไม่มีแปลเป็นภาษาจีน มาดามจึงไม่ได้อ่าน ขณะนี้ข้าพเจ้าเขียนเรื่องทิเบต แต่ยังพิมพ์ไม่ได้ต้องตรวจสอบเรื่องชื่อใช้เวลานาน มาดามว่าภาษาทิเบตยาก ครูจีนคงช่วยอะไรไม่ได้
ข้าพเจ้าว่ามีคนที่ไปด้วยกันรู้ภาษาทิเบต มาดามเฉียนถามถึงเรื่องน้ำท่วมเมืองไทย ฟางเฟยหยวนนี้ใช้เป็นสถานที่ที่ประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมินถวายพระกระยาหารค่ำสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อรับเสด็จแล้วซ่อมแซมใหม่
พอเข้าไปดูจำไม่ได้เลย ในห้องมีบอนไซทับทิม อายุประมาณ 200 ปี ออกลูกเต็มไปหมด เป็นของที่ปลูกในเตี้ยวอวี๋ไถ ปกติจะเก็บไว้ที่แผนกสวนของเตี้ยวอวี๋ไถ แต่ตอนนี้ออกผลจึงเอามาประดับห้อง ขึ้นไปรับประทานชั้นบน มาดามเล่าว่าดูโทรทัศน์เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประธานสภาหลี่เผิงเข้าเฝ้าฯ ดูแล้วพระสุขภาพดี มาดามดีใจมาก มาดามดูข้าพเจ้าไปรับรางวัลที่ประเทศไทยพัฒนาคนพิการได้ดีด้วย ข้าพเจ้าเล่าว่า ก่อนกลับเมืองไทยจะไปดูความคืบหน้าของการจัดประชุมหญ้าแฝก มาดามว่าตอนมาเยือนเมืองไทย
ได้ดูงานการใช้หญ้าแฝกเห็นว่ามีประโยชน์จริงๆ คุยกันเรื่องแนวทางที่จะร่วมมือกันทางการศึกษา
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 34,35
น.34) กลับอาคาร 10 ป้าจันและอึ่งกลับมาแล้ว ซื้อได้ของครบทุกอย่างที่ต้องการ ตอนเย็นไปมหาศาลาประชาชน เนื่องจากวันนี้มีแขกที่เจรจายังไม่เสร็จจึงรออยู่ในห้องอานฮุยครู่หนี่ง แล้วท่านหลี่เผิงกับภริยาเลี้ยงอาหารที่ห้องฮ่องกง ท่านหลี่เผิงและภริยาเพิ่งไปเมืองไทยเมื่อเดิอนที่แล้ว
เมื่อสนทนากันครู่หนึ่งท่านให้ของขวัญเป็นรูปถ่ายดอกโบตั๋น 2 ดอก ซึ่งมาดามถ่ายเอง ทำเป็นปฏิทิน ค.ศ. 2003 รูปที่ข้าพเจ้าถ่ายกับมาดามที่ศิลปาชีพ ภาพประดับหินสีเป็นลูกเจี๊ยบ 2 ตัวกับพวงองุ่น
(น.35) รับประทานอาหารอร่อยทั้งนั้นนอกจากที่มีในเมนูแล้ว ยังมีของพิเศษอีกหลายอย่าง เช่น เป็ดปักกิ่ง คราวที่ท่านหลี่เผิงไปเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่หัวหิน ตอนค่ำข้าพเจ้าเลี้ยงเป็ดปักกิ่ง แต่ท่านวิจารณ์ว่า มีเป็ดน้อย แตงกวามาก คราวนี้ท่านเลยเลี้ยงเป็ดเต็มที่ มีดนตรีพื้นเมืองระหว่างอาหาร ประมาณทุ่มครึ่งรับประทานเสร็จ กลับอาคาร 10
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 218
(น.218) อนุสรณ์สถานหลี่ซั่วซุน ซึ่งเป็นบิดาของประธานหลี่เผิง สร้างใน ค.ศ. 1986 ตอนนั้นไหหลำยังขึ้นกับมณฑลกวางตุ้ง ยังไม่ได้แยกออกมาเป็นมณฑล หลี่ซั่วซุนเป็นวีรบุรุษที่เซี่ยงไฮ้ ได้ร่วมการปฏิวัติเป่ยฝา (ค.ศ. 1926-1927) และร่วมการปฏิวัติหนานชางใน ค.ศ. 1927
เคยเป็นเลขาธิการพรรค ที่มณฑลเจียงซูและเจ้อเจียง ทำงานร่วมกับโจวเอินไหล จูเต๋อ เนี่ยหลงเจิน เฉินยี่ หลินเปียว เติ้งเสี่ยวผิง ถูกประหารชีวิตในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1931 บุตรชายตือ ท่านหลี่เผิง อายุยังไม่ครบ 3 ปี เหตุที่อนุสรณ์สถานอยู่ตรงนี้เพราะว่าเป็นที่ประหาร
ขณะนั้นพรรคคอมมิวนิสต์ยังไม่แข็งแกร่ง จึงหาศพไม่พบ จึงทำเป็นอนุสรณ์สถานไว้เฉยๆ ส่วนภรรยาของท่านคือ เจ้าจุนเถา ถึงแก่กรรม ค.ศ. 1985 จึงนำมาฝังไว้ที่นี่ มีจดหมายที่เขียนถึงภรรยาก่อนตาย ฝากฝังให้ดูแลลูกชายให้ดี ที่กำแพงมีลายมือเพื่อนๆ เขียนไว้อาลัย รัฐบาลกำลังสร้างพิพิธภัณฑ์ให้
หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 89
(น.89) ขงจื่อเคยขึ้นมาบนเขานี้ กล่าวว่าเมื่อขึ้นมาบนภูเขาไท่ซาน ทำให้มองเห็นโลกเล็กลงไป จุดที่ขงจื่อหยุดมองทิวทัศน์กลายเป็นสถานที่มีชื่อเสียง เมิ่งจื่อก็เคยมา กวีกัวมัวรั่วก็เคยมาเช่นกัน
ที่กล่าวมาแล้วเป็นวัฒนธรรมขุนนาง ไท่ซานยังมีวัฒนธรรมของประชาชน เป็นเทศกาลของคนภาคเหนือ แต่ละวันมีคนนับไม่ถ้วนมาที่ภูเขานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเทศกาลต่างๆ เราขึ้นกระเช้าไปหนานเทียนเหมินซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของไท่ซาน
สมัยก่อนที่ต้องเดินขึ้นไปเองนั้นมีโค้งอันตราย 18 โค้ง เนื่องจากไท่ซานสูงมากมองกลับไปจะเห็นทะเลเมฆ สมัยก่อนร้านรวงตามถนนนี้ (เรียกว่า ถนนแห่งสวรรค์ หรือเทียนเจีย) จะไม่มีป้ายชื่อร้าน ร้านไหนขายอะไรก็เอาของชนิดนั้นมาตั้งไว้หน้าร้าน
คนซื้อก็ทราบ เช่น ร้านอาหารเอาทัพพีวางไว้ เมื่อ 50 ปีมานี้เริ่มมีป้ายชื่อ อาจจะเป็นเพราะคนซื้อไม่เข้าใจสัญลักษณ์แบบเดิมแล้ว ระหว่างทางมีลายมือของคนมีชื่อเสียงหลายท่าน มีลายมือท่านเติ้งอิ่งเชา (เขียนเมื่ออายุ 80 ปีแล้ว) ท่านเฉียวฉือ ท่านหลี่เผิง เป็นต้น
จัดหมวดหมู่สารสนเทศ
หลี่เผิง
ประวัติ
บิดาของท่านหลี่เผิงเป็นสมาชิกพรรคคนสำคัญในเกาะไหหลำ เสียชีวิตไป เพื่อนสมาชิกส่งหลี่เผิงมาให้ท่านโจวเอินไหลเลี้ยงอยู่เดือนหนึ่งก็ส่งไปอยู่เหยียนอาน[1](อนุสรณ์สถานหลี่ซั่วซุน ซึ่งเป็นบิดาของประธานหลี่เผิง สร้างใน ค.ศ. 1986
ตอนนั้นไหหลำยังขึ้นกับมณฑลกวางตุ้ง ยังไม่ได้แยกออกมาเป็นมณฑล หลี่ซั่วซุนเป็นวีรบุรุษที่เซี่ยงไฮ้ ได้ร่วมการปฏิวัติเป่ยฝา (ค.ศ. 1926-1927) และร่วมการปฏิวัติหนานชางใน ค.ศ. 1927 เคยเป็นเลขาธิการพรรค ที่มณฑลเจียงซูและเจ้อเจียง
ทำงานร่วมกับโจวเอินไหล จูเต๋อ เนี่ยหลงเจิน เฉินยี่ หลินเปียว เติ้งเสี่ยวผิง ถูกประหารชีวิตในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1931 บุตรชายตือ ท่านหลี่เผิง อายุยังไม่ครบ 3 ปี เหตุที่อนุสรณ์สถานอยู่ตรงนี้เพราะว่าเป็นที่ประหาร ขณะนั้นพรรคคอมมิวนิสต์ยังไม่แข็งแกร่ง
จึงหาศพไม่พบ จึงทำเป็นอนุสรณ์สถานไว้เฉยๆ ส่วนภรรยาของท่านคือ เจ้าจุนเถา ถึงแก่กรรม ค.ศ. 1985 จึงนำมาฝังไว้ที่นี่)[2]
ผลงาน
พัฒนาเขตผู่ตงและเซี่ยงไฮ้
ในวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1990 นายกรัฐมนตรีหลี่เผิง ในฐานะตัวแทนรัฐบาล มาประกาศว่ารัฐบาลจะบุกเบิกพัฒนาเขตผู่ตง ต่อมาเมื่อมีการประชุมสภาของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนสมัยที่ 14 ก็ประกาศเพิ่มเติมว่าจะสร้างเซี่ยงไฮ้เป็นหัวมังกรของจีน
ให้เป็นทั้งศูนย์การค้า เศรษฐกิจ และการเงิน ท่านเติ้งเสี่ยวผิงเคยมาเขตนี้ ท่านมาเมื่อ ค.ศ. 1992 ใน ค.ศ. 1994 ท่านเติ้งกลับมาเยี่ยมอีก และได้ข้ามสะพานหยางผู่ ท่านประธานาธิบดีก็มาเมื่อปีที่แล้ว ในบริเวณนี้ได้วางแผนโครงสร้างพื้นฐาน
เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น เส้นทางการคมนาคม สนามบิน โรงพยาบาล สถานศึกษา ธนาคาร ฯลฯ ประกาศเป็นเขตปลอดภาษี ชักชวนให้ชาวต่างประเทศมาลงทุน เขตผู่ตงแบ่งออกเป็นเขตย่อย 4 เขต
คือ 1) เขตหลู่เจียจุ่ย เป็นเขตการเงินและการค้า 2) เขตจินเฉียว เป็นเขตดำเนินการส่งออก มีนิคมอุตสาหกรรมที่ทันสมัย)[3]
สุนทรพจน์ในการสถาปนาฮ่องกง
นายกรัฐมนตีหลี่เผิงกล่าวสุนทรพจน์ว่า ในโอกาสอันยิ่งใหญ่นี้ ในนามของรัฐบาลจีน ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีในโอกาสการสถาปนารัฐบาลของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ข้าพเจ้าใคร่ถือโอกาสนี้แสดงความขอบคุณแขกผู้มีเกียรติที่มาในพิธีนี้
ข้าพเจ้าขอขอบคุณสมาชิกคณะกรรมการเตรียมการตั้ง HKSAR และสมาชิกคณะกรรมการคัดเลือกรัฐบาลแรกของ HKSAR และผู้ที่สนับสนุนการกลับคืนสู่จีนของฮ่องกง ตั้งแต่วันนี้กฎหมาย Basic Law ของ HKSAR
มีผลบังคับใช้หัวหน้าคณะผู้บริหารท่านแรก พนักงานรัฐชั้นผู้ใหญ่ สมาชิกสภาบริหาร สมาชิกสภานิติบัญญัติเฉพาะกาล ผู้พิพากษาศาลฎีกาและศาลสูง ท่านทั้งหลายได้สาบานตนเข้าดำรงตำแหน่งแล้วประวัติศาสตร์ได้มอบความรับผิดชอบที่สำคัญให้แก่ท่าน
ข้าพเจ้าหวังว่าท่านจะปฏิบัติตาม Basic Law อย่างตั้งใจ ทำหน้าที่ด้วยความสำนึกสมกับที่ประชาชนคาดหวัง ด้วยความรักจีนและรักฮ่องกง[4]
ลงนามติดต่อด้านวิชาการ
ผู้นำของจีนคือประธานาธิบดีและนายกฯ หลี่เผิง มาลงนาม มหาวิทยาลัยยูนนานติดต่อทางด้านวิชาการกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยได้แก่ มหาวิทยาลัยศิลปากร เกษตรศาสตร์ และเชียงใหม่ เมื่อปีที่แล้วได้พบข้าพเจ้าในงานฉลอง 50 ปีมหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัย ยูนนานมีชื่อเสียงในด้านคณิตศาสตร์ อาจารย์ฝังล่าเกิง นักคณิตศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของโลกเคยสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยนี้ 12 ปี เป็นอาจารย์ของอธิการบดี ซึ่งเป็นนักคณิตศาสตร์เช่นกัน น่าเสียดายที่อาจารย์ผู้นี้เสียชีวิตแล้วในปี ค.ศ. 1986[5]
ความสัมพันธ์กับไทย
การค้ากับไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี การพัฒนาการค้าขายมีแนวโน้มว่าจะดีขึ้น ปัจจุบันโครงการแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 จะสร้างฉงชิ่งให้เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าตามแม่น้ำ ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีหลี่เผิง
และประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน คิดว่าจะกระชับความสำคัญกับไทยมากขึ้น ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศและเป็นประโยชน์ในการสร้างมิตรภาพ [6]
การสร้างเขื่อนซานเสีย
รัฐบาลตั้งคณะทำงานโครงงานนี้ตั้งแต่ ค.ศ. 1992 เพื่อให้การก่อสร้างเขื่อนซานเสียเป็นไปโดยราบรื่น ท่านนายกรัฐมนตรีหลี่เผิงเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของคณะ มีรองนายกรัฐมนตรีผู้ว่าราชการมณฑลเสฉวนและมณฑลหูเป่ยเป็นกรรมการ
รวมทั้งผู้แทนของกระทรวงต่าง ๆ 27 กระทรวง[7]
โครงการซานเสียแล้วจะเปลี่ยนแปลงสภาพของฉงชิ่งอย่างไร นายกเทศมนตรีกล่าวว่า การสร้างเขื่อนใหญ่ที่สุดของโลกสำเร็จได้จะมีประโยชน์ในการป้องกันน้ำท่วม
เพิ่มความสามารถในการขนส่งทางเรือและการท่องเที่ยว ฉงชิ่งต้องปรับปรุงให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น ในแม่น้ำแยงซีนี้ เรือขนส่ง 1,000 ตัน ในหน้าน้ำน้ำมากจะขนส่งได้ 3,000 ตัน หลังการสร้างเขื่อนจะเพิ่มเป็น 10,000 ตัน
เมื่อสร้างเขื่อนเสร็จแล้วท่าเรือปัจจุบันจะท่วมไป ต้องสร้างใหม่ที่ถนนปิงเจียง เรือที่ใช้ในแม่น้ำเป็นพวกเรือพ่วงเป็นแถวๆ ประมาณ 2,000 - 3,000 ตัน ต้องเตรียมเรื่องการขนถ่ายสินค้า ข้าพเจ้าถามเรื่องการใช้น้ำชลประทาน ท่านนายกเทศมนตรีว่า
ตอนต้นของแม่น้ำไม่ได้มีประโยชน์มากเท่าไรในเรื่องการ[8]
เมื่อเขื่อนซานเสียนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จจะทำให้การเดินเรือในแม่น้ำฉางเจียงขึ้นไปถึงนครฉงชิ่ง (เมืองจุงกิงในสมัยก่อน) ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางเรือได้ถึง 35 %
ทั้งนี้เพราะอ่างเก็บน้ำนี้จะมีร่องน้ำลึกมากขึ้นและกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวก็จะลดลงด้วย การก่อสร้างโครงการเขื่อนซานเสียใช้เวลาทั้งสิ้น 17 ปี ได้เริ่มลงมือมาตั้งแต่ ค.ศ.1993 แบ่งขั้นตอนการก่อสร้างออกเป็น 3 ระยะคือ
ระยะแรก เป็นขั้นการเตรียมงานและผันลำน้ำ เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ ค.ศ.1993 มาจนถึง ค.ศ.1997 เป็นเวลา 5 ปี ได้มีพิธีเปิดการก่อสร้างเป็นทางการ โดยท่านนายกรัฐมนตรีหลี่เผิง เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ.1994
ดำเนินการก่อสร้างทำนบดินปิดช่องลำน้ำทางฝั่งขวาทั้งทางด้านเหนือและท้ายน้ำเชื่อมติดกับเกาะจงเป่า เพื่อขุดเบิกทางลำน้ำให้กว้างและลึกลง พร้อมกับก่อสร้างกำแพงคอนกรีตบดอัดตามแนวยาวขนานกับตัวเกาะเพื่อใช้สำหรับผันลำน้ำฉางเจียง
ขุดคลองเดินเรือชั่วคราวทางด้านฝั่งซ้าย รวมทั้งดำเนินงานอพยพราษฎรบริเวณหัวงานและอ่างเก็บน้ำ
ระยะที่สอง ค.ศ.1998-2003 เป็นเวลา 6 ปี เป็นการก่อสร้างทำนบดินและหินด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำ มาเชื่อมติดกับกำแพงคอนกรีตบดอัดซึ่งก่อสร้างไว้ในระยะแรกโอบล้อมลำน้ำทางด้านซ้ายของเกาะจงเป่า เพื่อผันน้ำเข้าสู่คลองผันน้ำที่ขุดไว้ด้านฝั่งขวาซึ่งแล้วเสร็จในระยะแรก
แล้วจึงขุดและก่อสร้างตัวเขื่อน ทางระบายน้ำล้นและโรงไฟฟ้าทางฝั่งซ้าย คาดว่าจะติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 2 เครื่องแรกให้แล้วเสร็จ และผลิตไฟฟ้าได้ใน ค.ศ.2003 ซึ่งเป็นปีที่ 11 ของการก่อสร้างเขื่อนซานเสีย พร้อมทั้งก่อสร้างคลองเดินเรือถาวรทั้ง 2 ช่องทางให้แล้วเสร็จในระยะนี้ด้วย
ระยะที่สาม ค.ศ. 2004 – 2009 เป็นเวลา 6 ปี เป็นการถมทำนบดินและเขื่อนคอนกรีตบดอัดทั้งด้านเหนือน้ำและท้ายน้ำ ปิดคลองผันน้ำฝั่งขวาอีกครั้งหนึ่งเพื่อผันน้ำให้ไหลผ่านทางระบายน้ำล้นและช่องเปิดระดับล่าง (bottom outlet) จำนวน 23 ช่อง
ซึ่งอยู่ใต้ทางระบายน้ำล้นกลางลำน้ำและได้ดำเนินการแล้วเสร็จในระยะที่สอง สำหรับการเดินเรือก็ให้เดินผ่านทางคลองเดินเรือถาวรทั้งสองช่องซึ่ง[9]
การพัฒนาซานเสีย
ซานเสียจะเห็นได้ว่ามีประวัติที่เก่าเก่และอนาคตมีความหวัง นายกรัฐมนตรีหลี่เผิงมาตรวจการดำเนินงานการอพยพที่นี่ 4 ครั้งแล้ว การสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างได้เร็วขึ้น นอกจากนั้นจะสร้างทางรถไฟและสนามบิน นครนี้จะเจริญก้าวหน้าไปได้ไว
เพราะอุดมด้วยแก๊สธรรมชาติและแร่เกลือ กิจการท่องเที่ยวเจริญ มีนักท่องเที่ยว 3 ล้านคน เรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวนั้นถือได้ว่าส่วนหนึ่งเรียนประสบการณ์จากไทย นักธุรกิจจากว่านเซี่ยนได้ไปประเทศไทยและมาบรรยายสภาพของประเทศไทยให้นายกเทศมนตรีฟัง
คนจีนนิยมข้าวไทยมากด้วย มิตรภาพไทยจีนจะเจริญอยู่ตลอดไปเหมือนแม่น้ำแยงซี[10]
อ้างอิง
1. เย็นสบายชายน้ำ หน้า 42
2. เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 218
3. เย็นสบายชายน้ำ หน้า 288
4. คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 210
5. ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 116
6. เย็นสบายชายน้ำ หน้า 46
7. เย็นสบายชายน้ำ หน้า 66
8. เย็นสบายชายน้ำ หน้า 46
9 เย็นสบายชายน้ำ หน้า 71,72
10. เย็นสบายชายน้ำ หน้า 91