Please wait...

<< Back

ฉู่ฉยง

จากหนังสือ

ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 29,31

(น.29) รูป 26 อาหารกลางวันที่โรงแรมฉู่ฉยง

(น.29) มีโรงงานปูนซีเมนต์ ภูเขาบางลูกก็ถูกตัด (เอาไปทำซีเมนต์กระมัง) ข้างทางมีป้ายบอกว่าเป็นเหมืองเกลือ ไม่ทราบว่าเขาทำเกลือกันอย่างไร มีซุ้มบอกชื่อหมู่บ้านไปตลอดทาง เมื่อออกจากเขตคุนหมิงเข้าเขตฉู่ฉยงมีด่าน แล้วเข้าไปพักที่โรงแรมฉู่ฉยง (Chu Xiong) เพื่อรับประทานอาหารกลางวัน มีเลขาธิการมณฑลซึ่งอยู่ที่ฉู่ฉยงชื่อผู่เต๋อเฉิงมาต้อนรับ โรงแรมนี้สร้างมา 20 กว่าปีแล้ว ไปถึงขึ้นไปที่ห้อง เข้าห้องน้ำห้องท่ากัน 20 นาที แล้วมารับประทานอาหารกลางวัน รองประธานฯ เฉิน อธิบายว่า ฉู่ฉยงนั้นเป็นโจว ที่จริงเป็นเขตปกครองตนเองของพวกอี๋ พวกอี๋ยังแยกออกเป็นเผ่าย่อยอีกหลายพวก พวกอี๋แต่ครั้งโบราณนับถือไฟและเสือ

(น.31) รูป 28 หยุดพักเข้าห้องน้ำที่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

(น.31) ข้าวเม็ดสั้นๆ คล้ายข้าวไร่ชาวเขา ขนมของท้องถิ่นเป็นแป้งข้าวเจ้าราดน้ำผึ้ง ถามรองผู้ว่าฯ ว่าประชาชนแถบนี้มีอาชีพอะไร ท่านอธิบายว่าชาวบ้านทั่วไปปลูกข้าวเจ้าเพื่อบริโภคในครัวเรือน พืชเศรษฐกิจสำคัญ คือ ยาสูบ และควักบุหรี่ยี่ห้อหูเตี๋ยฉวน ที่ซองมีคำแปลภาษาอังกฤษว่า Butterfly Pool ออกมาว่าใครอยากสูบบ้าง ไม่มีใครอยาก ก็เลยสูบเอง วันนี้รู้จักผัก-เห็ดพื้นเมืองหลายอย่าง เลยขอตัวอย่างชนิดที่ยังไม่ได้ปรุงอาหารไปดูเป็นตัวอย่าง เดินทางต่อ คราวนี้เดินทางยาวนาน ที่จริงระยะทางไม่ไกลนักแต่ทางไม่ค่อยดี ยังซ่อมไม่เสร็จ และเป็นเขตภูเขาที่ทางแคบคดเคี้ยวแต่แรกคิดว่าจะนอนเอาแรง แต่คิดใหม่ว่าชมวิวดีกว่า ขากลับก็ต้องกลับทางเดิมนี้อีกอยู่ดี จึงเพียงแต่งีบน้อยๆ เป็นครั้งคราว แก้ง่วงด้วย การชวนหลิวกับหงเยี่ยนคุย มีลุงเป็นไกด์ ลุงบอกว่าเป็นต้นอัน (ยูคาลิปตัส) ที่เห็นอยู่นั้นใบทำยาได้ สองข้างทางเห็นเตาเผาอิฐเป็นระยะ เป็นของจำเป็นเพราะบ้านแถวนี้ก่ออิฐทั้งนั้น ภูเขาที่เห็นชื่อ ซื่อชือ ตามหมู่บ้านหลายหมู่บ้านมีโรงบ่มยา ปลูกผัก มีแปลงยกร่องคลุมด้วยพลาสติกบนเขาเห็นได้ว่ามีการปลูกป่า เข้าเขตต้าหลี่ ตำรวจรถนำที่เป็นของฉู่ฉยงหยุดอยู่ข้างทาง รถตำรวจต้าหลี่นำต่อ การเพาะปลูกสองข้างทางไม่ต่างจากที่ผ่านมามากนัก มีบ่อเลี้ยงปลา มีอ่างเก็บ

ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 96,97

(น.96) ขึ้นรถกลับคุนหมิง บ่นๆ กันว่าต้องเลี้ยวรถ 58 แห่ง จริงๆ แล้วข้าพเจ้าคิดว่ามากกว่านั้น มองดูก็เหมือนเมืองไทย มีอะไรๆ ขายข้างทาง ขายกระเทียม หยุดเข้าห้องน้ำที่เดิมเหมือนตอนขามา มาดามเฉินบอกว่าเราเดินทางกว่า 800 กิโลเมตร ผ่าน 8 ตำบล วันนี้รถติด รถมากจริงๆ กว่าจะถึงโรงแรมฉู่ฉยงรู้สึกว่าใช้เวลานาน แต่ที่จริงแล้วถึงก่อนเวลา มีท่านเลขาธิการ (ท่านเดิม) มาคอยรับส่วนรองผู้ว่าราชการเมืองท่านนี้เป็นชาวอี๋ ท่านบอกว่าเวลาไปประชุมที่มณฑล หรือไปประชุมสภาที่ปักกิ่ง จะแต่งกายชุดพื้นเมืองอี๋เสมอ วันนี้มีการต้อนรับที่ค่อนข้างจะพิเศษคือมีการร้องเพลงเผ่าอี๋ มีใจความว่า “ท้องฟ้าทำไมไม่มีเมฆ เนื่องจากลมพัดมา ในโรงแรมฉู่ฉยงคึกคัก เพราะแขกผู้มีเกียรติคนไทยมา ไม่ถึงเวลาดอกไม้ไม่บาน ไม่เป็นคนสนิทไม่เชิญดื่ม มา...ขอให้แขกรับคำอวยพรของชนชาติอี๋ ดื่มด้วยความยินดี......” พอฟังเพลงแบบนี้เข้าแล้ว ใครจะทนทำปั้นปึ่งอยู่ได้ ก็ต้องกระชับมิตรภาพกับสหายใหม่ชาวอี๋ เหล้าของท้องถิ่นนี้มีหลายชนิด มีทั้งที่ทำจากข้าวเจ้า ข้าวฟ่างรองผู้ว่าฯ อธิบายว่าปกติจะต้องรินเหล้าใส่ชามขนาดใหญ่ และส่งต่อๆ กัน เพื่อความสามัคคีและแก้หนาว วันนี้เขาเลี้ยงเหล้าทำจากข้าว 50 ดีกรี ยกจอกดื่มหมด แต่ก็ไม่ใช่จอกเดียว เนื่องจากมีสหายหลายคน

(น.97) ท่านรองฯ เล่าว่าแถบนี้มีสาลี่ผิวสีแดงหรือชมพูปนเหลืองๆ มีรสชาติดีมาก ผักที่นี่มีหลายอย่าง ต้นหอมสามารถส่งออกไปเมืองอื่นถึง 26 เมือง ส่งรถไฟ 20 ตู้ เทศกาลหั่วป่าในเดือนหกชาวบ้านจะร้องเพลงเต้นรำจนอาทิตย์ตกดิน หนุ่มเต้นระบำจนพื้นรองเท้าพันชั้นสึก สาวเต้นจนรองเท้าปักขาด สาวๆ ใช้ดอกตู้จวนปักผม และประกวดปักผ้า ท้องถิ่นนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจ มีที่น่าเที่ยวอีกหลายอย่างหลายแห่ง มีของโบราณ กระดูกไดโนเสาร์ กระดูกมนุษย์โบราณ มีพวกไต่อยู่ที่ฝั่งน้ำ พวกเหมียวอยู่ยอดเขา พวกอี๋อยู่เชิงเขา ข้าพเจ้าถามถึงพืชผลไม้อื่นๆ เขาเล่าว่าที่ความสูงประมาณ 2,500 เมตรปลูกแอปเปิ้ลได้ ภูเขาลูกหนึ่งมีอากาศ 4 ฤดู ภูเขาสูงๆ ต่ำๆ มีหุบเหว ฉะนั้นในบางแห่งสถานที่ห่างกัน 5 กิโลเมตร อากาศก็ไม่เหมือนกัน เช่น ภูเขาสูง 3,680 เมตร ต่ำสุด 557 เมตร ยอดเขาร้อน พฤกษชาติพันธุ์สัตว์หลากหลาย หมีมีมากที่สุด เสือลาย ลิงกวาง (ไม่ทราบว่าแปลถูกหรือเปล่า) นกยูง ฯลฯ เศรษฐกิจก็พัฒนาเร็วเป็นอันดับ 4 ของมณฑล จังหวัดนี้ประสบความสำเร็จในกิจการสำคัญ 2 ประการคือ การปลูกป่า และเรื่องการคุมกำเนิด ได้รับการชมเชยจากรัฐบาลจีน รักษาธรรมชาติได้ดี เศรษฐกิจดี ปลูกต้นอัน สกัดน้ำมันทำยาได้ ต้นเหอจินยางไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ ส่วนพืชธรรมชาติคือต้นสน สถานที่น่าเที่ยวอีกแห่งคือแม่น้ำจินซาเจียงอันเป็นสาขาของแม่น้ำแยงซีเกียง ไหลผ่านเสฉวนและยูนนาน เป็นที่อยู่ของพวกอี๋ อี๋แถวๆ เสฉวนเรียกว่าพวกเหลียงช่าน ส่วนพวกเขาเป็นฉู่ฉยง


จัดหมวดหมู่สารสนเทศ เขตปกครองตนเองชนชาติอี๋ ฉู่ฉยง

ฉู่ฉยงนั้นเป็นโจว ที่จริงเป็นเขตปกครองตนเองของพวกอี๋ พวกอี๋ยังแยกออกเป็นเผ่าย่อยอีกหลายพวก พวกอี๋แต่ครั้งโบราณนับถือไฟและเสือ[1]
เหล้าของท้องถิ่นนี้มีหลายชนิด มีทั้งที่ทำจากข้าวเจ้า ข้าวฟ่างรองผู้ว่าฯ อธิบายว่าปกติจะต้องรินเหล้าใส่ชามขนาดใหญ่ และส่งต่อๆ กัน เพื่อความสามัคคีและแก้หนาว วันนี้เขาเลี้ยงเหล้าทำจากข้าว 50 ดีกรี ยกจอกดื่มหมด แต่ก็ไม่ใช่จอกเดียว เนื่องจากมีสหายหลายคน มีสาลี่ผิวสีแดงหรือชมพูปนเหลืองๆ มีรสชาติดีมาก ผักที่นี่มีหลายอย่าง ต้นหอมสามารถส่งออกไปเมืองอื่นถึง 26 เมือง ส่งรถไฟ 20 ตู้ เทศกาลหั่วป่าในเดือนหกชาวบ้านจะร้องเพลงเต้นรำจนอาทิตย์ตกดิน หนุ่มเต้นระบำจนพื้นรองเท้าพันชั้นสึก สาวเต้นจนรองเท้าปักขาด สาวๆ ใช้ดอกตู้จวนปักผม และประกวดปักผ้า ท้องถิ่นนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจ มีที่น่าเที่ยวอีกหลายอย่างหลายแห่ง มีของโบราณ กระดูกไดโนเสาร์ กระดูกมนุษย์โบราณ มีพวกไต่อยู่ที่ฝั่งน้ำ พวกเหมียวอยู่ยอดเขา พวกอี๋อยู่เชิงเขา
ข้าพเจ้าถามถึงพืชผลไม้อื่นๆ เขาเล่าว่าที่ความสูงประมาณ 2,500 เมตรปลูกแอปเปิ้ลได้ ภูเขาลูกหนึ่งมีอากาศ 4 ฤดู ภูเขาสูงๆ ต่ำๆ มีหุบเหว ฉะนั้นในบางแห่งสถานที่ห่างกัน 5 กิโลเมตร อากาศก็ไม่เหมือนกัน เช่น ภูเขาสูง 3,680 เมตร ต่ำสุด 557 เมตร ยอดเขาร้อน พฤกษชาติพันธุ์สัตว์หลากหลาย หมีมีมากที่สุด เสือลาย ลิงกวาง (ไม่ทราบว่าแปลถูกหรือเปล่า) นกยูง ฯลฯ เศรษฐกิจก็พัฒนาเร็วเป็นอันดับ 4 ของมณฑล จังหวัดนี้ประสบความสำเร็จในกิจการสำคัญ 2 ประการคือ การปลูกป่า และเรื่องการคุมกำเนิด ได้รับการชมเชยจากรัฐบาลจีน รักษาธรรมชาติได้ดี เศรษฐกิจดี ปลูกต้นอัน สกัดน้ำมันทำยาได้ ต้นเหอจินยางไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ ส่วนพืชธรรมชาติคือต้นสน สถานที่น่าเที่ยวอีกแห่งคือแม่น้ำจินซาเจียงอันเป็นสาขาของแม่น้ำแยงซีเกียง ไหลผ่านเสฉวนและยูนนาน เป็นที่อยู่ของพวกอี๋ อี๋แถวๆ เสฉวนเรียกว่าพวกเหลียงช่าน ส่วนพวกเขาเป็นฉู่ฉยง [2] ที่ฉู่ฉยง ชาวบ้านทั่วไปปลูกข้าวเจ้าเพื่อบริโภคในครัวเรือน พืชเศรษฐกิจสำคัญ คือ ยาสูบ[3]


อ้างอิง

1. ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 29
2. ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 96,97
3. ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 31