<< Back
ฮาร์บิน
เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 69
(น.69) ท่านเล่าต่อไปว่าฮาร์บินมีอุตสาหกรรมเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า 190,193
(น.190) เมื่อคืนนี้ลมแรงพัดอู้ซงไปฝั่งใต้ของแม่น้ำ ในน้ำมีหมอกอย่างเดิม ไปถึงที่สถานีไฟฟ้าเฟิงหม่าน รองผู้อำนวยการสถานีเชิญเข้าไปอธิบายว่า สถานีนี้สร้างขึ้นปี ค.ศ. 1937 เริ่มผลิตไฟฟ้า ค.ศ. 1943 เสร็จบริบูรณ์ ค.ศ. 1960 ผลิตไฟฟ้าได้ 120,000 KW เครื่องจักรเครื่องกลมีทั้งที่ทำที่เมืองจีน (ที่ฮาร์บิน) และต่างประเทศ เช่น ของสหรัฐฯ เยอรมนี และรัสเซีย ห้องควบคุมห้องแรกมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 8 ชุด มีอีกห้องอีก 2 ชุด ลำแม่น้ำซงฮัวมีเขื่อน 3 แห่ง ที่นี่ใหญ่ที่สุด เขื่อนคอนกรีตยาว 1,080 เมตร สูง 91 เมตร มีประโยชน์หลายทาง
1. กำเนิดไฟฟ้า
2. ป้องกันน้ำท่วม
(น.193) การซ่อมอยู่บ้าง มีการฉีดปูนเสริมความมั่นคงที่รากฐานเพื่อให้ทนน้ำหนักน้ำได้ ตอนนี้จ่ายกระแสไฟฟ้า 8 สายเข้าระบบของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฮาร์บิน ฉางชุน เสิ่นหยาง (เข้าข่ายไฟฟ้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มีไฟเพียงพอ ทางน้ำล้น 11 ช่อง
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 3,4,8,26,42,73,74
(น.3) วันศุกร์ที่ 14 มกราคม 2537
เมื่อวันก่อนอาจารย์ธิดาและท่านทูตเล่าถึงเมืองฮาร์บินว่ามีในเรื่อง “ปักกิ่งนครแห่งความหลัง” ของสด กูรมะโรหิต ตอนที่นางเอกซึ่งเป็นรัสเซียขาวหนีเข้ามา ผู้หญิงรัสเซียจำนวนมากที่หนีเข้ามาในจีนต้องประกอบอาชีพเป็นโสเภณีหาเลี้ยงชีพ เพราะไม่มีทางทำมาหากินต่อไป ส่วนบิดานางเอกไม่ต้องการให้ลูกสาวเป็นเช่นนั้นจึงฆ่าตัวตาย ลูกสาวไปบวชชี ท่านทูตว่าหนังสือหลายเล่มที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในระยะเดียวกันก็จะกล่าวถึงความลำบากเช่นนี้
(น.4) วันนี้ตื่นเช้าเป็นพิเศษไม่ทราบว่าทำไมเป็นอย่างนั้น รับประทานอาหารเช้า 7.00 น. ตามเคย คุยกันเรื่องเมืองฮาร์บิน ในหนังสือที่ข้าพเจ้าอ่านบอกว่าคำว่า “ฮาร์บิน” เป็นภาษาแมนจู แปลว่าตากแห ส่วนอาจารย์สารสินอ่านมาว่าภาษามองโกลแปลว่าบ่อปลา ใครผิดใครถูกรอคำตอบคืนนี้
ปี ค.ศ. 1896 รัสเซียได้สัมปทานทำทางรถไฟไปวลาดิวอสต๊อก ค.ศ.1905 หลังจากรัสเซียแพ้สงครามญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเข้าควบคุมเส้นทางรถไฟ ถึงปี ค.ศ.1932 ญี่ปุ่นขึ้นอยู่ 13 ปี สิ้นสงครามโลก ปี ค.ศ.1945 รัสเซียกลับคืนมา จีนมาเอาคืน ค.ศ.1946
(น.8) ของสมัยราชวงศ์หยวน หมิง และชิง พบแถวๆ อำเภออู่ฉางและเมืองฮาร์บิน ที่แสดงไว้สมัยหมิง มีตราคันฉ่องสำริดจารึกคำสิริมงคลต่างๆ เช่น ให้พ่อ-ลูกเป็นอัครเสนาบดี (เป็นเจ้าเป็นนายทั้งพ่อทั้งลูก) ให้สอบได้เป็นจอหงวน พวกเครื่องลายคราม (Blue & White) ลายก็เป็นลายสิริมงคล เช่น มังกรคู่ ปลาคู่ พบที่อำเภออี้หลาน
(น.26)ตรงกับคำว่า Orthodox มีพระบาทหลวงมาต้อนรับ พาเข้าโบสถ์ เรียกว่า เจี้ยวถัง และอธิบายว่าวัดนี้สร้างปี ค.ศ.1930 ศิลปะมาจากยูเครน ภาพ Icon (รูปเคารพทางศาสนา) ทั้งหลายมาจากมอสโก ระหว่างปี ค.ศ.1930-1932 บางรูป เช่น รูปแม่พระอายุถึง 100 ปี ขณะนี้มีสานุศิษย์ประมาณ 100 คน ชุมนุมกันสัปดาห์ละครั้ง ปีหนึ่งมีวันพิเศษ 12 วัน แท่นที่เห็นตั้งไว้สำหรับงานวันคริสต์มาส ซึ่งต่างจากวันคริสต์มาสปกติ ที่นี่เขาถือวันที่ 7 มกราคมเป็นวันคริสต์มาสตามปฏิทินแบบรัสเซีย (เรื่องปฏิทินนั้นรู้สึกจะสับสน เดิมใช้ปฏิทินจูเลี่ยนตามระบบที่ซีซาร์คิดไว้ สันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 มาแก้ในปี ค.ศ.1582 ในอังกฤษยอมรับในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ส่วนรัสเซียใช้หลังจากปฏิวัติบอลเชวิกแล้ว) ที่นี่เทศน์เป็นภาษาสลาฟ สวดมนต์ ร้องเพลงเป็นภาษาสลาฟทั้งนั้น มีแต่เคาะอะไรก็ไม่ทราบ ไม่มีเล่นดนตรี ถามท่านว่าคนฟังรู้เรื่องหรือ ท่านว่าก็มีแต่คนแก่ๆ อายุ 80-90 ปีกับลูกหลาน (น้อย) หลวงพ่อเองมาจากปักกิ่ง ชื่อจูชื่อผู่ มีอูยู่ท่านเดียวในฮาร์บิน รู้ชื่อหลวงพ่อ แต่ลืมถามชื่อวัด
(น.42) นั่งรถกลับไปที่พักเพื่อใส่เสื้อผ้าให้หนาไปกว่าเดิม รถผ่านโรงแรมเป่ยฟางต้าซ่า ซึ่งเป็นโรงแรมเก่าที่สุดในฮาร์บิน
รีบเอาเสื้อชุดที่คิดว่าหนาที่สุดใส่ ใส่ถุงมือสองชั้น หมวก 3 ชั้น แล้วไปนั่งรถ แต่งเข้าไปแล้วมีความรู้สึกจะเป็นลมเพราะ
(น.45)ถูกกัดเซาะโดยลม (wind erosion) จากนั้นข้าพเจ้าขอต้นหยางไปปลูก นาบริเวณนี้แต่ก่อนเป็นคอมมูน ปัจจุบันไม่มีคอมมูนแล้ว มีแต่ฟาร์มของรัฐบาล รัฐบาลจ่ายเงินจ้างเหมือนจ้างคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม ผลิตผลที่ได้ผลดีมากคือถั่วเหลือง ถั่วเหลืองชอบอากาศหนาวที่มีฝนมาก พันธุ์ถั่วที่ปลูกทางภาคเหนือเอาไปปลูกปักษ์ใต้ก็ไม่ได้ จีนเหนือส่งออกถั่วเหลืองมากที่สุด อีกอย่างที่ผลิตได้ดีคือหย่าหมา เป็นป่านชนิดหนึ่ง ปลูกที่อื่นไม่ได้ คนทางเหนือชอบความสนุกสนานร่าเริง ชอบร้องเพลงเต้นรำ มีเทศกาลน้ำแข็ง เทศกาลหิมะ มีการสมรสหมู่บนน้ำแข็ง ฤดูชิวเทียนมีการแสดงดนตรี ประกวดร้องเพลงจีนริมแม่น้ำซงฮัว หน้าร้อนว่ายน้ำเต้นดิสโก้ริมแม่น้ำ จะพิสูจน์ได้ว่าคนฮาร์บินชอบดนตรีกันแค่ไหนก็ต้องไปโรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถม เรียกเด็กคนไหนออกมาร้องเพลงก็ร้องได้
(น.48)ถึงยู่ฉวน เขาตัดน้ำแข็งมาสลักเป็นรูปต่างๆ ตั้งบนโต๊ะอาหาร เพิ่งแกะเมื่อเช้านี้ดูก็สวยดี แต่มีปัญหาคือบังหน้าคนที่นั่งตรงกันข้าม ทำให้การสนทนามีรสชาติน้อยลง กับอีกอย่างหนึ่งคือมีที่วางอาหารน้อยลง คุณโป๋ซีหรูมาจากการท่องเที่ยวฮาร์บินมาคอยนั่งอธิบายอาหารวันนี้ผู้จัดคือคุณหลิวชิวหลานจาก China Harbin Modern
(น.73) สิ่งที่เขาภูมิใจอีกอย่างคือน้ำแร่จากทะเลสาบปล่องภูเขาไฟทั้ง 5 หรือที่เรียกกันว่าอู่ต้าเหลียน ปล่องภูเขาไฟนี้ไม่เก่าแก่มาก อายุประมาณ 200 ปีมานี้เอง มีแร่ที่มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น โซเดียม แคลเซียม โปตัสเซียมไบคาร์บอเนต คาร์บอนไดออกไซด์ แมกนีเซียม ทะเลสาบทั้ง 5 นี้น้ำไหลติดต่อกันได้ มีคนไปอยู่บริเวณทะเลสาบทั้ง 5 เนื่องจากเชื่อว่าน้ำนี้ใช้ปลูกผมได้ วิธีการคือโกนหัวให้เกลี้ยงก่อนแล้วเอาน้ำผสมดินพอก ต่อไปจะผมงอกมากขึ้นกว่าเดิม (พอดีข้าพเจ้าไม่ได้หัวล้านจึงไม่ได้สนใจไปมากกว่านี้) นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณรักษาโรคเก๊าต์ ไขข้อ โรคกระเพาะอาหาร บางคนไปอยู่บริเวณนี้เป็นเดือนๆ การเดินทางไปนั่งรถ 5 ชั่วโมงจากฮาร์บิน (อยู่ระหว่างเฮยเหอกับฮาร์บิน ใกล้เฮยเหอมากกว่า) บริเวณอู่ต้าเหลียนนี้ รองผู้ว่าฯ เล่าว่ากำลังปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ภูเขาไฟในอุทยานแห่งชาติ เพราะเป็นสิ่งที่น่าสนใจ เมื่อ 200 ปีกว่าภูเขาไฟระเบิดลาวา ทำให้เกิดทะเลสาบทั้ง 5 มีน้ำพุแร่
(น.74)ข้าพเจ้าถามถึงชื่อเมืองฮาร์บิน ท่านประธานสภาฯ อธิบายว่าเป็นคำภาษาเอ้อหลุนชุน แปลว่า ที่ตากแห อธิบายว่าสมัยนั้นชนกลุ่มน้อยจะทำการประมงอยู่ในแม่น้ำเฮยหลงเจียงและอูซูหลี่เจียง จะต้องเอาแหออกตากเพื่อซ่อม แสดงว่าหนังสือที่ข้าพเจ้าอ่านกับที่อาจารย์สารสินอ่านถูกกันคนละครึ่ง (พวกเอ้อหลุนชุนเป็นพวกมองโกลแขนงหนึ่ง)
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 86
(น.86) วันเสาร์ที่ 15 มกราคม
วันนี้รับประทานอาหารหกโมงครึ่ง เพราะต้องออกเร็ว สนามบินฮาร์บินค่อนข้างไกล ในรถจางจู่เริ่นอธิบายเรื่องต่างๆ ส่วนมากเป็นเรื่องการศึกษาที่อยู่ในความดูแลของเขาว่า มหาวิทยาลัยอุตสาหกรรมฮาร์บินมีชื่อมาก ฮาร์บินมีมหาวิทยาลัย 42 แห่ง เป็นมหาวิทยาลัยกระทรวง 14 แห่ง อีก 28 แห่งเป็นของมณฑล ทุกกระทรวงใหญ่มีมหาวิทยาลัยของตัวเอง เมื่อเรียนจบแล้วก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องทำงานกระทรวงนั้น ทำงานที่ไหนก็ได้ เช่น จบที่มหาวิทยาลัยอุตสาหกรรมแล้วไปเป็นนักบินก็มี มีมหาวิทยาลัยต่อเรือ มหาวิทยาลัยทางการทหาร ที่เราจะไปเป็นมหาวิทยาลัยการป่าไม้ของกระทรวงป่าไม้ มหาวิทยาลัยก่อสร้าง สังกัดกระทรวงการก่อสร้าง
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 117,118,142,145
(น.117)8.30 น. ออกเดินทาง แต่แรกคิดว่าวันนี้อาจจะกลับฮาร์บินไม่ได้ เพราะเมื่อคืนนี้หิมะตกมาก ถ้าหิมะตกต่ออีกเครื่องบินขึ้นไม่ได้ ต้องกลับรถไฟ หรือไม่ก็ค้างเฮยเหออีกต่อไป ยังมีปัญหาต่อไปว่าเครื่องบินจากฮาร์บินไปฮ่องกงมีเพียงอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ข้าพเจ้าเองไม่ค่อยจะกลัวอะไรเพราะคิดว่ากลับรถไฟก็น่าจะจัดได้และนั่งต่อไปปักกิ่งขึ้นเครื่องกลับกรุงเทพฯ เลย ยังได้เที่ยวปักกิ่งอีก
(น.118) เช้านี้เราไปที่พิพิธภัณฑ์เฮยเหอ เริ่มด้วยหุ่นจำลองเมืองปัจจุบัน แล้วเข้าไปดูส่วนที่เป็นประวัติศาสตร์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน ค.ศ.1931 เวลา 10 นาฬิกา 20 นาที กองทัพญี่ปุ่นตีเสิ่นหยาง ภายใน 4 เดือนญี่ปุ่นก็สามารถยึดเสิ่นหยาง ฉางชุน และฮาร์บินได้ ญี่ปุ่นยึดเฮยเหออยู่ 13 ปี ใช้ทั้งเครื่องบินและปืนใหญ่ ในตู้แสดงปืนกลของญี่ปุ่น มีโรงงานผลิตอาวุธขนาดใหญ่ ในเฮยเหอมี 2 แห่ง มีโกดังกระสุน ขุดอุโมงค์ 1,500 กว่าอุโมงค์ ในตู้มีหน้ากากกันพิษ รูปศูนย์ตำรวจลับและ(น.119)คุกสมัยนั้น
(น.142) ถึงสนามบินเร็วไม่รู้ตัว ลาพวกเมืองเฮยเหอที่มาส่ง แล้วขึ้นเครื่องบิน เขียนบันทึกบ้าง คุยกับอาจารย์สารสินและท่านทูตจางเหลียนซึ่งนั่งใกล้กัน พอเครื่องบินใกล้ฮาร์บิน มีการบรรยายเรื่องเมืองฮาร์บินว่ามีอะไร ประกาศอุณหภูมิ -13◦C อุ่นมาก! ขึ้นรถ จางจู่เริ่นบอกว่าควรมาหน้าร้อนลงเรือใหญ่ล่องแม่น้ำเฮยหลงเจียง ชี้ให้ดูแกะ เห็นขนโกร๋น เขาเพิ่งตัดขน รู้สึกสงสารแกะที่ต้องถูกตัดขนหน้าหนาว
(น.145) ตอนกลางคืน (ดอกขจร) สุดท้ายมีรายการพิเศษสุด พี่ต๋อยเป็นโฆษกเชิญนักร้องกิตติมศักดิ์ ผู้มีชื่อเสียงขจรขจายทั่วปักกิ่ง และมาถึงฮาร์บินด้วยคือ ท่านทูตมนตรี มาร้องเพลงปู้เลี่ยวฉิง (มนต์รักอมตะ)
คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 34
(น.34) กลับโรงแรมก่อนรับประทานอาหาร ไปที่ร้านขายหนังสือของโรงแรม มีแต่หนังสือภาษาจีน ซื้อมาหลายเล่ม
ค่ำนั้นคุณธนินท์ เจียรวนนท์เลี้ยงอาหารแบบแต้จิ๋วในโรงแรมมีกุ้ง หูฉลาม ปลา รากบัว ข้าวผัด ขนมต่างๆ แถมด้วยเฉาก๊วยอีกตามเคย
คุณวรวีร์มาเตือนว่ามีการแสดงของนักเรียนโรงเรียนนาฏศิลป์ซัวเถาอีก พอดีรับประทานเสร็จออกไปที่ล็อบบี้โรงแรมที่เขาจัดเป็นที่แสดง มีหลายฉากดังนี้
1. ระบำเงือกน้อยในทะเลจีนใต้ เต้นเหมือนบัลเลต์ แต่ท่าเป็นแบบจีน มาดามเซี่ยบอกว่าเด็กที่แสดงเป็นเด็กที่มาจากฮาร์บิน มาเรียนการแสดงที่นี่ ให้สังเกตว่าคนฮาร์บินรูปร่างใหญ่กว่าคนทางภาคนี้ (ข้าพเจ้าสงสัยว่าอยากเรียนนาฏศิลป์ทำไมต้องมาไกลถึงที่นี่ที่ฮาร์บินเป็นเมืองใหญ่โตน่าจะมีโรงเรียนนาฏศิลป์)
2. การแสดงเดี่ยวชุดนาจาพิชิตสมุทร เป็นเรื่องนิทานพื้นเมือง
3. การแสดงชุดประทีปแห่งมงคล เป็นการฟ้อนรำแบบพวกชนเผ่าไต่
4. การขับร้องเพลงเดี่ยว ผู้ขับร้องคือ นายเหอหย่งเหวย ในกำหนดการว่าเป็นเพลงไทย ที่จริงเป็นเพลงจีนชื่อ เซียงซือเหอพ่าน (相思河畔) แปลว่า ริมฝั่งถวิลหา เพลงนี้แต่งในไต้หวันเมื่อประมาณ 20 ปีแล้ว เป็นเพลงที่ชาวจีนโพ้นทะเลรู้จักดี ร้องกันมาก
5. การแสดงชุดเจี่ยนหลิงเหยา ประกอบเพลงพื้นเมืองแต้จิ๋ว
เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 42,49
(น. 42) วันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1931 ญี่ปุ่นเปิดฉากโจมตีเมืองเสิ่นหยัง ภายใน 4 เดือนก็สามารถยึดได้เมืองเสิ่นหยัง (มณฑลเหลียวหนิง) ฉังชุน (มณฑลจี๋หลิน) และฮาร์บิน (มณฑลเฮยหลงเจียง) แล้วยึดเมืองอื่นๆ ต่อเนื่องมา ภาคอีสานของจีนก็อยู่ใต้การยึดครองของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจัดตั้งหม่านโจวกั๋วขึ้น (ประเทศแมนจูเรีย ภาษาไทยถอดเสียงเคลื่อนเป็น แมนจูกัว) พอถึง ค.ศ. 1934 ญี่ปุ่นสถาปนาพระเจ้าผู่อี๋เป็นจักรพรรดิหม่านโจวกั๋ว
หลังจากญี่ปุ่นบุกตงเป่ย พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เป็นแกนนำรวมพลังประชาชนต่อต้านญี่ปุ่น จัดตั้งเป็นกองทัพพันธมิตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือต่อต้านญี่ปุ่น
ค.ศ. 1935 นักศึกษามหาวิทยาลัยต่างๆ ที่อยู่ในกรุงปักกิ่งได้รวมพลังกันเดินขบวนให้โค่นล้มลัทธิจักรวรรดินิยมญี่ปุ่น และคัดค้านพวกขุนศึกในภาคเหนือที่ตั้งตนขึ้นมามีอำนาจปกครองตนเอง
ในช่วงนั้น พรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์จีนสู้รบกัน ปลาย ค.ศ. 1936 เจียงไคเช็กไปบัญชาการปราบปรามพวกคอมมิวนิสต์ที่เมืองซีอาน วันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1936 นายพลจังเสวียเหลียงและนายพลหยังหู่เฉิง ขุนศึกภาคเหนือจับเจียงไคเช็กไปขังไว้ ในที่สุดพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคก๊กมินตั๋งสามารถเจรจารอมชอมกันได้ เหตุการณ์เมืองซีอานจึงยุติลงอย่างสันติ
(น. 49) ความทารุณกรรมต่างๆ หลังจากบุกนานกิงเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1937 มีการฆ่าหมู่ 300,000 กว่าคน ข่มขืนสตรี ปล้นชาวบ้าน กองทัพญี่ปุ่นตั้งสถานปลอบขวัญทหาร นำผู้หญิงจีนและเกาหลีมาบริการทางเพศ เอาคนจีนมาทดลองวิทยาศาสตร์หาทางทำสงครามเชื้อโรค ตั้งหน่วย 737 ที่ฮาร์บิน (ดังที่ข้าพเจ้าได้เขียนไว้ใน เกล็ดหิมะในสายหมอก)
ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 205
(น.205) ท่านรองผู้ว่าฯ บอกว่าเพิ่งไปกรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ตอนงาน BOI ชิมอาหารไทยตามภัตตาคารรู้สึกว่าอร่อยกว่าตามโรงแรมหรือภัตตาคาร อาหารไทยที่ปักกิ่งหรือฮาร์บิน เขาคิดว่าอาหารไทยมีคุณสมบัติ 3 ประการ 1. รสชาติไทย 2. ปริมาณแบบตะวันตก คือมี 4 อย่างไม่มากเกินไป 3. กินแบบจีน ใช้ตะเกียบคีบได้