Please wait...

<< Back

นานกิง

ประเภทคำ

ชื่อเมือง
คำอธิบายเพิ่มเติม

ชื่อหนึ่งของเมืองหนานจิง
สถาบันภูมิศาสตร์ของเมืองนานกิงกำลังทำโมเดลทางคณิตศาสตร์ผลผลิตทางการเกษตรข้าวเจ้า
ประวัติของพระเขี้ยวแก้ว / พระเขี้ยวแก้วถูกนำมาที่นานกิงสมัยพระภิกษุฝ่าเสี้ยน
กำลังสร้างกล้องดูดาวโรงงานใหญ่อยู่นานกิง
ราชวงศ์หมิง แต่แรกตั้งเมืองหลวงอยู่ที่นานกิง
ว่านเซี่ยนมีทางหลวง 318 ระดับชาติเชื่อมกับเมืองหนานจิง

จากหนังสือ

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 86,98

(น.86) เข้าใจว่าเป็นของสมัยราชวงศ์ถัง อยู่ที่วัดนี้มาตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่ทราบ มีแต่เรื่องเล่าขานกันมาว่าพระเขี้ยวแก้วองค์นี้ มีผู้นำไปเมืองอุทยานะ และนำมา Khotan (อยู่ในซินเกียง) พระภิกษุฝ่าเสี้ยน (ค.ศ. 424 - 498) สมัยราชวงศ์ฉีใต้ นำมาที่นานกิง ราชธานีของฉีใต้ สมัยสุยมีการรวมประเทศ ก็ได้นำไปฉางอัน สมัยห้าราชวงศ์บ้านเมืองวุ่นวาย พระธาตุเคลื่อนย้ายไปที่ต่างๆ จนถึงเมืองเยี้ยนจิง คือปักกิ่งในปัจจุบัน (สมัยเหลียว) มีบันทึกราชวงศ์เหลียวกล่าวไว้ว่า (เล่ม22) ประดิษฐานในเจดีย์เจาเซียน วัดหลิงกวง

(น.98) สถานีทดลองนี้มีชื่อว่า จิ้งเยว่ถาน ศึกษาเรื่องการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ใช้เครื่อง Radiometer วัด ติดตามผลผลิตป่าไม้ มีสถาบันภูมิศาสตร์ (Institute of Geography) ทำโมเดลทางคณิตศาสตร์เรื่องผลผลิตทางการเกษตร เน้นหนักเรื่องข้าวโพด (ข้าวเจ้าทำที่อู่ฮั่นและนานกิง ข้าวสาลีทำที่ปักกิ่ง) ศาสตราจารย์วังอันฝูเป็นผู้อำนวยการโครงการ มีคุณหลิวซินถู ผู้อำนวยการ

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 2 เหลียวหนิง หน้า 156

(น.156) ฉายาในการแสดงว่า ซูสิ่ง แต่ก่อนเคยเป็นทหารเรือ ทะเลกำลังหัวเราะ เป็นเรื่องของท่านประธานเหมากำลังตรวจพล ในเรือที่จะข้ามแยงซีเกียงไปจับเจียงไคเช็คที่นานกิง เขาบอกว่าเรื่องการหัดพูดภาษาสำเนียงก็เป็นเรื่องยาก ท่านเหมาเป็นคนหูหนาน หูหนานเองก็มีหลายสำเนียง ท่านเหมาเป็นคนเกิดในเมืองเล็กๆ ถ้าพูดตามนั้นคนจะไม่รู้เรื่อง จึงเลือกเอาสำเนียงฉางซาซึ่งเป็นเมืองใหญ่ คนเข้าใจมาก แต่ก็รู้ว่ามาจากหูหนาน ข้าพเจ้าคิดว่าที่จริงแล้วน่าจะอยู่ที่ว่าท่านเหมาพูดอย่างไร คนจึงรู้เรื่องเชื่อฟังทั้งประเทศ แล้วก็พูดตามไปอย่างนั้น เขาได้แสดงพูดให้ฟังตอนท่านเหมาพูดกับผู้สื่อข่าวที่ซีอาน ข้าพเจ้าขอให้คุณสรรธนัฏฐ์และคุณวีระชัยมาถ่ายทีวีไว้ด้วย เขาเล่าว่าตอนแสดงต้องใส่รองเท้าสูงเพราะตัวเตี้ยเกินไป การเล่นอย่างนี้ก็เหนื่อยมากต้องใช้กำลังภายในพูดเสียงดังจากลำ- คอ ข้าพเจ้าขอให้เขาแสดงอีกสักที คราวนี้อ่านบทกวีท่านเหมาเรื่องพวกจักรวรรดินิยมเข้ามาโจมตีประเทศจีน จีนอาศัยตนเองสร้างสรรค์ประเทศ เขาจะตะโกนด่าว่าอย่างไรก็ไม่ทำให้เราหวั่นใจแต่อย่างใด

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 5 ภาคผนวก ก หน้า 3,5

(น.3) 3. ราชวงศ์โจว ประมาณก่อน ค.ศ. 1122 – 770 บางหลักฐานระบุว่าประมาณก่อน ค.ศ. 1027 – 770
4. ยุคชุนชิว ก่อน ค.ศ. 770 – 476
5. ยุคจ้านกว๋อ ก่อน ค.ศ. 476 – 221
6. ราชวงศ์ฉิน ก่อน ค.ศ. 221 – 206
7. ราชวงศ์ฮั่น ก่อน ค.ศ. 206 – ค.ศ. 220
ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ก่อน ค.ศ. 206 – ค.ศ. 8
หวังหมางยึดอำนาจ (ราชวงศ์ซิน) ค.ศ. 8 – 23
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ค.ศ. 25 – 220
8. สมัยสามก๊ก ค.ศ. 220 – 265
ราชวงศ์เว่ย (ก๊กของโจโฉ ตั้งเมืองหลวงที่ลั่วหยาง) ค.ศ. 220 – 265
ราชวงศ์สู่หรือสู่ฮั่น (ก๊กของเล่าปี่ ตั้งเมืองหลวงที่เฉิงตู) ค.ศ. 221 – 263
ราชวงศ์หวู (ก๊กของซุนกวน ตั้งเมืองหลวงที่หนานจิง) ค.ศ. 222 – 280
9. ราชวงศ์จิ้นตะวันตก ค.ศ. 265 – 317 ราชวงศ์นี้สามารถรวบรวมประเทศจีนหลังสมัยสามก๊กให้เป็นปึกแผ่นอยู่ประมาณ 50 ปีเศษ
10. ราชวงศ์ใต้และราชวงศ์เหนือ (สมัยแห่งการแตกแยกทางการเมือง)


(น.5) รูป

(น.5) ราชวงศ์ต่าง ๆ ทางภาคใต้ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่หนานจิง เมื่อรวมกับราชวงศ์หวูของซุนกวน ซึ่งเคยตั้งเมืองหลวงอยู่ที่หนานจิงเหมือนกัน จะมีจำนวนทั้งหมด 6 ราชวงศ์ จึงเรียกราชวงศ์ทางใต้รวมกันว่า ราชวงศ์เหนือใต้ หรือหกราชวงศ์ ได้แก่ ราชวงศ์หวู จิ้นตะวันออก หลิวซ่ง ฉีใต้ เหลียง และเฉิน

คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 123,139,144

(น.123) การรบที่ชวนปี่ หลังจากจีนแตกพ่ายที่ซาเจี่ยวแล้ว มีรูปป้ายศิลาที่ทำสรรเสริญม้าของแม่ทัพ แม่ทัพตาย ม้าถูกจับ แต่ศัตรูก็ไม่สามารถบังคับม้าได้ ต้องเอาไปปล่อยบนภูเขา ม้าตายไปเองเพราะคิดถึงเจ้าของ ชาวจีนจึงเขียนป้ายสรรเสริญม้าตัวนั้น รูปแม่ทัพเรือจีน และกล้องส่องทางไกลที่แม่ทัพผู้นี้ใช้ รูปป้อมที่เขาถูกฆ่าใน ค.ศ. 1841 การรบที่หู่เหมิน ของที่แสดงให้ดูเห็นได้ว่า ทหารจีนยังใช้เกราะแบบโบราณ อาวุธโบรณต่างๆ เช่น ดาบ หอก ง้าว โตมร ขณะที่อังกฤษใช้อาวุธที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า เรื่องการต่อต้านของประชาชนในหมู่บ้านซานหยวนหลี่ อยู่ใกล้กวางโจว ถือเป็นชัยชนะของฝ่ายจีนครั้งแรก เพราะฝ่ายอังกฤษชนะแล้วก็เข้าปล้นสะดม ประชาชนจึงร่วมกันต่อต้าน ล้อมทหารได้อาวุธไว้เป็นจำนวนมาก
ตอนที่ 3 สงครามฝิ่นสิ้นสุด ในขณะรบมีแม่ทัพจีนถูกฆ่าตายที่ติ้งไห่ 3 คนคือ เกอหยวนฟา หวังซีเผิง และเจิ้งกั๋วหง ที่อู่ซงก็มีนายพลถูกฆ่า อังกฤษให้ไปเจรจาและลงนามที่นานกิงในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1842 ผลของสัญญาทำให้จีนต้องเปิดเมืองท่า 5 เมือง คือ กวางโจว เอ้หมึง ฝูโจว หนิงโป เซี่ยงไฮ้ ยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ ยกเลิกการค้าผูกขาดระบบหัง (ตัวอักษรจีน) ในมณฑลกวางตุ้ง และให้มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เสียเงินชดใช้ให้อังกฤษเป็นค่าฝิ่นที่ทำลายไป

(น.139) ดูสนามบินใหม่ ตอนแรกไม่เห็นเพราะว่าฝนลง เมฆมาก สักประเดี๋ยวลมพัดออกไป จึงบินไปดูได้ วิธีสร้างสนามบินใช้วิธีเกลี่ยทรายถมเกาะสองเกาะ มีทางรถไฟและท่าเรือ คมนาคมสะดวกทุกทาง ลงจากเรือ รถไฟ รถยนต์ก็ไปถึง terminals ขึ้นเครื่องบินได้เลย มีการจัดทัวร์ให้คนฮ่องกงมาดูสนามบินได้ฟรี นอกจากตึกสนามบินแล้ว ยังมีตึกสำนักงานใหญ่สายการบินคาเธ่ย์แปซิฟิกด้วย เลยสนามบินออกไปที่เกาะลันตามีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ เขาว่าโครงทำด้วยเหล็ก หุ้มด้วยสำริด องค์พระทำเป็นชิ้นๆ มาจากนานกิง จำนวน 202 ชิ้น นำมาประกอบที่ฮ่องกง ผู้จะมานมัสการพระนี้จะต้องมาทางเรือเฟอร์รี่ แล้วมาต่อรถอีก ใช้เวลาอย่างละชั่วโมงหนึ่ง เกาะลันตานี้ตอนแรกก็คิดว่าจะใช้เป็น park แต่ว่าไม่มีที่พอก่อสร้างที่พักอาศัย จึงเริ่มใช้พื้นที่ในเกาะนี้ ต่อไปจะสร้างสะพานเชื่อมฮ่องกงกับเสิ่นเจิ้น ต่อทางหลวงไปกวางโจวได้ ผ่านเขตอุตสาหกรรม เขตรักษาพันธุ์นก เขตเลี้ยงปลาน้ำจืด ส่วนของแม่น้ำเสิ่นเจิ้นที่จะขุดเป็นแนวป้องกันน้ำท่วม เนื้อที่ฮ่องกงทั้งหมด 1,130 ตารางกิโลเมตร

(น.144) เมืองฮ่องกง อังกฤษยึดฮ่องกงและพัฒนาการในช่วงแรก (ค.ศ. 1841-1851) เรื่องปัญหาฝิ่น เขาว่าเป็นเพราะหลินเจ๋อสูทำลายฝิ่นของอังกฤษ อังกฤษจึงยกทัพเรือมาปราบ (ในส่วนนี้เขาแสดงเรื่องเกี่ยวกับสงคราม แสดงอาวุธต่างๆ คล้ายๆ กับที่ดูเมื่อเช้านี้ที่พิพิธภัณฑ์สงครามฝิ่น เช่น กล้องส่องทางไกลของอังกฤษ รูปเรือ Nemesis ทำลายเรือรบจีน รูปปืนใหญ่ รูปเครื่องมือสูบฝิ่น) สุดท้ายมีผู้แทนจีนจากราชสำนักชิงมาหาอังกฤษ (Sir Henry Pottinger) และลงนามในสนธิสัญญานานกิงในเรือคอนวอลลิส ซึ่งจอดในแม่น้ำฉางเจียง เมืองนานกิง (ให้สัตยาบันใน ค.ศ. 1843) เกาะฮ่องกงเป็นของอังกฤษใน ค.ศ. 1842 อังกฤษประกาศให้เป็นเมืองท่าเสรี ในนิทรรศการส่วนนี้แสดงให้เห็นว่าชาวตะวันตกเริ่มรู้จักฮ่องกงเป็นที่เติมน้ำจืด ฮ่องกงตอนนั้นมีน้ำอุดมสมบูรณ์ (มีรูปน้ำตกที่เมืองอเบอร์ดีน) และแสดงการพัฒนาของเมืองวิกตอเรีย ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือภาพเขียนประวัติศาสตร์ทั้งหลาย ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ภาพเขียนฝีมือศิลปินที่มีชื่อเสียง แต่ก็สวยงามและให้ความรู้เรื่องเมืองฮ่องกงสมัยก่อน (ค.ศ. 1814-1901) เช่น มีรูปสวนสมัยนั้น มีรูปโกดังสินค้า (ฝรั่งเขียนว่า godowns ทำให้เรารู้สึกว่าคำนี้เดิมเป็นคำภาษาอังกฤษ)

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 252

(น.252) เข้าไปนั่งในห้องท้องฟ้าจำลอง ดูหนัง เครื่องฉายเรียกว่า OMNIMAX แบบที่บ้านเราเรียกว่าหนังจอผ่าโลก ใช้เครื่องฉายยี่ห้อ Zeiss เขามีหนังฉายให้ดูหลายเรื่อง ล้วนเป็นเรื่องธรรมชาติ ภูมิศาสตร์ วันนี้ฉายเรื่องปลาวาฬ มีหูฟังเลือกภาษาได้ระหว่างภาษาจีนกลางกับภาษาอังกฤษ เสียงที่ดังออกมาข้างนอกเป็นภาษากวางตุ้ง เมื่อดูจบเรื่องออกไปเดินดูพิพิธภัณฑ์ต่อ ระหว่างนี้ในโรงเขาเปลี่ยนเครื่องฉายเป็นแบบเครื่องฉายในท้องฟ้าจำลองของเรา แต่คงจะทันสมัยกว่า เป็นเครื่องยี่ห้อ Zeiss แสดงปรากฏการณ์ในท้องฟ้าได้ทุกอย่าง เมื่อเขาเปลี่ยนเครื่องฉายเสร็จแล้วเราเข้าไปดูอีก คราวนี้เป็นเรื่อง The Dragon in the Sky เกี่ยวกับความรู้ทางดาราศาสตร์ของจีนตั้งแต่สมัยโบราณ คนจีนรู้จักท้องฟ้าเป็นอย่างดีและใฝ่ฝันที่จะท่องไปในอวกาศ ต่อมามีวิทยาการจากตะวันตกเข้ามา ตั้งหอดูดาวตั้งแต่สมัยราชวงศ์หมิง มาถึงช่วงสมัยใหม่หลังการปลดปล่อยจีนในช่วงแรกโซเวียตช่วยโครงการอวกาศจีน แต่ต่อมาโซเวียตกับจีนมีปัญหากัน จีนจึงพัฒนาเทคโนโลยีต่อเอง กล่าวถึงดาวเทียม Long March ที่ส่งดาวเทียมต่างๆ ขึ้นสู่วงจร ด้านดาราศาสตร์มีหอดูดาวที่สำคัญ 5 แห่งคือที่ ปักกิ่ง ยูนนาน นานกิง (อีกสองแห่งจำไม่ได้) ทำการวิจัยต่างๆ เมื่อดูเสร็จแล้วออกไปเดินดูพิพิธภัณฑ์และร้านค้าของที่ระลึก มีของหลายอย่างขายรวมทั้งไอศกรีมอวกาศอันแสนจะไม่อร่อย ไม่ได้ซื้ออะไร ได้ทราบว่าเขามีการจัดปาฐกถาทางวิชาการเป็นครั้งคราวด้วย

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงามหน้า 45,47,49,63


(น. 45) รูป 32 ภาพระหว่างสงคราม
Wartime pictures.

(น. 45) ห้องที่ 2 มีภาพแสดงการสนับสนุนจากชาวจีนโพ้นทะเล มีลูกโลกแสดงจุดที่มีคนจีนอยู่ แจ้งจำนวนชาวจีนโพ้นทะเลที่สนับสนุนการต่อต้านญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1939 มีภาพและวีดีโอแสดงด้วยว่า ประชาชนทั่วโลกก็ได้สนับสนุนให้กำลังใจชาวจีน ภาพเดือนตุลาคม ค.ศ. 1938 คอมมิวนิสต์ประชุมกันที่เมืองเหยียนอาน ในปลายปีนั้นรองประธานพรรคก๊กมินตั๋งยอมทำสัญญากับญี่ปุ่น และจัดตั้งรัฐบาลหุ่นที่เมืองหนานจิง หรือนานกิง


(น. 47) รูป 33 โต๊ะที่ใช้ในการลงนามที่ญี่ปุ่นยอมจำนนต่อจีน
Tables used at the signing of Japan's surrender to China.

(น. 47) ในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 จักรพรรดิญี่ปุ่นยอมจำนนโดยปราศจากเงื่อนไข มีการลงนามยุติสงครามกับฝ่ายพันธมิตรในเรือรบมิสซูรี่ ซึ่งจอดที่อ่าวโตเกียว ในวันที่ 2 กันยายน วันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1945 มีพิธีลงนามญี่ปุ่นยอมจำนนต่อจีน โต๊ะที่จัดพิธีลงนามยอมจำนนนั้นฝ่ายจีนกับฝ่ายญี่ปุ่นมีขนาดไม่เท่ากัน โต๊ะจีนใหญ่กว่า นาฬิกาบอกเวลาที่ลงนามตรงกับ 9 นาฬิกา ลงนามกันที่เมืองนานกิง ภาพประชาชนฉลองชัยชนะ กล่าวโดยสรุปทหารจีนและประชาชนบาดเจ็บเสียชีวิตไป 35 ล้านคน ทรัพย์สินเสียหาย 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ฝ่ายจีนและฝ่ายญี่ปุ่นไม่ได้ติดต่อสัมพันธ์กันจนถึงวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1972 เมื่อท่านประธานเหมาจับมือกับนายกรัฐมนตรีทานากะ และได้รับสถาปนาความสัมพันธ์ต่อกันอีกครั้งหนึ่ง


(น. 49) รูป 35 บ้านจำลอง
Model of a house.

(น. 49) ความทารุณกรรมต่างๆ หลังจากบุกนานกิงเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1937 มีการฆ่าหมู่ 300,000 กว่าคน ข่มขืนสตรี ปล้นชาวบ้าน กองทัพญี่ปุ่นตั้งสถานปลอบขวัญทหาร นำผู้หญิงจีนและเกาหลีมาบริการทางเพศ เอาคนจีนมาทดลองวิทยาศาสตร์หาทางทำสงครามเชื้อโรค ตั้งหน่วย 737 ที่ฮาร์บิน (ดังที่ข้าพเจ้าได้เขียนไว้ใน เกล็ดหิมะในสายหมอก)


(น. 49) รูป 36 อุโมงค์จำลอง
During the war a tunnel was secretly built in the house as a hiding place.

(น. 63)
9. American Geographical Society O.M. Miller Cartographer Medal June, 18 1998 เป็นบทความปาฐกถาที่ศาสตราจารย์เฉินกล่าวปาฐกถาตอนไปรับรางวัล ท่านไปสหรัฐอเมริกา 5 สัปดาห์ ไปอยู่ที่วิสคอนซิน ศาสตราจารย์เฉินเล่าว่า เดี๋ยวนี้ที่จีนสนใจเรื่อง Digital Earth ในสหรัฐอเมริกา รองประธานาธิบดี อัล กอร์ ก็สนใจเรื่องนี้มาก จีนจะจัดการประชุมเรื่อง Infrastructure of the Digital Transformation, Earth Science system ใช้ GIS, GPS จีนจะต้องสร้างระบบของตนเอง เพราะมีอะไรหลายอย่างที่ไม่เหมือนกับสหรัฐอเมริกา จะจัดประชุมนานาชาติที่ฮ่องกงราวกลางเดือนพฤศจิกายน หลังจากจัด Asian Remote Sensing Conference ต่อจากนั้นจะจัดประชุมที่ปักกิ่ง เพื่อจะได้ระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ และจะได้วางแผนการศึกษาด้านนี้ต่อไป นอกจากนั้นคุยกันเรื่องการเดินทางของข้าพเจ้าครั้งนี้ และคิดกันว่าคราวหน้าจะไปไหนดี ศาสตราจารย์เฉินบ่นเรื่องสะพานใหม่ที่นานกิงว่าทำให้การคมนาคมทางบกสะดวกขึ้น แต่เตี้ยไปทำให้เรือผ่านได้ยาก ทั้งที่แต่ก่อนเคยขึ้นไปได้ถึงฉงชิ่ง กำลังทำแผนที่แม่น้ำฉังเจียงตลอดสาย คงจะตีพิมพ์ได้ก่อนสิ้นปีนี้ รับประทานอาหารเย็นที่เรือนรับรอง แล้วไปดื่มน้ำชาที่ร้านน้ำชาเหล่าเซ่อ ร้านนี้เป็นอาคารที่ดูข้างนอกก็เป็นตึกสมัยใหม่ธรรมดา อยู่ที่ถนนเฉียนเหมินซี ชื่อร้านน้ำชานี้ใช้ชื่อนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงคือ ท่านเหล่าเซ่อ ชั้นล่างเป็นร้านอาหาร แต่ชั้นบนเป็นร้านน้ำชา ผู้จัดการมารับพาไปที่โต๊ะตรงกลางอยู่หน้าเวที มี

เจียงหนานแสนงามหน้า 91,93,94

(น. 91) รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายการชลประทานเป็นเรื่องอันดับ 1 ในการสร้างสาธารณูปโภค ดีใจที่ได้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยพัฒนาการเกษตร เห็นว่าประเทศเราทั้งสองจะร่วมมือกันได้ในด้านนี้ ถ้าบริษัทจีนประมูลได้ ก็จะทำดีที่สุด ท่านหูเล่าว่าท่านเพิ่งกลับจากมณฑลเหอหนาน ไปตรวจงานการจัดการลุ่มแม่น้ำหวงเหอ ซึ่งเป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่ที่นั่นแต่ละปีช่วงปลายกรกฎาคม – สิงหาคม น้ำในแม่น้ำจะมาก เกิดอุทกภัย ยังเหลือเวลาอีก 3 เดือน ต้องเร่งบูรณะเขื่อน 2 ฟากแม่น้ำต้านน้ำท่วม และต้องทำความสะอาดขุดลอกคลองด้วย การไปเยือนเจียงซูและเจ้อเจียง ข้าพเจ้าจะได้ไปเยือนหนานจิง (นานกิง) และหังโจว ซึ่งรวมอยู่ในเมืองหลวงโบราณ 7 แห่งของจีน ทราบว่าข้าพเจ้าเคยไปปักกิ่งและซีอานแล้ว คราวนี้ได้ไปอีก 2 เมือง เป็น 4 เมือง ยังมีลั่วหยัง ไคเฟิง และอานหยัง อีก 3 เมืองคราวนี้คงไปไม่ได้ แต่ว่าคราวหน้ายินดีต้อนรับ จะได้เห็นนครหลวงครบทั้ง 7 เมือง ข้าพเจ้าว่า มีอีกหลายที่ที่เตรียมไว้ เมื่อวานนี้ได้พบศาสตราจารย์ชาวจีน ท่านนำหนังสือมาให้หลายเล่ม ใช้ข้อมูลดาวเทียมรวบรวมระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ศึกษาน้ำท่วมในจีนเมื่อปีก่อน การใช้ที่ดินการเกษตร ข้าพเจ้าถามว่าจะไปที่ไหนดี ท่านศาสตราจารย์แนะนำมณฑลหนิงเซี่ยและมณฑลชิงไห่ ท่านหูว่า ชิงไห่เป็นต้นแม่น้ำหวงเหอและฉังเจียง มีคนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่หลายกลุ่ม เช่น พวกหุย มองโกล อยู่ที่นั่นไม่

(น. 93)ญี่ปุ่นนำพระธรรมและวิทยาการต่างๆ ไปสู่ญี่ปุ่น พยายามไปถึง 6 หน จึงไปถึง ไปเผยแพร่พุทธธรรม 10 ปี และมรณภาพที่นั่น ญี่ปุ่นระลึกถึงบุญคุณทำรูปไว้บูชา ค.ศ. 1963 ครบรอบ 1,200 ปีของการมรณภาพ รัฐบาลสร้างหอที่ระลึกเอาไว้ที่วัดต้าหมิงนี้ ยังมีโบราณสถานอีกมากในสี่เมืองนี้ (หนานจิง หยังโจว ซูโจว หังโจว) มีนิทานประกอบด้วย แต่ร้อยคำไม่สู้ไปดูหนเดียว จะกล่าวไปก็ยาวเปล่าๆ สู้ไปดูเองไม่ได้ ข้าพเจ้าว่า เมื่อสามปีก่อนไปล่องแม่น้ำฉังเจียง ลงเรือที่นครฉงชิ่งไปขึ้นบกที่นครอู่ฮั่น ต่อทางบกไปหวงซาน เซี่ยงไฮ้ คราวนี้เหมือนได้ดูต่อลงมา คราวก่อนดูโครงการเขื่อนซานเสีย เมื่อโครงการเสร็จเรียบร้อยแล้วจะไปอีกเพื่อดูว่ามีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร ท่านหูว่า โครงการนี้ถ้าสร้างเสร็จก็จะเหมือนที่ท่านประธานเหมาประพันธ์ไว้ว่า จะมีทะเลสาบราบเรียบอยู่ในช่องเขาสูง จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ใน ค.ศ. 2003 หวังว่าจะได้ต้อนรับ เรื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบนั้น ประธานาธิบดีเจียงก็ได้รับเชิญเป็นพระราชอาคันตุกะในต้นเดือนกันยายนนี้ ช่วงที่ศตวรรษหนึ่งกำลังจะผ่านไปและศตวรรษใหม่จะมาถึงนั้น การเยือนนี้มีความหมายยิ่งทางประวัติศาสตร์ จะช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศเจริญขึ้นอีก ข้าพเจ้าว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยจีน เวลามีผู้นำจีนเข้าเฝ้าก็จะทรงสนทนาอยู่ด้วยนาน คราวนี้คงได้สนทนากันอย่างน่าสนใจ

Next >>