Please wait...

<< Back

เจ้อเจียง

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 203-204,212-213,218

(น.203) ที่หมายที่ 2 คือ อู่กงฉือ เป็นหอบรรพบุรุษผู้มีชื่อเสียง 5 ท่าน เป็นอาคารแรกที่สร้างในเกาะไหหลำ สร้างสมัยจักรพรรดิกวางสู ปีที่ 15 (ค.ศ. 1889) เป็นสถานที่แสดงความเคารพ เสนาบดีผู้มีความรู้สมัยราชวงศ์ถังและซ่งใต้รวม 5 ท่าน ที่ถูกเนรเทศมาอยู่เกาะไหหลำ ที่สร้างอาคารชื่อ จูไฉ่ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นคนที่มีอำนาจมากที่สุดในเกาะไหหลำสมัยนั้น เสนาบดีผู้ใหญ่ทั้ง 5 คือ
1. หลี่เต๋ออวี้ (ค.ศ. 787-850) เป็นขุนนางจากมณฑลเหอเป่ยสมัยราชวงศ์ถัง เคยเป็นอัครมหาเสนาบดี (ไจ่เซี่ยง-นายกรัฐมนตรี) ถึง 2 ครั้ง ในสมัยนั้นท่านขัดแย้งกับนักการเมือง กลุ่มหนิวเซิงหรู ในด้านการปฏิรูปการปกครองและระบบสอบรับราชการ ท่านหลี่เต๋ออวี้และพวกต้องการเพิ่มอำนาจให้รัฐบาลกลางด้วยการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ให้คุมอิทธิพลท้องถิ่นได้ แต่พวกกลุ่มหนิวเซิงหรูมีนโยบายกระจายอำนาจ ต้องการให้ทหารระดับภูมิภาคปกครองตนเอง ทั้งสองกลุ่มขัดแย้งกัน 40 ปี เมื่อจักรพรรดิองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ จักรพรรดิเชื่อกลุ่มหนิวเซิงหรู หลี่เต๋ออวี้จึงถูกเนรเทศไปเกาะไหหลำ สมัยนั้นเรียกว่า หยาโจว (涯州) และไปตายที่นั่น
2. หลี่กัง (ค.ศ. 1083-1140) เป็นคนมณฑลฮกเกี้ยน รับราชการในสมัยราชวงศ์ซ่ง แต่แรกจักรพรรดิตั้งเป็นขุนนางระดับสูงถึงอัครมหาเสนาบดี ตอนที่มีแผนจะรบกับพวกจิน (กิมก๊ก) แต่ต่อมาจักรพรรดิคิดจะยอมแพ้ก็เลยเนรเทศหลี่กังมาที่เกาะไหหลำ เมื่อเนรเทศได้ 3 วัน จักรพรรดิก็ยกโทษให้ (ค.ศ. 1129)
3. เจ้าติ่ง (ค.ศ. 1085-1147) เป็นคนมณฑลซานซี สอบเป็นขุนนางได้ ได้รับแต่งตั้งเป็นอัครมหาเสนาบดี เป็นฝ่ายที่สนับสนุนเย่วเฟย (งักฮุย) ให้รบกับพวกกิมก๊ก ถูกเนรเทศไปอยู่ที่เมืองแต้จิ๋วใน ค.ศ. 1138 หลังจากนั้นถูกเนรเทศไปเกาะไหหลำใน ค.ศ. 1144 เพราะฉินฮุ่ย เสนาบดีผู้ใหญ่ที่ฝักใฝ่พวกกิมก๊ก (คนไทยรู้จักในนามฉินกุ้ย) ไม่ชอบ เสียชีวิตใน ค.ศ. 1147 เพราะอดอาหารประท้วง

(น.204)


4. หลี่กวง (ค.ศ. 1078-1159) เป็นคนอำเภอซ่างอวี๋ มณฑลเจ้อเจียง เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ถูกเนรเทศใน ค.ศ. 1141 เพราะฉินฮุ่ยแค้นที่ไปวิจารณ์ซึ่งๆ หน้าตอนเข้าเฝ้าพระจักรพรรดิ เมื่อมาที่เกาะไหหลำ ได้สร้างโรงเรียนเผยแพร่วัฒนธรรมจีน
5. หูฉวน (ค.ศ. 1102-1180) เป็นพวกที่เสนอให้ต่อสู้กับพวกจิน เขียนหนังสือว่าถ้าตัดหัวฉินฮุ่ยแล้วประเทศจึงจะมีเสถียรภาพ เป็นเหตุให้ถูกเนรเทศ แต่แรกถูกเนรเทศไปมณฑลเจียงซีแล้วต่อไปที่เกาะไหหลำใน ค.ศ. 1148 อยู่ที่ซานย่า ได้สร้างโรงเรียนเผยแพร่วัฒนธรรมจีนภาคกลาง

(น.212) ช่วงบ่ายไปสุสานไห่รุ่ย ขุนนางซื่อตรง สุสานนี้ถูกทำลายไปเกือบหมดในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม แต่ว่าได้ซ่อมสร้างขึ้นใหม่ใน ค.ศ. 1982 ไห่รุ่ยอยู่ในสมัยปลายราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1514-1587) เป็นคนเมืองฉงโจว ในไหหลำเป็นข้าราชการที่มีเมตตาสุจริตยุติธรรมเหมือนกับเปาบุ้นจิ้นที่เรารู้จักกันดี


(น.213) รูป

(น.213) ค.ศ. 1558 ได้รับแต่งตั้งเป็นนายอำเภอฉุนอาน ในมณฑลเจ้อเจียง ก่อนไปรับราชการพวกขุนนางที่นั่นกินสินบน ไม่เคารพกฎหมาย ตัดสินคดีอย่างไม่ระมัดระวัง พอไห่รุ่ยไปถึง เขาทำงานอย่างตั้งใจ แก้ไขคดีความต่างๆ จนเรียบร้อย ชาวบ้านจึงเคารพเขามาก

(น.218) อนุสรณ์สถานหลี่ซั่วซุน ซึ่งเป็นบิดาของประธานหลี่เผิง สร้างใน ค.ศ. 1986 ตอนนั้นไหหลำยังขึ้นกับมณฑลกวางตุ้ง ยังไม่ได้แยกออกมาเป็นมณฑล หลี่ซั่วซุนเป็นวีรบุรุษที่เซี่ยงไฮ้ ได้ร่วมการปฏิวัติเป่ยฝา (ค.ศ. 1926-1927) และร่วมการปฏิวัติหนานชางใน ค.ศ. 1927 เคยเป็นเลขาธิการพรรค ที่มณฑลเจียงซูและเจ้อเจียง ทำงานร่วมกับโจวเอินไหล จูเต๋อ เนี่ยหลงเจิน เฉินยี่ หลินเปียว เติ้งเสี่ยวผิง ถูกประหารชีวิตในวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1931 บุตรชายตือ ท่านหลี่เผิง อายุยังไม่ครบ 3 ปี เหตุที่อนุสรณ์สถานอยู่ตรงนี้เพราะว่าเป็นที่ประหาร ขณะนั้นพรรคคอมมิวนิสต์ยังไม่แข็งแกร่ง จึงหาศพไม่พบ จึงทำเป็นอนุสรณ์สถานไว้เฉยๆ ส่วนภรรยาของท่านคือ เจ้าจุนเถา ถึงแก่กรรม ค.ศ. 1985 จึงนำมาฝังไว้ที่นี่

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 20

(น.20)อ่านหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษมีข่าวน่าสนใจอื่นๆอีก เช่น เรื่องธนาคารโลกให้เงินกู้จีนสำหรับการอนุ- รักษ์ป่าไม้ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อใช้ในโครงการปลูกป่า ขยายป่าสงวนแห่งชาติ การปลูกป่าเศรษฐกิจ (เพื่อใช้ไม้) เขตโครงการอยู่ทางทิศใต้ และตะวันออกของจีน (กวางตุ้ง กวางสี ไหหลำ ยูนนาน หูหนาน หูเป่ย เจ้อเจียง และชานตุง) มีการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เชื่อมศูนย์ป่าไม้ทั้งประเทศ ทำให้เจ้าหน้าที่ประสานงานกันแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น มีระบบติดตามควบคุมผลไม่ให้การปลูกป่าก่อให้เกิดการพังทลายของดิน โครงการเงินกู้ของธนาคาร โลกนี้นอกจากมีเป้าหมายในการปลูกป่าแล้ว ยังมุ่งให้มีแนวคิดใหม่และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆในงานป่าไม้ การสร้างแนวป่ากันชน (Shelter-belts) และปรับปรุงการดำเนินการของอุทยานแห่งชาติ

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า 33

(น.33) ท่านผู้ว่าฯ บอกว่าเรือนพักหลังที่ข้าพเจ้าอยู่นั้น สร้างสำหรับท่านประธานเหมา แต่ตอนที่ท่านประธานเหมามาเสร็จไม่ทัน จึงไม่ได้พักอยู่ พูดกันถึงเรื่องพลังงาน ท่านผู้ว่าฯ บอกว่าผลสุดท้ายเห็นจะหนีไม่พ้นการใช้พลังงานนิวเคลียร์ เพราะว่าสร้างพลังงานได้มาก แม้ว่าจะอันตรายหลายอย่างคือถ้าทำไม่ดีก็อาจจะเกิดเหตุการณ์แบบที่เชอร์โนบิล และต้องคิดให้ถี่ถ้วนเรื่องกากที่เหลือจากนิวเคลียร์ จีนเองก็มีใช้แล้วที่เจ้อเจียงและที่กวางตุ้ง

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า 239

(น.239) รองผู้ว่าฯ นั่งไปสถานีรถไฟด้วย เล่าว่าสมุนไพรที่พบที่มณฑลนี้นอกจากโสมยังมีหงจิ่งเทียน เป็นไม้พุ่ม รากเป็นยาทำให้อายุยืน ขจัดความอ่อนเพลีย หญ้าชนิดหนึ่งเรียกว่า ปู้เหลาเฉ่า แปลว่า หญ้าไม่แก่ ที่นี่ป่าไม้มากจนมีสำนวนว่า “อาบป่าไม้” ในเมืองมีเสียงดัง มีมลภาวะ เข้าป่าแล้วจะรู้สึกสงบสุข แล้วท่านพูดถึงพุทธศาสนาว่าพุทธศาสนาฝ่ายเหนือที่แพร่เข้ามาในประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น ถูกดัดแปลงให้เข้ากับสภาพของคนจีน มีนิทานพื้นบ้านจีนความเชื่อเก่าแก่ดั้งเดิมเข้าผสม ทำให้มีเทพเจ้าต่าง ๆ มากมาย อย่างความเชื่อเรื่องกวนอิมก็กลายเป็นผู้หญิง มีภูเขาในพุทธศาสนาที่ถือว่าสำคัญ ได้แก่
เขาผู่ถัวซาน นับถือพระโพธิสัตว์กวนอิม อยู่มณฑลเจ้อเจียง
เขาอู่ไถซาน นับถือพระโพธิสัตว์เหวินซู (พระมัญชุศรี)