Please wait...

<< Back

" คืนถิ่นจีนใหญ่ วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2540 "


(น.78) รูป 75 เกี้ยวสมัยราชวงศ์ชิง


(น.79) รูป 76 ตู้เย็นโบราณ


รูป 77 รถดับเพลิง

(น.79)ชั้น 5 มีของตั้งแสดงเล็กน้อย ส่วนใหญ่มีร้านค้าขายใบชา มีทั้งชาธรรมดา และชาที่ทำจากพืชอื่น เช่น ชากุหลาบ ชาเก๊กฮวย ยาสมุนไพร เครื่องถ้วยภาชนะที่ใช้ชงชา ที่จริงมีเรื่องการต่อสู้กับฝรั่งสมัยจักรวรรดินิยม การสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนอีก แต่ว่าเสียดายที่ไม่มีเวลาดู กล่าวโดยสรุป ผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของเมืองกวางโจว และมณฑลกวางตุ้งจะศึกษาได้เหมือนกับอ่านหนังสือเล่มใหญ่ นอกจากนั้นยังสามารถเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศจีน และน่าเปรียบเทียบกับการแก้ปัญหาของไทยเราในสมัยจักรวรรดินิยม ที่พิพิธภัณฑ์เขาให้หนังสือมาเล่มหนึ่งชื่อ The Maritime Silk Route มีภาพของที่แสดงในพิพิธภัณฑ์ และมีคำอธิบายที่ละอียดกว่าที่จดมาได้


(น.80) รูป 78 รูปจำลองอนุสาวรีย์ 5 แพะ

(น.80) ที่หมายที่ 3 อนุสาวรีย์ 5 แพะ (เขาว่าเป็นแพะตัวผู้ 1 ตัวเมีย 3 ตัวและลูกแพะอีกตัว) ทำด้วยหินแกรนิตอยู่ใกล้ๆ กับพิพิธภัณฑ์ บนเนินอีกแห่งซึ่งสูงกว่าพิพิธภัณฑ์เล็กน้อยในเขตสวนสาธารณะเยว่ซิ่ว ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในกวางโจว นายกเทศมนตรีนครกวางโจวสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1959 เรื่องราวดังที่ได้กล่าวแล้วที่พิพิธภัณฑ์ ข้าพเจ้าจึงถ่ายรูปหมู่กับคณะคนปีแพะด้วยกัน โดยหาได้เพียง 4 แพะ คือข้าพเจ้า อารยา ประพจน์ และจี้


(น.80) รูป 79 บริเวณอุทยาน 5 แพะ


(น.81) รูป 80 4(คนปี)แพะหน้าอนุสาวรีย์ 5แพะ


(น.82) รูป 81 บ้านตระกูลเฉิน

(น.82) ที่หมายที่ 4 คือ บ้านตระกูลเฉิน และพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นเมือง รองนายกเทศมนตรีเปิดรถไฟใต้ดินแล้วกลับมารับ นายหลี่จัวฉีเป็นคนนำชม บ้านหลังนี้สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1890-1894 ผู้ที่ริเริ่มสร้างเป็นบุคคลตระกูลเฉิน 3 คน คือ เฉินหุ่ยหลาน เฉินซีหลาน และเฉินเจียงหลิน มีคนคิดว่าคนตระกูลเฉินที่สอบคัดเลือกมาจากอำเภอแล้วจะต้องมาสอบระดับสูงขึ้นที่กวางโจว น่าจะมีสถานที่เป็นที่พักและศึกษาหาความรู้เพื่อเตรียมตัวสอบ จึงเรี่ยไรคนในตระกูลเฉินรวม 72 ครอบครัว เพื่อสร้างเป็นสถานศึกษา ครั้งแรกได้เงินไม่พอต้องเรี่ยไรอีกครั้งหนึ่ง โดยแจ้งวัตถุประสงค์เสียใหม่ว่า เพื่อสร้างเป็นศาลเจ้าของตระกูล การเรี่ยไรคราวนี้เพียงพอ


(น.83) รูป 82 ประตูสลัก ภาพไก่ลูกดก กล้วยใบใหญ่

(น.83) เมื่อก๊กมินตั๋งเข้ามาปกครองประเทศ ใช้สถานที่นี้เป็นที่ฝึกหัดนักกีฬาของมณฑลกวางตุ้ง จนถึง ค.ศ. 1957 จึงประกาศเป็นโบราณสถาน ใน ค.ศ. 1957 จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะพื้นเมืองของกวางตุ้ง เก็บของต่างๆ ถึง 20,000 ชนิด การก่อสร้างเป็นศาลเจ้าจีนตามแบบสถาปัตยกรรมแบบจีนตอนใต้ ประกอบด้วยอาคารน้อยใหญ่ 19 อาคาร การก่อสร้างใช้ไม้เชื่อมต่อกันโดยไม่ใช้ตะปู มีเนื้อที่ใช้สอยทั้งหมดราว 15,000 ตารางเมตร แบ่งเป็น 3 ส่วน คือส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง เครื่องประดับตกแต่งอาคารทั้งหมดถือได้ว่าเป็นการรวบรวมแบบอย่างศิลปกรรมมณฑลกวางตุ้ง คือ มีทั้งการสลักอิฐ สลักไม้ ประดับกระเบื้องและเครื่องปั้นดินเผา อาคารประธานมีประตูไม้สลักบานใหญ่ๆสลักเป็นรูปภาพตามภาษิตโบราณของจีน เช่น ให้กิจการยิ่งใหญ่(ภาพต้นกล้วยใบใหญ่) ให้มีลูกมีหลานเจริญรุ่งเรือง(ภาพไก่ลูกดก)


(น.83) รูป 83 ประตูสลัก รูปลำไม้ไผ่ ตัดเป็นรูปฮกกลับแสดงว่านำความรุ่งเรืองสู่เรือน

Next >>