Please wait...

<< Back

" คืนถิ่นจีนใหญ่ วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม "


(น.280) รูป 219 แสตมป์มาเก๊า


รูป 220 แสตมป์มาเก๊า


รูป 221 แสตมป์มาเก๊า


รูป 222 แสตมป์มาเก๊า

(น.281) ในงานมีแขกอื่นๆ อีกหลายคน เช่น สมาชิกสภาและบุคคลสำคัญในมาเก๊า คนที่นั่งข้างข้าพเจ้าในโต๊ะอาหารเป็นประธานกาชาดมาเก๊า บอกว่างานบรรเทาทุกข์ต่างๆ ของมาเก๊ามีไม่มาก เพราะมีพลเมืองน้อย เขาเลยเน้นเรื่องการศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ บอกเขาว่าเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่สภากาชาดไทยสนใจมากเช่นกัน เป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้ง ต้องพิจารณาให้ดีเพื่อให้ปฏิบัติได้ในความเป็นจริงให้มากที่สุดเท่าที่มีได้ เขายังไม่ได้เตรียมตัวในเรื่องรวมกับก าชาดจีนมากนัก เรื่องการรวมประเทศผู้ว่าราชการเห็นว่าไม่มีปัญหาอะไร เพราะว่าตอนที่มาเก๊าเป็นของโปรตุเกสก็ไม่ได้มีความขัดแย้งรุนแรงกับจีนเหมือนกับตอนที่อังกฤษผนวกเกาะฮ่องกง อาหารที่เลี้ยงเป็นอาหารแบบโปรตุเกส ของหวานแปลกดีเป็นเค้กผลไม้ใส่ฝอยทอง รับประทานอาหารเสร็จขึ้นไปที่ห้องพัก นอกจากใช้เวลาเข้าห้องน้ำแล้ว ยังเขียนโพสต์การ์ดตามเคย แต่แรกให้พี่แอ๊ซื้อแสตมป์เอาไว้ ติดไปบ้าง แต่นพรมาบอกว่าแสตมป์ที่นพรซื้อสวยกว่า มีภาพต่างๆ หลากหลาย เช่น ภาพทิวทัศน์และภาพสถานที่สำคัญ แสตมป์ที่ออกในโอกาสต่างๆ ภริยาผู้ว่านั่งไปด้วยจนถึงด่าน ข้าพเจ้าลาเขาเข้าไปในเขตจีนซึ่งมีคณะต้อนรับเดิม ทั้งฝ่ายไทยและจีน ซึ่งยังไม่ได้กลับปักกิ่งรออยู่แถวๆ นั้น มาดามเซี่ยนั่งรถด้วย คุยกันถึงเรื่องเหตุการณ์ที่ฮ่องกงหงเอี้ยนบอกว่าเขาเห็นข้าพเจ้าในโทรทัศน์


(น.282) รูป 223 บ้านเดิมของ ดร. ซุนยัดเซ็น

(น.282) ไปบ้านเกิดของประธานาธิบดีซุนยัดเซ็นที่เมืองจงซาน ฝนตกพรำๆ เมืองจงซานตั้งอยู่ทางตอนใต้ของที่ราบลุ่มแม่น้ำจูเจียง มีพื้นที่ 1,683 ตารางกิโลเมตร เดิมชื่อว่าอำเภอเซียงซาน ต่อมาใน ค.ศ. 1925 เปลี่ยนชื่อเป็น จงซาน ตามชื่อทางการของ ดร.ซุนยัดเซ็น ที่เรียกกันอย่างยกย่องว่าซุนจงซาน การเปลี่ยนชื่อก็เพื่อแสดงการระลึกถึง ดร. ซุน ซึ่งเกิดในอำเภอนี้ และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1925 ใน ค.ศ. 1983 ยกฐานะเป็นเมืองจงซาน

(น.283) เมืองนี้มีชื่อเสียงในด้านการชลประทาน และได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการเกษตร “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” เนื่องจากมีภูมิอากาศที่อบอุ่น ฝนตกชุก ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญคือข้าว น้ำตาล ปลา ที่มีมากจนส่งไปขายเมืองอื่นได้ ตั้งแต่จีนดำเนินนโยบายเปิดประเทศ จงซานได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ จนเริ่มมีสภาพเป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดกลาง มีการส่งเสริมการค้าพาณิชย์กว้างขวางขึ้น มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกว่า 3,000 ราย นำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการผลิต และสามารถส่งสินค้ากว่า 140 ชนิดไปขายยังต่างประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นเมืองท่องเที่ยว เพราะอยู่ใกล้กวางโจว ฮ่องกง และมาเก๊า ที่พิพิธภัณฑ์บ้านเกิด ดร. ซุนยัดเซ็น มีหัวหน้าพิพิธภัณฑ์ และรองนายกเทศมนตรีต้อนรับ ดูภายในบ้าน


(น.283) รูป 224 ห้องต่างๆ ในบ้าน

(น.284) ดร. ซุนยัดเซ็น เดิมชื่อซุนอี้เซียน (ภาษากวางตุ้งอ่านออกเสียงว่า ซุนยัดเซ็น) เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ.1866 ที่หมู่บ้านซุ่ยเฮิง อำเภอเซียงซาน (ชื่อสมัยนั้น) มณฑลกวางตุ้ง ได้ไปศึกษาที่ฮาวาย กวางโจว และศึกษาวิชาแพทย์ที่ฮ่องกง แล้วได้ดำเนินบทบาททางการเมืองเป็นนักปฏิวัติต่อต้านราชวงศ์ชิง และเป็นผู้นำในการปฏิวัติชิงไห่ ค.ศ. 1911 ขบวนการประชาธิปไตยของเขาได้รับการสนับสนุนจากพวกคนจีนโพ้นทะเลจำนวนมาก และจากรัสเซีย ต่อมาเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของจีน เสียชีวิตใน ค.ศ. 1925 ด้วยโรคมะเร็ง ใน ค.ศ. 1927 เจียงไคเช็ค เป็นหัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋งต่อ ไกด์กล่าวว่าเขาได้ปฏิบัติแตกต่างจากแนวคิดของ ดร. ซุน


(น.284) รูป 225 ห้องต่างๆ ในบ้าน


(น.285) รูป 226 ห้องพระของบ้านหลังหนึ่งในหมู่บ้าน

หมู่บ้านซุ่ยเฮิงอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำจูเจี ยง ห่างจากเมืองจงซาน 25 กิโลเมตร ดร.ซุนใช้ชีวิตวัยเด็กที่นี่ ออกไปเมื่ออายุ 29 ปีก็ไม่ได้กลับมาอีก จน ค.ศ. 1912 หลังจากเป็นประธานาธิบดีแล้วได้กลับมาเยี่ยม 3วัน และไม่ได้มาอีกเลย เขาว่า ดร.ซุนเป็นผู้ออกแบบบ้านนี้ โดยที่พี่ชายซึ่งเป็นชาวจีนโพ้นทะเลอยู่ที่ฮาวาย เป็นผู้ออกเงิน มีลักษณะแปลกคือ ด้านนอกเป็นแบบตะวันตกและข้างในเป็นแบบจีน ปัจจุบันจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงชีวประวัติของดร. ซุน และวัฒนธรรมของชาวบ้านซุ่ยเฮิง ต้นมะขามที่อยู่ทางซ้ายของบ้าน เป็นต้นที่ดร. ซุนนำเมล็ดมาจากฮอนโนลูลูมาปลูก ลำต้นมีลักษณะพาดยาวไปกับพื้น ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า มังกรหลับ โต๊ะเขียนหนังสือในห้องเขากล่าวกันว่าเป็นตัวที่เขาใช้เขียนถึงขุนนางหลี่ฮุงจาง หารือเรื่องการโค่นล้มราชวงศ์ชิงแต่ไม่สำเร็จ

Next >>