Please wait...

<< Back

" ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2544 "

(น.111) ส่วนที่ 2 มีสาระข้อมูลประวัติศาสตร์ที่แสดงว่าทิเบตไม่แบ่งแยกจากจีน เช่น เรื่องเจ้าหญิงเหวินเฉิงและศิลาจารึกพันธมิตรลุง-หลาน ค.ศ. 823 (แสดงการยุติสงครามระหว่างราชวงศ์ถังและอาณาจักรถู่โป๋) แผนที่ทิเบตที่เจ้าหญิงเหวินเฉิงคิดขึ้นเป็นภาพนางยักขินี สร้างวัดที่บริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกายนางยักษ์ วัดต้าเจาซื่ออยู่ที่หัวใจ ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทิเบตมีรัฐบาลท้องถิ่น มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสาเกีย (Sakya) บัณฑิตสาเกียมีจดหมายเจริญไมตรีกับมองโกล มีตราที่กุบไลข่านให้หลานเจ้าเมืองสาเกียมีอำนาจปกครองทิเบต เอกสารการปกครอง พวกหนังสือเวียนออกคำสั่งเกี่ยวกับการจ่ายภาษีสมัยต้นราชวงศ์หยวน เงินตราในสมัยนี้


(น.111) รูป 98 แผนที่ทิเบตวาดเป็นภาพยักขินีแสดงที่ตั้งวัดต่างๆ ที่จะทำให้ยักขินีอยู่กับที่
Map of Tibet in the shape of an ogress depicting locations of monasteries pinning down the ogress.


(น.112) รูป 99 รูปต้นสาละ
Sala tree.

(น.112) สมัยราชวงศ์หมิงรัฐบาลกลางสนับสนุนศาสนาทุกนิกาย ขณะที่ราชวงศ์หยวนสนับสนุนแต่พวกสาเกีย มีตราสำหรับท้องถิ่นต่างๆ เอกสารมอบที่ดินและตำแหน่งแก่ขุนนางในท้องที่ มีภาพเขียนเล่าเรื่องจักรพรรดิหงอู่ (จูหยวนจาง) ให้รัฐบาลท้องถิ่นนำลามะไปสวดมนต์ในวังที่เมืองหนานจิง มีตัวหนังสือเขียนบรรยายเป็น 5 ภาษา คือ ภาษาทิเบต ภาษาจีน ภาษามองโกล ภาษาอาหรับ และภาษาแมนจู รูปต้นไม้ (ต้นสาละ) ที่จักรพรรดิเฉียนหลงเขียนให้พระปันฉานลามะองค์ที่ 6 มีอักษรบรรยาย 3 ภาษา เขียนว่า จักรพรรดิจะฉลองวันพระราช สมภพ 70 พรรษา เชิญปันฉานลามะองค์ที่ 6 ไปปักกิ่ง สมัยรัฐบาลท้องถิ่น (ค.ศ. 1642-1951) มีสาระโดยย่อว่า
ค.ศ. 1642 ดาไลลามะกับปันฉานลามะ ส่งทูตไปเฝ้าจักรพรรดิชิงที่แมนจูเรีย
ค.ศ. 1643 ดาไลลามะองค์ที่ 5 สามารถสถาปนานิกายเหลืองเกลุกปะ รวมศาสนาและการปกครองเข้าด้วยกัน
ค.ศ. 1751 มอบอำนาจให้ดาไลลามะองค์ที่ 7 ไปปกครองทิเบต
สมัยจักรพรรดิเฉียนหลงออกประกาศ 29 ข้อ ใน ค.ศ. 1793 กำหนดเสนาบดีจากส่วนกลางไปทิเบต ขอบเขตอำนาจดาไลลามะ ปันฉานลามะในการหาทารกสืบวิญญาณ กำหนดเรื่องการเป็นพระพุทธเจ้าผู้มี

(น.113) ชีวิต รายชื่อเสนาบดีประจำทิเบต แจกันสำหรับใส่ฉลากให้เด็กที่จะได้เป็นดาไลลามะจับ มักจะจับฉลากกันอยู่หน้าวัดต้าเจาซื่อ หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของทิเบต เขียนทั้งภาษาทิเบต และภาษาจีน มี 17 หน้า ตะเกียงเนยทำด้วยทองคำ ที่เจียงไคเช็กถวายดาไลลามะองค์ที่ 14 เหมือนกับที่เห็นที่วังโปตาลา รูปอู๋จางซินประธานกิจการมองโกเลีย-ทิเบต ของรัฐบาลก๊กมินตั๋ง เยี่ยมผู้สืบทอดดาไลลามะองค์ที่ 13 คือ ดาไลลามะองค์ที่ 14 รูปการเซ็นสัญญา 17 ข้อ เกี่ยวกับการปลดปล่อยทิเบต วันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1951 ฝ่ายทิเบต รองประธานสภา ประธานสภาประชาชน เป็นคนลงนาม แจกันหยกที่ประธานเหมาเจ๋อตุงถวาย ส่วนที่ 3 วัฒนธรรมและศิลปะ ศิลปหัตถกรรมทิเบต พูดถึงวิวัฒนาการภาษาทิเบต ระบบสะกดเสียง เมื่อ 1,300 ปีมาแล้ว เสนาบดีของกษัตริย์ซงจ้านกานปู้เป็นผู้ประดิษฐ์อักษรทิเบต มีนิทรรศการเกี่ยวกับเอกสารทิเบตสมัยต่างๆ การเขียนด้วยหมึกทองและเงิน ลายมือสมัยต่างๆ ที่มีแบบต่างกัน อักษรตัวพิมพ์ของทิเบต นอกจากนั้นแสดงพู่กันและเครื่องเขียน สำหรับเขียนภาษาทิเบต ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นดินสอเขียนบนกระดาษ กระดาษก็มีกระดาษพิเศษ ทำจากพืชชนิดหนึ่งกันตัวหนอนที่ชอบกัดกระดาษได้

(น.114) คัมภีร์ภาษาทิเบต สมัยกษัตริย์ราชวงศ์ถู่โป๋ที่เรียกว่า ธรรมราชา 3 องค์ มีคัมภีร์หลายฉบับที่แปลจากภาษาสันสกฤต รูปถ่ายสำนักการแปลที่เมืองซานหนานที่แปลพระสูตรต่างๆ นักแปลคัมภีร์กันจูร์ ตันจูร์ (Kanjur Tanjur) ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 8 ภาพอาจารย์อตีศะ (Atisa ค.ศ. 982-1054) ซึ่งมาจากเบงกอลในคริสต์ศตวรรษที่ 11 คัมภีร์ใบลาน คัมภีร์เปลือกไม้ชนิดหนึ่ง ปีเตอร์บอกว่า เป็นคัมภีร์โบราณยุคคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่เก่าแก่สมบูรณ์ที่สุด เขียนด้วยอักษร Gilgit ขอเขาเปิดตู้ดู ทางพิพิธภัณฑ์อุตส่าห์เอากุญแจเปิดให้ดู ข้าพเจ้าไม่ได้ดูตอนเขาเปิดตู้เพราะไม่เชี่ยวชาญคัมภีร์เหล่านี้ (ได้ความว่าเปิดแล้วก็ยังไม่ทราบว่าเป็นคัมภีร์อะไร เพราะว่าแผ่นหลังที่เป็น colophon บอกเรื่องขาดหายไป) ด้านศิลปะการแสดง มีหน้ากากงิ้วทิเบต เป็นงิ้วทางศาสนา หน้ากากรูปฮู่ฝ่าหรือธรรมบาล รูปวัชรปาณี เครื่องแต่งตัวงิ้วทิเบต รูปทังตง เกียลโป (Thangton Gyelpo) เป็นผู้ก่อตั้งคณะงิ้วทิเบต ในคริสต์ศตวรรษที่


(น.114) รูป 100 คัมภีร์ต่างๆ
Scriptures.


รูป 101 คัมภีร์ต่างๆ
Scriptures.


(น.115) รูป 102 พิณหลายสาย
Lute.


รูป 103 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด
String instrument.


รูป 104 แผนที่ดาราศาสตร์ของทิเบต
Tibetan Astronomical map.

(น.115) 19 เครื่องดนตรีต่างๆ มีเครื่องดีดและเครื่องสี กลอง ฉิ่ง สันนิษฐานว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เจ้าหญิงเหวินเฉิงนำมาจากฉังอาน เครื่องดนตรีที่แปลกอย่างหนึ่งคือพิณหลายสาย ไม่ทราบว่ามาจากทิเบตหรือจีน เครื่องดนตรีที่ใช้ในพิธีการ วัฒนธรรมด้านอื่นๆ มีด้านดาราศาสตร์ และการทำปฏิทินทิเบต โหราศาสตร์ทิเบต ภาพจักรวาลแบบทิเบตสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 การแบ่ง 24 เทศกาล การแพทย์และเภสัชกรรมของทิเบต ภาพแพทย์ที่มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 8 และแพทย์คนอื่นๆ ยาสมุนไพรของทิเบต ภาพแสดงขั้นตอนของการตั้งครรภ์ รูปอวัยวะในร่างกายคนทั้งชายและหญิง วิธีการแมะจุดในร่างกาย เรื่องโรคต่างๆ เครื่องมือผ่าตัดในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ยาจากแร่ธาตุ พืชสมุนไพร และสัตว์ต่างๆ


(น.116) รูป 105 รูปพระอวโลกิเตศวร 4 กร
Four-armed Avalokitesvara.

Next >>