Please wait...

<< Back

ห้าราชวงศ์

จากหนังสือ

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 86

(น.86) เข้าใจว่าเป็นของสมัยราชวงศ์ถัง อยู่ที่วัดนี้มาตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่ทราบ มีแต่เรื่องเล่าขานกันมาว่าพระเขี้ยวแก้วองค์นี้ มีผู้นำไปเมืองอุทยานะ และนำมา Khotan (อยู่ในซินเกียง) พระภิกษุฝ่าเสี้ยน (ค.ศ. 424 - 498) สมัยราชวงศ์ฉีใต้ นำมาที่นานกิง ราชธานีของฉีใต้ สมัยสุยมีการรวมประเทศ ก็ได้นำไปฉางอัน สมัยห้าราชวงศ์บ้านเมืองวุ่นวาย พระธาตุเคลื่อนย้ายไปที่ต่างๆ จนถึงเมืองเยี้ยนจิง คือปักกิ่งในปัจจุบัน (สมัยเหลียว) มีบันทึกราชวงศ์เหลียวกล่าวไว้ว่า (เล่ม22) ประดิษฐานในเจดีย์เจาเซียน วัดหลิงกวง

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 5 ภาคผนวก หน้า 12

(น.12) ในช่วงนี้ดินแดนทางภาคเหนือของจีนตกอยู่ใต้การยึดครองของพวกอนารยชน ซึ่งได้ก่อตั้งแคว้นและราชวงศ์ต่าง ๆ ขึ้นอนารยชนพวกนี้ได้รับวัฒนธรรมจีน และได้แต่งงานผสมผสานกับพวกคนจีน และมีส่วนช่วยสร้างสรรค์พุทธศิลป์บนเส้นทางแพรไหม
11. ราชวงศ์สุย ค.ศ. 581 – 618
ราชวงศ์สุยยึดอำนาจจากราชวงศ์โจวเหนือใน ค.ศ. 581 พอถึง ค.ศ. 589 ก็ล้มราชวงศ์เฉินในภาคใต้ได้ ประเทศจีนจึงรวมเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง
12. ราชวงศ์ถัง ค.ศ. 618 – 907
13. สมัยห้าราชวงศ์ ค.ศ. 907 – 960 อยู่ทางภาคเหนือของจีน ตั้งเมืองหลวงที่ไคฟง
ราชวงศ์เหลียงภาคหลัง ค.ศ. 907 – 923
ราชวงศ์ถังภาคหลัง ค.ศ. 923 – 936

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 76

(น. 76)
10. เครื่องเคลือบสมัยราชวงศ์หยวน-หมิง (ค.ศ. 1279 – ค.ศ. 1368 และ ค.ศ. 1368 – ค.ศ. 1644) มีเครื่องเคลือบชนิดต่างๆ สีขาว ขาวลายน้ำเงิน เหลือง สีประสมม่วงออกแดง บางชิ้นมีตราเขียนไว้ที่ชามบอกปีรัชศกที่ทำ มีเครื่องลายครามจากเตาหลวงที่จิ่งเต๋อเจิ้น เตาราษฎร์ทำอ่างลายคราม สิ่งของสมัยจักรพรรดิเจียจิ้งแห่งราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1522 – ค.ศ. 1566) มีเครื่องหยกต่างๆ
11. ของที่พิพิธภัณฑ์ได้มาใหม่ เครื่องปั้นดินเผาจำลองและหม้อเผากำยานสมัยราชวงศ์ฮั่น เครื่องเคลือบสมัยราชวงศ์ถังและสมัยห้าราชวงศ์ (ค.ศ. 907 – ค.ศ. 960) จากหูหนาน มีชาวเกาหลีไปซื้อมาบริจาคให้

เจียงหนานแสนงาม หน้า 116

(น. 116) ห้องแสดงวัฒนธรรมการดื่มน้ำชา มีกาน้ำชาแบบต่างๆ และถ้ำชานานาชนิด
ศาสนา แสดงของในลัทธิเต๋าและพุทธศาสนา มีพระพุทธรูป รูปงูมีหัวเป็นคน 2 ด้าน เป็นของสมัยห้าราชวงศ์ (ค.ศ. 907 – ค.ศ. 960)

เจียงหนานแสนงาม หน้า 174,177

(น. 174) “วิหาร” หลังใหญ่เป็นที่เก็บโบราณวัตถุที่พบในเมืองหยังโจว เมืองนี้มีประวัติมายาวนานมาก มี 3 ช่วงที่เจริญรุ่งเรืองยิ่งคือสมัยราชวงศ์ฮั่น ถัง และชิง จึงเป็นเมืองหนึ่งใน 24 เมืองที่รัฐบาลประกาศเป็นเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้ดูของต่างๆ ที่จัดแสดงไว้ตามลำดับเวลาดังนี้
สมัยราชวงศ์ฮั่น หยังโจวมีฐานะเป็นแคว้นชื่อว่า ก่วงหลิง ขุดพบสิ่งของในสุสานของหลิวลี่หวัง อยู่บนเขาเกาฉวน ของที่พบมีกระเบื้อง เครื่องใช้ในสุสาน ตราลัญจกรรูปเต่า เครื่องประดับทองคำและอาวุธ สมัยนั้นมีการขุดบ่อน้ำ มีการใช้วงท่อคล้ายๆ กับที่เราใช้กรุบ่อน้ำสมัยนี้ นอกจากนั้นมีเครื่องสำริด เครื่องเขินสีแดง (เวลาจัดแสดงต้องแช่น้ำเพื่อกันเสีย) เครื่องปั้นดินเผาสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ทำเป็นรูปเล้าหมู เสื้อสำหรับสวมให้ศพราวๆ สมัยกลางราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ทำด้วยกระจกเคลือบ (ไม่ได้ทำด้วยหยก) กระจกพวกนี้ผู้บรรยายว่านำเข้าจากโรม บางส่วนทำเองในประเทศจีนสีเหมือนหยก ทำลวดลายมังกร เครื่องไม้ต่างๆ ก็ต้องแช่น้ำกันเสียเช่นเดียวกับเครื่องเขิน
สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ. 265 – 317) มีคัมภีร์ทางพุทธศาสนา (อวตังสกสูตร)
สมัยหกราชวงศ์ มีเครื่องปั้นดินเผาโบราณ ที่เรียกว่า หกราชวงศ์ นั้น หมายถึง ราชวงศ์ทางใต้ห้าราชวงศ์ (จิ้นตะวันออก หลิวซ่ง ฉีใต้ เหลียง และเฉิน) ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ซึ่งอยู่ในช่วง ค.ศ. 317 – 589 ทั้ง 5 ราชวงศ์นี้ตั้งเมืองหลวงอยู่ที่หนานจิงหรือนานกิง เมื่อรวมกับราชวงศ์อู๋ (ค.ศ. 222 – 280) ของซุนกวน

(น. 177) การวางผังเมือง เป็นเมืองใหญ่ที่จัดส่วนต่างๆ ของเมืองไว้อย่างเป็นระเบียบ ของอื่นๆ ที่จัดแสดงไว้มีเครื่องเคลือบสามสีแบบราชวงศ์ถัง ในสมัยนั้นหยังโจวเป็นเมืองค้าขายที่สำคัญ เป็นศูนย์ขนถ่ายสินค้า จึงมีสิ่งของต่างๆ เหลือให้เห็นมาก มีของต่างชาติ เช่น ของจากเปอร์เซีย รูปเจดีย์ เป็นของจำลองทำในสมัยใหม่ แต่รูปปั้นพระโพธิสัตว์และรูปอื่นๆ ที่ประดับอยู่เป็นของเดิมสมัยราชวงศ์ถัง มีเรื่องพระเจี้ยนเจิน (ค.ศ. 688 – 763) นั่งเรือไปญี่ปุ่น มีสิ่งของในสมัยห้าราชวงศ์ (ค.ศ. 907 – 960) เป็นราชวงศ์ที่อยู่ทางภาคเหนือของจีน แต่ละราชวงศ์ดำรงอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ ได้แก่ ราชวงศ์เหลียงภาคหลัง ราชวงศ์ถังภาคหลัง ราชวงศ์จิ้น

เจียงหนานแสนงาม หน้า 291-292,302

(น. 291) สมัยราชวงศ์ฉิน ฮั่น หกราชวงศ์ ในสมัยราชวงศ์ฮั่นเริ่มพบว่ามีการหลอมเหล็กและหลอมทองแดง พบเครื่องมือทำการเกษตร คันฉ่อง ตุ๊กตาดินเผา ศิลาจารึกของหวังซีจือ และศิลาจารึกอื่นๆ สมัยราชวงศ์สุย ถัง ห้าราชวงศ์ แสดงเครื่องประดับ เช่น ปิ่นปักผม และอุปกรณ์เกี่ยวกับอาหารการกิน เช่น ทัพพี ของที่ใช้ในพิธีชงชา กระโถน ชามฝาสลักลายฉลุ สมัยห้าราชวงศ์ ผู้ปกครองเลื่อมใสศาสนา มีเจดีย์กะไหล่ทอง พบในเจดีย์จินหวาโฝ แผ่นเงินสลักคำอธิษฐานขอความคุ้มครองจากเทพมังกร คัมภีร์ศาสนาสมัยราชวงศ์ซ่ง หยวน มีหีบลงรักใส่คัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร หีบพระธาตุสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 10 – 12 ทั้งสี่ด้านเป็นรูปพระพุทธรูปและรูปกวนอิม เขาบอกว่ายังมีพระพุทธรูปงามๆ อยู่ในโกดังไม่ได้เอาออกมาแสดง ถามว่ากลัวขโมยใช่ไหม เขาว่าไม่ใช่ ของบางอย่างที่แสดงเป็นของจำลอง ของจริงอยู่ในพิพิธภัณฑ์อื่น หรืออยู่ไต้หวัน อีกตึกหนึ่งแสดงสิ่งของสมัยราชวงศ์ชิงและต้นสาธารณรัฐ มีเตียงสลักลวดลาย ทำด้วยไม้แดง บางส่วนใช้กระดูกวัวและไม้หวงหยังสลักติดเข้าไป เกี้ยวเจ้าสาว เกี้ยวหลังนี้ถือว่าเป็นที่รวมศิลปะต่างๆ หลายอย่าง เช่น ลงรัก ปิดทอง ติดกระจก สลักไม้ สร้างสมัยสาธารณรัฐ นอกจากนี้มีเครื่องเรือน ฝังมุกไฟ

(น. 292) ไปอีกตึกหนึ่ง แสดงเครื่องปั้นดินเผาของเจ้อเจียงตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซังถึงราชวงศ์ชิง สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก สมัยชุนชิวพบเครื่องปั้นดินเผาปั้นเลียนแบบเครื่องสำริด สมัยราชวงศ์ฮั่นมีตุ๊กตาหน้าตาเหมือนคนอินเดีย สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก สมัยสามก๊ก สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันออกและพวกราชวงศ์ใต้ มีเครื่องปั้นดินเผาสีดำเต๋อชิง สมัยราชวงศ์สุย ถัง ห้าราชวงศ์ มีเครื่องปั้นดินเผาที่ส่งถวายจักรพรรดิ และของที่พบในสุสาน สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือและซ่งใต้ มีของจากหลงเฉวียน นอกจากนั้นยังแสดงเครื่องปั้นดินเผาอื่นๆ ที่ทำในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้และราชวงศ์หยวน ราชธานีของซ่งใต้อยู่ที่หังโจว จึงมีเตาเผาหลวงหลายเตา เครื่องเคลือบหลงเฉวียน สมัยนั้นส่งออกต่างประเทศ เช่น ประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย มีข้อมูลประวัติศาสตร์จีนว่า ตั้งแต่คริสต์ศตวรรรษที่ 13 – 14 ประเทศไทยได้เทคนิคไปทำเอง สมัยราชวงศ์หมิงและชิง มีตู้กระจกบอกวิธีทำเครื่องปั้นดินเผาตั้งแต่เริ่มหมักดิน ขึ้นรูป เขียนลวดลาย จนถึงเคลือบและนำเข้าเตาเผา และยังมีแผนที่แสดงเส้นทางการค้าทางทะเลที่จีนส่งเรือไปค้าขาย

(น. 302) อีกครั้งหนึ่งอยู่ 70 กว่าปี (ค.ศ. 907 – 979) จึงรวมตัวกันได้ใหม่ในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 979 – 1279) ช่วงแตกแยกนี้ ในประวัติศาสตร์จีนเรียกกันว่า สมัยห้าราชวงศ์ (ค.ศ. 970 - 960) สิบแคว้น (ค.ศ. 907 – 979) แคว้นอู๋เย่ว์เป็นแคว้นหนึ่งในสิบแคว้น] ต่อมาในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ซึ่งหนีการรุกรานของพวกกิมก๊กมาอยู่ทางใต้ได้มาตั้งเมืองหลวงที่หังโจว และเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองหลินอาน

มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 367

(น.367) 13. สมัยห้าราชวงศ์ค.ศ. 907 – 960 อยู่ทางภาคเหนือของจีน ตั้งเมืองหลวงที่ไคฟง
ราชวงศ์เหลียงภาคหลัง ค.ศ. 907 – 923
ราชวงศ์ถังภาคหลัง ค.ศ. 923 – 936
ราชวงศ์จิ้นภาคหลัง ค.ศ. 936 – 946
ราชวงศ์ฮั่นภาคหลัง ค.ศ. 947 – 950
ราชวงศ์โจวภาคหลัง ค.ศ. 951 – 960
ในสมัยนี้ยังมีแคว้นต่าง ๆ อีก 10 แคว้น อยู่ทางภาคเหนือ 2 แคว้น และภาคใต้ 8 แคว้น

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 64

(น.64) ก. เครื่องถ้วยที่เริ่มทำในแถบนี้ สมัยราชวงศ์ใต้-เหนือ และเจริญต่อมาจนถึงสมัยราชวงศ์ถัง และห้าราชวงศ์ (ค.ศ. 420-960) มีเตาหวยอาน (Huai an Kiln-ตัวอักษรจีน) เป็นต้น เครื่องถ้วยสมัยราชวงศ์ใต้มีเคลือบบางๆ เตาเจียงโข่ว (ตัวอักษรจีน)

หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 174

(น.174) วันนี้ไปเมืองไคเฟิง เดินทางชั่วโมงเดียวก็ถึง เมืองไคเฟิงตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำ ทางตะวันออกของมณฑลเหอหนาน เป็นเมืองที่มีประวัติเก่าแก่ถึงประมาณ 2,700 ปี และเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ใหญ่-เล็กถึง 7 ราชวงศ์ เช่น ราชวงศ์ซ่งเหนือ แคว้นเว่ยสมัยจั้นกว๋อ สมัยห้าราชวงศ์ ได้แก่ ราชวงศ์เหลียงยุคหลัง ราชวงศ์ถังยุคหลัง ราชวงศ์จิ้นยุคหลัง ราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง และราชวงศ์โจวยุคหลัง สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือไคเฟิงมีชื่อว่า ตงจิง (แปลว่า เมืองหลวงทางตะวันออก เขียนและมีความหมายเหมือนคำว่า โตเกียว) เป็นนครที่โอ่อ่าและมั่งคั่ง ดังที่เราจะเห็นได้จากภาพเขียนที่มีชื่อว่า “ภาพริมแม่น้ำในเทศกาลเช็งเม้ง” หรือที่ภาษาจีนว่า “ชิงหมิงซั่งเหอถู” ของจิตรกรจังเจ๋อตวน สมัยราชวงศ์ซ่ง ปัจจุบันตั้งแต่ประเทศมีนโยบายเปิดสู่โลกภายนอก ไคเฟิงพัฒนาไปในด้านอุตสาหกรรม การพาณิชย์ วัฒนธรรม การศึกษา การคมนาคมขนส่ง โทรคมนาคม การท่องเที่ยว ไคเฟิงเป็นเขตผลิตธัญพืชและฝ้าย นอกจากนั้นยังมีการเลี้ยงสัตว์ การประมง การปลูกผักและผลไม้ เป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมการเกษตร และยังมีอุตสาหกรรมสิ่งทอ เคมีภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน การผลิตอาหารและเครื่องดื่ม