<< Back
เสฉวน
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 307-308,316-317
(น.307) กระดาษ (จื่อ)
ก่อนที่ชาวจีนจะรู้จักใช้กระดาษ ได้ใช้วัสดุต่าง ๆ เช่น กระดองเต่า กระดูกสัตว์ หนังสัตว์ ไม้ไผ่ ผ้าไหม เขียนหนังสือ เราไม่ทราบ
(น.308) แน่นอนว่าชาวจีนเริ่มใช้กระดาษตั้งแต่เมื่อไร มีหนังสือโบราณเล่มหนึ่งกล่าวว่า ชาวจีนทำกระดาษจากใยไหม กระดาษนี้ใช้ใยไหมที่ลอยอยู่ในน้ำเป็นแพมาต่อกันเป็นแผ่น ตากบนตะแกรงไม้ไผ่จนแห้ง เป็นแผ่นกระดาษใช้เขียนหนังสือได้ กระดาษนี้เป็นสี่เหลี่ยม ด้านหน้ามันวาวเขียนหนังสือได้ดี ในราชวงศ์ฮั่น ไช่หลุนคิดทำกระดาษจากเปลือกไม้ เศษผ้า ป่าน และแหอวนที่เปื่อยขาด นำสิ่งเหล่านี้มาประสมน้ำตำจนละเอียดตากจนแห้งก็จะได้กระดาษ
ในราชวงศ์ถังการผลิตกระดาษเจริญรุ่งเรืองมาก มีกระดาษแบบต่าง ๆ มากมาย กระดาษชนิดหนึ่งสีเหลืองทำจากกระดาษขาวหรือกระดาษที่ทำจากป่านนำไปย้อมเปลือกต้นสนจีนหวงเป๋อ กระดาษชนิดนี้แมลงไม่กิน ราคาจึงแพงมาก จึงมีกฎหมายว่ากระดาษชนิดนี้ใช้สำหรับเขียนพระราชโองการเท่านั้น ในการเขียนคัมภีร์พระพุทธศาสนาก็ใช้กระดาษสีเหลืองชนิดพิเศษชนิดหนึ่งเหมือนกัน
กระดาษที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ มีกระดาษของต้วนเฉิงซื่อ เมืองจิ่วเจียง เรียกกันว่า หยุนหลานจื่อ มีผู้นิยมใช้มาก นอกจากนี้ที่เสฉวนมีกระดาษที่มีชื่อเสียงหลายอย่าง ที่นิยมมากคือ กระดาษสีแดงที่นางคณิกาเสวียเถาคิดผลิตขึ้นเรียกว่า เสวียเถาเจียน กวีและจิตรกรนิยมใช้เขียนจดหมาย โคลงกลอน วาดภาพ ตู้มู่ ไป๋จู้อี้ หลิวอวี้ก็ชอบใช้กระดาษชนิดนี้ สมัยราชวงศ์ซ่งกระดาษที่นิยมกันคือกระดาษของเฉินซินถัง กระดาษนี้เนื้อขาวละเอียดเป็นมันเงา ราชวงศ์ชิงมีกระดาษที่ทำจากนุ่นและจากต้นไผ่
ปัจจุบันกระดาษที่ถือว่าเป็นรัตนะประจำห้องหนังสือคือ กระดาษซวนจื่อแห่งเมืองซวนเฉิงหรือซวนโจว มณฑลอันฮุย กระดาษนี้มีมาตั้งแต่ราชวงศ์ถัง ความจริงแล้ววัตถุดิบที่ใช้ทำคือเปลือกไม้ซิงถังผี มี
(น.316) ระยะนี้แม่น้ำไหลผ่านเขตสูงชัน สองฟากเป็นหน้าผาดิ่งลงไป บางแห่งไม่มีทางเดิน หมู่บ้านมีน้อยมาก ถ้ามีก็ตั้งอยู่สูงจากแม่น้ำมาก ในช่วงนี้แม่น้ำแยงซีไหลขนานไปกับแม่โขง แม่น้ำสาละวิน ไหลขนานไปทั้งสามสายห่างกันประมาณ 15 – 30 ไมล์ เป็นระยะทางประมาณ 250 ไมล์
ราวเส้นรุ้งที่ 26 องศาเหนือ แม่น้ำแยงซีเปลี่ยนทางจากใต้วกไปทางตะวันออก ไหลผ่านเมือง Ipin คดเคี้ยวไปมา ฝั่งเป็นตลิ่งสูงชันไปบรรจบกับแควใหญ่คือ Ya-lung Jiang ซึ่งเป็นแควที่มีน้ำมากที่สุดของแยงซี แม่น้ำตอนนี้ขยายกว้างไปถึง 1,000 – 1,300 ฟุต บางที่ลึกเกินกว่า 30 ฟุต แต่เมื่อไหลผ่านโตรกเขาก็จะแคบลงแต่ส่วนลึกเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ตอนปลายของแม่น้ำช่วงต้นนี้ แม่น้ำแยงซีไหลลงสู่ระดับสูง 1,000 ฟุตจากน้ำทะเล เพราะฉะนั้นระยะทางที่ไหลลงมาจากต้นน้ำประมาณ 1,600 ไมล์นั้น ทางน้ำลดระดับลงถึง 17,000 ฟุต หรือ ประมาณ 10 ฟุตต่อไมล์หนึ่งของทางน้ำ ในเขตเขาสูงอาจลาดต่ำลงกว่าระดับเฉลี่ยมาก
ช่วงกลางของแม่น้ำ ภูมิอากาศในช่วงกลางของแม่น้ำนี้ โดยมากร้อนชื้นในฤดูร้อน ฤดูหนาวไม่หนาวนัก หยาดน้ำฟ้าประมาณ 40 – 60 นิ้ว (1,016 – 1,524 มม.) ต่อปี ระยะเวลาเพาะปลูกเกินกว่า 6 เดือน ฝนตกชุกในฤดูร้อน จึงทำให้การเกษตรเจริญ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีน มีชนกลุ่มน้อยอยู่บ้าง
แม่น้ำช่วงนี้ไหลผ่านมณฑลเสฉวน เขตภูเขาของมณฑลนี้เป็นแดนต่อระหว่างเขตที่ราบสูงทางตะวันตกเฉียงใต้กับเขตเขาสูงทาง
(น.317) ตะวันตกของหิมาลัย และทางใต้ของซีอาน แม่น้ำตอนนี้กว้างประมาณ 1,000 – 1,600 ฟุต ลึกประมาณ 30 ฟุต ไหลเร็วและแรง ตลิ่งมักสูงชัน ทางน้ำลาดลงประมาณ 820 ฟุตในมณฑลนี้ คนเสฉวนเรียกเขตลุ่มน้ำแยงซีว่า ดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ ดินดีมาก ภูมิอากาศก็เหมาะแก่การเพาะปลูก เพราะภูเขาสูงกั้นอากาศเย็นที่มาจากทางตะวันตกและทางเหนือ ภูมิอากาศที่ค่อนข้างดีนี้ทำให้เลี้ยงไหมได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุ เช่น ถ่านหิน ทองแดง ฟอสฟอรัส ทอง น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ประชากรหนาแน่นในเขตเมืองใหญ่ ๆ เช่น เฉิงตู ฉงชิ่ง อันเป็นเมืองอุตสาหกรรมและเมืองท่า (river port)
พ้นเขตมณฑลเสฉวน แม่น้ำแยงซีไหลผ่านเขตภูเขา ประมาณ 125 ไมล์ มีโตรกเขา 3 โตรก ที่เรียกว่า ซานเสีย ก่อนที่จะไหลลงสู่ที่ราบ โตรกเขาทั้งสามนี้ลึกเป็นผาชัน เป็นหินปูน สูงประมาณ 1,300 – 2,000 ฟุตจากระดับน้ำ โตรกแรกยาว 5 ไมล์ เป็นโตรกที่สั้นที่สุด เป็นช่วงที่แล่นเรือได้ยากที่สุด เพราะแม่น้ำแคบ มีเกาะแก่งมาก โตรกที่สองยาว 30 ไมล์ มีหน้าผาสูงชัน เป็นเหมือนฝาผนัง สูงประมาณ 1,600 – 2,000 ฟุต โตรกที่สาม ยาว 21 ไมล์
ความกว้างของแม่น้ำในช่วงนี้ ประมาณ 1,600 – 2,000 ฟุต ในเขตที่เป็นโตรกกว้างเพียง 500 – 600 ฟุต แต่ความลึกลึกถึง 500 – 600 ฟุต ทำให้แม่น้ำแยงซีเป็นแม่น้ำที่ลึกที่สุดในโลก
ย่ำแดนมังกร
ย่ำแดนมังกร หน้า 28
(น.28) หลังจากนั้นเราไปที่ เทียนถาน หรือหอฟ้า อันเป็นที่ซึ่งจักรพรรดิตั้งแต่ราชวงศ์เหม็ง (หรือ หมิง) มากระทำพิธีพืชมงคลแบบจีนเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่รัฐ เมื่อไปถึงลมแรงมากจนต้องควักแว่นตาขึ้นมาใส่ปะทะผงต่างๆ ที่จะเข้าตาเอาไว้ก่อนอาคารแรกที่ไปเป็นอาคารกลมๆ ชื่อว่า ซิ่นเเหนียนเตี้ยน ผู้ดูแลบอกว่าสร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 1420 ในรัชกาลพระจักรพรรดิหย่งเล่อ (ใช้เวลาสร้าง 14 ปี) หลังคา 3 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องสีน้ำเงินสวยงามมาก สีน้ำเงินเป็นสีที่บ่งบอกความหมายถึงสวรรค์ เป็นสถานที่พำนักของเทพเจ้าหรือเรียกว่า เทียน (ถ้าเป็นพระราชวังหลังคาจะมุงด้วยกระเบื้องสีเหลืองซึ่งเป็นสีของกษัตริย์) อาคารนี้ถูกเผาในปี 1889 และได้บูรณะใหม่ให้เสร็จสิ้นใน ค.ศ. 1971 ภายในช่างใช้วิธีก่อสร้างอย่างไรก็ไม่ทราบ ทำให้มองเพดานสูงลิบ มีเสาสูงๆเป็นไม้ทั้งต้น เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณเมตรกว่า สูงเกือบ 20 เมตร ไม้ที่ใช้ทำเสานี้เห็นเขาบอกว่าภาษาจีนเรียกว่าไม้ หนานมู่ ไม่ทราบว่าภาษาไทยจะว่าอะไร ข้าพเจ้าเข้าใจว่าคงจะมีในเมืองไทยเพราะเป็นไม้ที่ได้จากป่าแถวๆ มณฑล ยูนนาน และ เสฉวน ซึ่งอากาศ
ย่ำแดนมังกร หน้า 49-50
(น.49) จีนปลูกข้าวสาลีหนึ่งในสามธัญญาหารทั้งหมด อีกสองในสามปลูกข้าวเจ้า และธัญญาพืชอื่นๆ ข้าวสาลีจะปลูกมากทางเหนือๆ แถวซีอาน ใน เสฉวน แถวเมือง เฉิงตู ปลูกข้าวเจ้า พูดถึงปุ๋ย ท่านคุยว่า การเลี้ยงหมูนั่นแหละดี “มูลฝอยหมู” (นี่จดตามล่าม) นี้ใช้ได้ประโยชน์มาก หมู 1 ตัว ปลูกพืชได้ 2.4 โหม่ว
(น.50) เฮกตาร์) หลายพันปีมาแล้วจีนใช้ปุ๋ยธรรมชาติ จากวัว ควาย แพะ แกะ หมู ฯลฯ ทำให้ดินดี ท่านว่าปุ๋ยเคมีส่วนประสมไม่เหมาะถ้าไม่ระวังดินจะเสีย เราเลยบอกเขาบ้างว่า เมืองไทยก็มีปุ๋ยหมักเหมือนกันนะ เรากำลังส่งเสริมการใช้ “มูล” ต่างๆทำปุ๋ยและมีผลพลอยได้คือเราได้แก๊สชีวภาพ แล้วยังมีประโยชน์ใหญ่หลวงทางด้านสาธารณสุข คือ กำจัดอะไรที่มันสกปรกรกรื้อเหม็นๆ (คือให้มันเหม็นเสียที่เดียวตรงบ่อหมัก) ป้องกันเชื้อโรค แถมยังคุยต่อว่าของคนเราก็ใช้ เมื่อวันพืชมงคลปีก่อนโน้น คุณ ทวี ชูทรัพย์ อธิบดีกรมราชทันฑ์ ยังมายืนเข้าแถวอยู่กับคณะทดลองเรื่องทำปุ๋ยหมัก ได้ความว่าท่านให้นักโทษทำโครงการด้วย หมู่นี้ไม่ได้เจอกันเลย ไม่ทราบว่าโครงการดำเนินไปถึงไหนแล้ว ท่านอธิบดีเสิ่นผิงบอกว่าอย่างนั้นดีมาก ที่เสฉวนใช้แก้สชีวภาพในการหุงต้มมาก
ย่ำแดนมังกร หน้า 229-235,244-245
(น.229) หลังจากนั้นเครื่อง CAAC ลำเดิมก็พาเราจากมหานครซีอานเมืองประวัติศาสตร์ เมืองประวัติศาสตร์อันควรแก่การทรงจำ
ในเครื่องบินท่านหวังนั่งอยู่ด้วยอย่างเคย ข้าพเจ้าถามท่านหวังว่าที่ดินซึ่งแต่ละคอมมูน แบ่งให้สมาชิกนั้นเท่ากันหรือเปล่า ท่านหวังบอกว่าแต่ละคอมมูนมีสภาพต่างกัน บางคอมมูนมีสมาชิกหลายพันคน บางคอมมูนก็ให้ถึงหมื่น 2 หมื่นคน บางคอมมูนแต่ละคนมีที่ดิน 1-5 โหม่ว บางคอมมูนก็ให้ไม่ถึง โหม่ว กฎของคอมมูนแต่ละแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่ต่างมณฑลกันมักจะไม่เหมือนกัน ท่านผู้หญิงมณีรัตน์เล่าถึงการไปดูโรงงานปักผ้า ท่านหวังบอกว่า ผ้าปักจีนที่มีชื่อเป็นของ เสฉวน เจียงซู หูหนาน บ่ายนี้อาจจะได้ดูฝีมือของเสฉวนก็เป็นได้
(น.230) ท่านหวังชี้ให้ดูยอดเขา ฉินหลิ่ง ซึ่งเป็นภูเขากั้นระหว่างมณฑลส่านซีกับมณฑลเสฉวน แล้วก็สอนภาษาจีนต่อ
(น.231) รูป 107 เมื่อถึงเสฉวนนายกเทศมนตรีคนใส่แว่นตาดำต้อนรับ
(น.231) รับประทานข้าวเที่ยงที่ชลประทาน บ่ายกลับเฉิงตู บ่ายสี่โมงออกไปสนามบิน เมื่อรองหัวหน้าสำนักงานวิเทศกิจพูดจบแล้ว ก็เชิญให้เราพักผ่อนเข้าห้องน้ำหรือบางคนก็ซื้อของซื้อรองเท้าอยู่ประเดี๋ยวหนึ่งแล้วเขาก็พาเดินไปขึ้นรถ สังเกตเห็นได้ว่าสนามบินเฉิงตูนี้ใหญ่มากทีเดียว และสะอาดเรียบร้อยดี
คนที่นำข้าพเจ้าในวันนี้ก็คือรองหัวหน้าสำนักงานวิเทศกิจชื่อคุณ จางหุ้ยหมิง เป็นคนช่างอธิบายพอๆ กับคุณซุนหมิงที่เมืองซีอาน
(น.232) อธิบายให้ข้าพเจ้าว่า มณฑลเสฉวนมีประชากร 97 ล้านคน เป็น 1 ใน 10 ของประเทศจีน มีเนื้อที่ 5 แสน 6 หมื่นตารางกิโลเมตร อาชีพหลักของประชาชนคือการเกษตร ประชาชน 80% เป็นชาวนา พืชที่ปลูกมี ข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวโพด มันเทศ ฝ้าย พืชน้ำมัน อ้อย ใบยาสูบ ข้าวเจ้าและข้าวสาลีปลูกทางทิศตะวันตก ส่วนทางทิศตะวันออกเป็นที่ราบสูง ปลูกข้าวโพด มันเทศ 30% ของพื้นที่เป็นเนินสูง ใช้เลี้ยงสัตว์ ปลูกป่าไม้ ที่ราบมีน้อยเพียง 6% เท่านั้นขณะนี้กิจกรรมที่กำลังทำอยู่มีการเก็บข้าวสาลีและพืชน้ำมัน และกำลังดำนาอยู่ ข้าพเจ้ามองออกทางหน้าต่างรถเห็นชาวนากำลังดำนาบ้างไถนาบ้าง น่าดูเป็นที่สุด เสียดายที่กล้องถ่ายรูปอยู่ที่ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ และอีกอย่างหนึ่งเตี่ยเมืองเฉิงตูขับรถไม่ช้าเหมือนเตี่ยเมืองปักกิ่ง และเตี่ยเมืองซีอาน
คุณจางอธิบายต่อว่า ทางตะวันตกปลูกข้าวสาลี ข้าวเจ้า 2 ครั้งทางตะวันออกส่วนที่อากาศร้อนปลูกได้ถึง 3 ครั้ง มีข้าวเจ้า ข้าวสาลี ข้าวโพดและมัน ข้าวเจ้าซึ่งปลูกบนที่ราบภาคตะวันตกใช้น้ำจากชลประทานตูเจียงเอี้ยน ส่วนของเสฉวนที่อุดมสมบูรณ์คือทางตะวันตก มณฑลเสฉวนนี้อากาศเปลี่ยนแปลงมาก จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง ทางตะวันตกอากาศเย็น แต่มีชลประทานดี จึงไม่แห้งแล้ง ส่วนอากาศทางตะวันออกร้อนมาก ที่ จุงกิง ร้อนสูงสุด 44 ํ บริเวณที่ราบสูงอุณหภูมิจะต่ำ บริเวณนั้นมีคนอยู่บ้างแต่น้อยเต็มที บริเวณนั้นน้ำแข็งและหิมะจับตลอดปี ส่วนอากาศดีที่สุดคงจะเป็นที่ราบสูงเฉิงตู อากาศร้อนสุดไม่เกิน 38 ํ และอุณหภูมิจะไม่ลงต่ำถึง 0 ํ น้ำจะไม่จับแข็งปลูกผักได้ตลอดปี
(น.233) บ้านพักของชาวนาจะปลูกต้นไผ่โดยรอบ สังเกตดูอิฐหรือดินที่นี่เป็นสีออกดำ ผิดกับที่ซีอานซึ่งอิฐจะมีสีออกแดง คุณจางบอกว่าเขาปลูกไม้ไผ่เอาไว้ปลูกบ้าน ทำเครื่องมือการเกษตรและจักสาน เขาเล่าต่อว่า ตอนนี้ปริมาณผลผลิตการเกษตรเพิ่มกว่าเมื่อก่อนปลดแอกใน ค.ศ. 1949 ถึง 20 เท่า ถึงแม้ว่าเสฉวนจะมีความอุดมสมบูรณ์มาก แต่เมื่อ 10 ปีก่อน ได้รับความเสียหายเพราะเกิดการปฏิวัติภายใน เกิดผลิตไม่พอกินเพราะนโยบายของผู้ปกครองสมัยนั้นไม่ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต ไม่ส่งเสริมเทคโนโลยีสมัยใหม่ ข้าวในเสฉวนกลับไม่พอกิน ต้องเอาข้าวจากต่างมณฑล 1,000 กว่าล้านชั่ง ต่อมาเมื่อ 4 ปีมานี้ผลิตดีกว่าเก่ามาก (เมื่อเปลี่ยนผู้นำ)
ข้าพเจ้าได้ทราบว่า เสฉวนเป็นอู่ข้าวอู่น้ำในลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงตอนบน อุดมด้วยทรัพยากรมีทั้งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ ท่านรองประธานพรรคเติ้งเสี่ยวผิงเป็นชาวเสฉวน ก่อนที่ท่านจ้าวจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีก็เคยเป็นข้าหลวงเมืองเสฉวน ประชาชนมณฑลนี้ต่างชื่นชมต่อนโยบายเศรษฐกิจเสรีและส่งเสริมให้ยกฐานะการครองชีพของประชาชนจนมีคำขวัญว่า “ต้องการอาหาร ต้องหาจื่อหยาง” ติดปากทุกคน
ข้าพเจ้าสังเกตดูว่าส่วนมากจะใช้ควายในการทำนา ใช้รถแทรกเตอร์หรือรถไถน้อย
คุณจางเล่าต่อว่า แต่ก่อนนี้ในเสฉวนไม่มีอุตสาหกรรมนอกจากโรงช่างแสงเล็กๆ ในระยะหลังเสฉวนได้พัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กกล้า อุตสาหกรรมเคมี เครื่องจักรกล อิเล็กทรอนิกส์
(น.234) โรงงานปั่นทอ ฉะนั้นปริมาณการผลิตจึงเพิ่มจากก่อนปลดแอกถึง 40 เท่า เมื่อตอนที่แก๊ง 4 คนปกครองอุตสาหกรรมสะเทือนโรงงานปิดไป 40% คุณจางเล่าว่าสมัยนั้นเศร้าใจมากเพราะตนมีหน้าที่ดูแลเยาวชน แต่ก็ช่วยเหลืออะไรไม่ได้ ในเสฉวนมีการต่อสู้ทำความเสียหาย คุณจางบอกว่าลำพังเด็กๆ ก็ไม่มีอะไรแต่พวกผู้ใหญ่ที่ร้ายๆ บัญชาอยู่เบ้องหลัง
ข้าพเจ้ามองดูชาวบ้านชาวนาแถวๆ นี้เห็นหลังคามุงแฝก หรือหญ้าผิดกับทางเหนือที่มักจะมุงด้วยอิฐหรือกระเบื้อง ในตลาดเห็นมีร้านตัดผมอยู่ร้านหนึ่ง
คุณจางบอกว่าแต่ก่อนการคมนาคมมาเสฉวนไม่ดี หลี่ไป๋ ว่าการคมนาคมสมัยก่อนยากกว่าขึ้นฟ้าเสียอีก ทางรถไฟก็ไม่มี มีทางหลวง 8,000 กิโลเมตร การบินก็มีแต่ไปปักกิ่ง การคมนาคมที่สะดวกที่สุดอาศัยเรือในแม่น้ำแยงซีเกียง เมื่อปลดแอกแล้วได้สร้างรถไฟ 2,500 กว่ากิโลเมตร ขณะนี้ทางหลวงที่มาสู่มณฑลมีถึง 8 หมื่อกว่ากิโลเมตร สายการบินก็ไปมาหาสู่ได้ทั่วประเทศ
รถผ่านโรงแรมซึ่งเราจะได้พักค้างคืนกัน โรงแรมนี้ชื่อโรงแรม จิ่นเจียง จุณจางอธิบายว่า ชื่อแม่น้ำที่ไหลผ่านหน้าโรงแรม คำว่า จิ่น หมายถึง ผ้าไหมชนิดหนึ่ง เจียง แปลว่า แม่น้ำ มณฑลเสฉวนมีการทอผ้าไหม มีประวัติมา 2,000 กว่าปีแล้ว สมัยก่อนเมื่อปั่นย้อมเส้นไหมแล้ว จะเอามาแช่ในแม่น้ำนี้ ทำให้มีสีสันสวยงามมาก ฝีมือผ้าไหมที่ทอใหม่ของเสฉวนก็นับว่าสวยงาม
(น.235) รถแล่นผ่านตลาด มีบ้านเรือนเหมือนร้านค้าและบ้านพักในตลาดในชนบทของไทยเป็นที่สุด ผู้คนที่สัญจรไปมาก็ดูไม่ผิดกับคนไทยเท่าไร คุณจางบ่นว่า บ้านพวกนี้เป็นบ้านก่อนสมัยปลดแอกยังไม่ได้รื้อ แต่ก่อนนี้มีเงินหรือมีทุนก็เอาไปสร้างโรงงาน ละเลยต่อการสร้างบ้านพักให้ประชาชน ตอนนี้พยายามจะสร้างให้มากขึ้นอย่างไรก็ตามจะสร้างได้มากน้อยก็ขึ้นอยู่กับการผลิต
คุณจางบอกว่าเสฉวนเป็นมณฑลที่มีความเจริญทางด้านการศึกษามากได้ยินว่าโรงเรียนมัธยมแห่งแรกก็ตั้งอยู่ที่เสฉวนขณะนี้มีสถานศึกษาชั้นอุดมศึกษาอยู่ถึง 40 กว่าแห่ง มีนักศึกษาอยู่ 8-9 หมื่นคน แม้ว่าจะมีนักศึกษามากก็ยัง ไม่พอความต้องการฉะนั้นจะต้องพัฒนาการศึกษาอีกโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุมศึกษา
คุณจางเล่าต่อไปถึงเรื่องการแพทย์ว่า มีการพัฒนาในเรื่องแพทย์พยาบาลเป็นอย่างมาก มีสถาบันการแพทย์ แพทย์ของจีนเรียนทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณของจีน ตามคอมมูนมักจะมีโรงพยาบาล กองการผลิตก็มีหน่วยพยาบาล สมาชิกคอมมูนที่ป่วยเจ็บก็สามารถไปรักษาได้ฟรี
(น.244) เหล้าที่ดื่มวันนี้เรียกว่า อู่เหลียงเย่ เป็นเหล้าเสฉวน ทำจากธัญพืช 5 ชนิด เขาบอกว่า 60 กว่าดีกรี 120 พรูฟ (เหมาไถก็ 60 ดีกรี) เขาอวดของเขาว่าเล้านี้รสดีกว่า เหมาไถ แต่ผู้ใหญ่ในวงการการเมืองชอบ เหมาไถ มากกว่า เหมาไถ เลยดัง อย่างไรก็ตามเหล้าชนิดนี้แรงกว่า เหมาไถ ทำเอาคนใกล้เมาไปหลายคน
วันนี้ท่านผู้ว่าฯ กล่าว speech สด เนื้อหาเป็นการกล่าวต้อนรับในนามประชาชนเสฉวน ข้าพเจ้ากล่าวตอบเป็นอันเสร็จพิธี
ท่านผู้ว่าเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า สมัยก่อนตอนสงครามกับญี่ปุ่นท่านเคยทำงานและทำการรบอยู่แถวๆ เสฉวนนี้ จึงทำให้รู้ประวัติของเมืองและภูมิประเทศมาก ท่านบอกว่าน่าเสียดายที่ข้าพเจ้าจะไม่มีโอกาสได้ดูโบราณสถานของเสฉวนเลย เพราะไม่มีเวลา มีสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น บ้านของกวีตู้ฝู่ กวีเอกสมัยราชวงศ์ ถัง
(น.245) รูป 113 เสฉวนกำลังดื่มอวยพร
(น.245) ซึ่งมาอยู่ที่เฉิงตูเป็นเวลานานและได้เขียนบทกวีที่มีชื่อเสียงหลายบทกล่าวถึงวิถีชีวิตของคนธรรมดาๆ ในเสฉวน
มีโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสามก๊ก (ซานกว๋อ) เช่น ฮวงซุ้ยของ ขงเบ้ง สิ่งก่อสร้างที่ ไป๋ตี้เฉิง และกองบัญชาการอาณาจักรสู่ของ เล่าปี่ ก็ยังอยู่
หลังจากนั้น เราคุยกันเรื่องชาวเขา และชนเผ่าต่างๆ ที่พบในเสฉวน ท่านบอกว่ามีชาว จ้าง (คนทิเบต) พวก อี๋ มี 1 ล้านคนนับว่ามากที่สุด ใส่เสื้อผ้าลายๆ โพกหัวมี “หงอน” เสียบที่ผ้าโพก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 185
(น.185) การศึกษาเรื่องยาสมุนไพรจีน เช่น เทียนฮวาเฝิ่น เป็นรากของต้นกัวโหลว เอามาหั่นเป็นแว่นๆ แล้วเอามาทำยา เป็นสมุนไพรจีนที่ใช้กันมาแต่โบราณ ใช้รักษาเชื้อ HIV ได้ ขณะนี้ยังมีผลข้างเคียงคือ ทำให้ผู้ป่วยมีไข้สูง กำลังแก้ปัญหา
ต้นเทียนหมา (Gastrodia elata) เป็นยาระงับประสาท (Tranquilizer) มีมากที่มณฑลยูนนานและมณฑลเสฉวน มีสรรพคุณบำรุงสมอง แก้ปวดศีรษะ
มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 56-57
(น.56) รูป 51. พบประธานหยางซ่างคุนที่มหาศาลาประชาชน
Meeting with the Chairman Yang Shangkun.
ถึงเวลาไปพบท่านประธานาธิบดีหยางซ่างคุน ท่านประธานาธิบดีเป็นคนเสฉวน อายุ 83 ปีแล้ว แต่ยังแข็งแรง เคยร่วมเดินทางไกล (Long March) ระหว่าง ค.ศ. 1934-1935 ท่านเล่าเรื่องเส้นทางแพรไหมได้สนุกมาก
กลับจากมหาศาลาประชาชน เขาจัดให้รับประทานอาหารเวลา 11.30 น. วันนี้ทางสถานทูตจัดอาหารมาหลายอย่าง รวมกับอาหารของ
(น.57) เตี้ยวหยูวไถเลยมีกับข้าวมาก รับประทานอาหารเสร็จแล้วยังมีเวลาอยู่ เลยอ่านหนังสือพิมพ์ถึงเรื่องจีนส่งจรวดชื่อ Long March3 ซึ่งนำดาวเทียมโทรคมนาคม Asia Sat-1 เข้าสู่วงจร เขายิงจรวดวันที่ 7 เมษายน เวลา 21.30 น. จากฐานปล่อยจรวดซีฉาง ในมณฑลเสฉวน เข้าสู่วงจร 36,000 กม. เหนือระดับน้ำทะเล ใช้เวลา 21.36 นาที ถือเป็นการร่วมมือระหว่างประเทศครั้งสำคัญ
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 93
(น.93) หวางแนะนำให้ดูจารึกสรรเสริญพระนางอู่เจ๋อเทียน และถังเกาจง เรื่องพระนางอู่เจ๋อเทียนนี้มีทั้งคนรักมากเกลียดมาก คนบางคนเขาบอกว่าพระนางทำประโยชน์แก่บ้านเมืองหลายอย่าง แต่ก็เสียตรงที่มีความรุนแรงในการกำจัดผู้ที่ขัดแย้ง จารึกสรรเสริญหลักนี้ผู้เขียนคือจักรพรรดิถังจงจงลูกชาย
จารึกอีกหลักหนึ่งไม่ได้สลักอักษร มีแต่ภาพลายเส้นรูปมังกรและม้า มีความหมายว่าอำนาจของจักรพรรดิ มีพระบรมเดชานุภาพเกินกว่าจะสรรหาคำมากล่าวอ้าง พอเดินเข้าไปใกล้จริง ๆ ก็เห็นมีตัวอักษรจารึกอยู่เต็ม เป็นลักษณะการจารึกอย่างดี ๆ ไม่ใช่ฝีมือคนมือบอนเขียนชื่อตัวเองไว้ตามก้อนหินที่ต่าง ๆ เรียกใคร ๆ (พวกจีน) มาถาม เลยได้ทราบว่าเป็นคนประมาณราชวงศ์ซ่งมาสลักไว้ มีบทกวีบทหนึ่งมีความว่า
ต้นสนก็ถูกเผาไฟไป
ทั้งภูเขามีแต่หญ้า วัว และแพะ
มีแต่คนอำเภอเฉียนที่ระลึกถึงความดีพระนางอู่เจ๋อเทียน
ทุก ๆ ปีก็ต้องเอาของมาถวาย
จากเฉียนหลิงไปดูสุสานอีกแห่งคือ สุสานของเจ้าชายจางไหว ก็คล้าย ๆ กับของเจ้าหญิงหย่งไท่นั่นเอง เจ้าชายเป็นลูกคนที่สองของอู่เจ๋อเทียนแต่ขัดคำสั่งพระนาง (แต่แรกก็เป็นคนเขียนประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่น ตอนหลังเผลอเขียนว่าแม่ตัวเองรวบอำนาจ) จึงถูกเนรเทศไปอยู่เสฉวน และส่งคนไปตามฆ่า เมื่อน้องชายได้ขึ้นครองราชย์สมบัติจึงนำพระศพมาเฉลิมพระนาม และสร้างสุสาน (พระนางอู่เจ๋อเทียนมีลูกชาย 4 คน ฆ่าเสีย 2 คน)
ภาพผนังในสุสานมีเรื่องการรับแขกต่างประเทศ มีคนทิเบต คนเกาชางมาจากทู่หลู่ฟัน
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 211
(น.211) เสร็จเรื่องการล่าสัตว์เล่าต่อเรื่องการยิงจรวด นายกเทศมนตรีบอกว่าแต่ก่อนเป็นความลับ เดี๋ยวนี้ไม่ลับแล้ว ปีที่แล้วมีการยิงจรวดส่งดาวเทียมทางการจีนยังเชิญผู้แทนปากีสถานมาชม นอกจากพวกปากีสถานซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ยังมีผู้แทนสิงคโปร์ ไทย สหรัฐ ซาอุดีอารเบีย สถานีควบคุมมีที่ปักกิ่ง เสฉวน และซีอาน เมื่อสามปีที่แล้วส่งจรวดไปครั้งหนึ่ง ยิงดาวเทียมอุตุนิยมขึ้นไปได้ทีเดียว 3 ลูก ทำให้พยากรณ์อากาศได้สะดวกทั้งประเทศ ไม่ต้องรอข้อมูลภาพจากต่างประเทศ ดาวเทียมที่เพิ่งส่งขึ้นไปใหม่ (ที่เสฉวน) มีพวกอเมริกามา 100 กว่าคน ส่วนมากเป็นพวกช่างที่มาติดตั้งดาวเทียม จีนมีหน้าที่ในการส่งจรวดเท่านั้น ดาวเทียมมี 24 ช่อง ขายได้ 19 ช่อง หนึ่งในสี่เป็นของปากีสถาน
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 223
(น.223) จากนั้นนั่งรถไปถ้ำ เห็นเจดีย์โบราณมากมาย คุณเฉิงบอกว่าเป็นที่ฝังศพพระสมัยก่อน
อาจารย์ต้วนอธิบายว่ามีเวลาน้อย ถ้ำทั้งหมดมีอยู่ 492 ถ้ำ แต่จะให้ดูได้แค่ 8 ถ้ำ (เวลาดูจริงๆ อาจารย์เพิ่มให้เป็น 10 ถ้ำ) เฉพาะที่ท่านคิดว่าข้าพเจ้าจะสนใจ เช่น พระพุทธรูปสมัยอู่เจ๋อเทียน (บูเช็กเทียน) แต่ก็บูรณะกันมาจนไม่เหมือนเดิมไปแล้ว พระพุทธรูปองค์นี้ใหญ่เป็นที่ 4 ของโลก องค์ที่ 1 อยู่ที่เขาลั้วซาน เสฉวน สูง 70 กว่าเมตร องค์ที่ 2 สูง 53 เมตร อยู่อัฟกานิสถาน องค์ที่ 3 อยู่ที่ปามีร์ ปากีสถาน สูง 35 เมตร องค์ที่ 4 คือองค์นี้ สูง 33 เมตร สร้างสมัยราชวงศ์ถัง มีระเบียงสำหรับเดินเข้าไปในถ้ำ สมัยก่อนเป็นไม้แต่ผุพังไปหมดแล้ว ซ่อมแซมใหม่เป็นซีเมนต์ บูรณะประมาณ ค.ศ. 1960 กว่าๆ อดีตนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลให้งบประมาณถึงล้านหยวน เฉลียงที่สร้างขึ้นใหม่จะมีความมั่นคง ทนแผ่นดินไหวระดับที่ 7 ได้ ถ้ำมี 4 ชั้น
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 365
(น.365)
ราชวงศ์เหนือ
แคว้นทั้ง 16 ของอนายชน 5 เผ่า ค.ศ. 304 – 439
แคว้น เชื้อชาติ มณฑล ระยะเวลา (ค.ศ.)
ราชวงศ์จ้าวภาคต้น ฉยุงหนู ซานซี 304 – 329
ราชวงศ์เฉิงฮั่น ตี เสฉวน 304 – 347
ราชวงศ์จ้าวภาคปลาย เจี๋ย เหอเป่ย 319 – 351
ราชวงศ์เหลียงภาคต้น ฮั่น (จีน) กานซู 314 – 376
ราชวงศ์เหยียนภาคต้น เซียนเปย เหอเป่ย 349 – 370
ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 18
(น.18) เวลา 18.00 น. ไปชั้นที่ 3 ของโรงแรมที่พัก พบกับนายเหอจื้อเฉียง ผู้ว่าราชการมณฑลยูนนานและคณะ ท่านผู้ว่าราชการฯ อายุ 60 ปี เป็นชาวน่าซี เกิดที่เขตลี่เจียง มณฑลยูนนาน เป็นนักธรณีวิทยา จบจากมหาวิทยาลัยฉงชิ่งในเสฉวน เคยเป็นรองอธิบดีสำนักธรณีวิทยา มณฑลยูนนาน เมื่อรับการอบรมที่สถาบันฝึกอบรมพรรคคอมมิวนิสต์จีนแล้วได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองผู้ว่าการมณฑลยูนนานและผู้อำนวยการใหญ่ (ระดับรัฐมนตรี) ประจำคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์มณฑลยูนนาน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 จนถึงปัจจุบันได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลยูนนานและเป็นผู้ว่าราชการมณฑลยูนนาน
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 97
(น.97) ท่านรองฯ เล่าว่าแถบนี้มีสาลี่ผิวสีแดงหรือชมพูปนเหลืองๆ มีรสชาติดีมาก ผักที่นี่มีหลายอย่าง ต้นหอมสามารถส่งออกไปเมืองอื่นถึง 26 เมือง ส่งรถไฟ 20 ตู้
เทศกาลหั่วป่าในเดือนหกชาวบ้านจะร้องเพลงเต้นรำจนอาทิตย์ตกดิน หนุ่มเต้นระบำจนพื้นรองเท้าพันชั้นสึก สาวเต้นจนรองเท้าปักขาด สาวๆ ใช้ดอกตู้จวนปักผม และประกวดปักผ้า ท้องถิ่นนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจ มีที่น่าเที่ยวอีกหลายอย่างหลายแห่ง มีของโบราณ กระดูกไดโนเสาร์ กระดูกมนุษย์โบราณ มีพวกไต่อยู่ที่ฝั่งน้ำ พวกเหมียวอยู่ยอดเขา พวกอี๋อยู่เชิงเขา
ข้าพเจ้าถามถึงพืชผลไม้อื่นๆ เขาเล่าว่าที่ความสูงประมาณ 2,500 เมตรปลูกแอปเปิ้ลได้ ภูเขาลูกหนึ่งมีอากาศ 4 ฤดู ภูเขาสูงๆ ต่ำๆ มีหุบเหว ฉะนั้นในบางแห่งสถานที่ห่างกัน 5 กิโลเมตร อากาศก็ไม่เหมือนกัน เช่น ภูเขาสูง 3,680 เมตร ต่ำสุด 557 เมตร ยอดเขาร้อน พฤกษชาติพันธุ์สัตว์หลากหลาย หมีมีมากที่สุด เสือลาย ลิงกวาง (ไม่ทราบว่าแปลถูกหรือเปล่า) นกยูง ฯลฯ เศรษฐกิจก็พัฒนาเร็วเป็นอันดับ 4 ของมณฑล จังหวัดนี้ประสบความสำเร็จในกิจการสำคัญ 2 ประการคือ การปลูกป่า และเรื่องการคุมกำเนิด ได้รับการชมเชยจากรัฐบาลจีน รักษาธรรมชาติได้ดี เศรษฐกิจดี ปลูกต้นอัน สกัดน้ำมันทำยาได้ ต้นเหอจินยางไม้ทำเฟอร์นิเจอร์ ส่วนพืชธรรมชาติคือต้นสน สถานที่น่าเที่ยวอีกแห่งคือแม่น้ำจินซาเจียงอันเป็นสาขาของแม่น้ำแยงซีเกียง ไหลผ่านเสฉวนและยูนนาน เป็นที่อยู่ของพวกอี๋ อี๋แถวๆ เสฉวนเรียกว่าพวกเหลียงช่าน ส่วนพวกเขาเป็นฉู่ฉยง
Next >>