Please wait...

<< Back

ถังเกาจง

จากหนังสือ

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า 214

(น.214) จักรพรรดิต่าง ๆ เป็นส่วนมาก เช่น ถังเกาจง สมัยชิงก็เคยเป็นหลายองค์ เช่น กวงซู่ ถงจื้อ ปูยี เขาให้รูปเขาแต่งเป็นจักรพรรดิคังซี เลยให้ยืนคู่กับรองอธิบดีตำรวจซึ่งมองไปมองมาตั้งแต่ที่พิพิธภัณฑ์หุ่นเชิดว่าเหมือนพระเจ้าปูยีตอนแก่ คนสุดท้ายคือคุณเหลียงทงยี่ เป็นที่รู้จักของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทั่วประเทศจีน มักจะเล่นหนังชีวิต

ย่ำแดนมังกร
ย่ำแดนมังกร หน้า 205 - 206

(น.205) เจดีย์ห่านฟ้านั้นสมัยราชวงศ์ถังใช้เป็นสถานที่สอนพระไตรปิฎกซึ่งพระถังซำจั๋งนำมาจากอินเดีย เจดีย์นี้อยู่ในเขตวัดซึ่งพระเจ้าถังเกาจง เป็นผู้สร้าง ตอนแรกที่เราเข้าไปก็มีคณะเจ้าหน้าที่ผู้อธิบายมารอรับอยู่ตามเคยและพาพกวเราไปที่ ต้าสยุงเป่าเตี้ยน ซึ่งเป็นอาคาร มีพระพุทธรูป 2 องค์ และพระอรหันต์ 18 องค์ แล้วจึงไปที่เจดีย์ห่านฟ้า หรือ ต้าเอี้ยนถ่า ซึ่งสร้างเป็น 5 ชั้น สมัยจักรพรรดินี อู่เจ๋อเทียน เพิ่มเป็น 10 ชั้น ต่อมาเกิดสงคราม เจดีย์ได้รับความเสียหายสร้างขึ้นใหม่เป็น 7 ชั้น ชั้นล่างมีพระพุทธรูปสำริดอายุ 400ปี มี rubbing รูปพระถังซำจั๋งผู้นำพระไตรปิฎก 600 กว่าเล่มจากอินเดียมาแปลเป็นพระไตรปิฎกจีน 75 เล่ม ที่วัดพระมหากรุณาธิคุณนี้ นอกจากรูปท่าน เสวียนจ้าง (พระถังซำจั๋ง) แล้ว ยังมีรูปลูกศิษย์ก้นกุฏิอีก 2 ท่าน คือ หยวนเช่อ ตามประวัติว่าเป็นหลานของพระเจ้าแผ่นดินเกาหลี และ ขุยจี
(น.206) คราวนี้ถึงเวลาปีนกระโดดขึ้นเจดีย์ เพื่อไปชมวิวชั้นบน ปีนหอนี้แล้วนึกถึงหอสูงที่พระราชวังบางปะอิน ซึ่งสร้างขึ้นคล้ายหอจีนมีชื่อว่าหอวิทูรทัศนา ในสมัยก่อนหอวิทูรทัศนาคงจะเป็นหอสำหรับขึ้นไปชมทิวทัศน์บางปะอิน พอมาในรัชกาลนี้หอวิทูรทัศนากลายเป็นที่สำหรับข้าราชบริพารออกกำลังกาย พวกเราต้องวิ่งขึ้นบันไดเวียนชะโงกหน้าต่างออกมานับชั้นทุกๆ ชั้นจนถึงยอด แล้ววิ่งลงมา จะมีผู้จับเวลาการ “ขึ้นหอ” ของแต่ละคนด้วย ข้าพเจ้าคิดว่าการโผล่หน้าต่างให้ถูกนั้นยากมาก เวลาวิ่งขึ้นไปหมุนๆ แล้วมันชักไม่รู้ทิศไหนทิศเหนือทิศไหนทิศใต้ สรุปแล้ว คณะ “ขึ้นหอ” ไทยก็ไม่ลำบากในการขึ้นหอเจดีย์ห่านฟ้าแต่ประการใด จากชั้นบนของหอ เราจะเห็นทิวทัศน์ของเมืองซีอาน ไกด์ชี้ให้ดูแนวต้นไม้ซึ่งปลูกในสมัย ถัง ทางทิศตะวันออกมีสุสานของหลายราชวงศ์ และเห็นเจดีย์ห่านฟ้าเล็ก ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อหลวงจีน อี้จิง ไปสืบพระศาสนาที่อินเดีย พวกเราขึ้นไปถ่ายรูปหมู่กันบนชั้นสูงของเจดีย์ห่านฟ้า แล้วลงมาเดินดูบริเวณรอบๆ เขาจัดบริเวณไว้สวยงาม มีต้นไม้และพุ่มไม้ต่างๆ รอบนอกของเจดีย์มีจารึกที่พระเจ้าถังเกาจงเขียนชมเชยพระถังซำจั๋ง เบื้องบนเป็นรูปพระพุทธรูปประทับห้อยพระบาท ดูมีเค้าศิลปะอมราวดี บนทับหลังเหนือประตูก็มีภาพสลักบนหิน

มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 76 - 77, 79, 91, 93

(น.76) คุณหันเล่าเรื่องสุสานเฉียงหลิงที่เรากำลังจะไปให้ฟังอย่างย่อ ๆ ว่าเป็นสุสานของพระจักรพรรดิถังเกาจง (หลี่จื้อ) จักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 628 – 683) และจักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียน หรือบูเช็กเทียน (ค.ศ. 624 – 705) สุสานนี้อยู่บนเขาเหลียงซานอยู่ห่างอำเภอเฉียนเซียนไป 6 กิโลเมตร ถังเกาจงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของหลี่ซื่อหมิ่น (ถังไท่จง) จักรพรรดิองค์ที่ 2 ของราชวงศ์ถัง ได้ขึ้นครองราชย์เมื่อ ค.ศ. 649 สวรรคตใน
(น.77) เมืองลั่วหยางเมื่อ ค.ศ. 683 (เมืองลกเอี๋ยงในวรรณคดีเรื่องสามก๊ก) และฝังที่เฉียนหลิงนี้ อู่เจ๋อเทียนมีนิวาสถานเดิมอยู่ที่เหวินสุ่ย (มณฑลส่านซีในปัจจุบัน) เคยเป็นพระสนมที่มีฐานะอยู่ในกลุ่มพระสนมอันดับ 5 ของพระเจ้าถังไท่จง เมื่อพระเจ้าถังไท่จงสวรรคตแล้วตามปกติพวกสนมจะต้องไปบวชชีกันหมด แต่อู่เจ๋อเทียนทำอย่างไรไม่ทราบ สึกออกมาเป็นมเหสีของพระเจ้าถังเกาจงได้ มีอายุมากกว่าถังเกาจง 4 ปี เห็นจะเป็นเพราะฉลาด มีความรู้ เมื่อพระเจ้าถังเกาจงเริ่มประชวรใน ค.ศ. 659 พระเนตรบอด ปวดพระเศียรทุกวัน ราชการงานเมืองอะไรก็ปล่อยให้อู่เจ๋อเทียนทำหมด พอพระเจ้าถังเกาจงสวรรคต พระนางก็ตั้งตัวเองเป็นจักพรรดิ เป็นองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนที่เป็นผู้หญิง เมื่อได้ขึ้นครองราชย์ก็ปฏิรูปภายในประเทศ เปลี่ยนชื่อราชวงศ์เป็นราชวงศ์โจว ภายหลังได้มอบอำนาจให้ลูกชายคือถังจงจง ซึ่งได้เปลี่ยนราชวงศ์กลับไปเป็นราชวงศ์ถังตามเดิม อู่เจ๋อเทียนสวรรคตที่ลั่วหยาง เมื่อ ค.ศ. 705 และถูกนำมาฝังที่เฉียนหลิงเช่นเดียวกับพระเจ้าถังเกาจง (ที่เรียกว่าเฉียน เพราะอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของซีอาน) หมอดูจีนโบราณเรียกทิศนี้ (เวลาผูกดวง) ว่าเฉียน รอบ ๆ สุสานเฉียนหลิงมีสุสานเจ้าชาย เจ้าหญิง และเสนาบดี สุสานเฉียนหลิงสูงประมาณ 1,040 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ในบริเวณส่านซีมีสุสาน 72 แห่ง คุณหันพูดว่าคนกล่าวกันบ่อย ๆ ว่าสุสานใหญ่จะถูกขโมย แต่เฉียนหลิงไม่มีคนขโมย ไม่มีในเอกสาร และไม่มีร่องรอยการถูกขโมยด้วย ฉะนั้นข้างในอาจมีศิลปวัตถุอยู่ เคยมีนักประวัติศาสตร์เสนอให้ขุดสุสานเพื่อหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ขณะนั้นนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลไม่เห็นด้วย เพราะวิชาการเก็บรักษาวัตถุโบราณของจีนยังไม่ก้าวหน้า
(น.79) รูป62. บริเวณสุสานของเจ้าหญิงหย่งไท่ เราไปที่สุสานของเจ้าหญิงหย่งไท่ ระหว่างดูมีใครต่อใครอธิบายกันหลายคน ทั้งพวกพิพิธภัณฑ์เฉียนหลิง และอาจารย์หวางจากพิพิธภัณฑ์ส่านซี เจ้าหญิงหย่งไท่มีพระนามเดิมว่าหลี่เสี่ยนหุ้ย (ค.ศ. 684-701) เป็นหลานของพระเจ้าถังเกาจง พระธิดาพระเจ้าถังจงจง (หลี่เสี่ยน) สิ้นพระชนม์ที่ลั่วหยาง และภายหลังย้ายมาฝังที่นี่
(น.91) รูป73. ท่านทูตเตช และท่านทูตสารสิน ซึ่งเป็นทูตสมัยปัจจุบัน ปลอมตัวเป็นราชทูตสมัยราชวงศ์ถัง ข้าง ๆ เป็นรูปคณะทูต ดังที่กล่าวแล้วว่าประเทศจีนสมัยราชวงศ์ถังมีความสัมพันธ์กับแคว้นต่าง ๆ กว่า 300 แคว้น ฉะนั้นพอจักรพรรดิถังเกาจงสวรรคต จึงมีผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ ประมาณ 60 ประเทศมาร่วมพิธีพระศพ และพระนางอู่เจ๋อเทียนได้สั่งให้แกะหินเอาไว้ บางชาติก็ไม่มีจารึกอะไรไว้ แต่บางชาติมีจารึกชื่อประเทศ เช่น ชาติจากเอเชียกลาง อัฟกานิสถาน เป็นเมืองที่มีการคมนาคมสะดวกที่สุดในสมัยนั้น พุทธศาสนาในจีนอาจจะเข้ามาทางนี้ด้วยทางหนึ่ง ที่อัฟกานิสถานก็มีถ้ำแกะสลักเป็นรูปพระเช่นเดียวกัน
(น.93) หวางแนะนำให้ดูจารึกสรรเสริญพระนางอู่เจ๋อเทียน และถังเกาจง เรื่องพระนางอู่เจ๋อเทียนนี้มีทั้งคนรักมากเกลียดมาก คนบางคนเขาบอกว่าพระนางทำประโยชน์แก่บ้านเมืองหลายอย่าง แต่ก็เสียตรงที่มีความรุนแรงในการกำจัดผู้ที่ขัดแย้ง จารึกสรรเสริญหลักนี้ผู้เขียนคือจักรพรรดิถังจงจงลูกชาย

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 120

(น.120) รูป87. ขึ้นไปถึงยอดเจดีย์ห่านฟ้าเล็ก ไก๊ด์อธิบายว่าวัดที่นี่สร้างขึ้นในค.ศ. 684 เพื่อเป็นที่ทำพิธี 100 วัน พระบรมศพพระจักรพรรดิถังเกาจง ชื่อว่าวัดเซี่ยนฟู่ หมายถึงวัดสำหรับทำพิธีบูชาเพื่อให้ความสุข ตอนนั้นพระจักรพรรดิถังจงจงยังครองราชย์อยู่ครองได้ไม่นานจักรพรรดิอู่เจ๋อเทียนพระมารดาก็ขึ้นครองแทน และให้วัดนี้เป็นวัดหลวง

มุ่งไกลฯ ภาคผนวก หน้า 369

(น.369) รายพระนามพระจักรพรรดิที่กล่าวถึงใน "มุ่งไกลในรอยทราย" และปีที่ครองราชย์
ราชวงศ์ถัง ถังไท่จง ค.ศ. 626 – 649
ถังเกาจง ค.ศ. 649 – ปลาย ค.ศ. 683
ถังจงจง ค.ศ. 684 ครองราชย์ได้เพียงเดือนเศษก็ถูกพระนางอู่เจ๋อเทียน
(บูเช็กเทียน) ซึ่งเป็นพระราชมารดาปลดออกจากตำแหน่ง
ถังรุ่ยจง ค.ศ. 684 – 690 เป็นจักรพรรดิแต่ในพระนามอำนาจการปกครอง
อยู่ที่พระนางอู่เจ๋อเทียน
จักรพรรดินีอู่เจ๋อเทียน ค.ศ. 690 – 705
(ตั้งนามราชวงศ์ว่าโจว)
ถังจงจง ค.ศ. 705 – 707
พระมเหสีของจักรพรรดิถังจงจง และพระญาติของพระนาง (ตระกูลเว่ย)ยึดอำนาจการปกครองอยู่ 3 ปี ค.ศ. 707 – 710
ถังรุ่ยจง ค.ศ. 710 – 712
ถังเสวียนจง (หมิงหวง) ค.ศ. 712 – 756



จัดหมวดหมู่สารสนเทศ

ถังเกาจง

พระจักรพรรดิถังเกาจง (หลี่จื้อ) จักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 628 – 683)
พระราชประวัติ
พระจักรพรรดิถังเกาจง (หลี่จื้อ) จักรพรรดิองค์ที่ 3 ของราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 628 – 683) เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ของหลี่ซื่อหมิ่น (ถังไท่จง) จักรพรรดิองค์ที่ 2 ของราชวงศ์ถัง ได้ขึ้นครองราชย์เมื่อ ค.ศ. 649 [1]
พระเจ้าถังเกาจงเริ่มประชวรใน ค.ศ. 659 พระเนตรบอด ปวดพระเศียรทุกวัน ราชการงานเมืองอะไรก็ปล่อยให้อู่เจ๋อเทียนทำหมด [2]
สวรรคตใน [3]
เมืองลั่วหยางเมื่อ ค.ศ. 683 [4]

อ้างอิง

1. มุ่งไกลในรอยทราย หน้า76
2. มุ่งไกลในรอยทราย หน้า77
3. มุ่งไกลในรอยทราย หน้า76
4. มุ่งไกลในรอยทราย หน้า77