Please wait...

<< Back

เจิ้งเหอ

จากหนังสือ

คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 276

(น.276) ชั้นที่สองเป็นการแสดงภาพเกี่ยวกับประวัติการเดินทางทางทะเลของชาวโปรตุเกส เช่น Prince Henry, the Navigator การเดินทางด้วย Blackship (เรียกว่า Blackship เพราะว่ากระดูกงูเรือเป็นไม้สีดำ) ใน ค.ศ. 1618 จากกัวผ่านมาเก๊า ไปญี่ปุ่น การเดินทางของ Vasco da Gama, Bartholomew Dias เป็นต้น และการเดินทางทางเรือที่สำคัญในยุคเดียวกัน เช่น แผนที่และภาพการเดินทางของนายพลเจิ้งเหอ การค้นพบมาเก๊า การสำรวจทางทะเล แบบจำลองของเรือเดินทะเลประเภทต่างๆ ตลอดจนวิวัฒนาการของการใช้เรือสินค้าสำคัญที่ค้าขายกันในสมัยโบราณ เช่น ใบชา เครื่องเทศ พริกไทย อบเชย ขิง กระวาน กานพลู และเครื่องปั้นดินเผา ศิลาจารึกต่างๆ เช่น จารึกลังกาสมัยราชวงศ์หมิง นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงของมา

ย่ำแดนมังกร
ย่ำแดนมังกร หน้า 63

(น.63) รถแล่นเข้าเขตที่มีสุสาน เราจะมองเห็นได้ตามเขตภูเขา มีเก๋งจีนเป็นเครื่องหมายว่าตรงนี้มีฮวงซุ้ย ทางเข้าฮวงซุ้ย ติ้งหลิง สองข้างทางเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น สิงโตแบบ “ไลอ้อน” (ไม่ใช่สิงโตเมืองจีนแบบอับเฉาเรือที่มาตั้งอยู่ตามที่ต่างๆ ในเมืองไทย) มีเสือ อูฐ 2 ตะโหงก ช้างนั่ง ช้างยืน ม้า ตอนที่เข้าใกล้สุสานทำเป็นรูปคนข้าราชการฝ่ายบู๊ ฝ่ายบุ๋น ทั้งตงฉิน กังฉิน พร้อมมูล รถผ่าน ฉางหลิง ซึ่งเป็นสุสานที่ใหญ่ที่สุดแต่ยังไม่ได้ขุดขึ้นมา เมื่อถึงหน้าประตูมีผู้ดูแลสุสานมารับ พาเข้าไปในห้อง “บรรยายสรุป” ซึ่งเเต็มไปด้วยขนมกับผลไม้ “มหาดเล็กหญิง” ซึ่งเป็นคนเสิร์ฟน้ำประจำทั้งที่บ้านพักและหิ้วตามไปที่ต่างๆ ก็หันมายิ้มหลิ่วตากับข้าพเจ้าทีหนึ่งก่อน แล้วหันไปสาละวนอยู่กับการจัดน้ำหวานให้พวกเรา ไกด์อธิบายว่าบริเวณที่นี้เป็นสุสานของจักรพรรดิ 13 องค์ใน 16 องค์ ของราชวงศ์เหม็ง สร้างระหว่าง ค.ศ. 1365 – 1641 รวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 277 ปี สุสานของจักรพรรดิองค์แรกคือ พระเจ้า หงอู่ อยู่ที่ นานกิง จักรพรรดิองค์ที่สองคือพระเจ้า เจี้ยนเหวิน เกิดความวุ่นวายในแผ่นดินเรื่องแย่งชิงบัลลังก์ พอเป็นจักรพรรดิได้ 4 ปีก็ฆ่าตัวตาย ของจักรพรรดิองค์ที่ 7 ไปอยูที่ เซียงซาน ส่วนสุสานจักรพรรดิ หย่งเล่อ (Yunglo) องค์ที่ส่งขันทีชื่อ เจิ้งเหอ(Cheng-Ho) มาแถวๆ Southeast Asia และมหาสมุทรอินเดียนั้นยังมิได้เปิดศึกษา สุสาน ติ้งหลิง นี้เป็นของจักรพรรดิองค์ที่ 14 หรือพระเจ้า ว่านลี่ พระองค์ครองราชย์ใน ค.ศ. 1573 เมื่อพระชนม์ได้ 10 พรรษา เริ่มสร้างสุสานตอนพระชนม์ได้ 22 พรรษา สร้างเสร็จ

เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 178, 181, 186

(น.178) เรื่องสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามริมฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ของจีน (Coastal Shrines of Sages and Saints) ที่สำคัญคือ สุสานศิษย์ของพระมะหะหมัดที่มาเผยแพร่ศาสนาอิสลามที่เฉวียนโจว หนังสือทั้งของจีนและต่างชาติที่เขียนเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ที่นี่มุสลิมชาวจีนยังศึกษาภาษาอาหรับ ภาพถ่ายสิ่งของโบราณวัตถุเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ประวัติที่นายพลเรือเจิ้งเหอตอนที่เดินทางออกไปสำรวจทะเลใต้มานมัสการทำละหมาดที่สุเหร่าแห่งนี้ เจิ้งเหอเป็นคนมุสลิมแซ่หม่า พื้นเพถิ่นฐานเดิมเป็นคนอำเภอคุนหยัง มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) สิ่งของต่างๆ ที่ Hajji Abdullah Qiurun นำกลับมาจากเมกกะ รายชื่อคนอาหรับที่มาประสบความสำเร็จในการมาทำราชการ คนหนึ่งคือ ผูโซ่วเกิง เป็นนายอากร แซ่ต่างๆ ที่คนมุสลิมใช้มี แซ่ Pu (ผู), Gua (กัว), Ding (ติง), Xia (เซี่ย), Jin (จิน), Ma (หม่า), Jie (เจีย), Ge (เกอ), Shan (ซาน), Mi (หมี่), Ha (ฮา), Yang (หยัง), Huang (หวง), Shu (ซู), Lin (หลิน) และ Li (หลี่) ที่นี่ไม่มีโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม ใครจะเรียนต่ออย่างจริงจังต้องไปเรียนที่อื่น มีเรื่องเกี่ยวกับอาหารอิสลาม และเทศกาลของอิสลาม เช่น เทศกาลอิดิลฟิตรี ซึ่งภาษาจีนเรียกว่า ไคไจเจี๋ย เทศกาลอิดิลฟิตรี เป็นพิธีฉลองที่จัดขึ้นในวันที่พ้นจากเดือนถือบวชของศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมจะถือบวชในเดือน 9 ตามปฏิทินอิสลาม และจะออกจากการถือบวชในคืนที่ต้องแลเห็นพระจันทร์เสี้ยว ถ้าไม่เห็นก็ต้องยืดไปอีก ในทางปฏิบัติไม่เกิน 3 วัน หมดพิธีถือบวชก็จะมีพิธีฉลอง คนในครอบครัวต้องอยู่ด้วยกัน มีพิธีอธิษฐาน เริ่มรับประทานได้ตามปกติในแต่ละมื้อ มีโมเดลของสุเหร่าเก่าที่คิดว่าจะสร้างขึ้นใหม่เมื่อมีเงิน ของเก่าพังไปหมดตอนแผ่นดินไหวเมื่อ 400 ปีมาแล้ว
(น.181) บริเวณสุสานมีแผ่นศิลาจารึกโบราณที่สำคัญอยู่ 5 แผ่น สมัยราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิง เป็นภาษาอาหรับ แผ่นแรก ค.ศ. 1322 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบูรณะศาสนสถาน อีกแผ่นหนึ่ง ค.ศ. 1417 ปีที่ 15 ของจักรพรรดิหย่งเล่อ นายพลเจิ้งเหอได้มาคารวะสุสานนี้และได้ไปที่ต่างๆ หลายแห่ง มีการกล่าวถึงเมืองล่าถง เมืองถง เมืองหลี่เฉิง ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของเมืองเฉวียนโจว คนอาหรับชื่อถังซง กล่าวถึงศิษย์พระมะหะหมัดที่พูดว่า “เราจะไปหาความรู้ จะไม่กลัวทางไกล” (ไปประเทศจีน) คริสต์ศตวรรษที่ 17 สมัยราชวงศ์ชิง มีจารึกกล่าวถึงข้าราชการชั้นสูงที่นับถือศาสนาอิสลามต้องมาคารวะที่นี่
(น.186) ช่วงที่มีการเดินเรือไปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กันจำนวนมากนั้น เป็นช่วงที่ในประเทศจีนเองมีคนย้ายถิ่นฐานจากทางเหนือและตอนกลางของประเทศลงมาภาคใต้มาก สินค้าจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ต้องการในตลาดค้า เช่น เครื่องเทศ ไข่มุกน้ำจืด ชาด ครั่ง ของป่า ทางภาคใต้ของจีนมีการพัฒนาคมนาคมไม่เฉพาะแต่การคมนาคมทางเรือระหว่างประเทศเท่านั้น หากแต่พัฒนาการคมนาคมทางบกด้วย เช่น การสร้างสะพาน เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11-12 มีสะพานหินหลายแห่ง เช่น สะพานลั่วหยัง สะพานอานผิง (ยาวที่สุดราว 2,255 เมตร กว้าง 5 เมตรเศษ) มีการพัฒนาบ้านเมือง เช่น การออกเอกสารโฉนดที่ทำด้วยเหล็ก การพัฒนาการเดินเรือ ตอนที่มาร์โคโปโลเดินทางกลับอิตาลี เขามาลงเรือที่เฉวียนโจว มีคนเขียนเรื่องว่า นำเจ้าหญิงมองโกเลียไปแต่งงานถึงที่ยุโรป มีผู้ติดตามไปประมาณ 600 กว่าคน (ไม่ทราบว่าจริงหรือไม่) เจิ้งเหอเดินทางไปโซมาเลีย และว่ามีเจ้าชายจากอาณาจักรเล็กๆ ในอินเดีย (Marwar?) มาตั้งรกรากในจีน มีเรื่องเล่าด้วยว่า คนที่เดินเรือไปอินเดียไม่ถึงปีกลับมาได้กำไร 100 กว่าเท่า คนที่เดินเรือไปอินเดียกลับมาเขียนจารึกขอบคุณเทพเจ้าที่ดูแลอย่างดีทำให้ปลอดภัยกลับมาร่ำรวย




จัดหมวดหมู่สารสนเทศ

เจิ้งเหอ

ประวัติ

เจิ้งเหอเป็นคนมุสลิมแซ่หม่า พื้นเพถิ่นฐานเดิมเป็นคนอำเภอคุนหยัง มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน)[1]
การเดินทางของนายพลเจิ้งเหอ ร่วมสมัยกับการค้นพบมาเก๊า การสำรวจทางทะเล การเดินทางของชาวโปรตุเกส เช่น Prince Henry, the Navigator การเดินทางด้วย Blackship (เรียกว่า Blackship เพราะว่ากระดูกงูเรือเป็นไม้สีดำ) ใน ค.ศ. 1618 จากกัวผ่านมาเก๊า ไปญี่ปุ่น การเดินทางของ Vasco da Gama, Bartholomew Dias[2]
ขันทีเจิ้งเหอกับศาสนาอิสลาม
ตอนที่เดินทางออกไปสำรวจทะเลใต้มานมัสการทำละหมาดที่สุเหร่าแห่งนี้สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามริมฝั่งทะเลตะวันออกเฉียงใต้ของจีน (Coastal Shrines of Sages and Saints) [3]
บริเวณสุสานมีแผ่นศิลาจารึกโบราณที่สำคัญอยู่ 5 แผ่น สมัยราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิง เป็นภาษาอาหรับ แผ่นแรก ค.ศ. 1322 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบูรณะศาสนสถาน อีกแผ่นหนึ่ง ค.ศ. 1417 ปีที่ 15 ของจักรพรรดิหย่งเล่อ นายพลเจิ้งเหอได้มาคารวะสุสานนี้และได้ไปที่ต่างๆ หลายแห่ง มีการกล่าวถึงเมืองล่าถง เมืองถง เมืองหลี่เฉิง ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของเมืองเฉวียนโจว คนอาหรับชื่อถังซง กล่าวถึงศิษย์พระมะหะหมัดที่พูดว่า “เราจะไปหาความรู้ จะไม่กลัวทางไกล” (ไปประเทศจีน) คริสต์ศตวรรษที่ 17 สมัยราชวงศ์ชิง มีจารึกกล่าวถึงข้าราชการชั้นสูงที่นับถือศาสนาอิสลามต้องมาคารวะที่นี่[4]
การเดินทาง

เจิ้งเหอเดินทางไปโซมาเลีย และว่ามีเจ้าชายจากอาณาจักรเล็กๆ ในอินเดีย (Marwar?) มาตั้งรกรากในจีน มีเรื่องเล่าด้วยว่า คนที่เดินเรือไปอินเดียไม่ถึงปีกลับมาได้กำไร 100 กว่าเท่า คนที่เดินเรือไปอินเดียกลับมาเขียนจารึกขอบคุณเทพเจ้าที่ดูแลอย่างดีทำให้ปลอดภัยกลับมาร่ำรวย[5]


อ้างอิง

1. เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 178
2. ย่ำแดนมังกร หน้า 63
3. เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 178
4. เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 181
5. เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 186