Please wait...

<< Back

ราชวงศ์ชิง

(น.70)
8. พระเจ้าเต้ากวง (ค.ศ. 1821-1850) เป็นโอรสองค์ที่ 2 ของพระเจ้าเจียชิ่ง เจอปัญหาสงครามฝิ่น ปัญหาจักรวรรดินิยม
9. พระเจ้าเสียนเฟิง (ค.ศ. 1851-1861) เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ของพระเจ้าเต้ากวง ขณะครองราชย์บ้านเมืองปั่นป่วน จักรวรรดินิยมรุกราน มีกบฏไท่เผ็ง ค.ศ. 1860 มีสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ตอนที่ชาติตะวันตก 8 ชาติมารุกราน ไปประทับอยู่ที่เฉิงเต๋อ ขณะไม่อยู่ที่ปักกิ่ง วังหยวนหมิงหยวนถูกอังกฤษและฝรั่งเศสเผา


(น.71) รูป 85 พระเจ้าถงจื้อ
(น.71)

10. พระเจ้าถงจื้อ (ค.ศ. 1862-1874) เป็นโอรสของพระเจ้าเสียนเฟิงกับพระนางซูสี เมื่อขึ้นครองราชย์ตอนแรกทรงพระเยาว์ มีมเหสีฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายของพระบิดาคือพระนางฉืออัน และพระนางซูสี อยู่หลังบัลลังก์ ครองราชย์เองได้ปีเดียวเมื่อพระชนม์ 18 พรรษา

(น.72) รูป 86 พระนางซูสี

(น.72)
11. พระนางซูสี ขึ้นมีอำนาจ 42 ปี กล่าวว่า เป็นผู้ทำให้ราชวงศ์ชิงล่มจ่ม เพราะความอนุรักษ์นิยม


(น.73) รูป 87 พระเจ้ากวงซู่

(น.73)
12. พระเจ้ากวงซู่ (ค.ศ. 1875-1908) เป็นโอรสของน้องพระนางซูสี เป็นผู้รักความเป็นธรรม ศึกษาความเป็นไปของโลก จึงวางแผนปฏิรูปบ้านเมืองที่เรียกว่าการปฏิรูป 100 วัน แต่ก็สู้ความอนุรักษ์นิยมของพระนางซูสีไม่ได้ ในบั้นปลายพระชนม์ชีพถูกขังอยู่เกาะกลางทะเลสาบจำลองในวังหลวงปักกิ่ง


(น.74) รูป 88 พระเจ้าผู่หยี


รูป 89 พระเจ้าผู่หยี

(น.74)
13. พระเจ้าผู่หยี (ค.ศ. 1909-1911) ชื่อรัชกาลว่า ซวนถ่ง จักรพรรดิองค์สุดท้าย


(น.75) รูป 90 ท้องพระโรงจำลอง


รูป 91 เดินต่อไปอีกอาคาร

(น.75) เรื่องราวของราชวงศ์ชิงเป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์จีนที่น่าศึกษา แต่ก็ลำบากเพราะเรื่องราวมากข้อมูลซับซ้อน และเป็นการยากที่จะประเมินการกระทำของบุคคลในประวัติศาสตร์ว่าใครดีใครไม่ดีอย่างที่ไกด์พูด ข้าพเจ้าอ่านหนังสืออื่นเขาก็มีความเห็นต่างออกไป

(น.88) ซิ่วเหยียน เครื่องหยกสมัยราชวงศ์ชิงหลายชิ้นใช้หยกอำเภอนี้เป็นวัตถุดิบ ปีกลายได้หยกมาก้อนหนึ่งสูง 7 เมตร กว้าง 6 เมตร ยาว 5 เมตร หนัก 300 ตัน ได้ขนไปไว้เมืองอันซาน ห่างจากนครเสิ่นหยาง 90 กิโลเมตร บางคนก็เห็นว่าควรจะเก็บไว้ในสภาพเดิมสร้างหลังคาคุมไว้ นายกพุทธสมาคมว่าน่าจะสลักพระพุทธรูป อีกเรื่องทางวัฒนธรรมได้แก่ เรื่องแม่นางเมิ่งเจียงหนู่ที่เจี๋ยสือ เวลานี้สำรวจทราบแล้วว่าพระเจ้าจิ๋นซีเคยเสด็จจริงๆเป็นสถาน ที่สวยงามมาก อีกหน่อยจะปรับปรุง หวังว่าครั้งหน้าคงจะได้มาอีก เดือนพฤษภาคมหรือกันยายน

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 2 เหลียวหนิง หน้า 113-115,121,123-124

(น.113) วังโบราณกู้กง เมื่อไปถึงก็ตรงเข้าไปที่ห้องรับรอง บรรยายสรุปว่าวังนี้เริ่มสร้างในราชวงศ์ชิงในปี ค.ศ.1625 พระเจ้าหนูเอ่อร์ฮาชื่อ พระเจ้าหวงไท่จี๋ ประทับที่วังนี้ พระเจ้าซุ่นจื้อประสูติที่นี่ อาคารในวังนี้มีประมาณ 400 กว่าหลัง เนื้อที่ประมาณ 63,000 กว่าตารางกิโลเมตร ส่วนประกอบแบ่งเป็น

(น.114) ส่วนตะวันออก ส่วนกลาง ส่วนตะวันตก ด้านตะวันออกสร้างตั้งแต่สมัยพระเจ้าหนูเอ่อร์ฮาชื่อ มีหลายตำหนัก เช่น ต้าเจิ้งเตี้ยน สือหวังถิง ส่วนกลาง สร้างสมัยพระเจ้าหวงไท่จี๋ เช่น หนานเชาฝาง ต้าชิงเหมิน ฉงเจิ้งเตี้ยน เหมือนกับพระตำหนักไท่เหอเตี้ยนที่

(น.115) ปักกิ่ง ส่วนด้านตะวันตกสร้างเมื่อราชวงศ์ชิงไปปักกิ่งแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยพระเจ้าคังซี เฉียนหลง เจียชิ่ง เต้ากวง เสด็จมาที่นี่ รวมกันแล้วประมาณ 10 ครั้ง เพื่อมาบูชาบรรพบุรุษ เมื่อแต่ละพระองค์เสด็จมาก็สร้างตำหนักใหม่ๆขึ้นมาอีก พระตำหนักว่าราชการมีหลายหลัง เช่น หย่างซินเตี้ยน มีห้องสำหรับสันทนาการ ห้องการศึกษา (ห้องทรงพระอักษร) แม้ว่าวังนี้จะไม่ใหญ่โตเท่าวังหลวงที่ปักกิ่ง แต่ก็ถือว่ามีความสำคัญเพราะเป็นของเก่าที่เก็บรักษามาจนทุกวันนี้ ลักษณะทางสถาปัตยกรรมก็ต่างจากของปักกิ่ง นอกจากนั้นยังเป็นพิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณที่ตกทอดกันมา ของที่เก็บไว้มีทั้งภาพเขียน เครื่องถ้วยชาม เครื่องสลักหยก อาวุธที่ใช้ในสมัยก่อน

(น.121) ชิงหนิงกง เป็นตำหนัก 5 ห้อง (เรียกเหมือนไทย) มีที่ทำพิธีศาสนาเรียกว่า ซ่าหม่านกง ข้าพเจ้างงอยู่นานว่ามันคืออะไร เขาบอกว่า (ลัทธิความเชื่อหลายอย่างปนกัน) มีหมอผีมานั่งทรงผีทำพิธี สักประเดี๋ยวพี่หวานจึงนึกออกว่าเหมือนกับที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Shaman คือหมอผีของศาสนาแถบเขาอูราลอัลไต จีนเขียนว่า ซ่าหม่านเจี้ยว ลัทธิเช่นนี้เป็นความเชื่อดั่งเดิมของพวกแมนจู จักรพรรดิราชวงศ์ชิงยังรักษาลัทธิอันเป็นวัฒนธรรมเดิมนี้ไว้ แม้ว่าได้เข้ามาอยู่ในดินแดนจีนและรับเอาความเชื่อลัทธิขงจื๊อเป็นหลักปฏิบัติในการปกครองแล้วก็ตาม (

น.123) ข้างในเป็นที่ประทับมี “คั่ง” เป็นเตียงไฟ 2 เตียง ข้าพเจ้าบอกเขาว่าอยากดู เพราะอ่านหนังสือเกี่ยวกับ “คั่ง” (หรือเตียงไฟ) มามาก อยากเห็นของจริง เจ้าหน้าที่จึงไปเอากุญแจมาไข แต่บอกว่าไม่ให้ใครเข้าไปมาก ในนั้นมียกพื้นขึ้นมาเป็นที่นอนมี 2 ด้าน คือ ด้านใต้รับแสงอาทิตย์สำหรับนอนหน้าหนาว ทิศเหนือหลบแดดฤดูร้อน ใต้เตียงและใต้พื้นมีช่อง สุมไฟภายนอก ความร้อนเข้ามาในห้องได้ เป็น heater โบราณ คั่งนี้คนจนก็มีใช้ คือใช้ไฟหุงต้มนั่นเองส่งความร้อนเข้าใต้เตียง

(น.124) พระตำหนักอีก 2 หลังอยู่ด้านซ้ายของพระตำหนักชิงหนิงกง เป็นพระสนมเอก 2 คนพี่น้อง ด้านหน้าตำหนักมีเสาไม้ บนยอดทำที่สำหรับวางของเซ่นไหว้ เรียกว่า สั่วหลุนเซวียน ศัพท์ว่าสั่วหลุนนี้ดั่งเดิมอาจเป็นภาษาแมนจู ของเซ่นไหว้ไกด์บอกว่าวางไว้ให้กากิน ถือว่าบรรพบุรุษเคยได้รับความช่วยเหลือจากกา ไกด์เล่าอีกเรื่องว่าคนแมนจูไม่กินม้าและไม่กินสุนัขเพราะมีบุญคุณ ม้าช่วยชีวิตจักรพรรดิไว้จนม้าตาย ส่วนสุนัขนั้นจักร- พรรดิถูกไฟไหม้รอบๆ สุนัขกระโดดลงน้ำและกลิ้งไปรอบๆดับไฟจนตัวเองเหนื่อยตาย อีกอย่างที่ไม่มีคือตรงเสารับชายหลังคา หัวเสาเป็นรูปมังกรทั้งตัว ลักษณะสถาปัตยกรรมดูจะได้อิทธิพลมองโกลหรือทิเบต หรืออิทธิพลทิเบตรับผ่านมองโกล

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า 29

(น.29) เทือกเขาฉางไป๋ซาน ยอดของภูเขาสูง 2,690 เมตร บนยอดมีทะเลสาบเทียนฉือ ปี ค.ศ. 1644 สมัยราชวงศ์ชิงเข้าสู่ภาคกลาง ก็สถาปนาภูเขานี้ให้เป็นเขาเทวดาที่เทิดทูนบูชา เพราะเป็นแหล่งกำเนิดชาติแมนจู จึงเป็นสถานที่อนุรักษ์มากกว่า 300 ปี เป็นป่าดงดิบมีพื้นที่มาก สหประชาชาติประกาศเป็นมรดกโลก เป็นแหล่งของแม่น้ำถูเหมิน ยาลู่ ซงฮัว เป็นแหล่งทรัพยากรมีชื่อคือ สัตว์ แร่ธาตุ ป่าไม้ พืชต่าง ๆ หน้าร้อนก็มีนักท่องเที่ยวมาชมทิวทัศน์กันมาก เวลานี้ติดหิมะขึ้นไปไม่ได้ ทะเลสาบน้ำลึกราว 350 เมตร น้ำในทะเลสาบดื่มได้ น้ำไหลออกมาไม่แห้งเลย นอกจากเทียนฉือใหญ่ ยังมีเทียนฉือน้อย น้ำจากเทียนฉือใหญ่ไหลลงเทียนฉือน้อย แต่ว่าน้ำเทียนฉือน้อยก็ไม่เต็มสักที มีเทพนิยายเกิดขึ้นหลายเรื่อง มีน้ำพุร้อน ที่ราบลุ่มแม่น้ำเพาะปลูกได้ดี ฉะนั้นแถบนี้จึงถือได้ว่าเป็นฉางข้าวของประเทศชาติ การเกษตร การพัฒนาอุตสาหกรรม การศึกษาและเทคโนโลยีเจริญดี

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า 84,89

(น.84) ราชวงศ์ชิง ปี ค.ศ. 1682 จักรพรรดิคังซีเสด็จมาจี๋หลิน เพราะต้นราชวงศ์อยู่ที่แม่น้ำซงฮัวและเขาฉางไป๋ จักรพรรดิทุกองค์ที่มาอีสาน ต้องมาทอดพระเนตรน้ำในแม่น้ำนี้ เครื่องแต่งตัวขุนนางสมัยพระเจ้าหวงไท่จี๋ ป้าย 3 ภาษา (จีน แมนจู มองโกล) อานม้า โกลนม้า สมัยพระเจ้าเฉียนหลง มีเครื่องแต่งกายขุนนางทั้งฝ่ายบู๊และบุ๋น เครื่องใช้ในกระโจมของอาลาซูเกีย ผู้บัญชาการทหารแมนจู ทั้งเสื้อผ้าและของอื่น ๆ ของเหล่านี้อายุประมาณ 90 ปี

(น.89) ภาพเขียนของติงกวนเผิง ช่างเขียนในราชสำนักราชวงศ์ชิง เป็นภาพในพุทธศาสนา มีลายพระหัตถ์พระเจ้าเฉียนหลงเขียนไว้ มีรูปเทพผู้ควบคุมกฎทางพุทธศาสนา ท้าวจตุโลกบาล พระโพธิสัตว์-กวนอิม 16 ปาง พระยูไล พระศากยมุนี พระมี่เล่อ (พระศรีอารย์) พระโพธิสัตว์มัญชุศรี พระโพธิสัตว์กษิติครรภ พระโผหมู่ เป็นพระผู้พิทักษ์เด็ก พระอรหันต์ต่าง ๆ มีพระอานนท์ เป็นต้น พระศาสดานิกายฉานจงหรือเสียมจงหรือฌานที่ญี่ปุ่นเรียกเซน พระมี่จงซึ่งเป็นพวกเทวดาในลัทธิวัชรยาน เทพที่ดูแลพระไตรปิฎก สุดท้ายบอกปีว่าเสร็จใน ค.ศ. 1767 ปีที่ 37 ในรัชกาลพระเจ้าเฉียนหลง วาดรูป 3 ปี นอกจากนั้นมีคัมภีร์ที่อยู่ในพระราชวังหลวงในปักกิ่ง พระเจ้าปูยีนำมาจากวัง ปัจจุบันได้มีการพิมพ์หนังสือนี้ และเขาให้ข้าพเจ้ามาด้วย

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า 138,145

(น.138) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์ของนิทรรศการทำเป็นรูปขยายของโบราณวัตถุ ชิ้นหนึ่งเป็นรูปม้า มีคนขี่ 2 คน (ข้าพเจ้าดูไม่ออกว่าเป็นรูปอะไร แต่ไกด์อธิบายเช่นนี้) เป็นสิ่งของในวัฒนธรรมอาณาจักรโป๋ไห่ 1,500 กว่าปีมาแล้ว ฝาผนังติดหินสลักที่นิยมติดใต้หน้าต่างบ้านเรือนในสมัยราชวงศ์ชิง 200 – 300 ปีมาแล้ว (ดูคล้าย ๆ กับหินทับหลังปราสาทแต่เล็กกว่า) มีลวดลายสลัก ของจริงอยู่ที่อำเภอหย่งจี๋ เริ่มต้นนิทรรศการมีภาพเขียนฝาผนังซึ่งได้แนวคิดมาจากภาพผนังที่เขียนในหลุมศพตั้งชื่อภาพนี้ว่า สดุดีแม่น้ำซงฮัว ในภาพมีเรื่องหินอุกกาบาตจนถึงภาพพระเจ้าคังซีเสด็จมาทอดพระเนตรอู่ต่อเรือและสักการะเขาฉางไป๋ซาน ในปี ค.ศ. 1682 เมื่อเสด็จแล้วได้ทอดพระเนตรทัศนียภาพที่งดงาม จึงเสด็จกลับมาอีกครั้งในปี 1698

(น.145) ในสมัยราชวงศ์หมิงพวกหนู่เจินเปลี่ยนชื่อเป็นหม่านโจว ในตู้มีสิ่งของต่างๆ ที่แสดงวัฒนธรรมของพวกหม่านโจว และราชวงศ์ชิง เช่น หนังสือสถาปนาของพระเจ้าเฉียนหลง ชุดแต่งกายหญิงแมนจู เครื่องประดับ หมวกข้าราชการชั้นที่ 1 รองเท้าอูลา (Wula shoes) ทำด้วยหนังวัว และมีหญ้าอูลา (เป็นชื่อภาษาแมนจู) ใส่ข้างในเพื่อป้องกันความหนาวเย็น

Next >>