Please wait...

<< Back

ราชวงศ์ชิง

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า 223,225-226,241

(น.223) แจกันสมัยราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง แจกันสำหรับปักไม้กวาดขนไก่ที่ใช้ปัดฝุ่น กระถางธูปทองเหลือง มีจารึกว่าเป็นของสมัยราชวงศ์หมิง ของใช้ของ –

(น.225) พวกชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ตะกร้า ตะเกียง หม้อ มีของตั้งประดับ เช่น ฉาก ภาพเขียนในกระจก เขามอที่ใช้ตั้งโต๊ะ ดาบเก่า ๆ ราว 70 ปีมาแล้ว ของที่กองทัพแดงใช้ อาวุธทหารม้า ดาบซามูไร อาวุธชนิดที่ใช้เล่นงิ้วและปืนต่าง ๆ ส่วนมากดาบกองทัพสมัยราชวงศ์ถังเป็นของปลอม ขวานทำด้วยไม้ มีปืนทุกยุค ส่วนใหญ่ปลอม ของจริงก็มีบ้าง ของจิปาถะมีถ้วยชาม เครื่องสนามกาชาด นาฬิกาตั้งโต๊ะ ตุ๊กตา กล่องอาหาร กระเช้า ของขวัญ กระป๋อง (สมัยใหม่) และขวดน้ำหวาน ขวดเหล้าทุก –

(น.226) ชนิด โปสเตอร์และปฏิทินต่าง ๆ เก็บเรียงไว้ตามปี หนังที่ทำเป็นเรื่องในยุคไหนก็เอาโปสเตอร์ปฏิทินปีนั้นติด ของพวกนี้ปัจจุบันหายากและแพงมาก แต่ก่อนแค่ 8 เฟิน เครื่องดนตรีต่าง ๆ เครื่องรับวิทยุแบบไหน ๆ ก็มี ทั้งของโซเวียตของอเมริกาหนังสือต่าง ๆ รูปพระทองเหลืองที่มีค่า 9 องค์ อายุ 500 กว่าปี ถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ เขาบอกว่ายังมีอีกมาก เช่น ชั้น 4 เป็นโคมไฟทั้งหมด ชั้น 5 เป็นพวกเครื่องเรือนขนาดใหญ่ ๆ ข้างล่างมีรถยนต์สมัยต่างๆ 40 กว่าชนิด เครื่องบิน 7 เครื่อง

(น.241) เรื่องประวัติศาสตร์สมัยก่อน ญี่ปุ่นยึดอยู่ฉางชุน ตั้งเป็นเมืองหลวงของแมนจูกัว แต่ว่าขณะนี้คนแมนจูก็กลืนกลายวัฒนธรรมเหมือนคนจีนซึ่งมีคนมากกว่า ไม่มีใครรู้ภาษาแมนจู ในชนบทจะยังมีเหลืออยู่หรือไม่ก็ไม่รู้ อาณาจักรของแมนจูทำให้ประเทศจีนกว้างใหญ่ ยุคที่รุ่งเรืองคือสมัยพระเจ้าคังซี หย่งเจิ้ง เฉียนหลง ซึ่งครองราชย์อยู่นาน ปลายราชวงศ์ชิงอ่อนแอ จักรวรรดินิยมจึงแย่งดินแดนไปได้ รัสเซียยึดแถบเฮยหลงเจียง อูซูหลี่เจียง ส่วนอังกฤษยึดฮ่องกง

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 9,39

(น.9) สมัยราชวงศ์ชิง พวกหนู่เจิน พวก 8 ธง มีแผนที่แบ่งเขตการปกครอง ของที่ขุนพลส่งไปจิ้มก้องจักรพรรดิ (คำว่า จิ้มก้อง ที่คนไทยชอบพูดมาจากคำว่า จิ้นก้ง ในภาษาจีน) คือ ตัวเตียว ตัวเตียวชนิดนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า Sable ใบอาญาสิทธิ์ของพระเจ้าหวงไท่จี๋ หมากรุกมองโกล มีตัวหมากรุกเล็กๆ ทาสี เสื้อผ้าหนังมองโกล รองเท้ามองโกล (ตอนที่ข้าพเจ้าไปมองโกเลียเขาให้รองเท้าแบบนี้) เสื้อคนเผ่าเอ้อหลุนชุน เป้หนังสัตว์ปักลาย ถุงมือชนิดไม่แยกนิ้ว ที่นี่อธิบายเอ้อหลุนชุนเป็นมองโกลเผ่าหนึ่ง เปลเด็กซึ่งห้อยติดกับม้าได้ ปืนสมัยราชวงศ์ชิง มีชื่อแปลว่า ขุนศึกเก่งกล้า ไม่มีใครรู้ว่าทำไมชื่อเช่นนั้น พบที่เมืองฉีฉีฮาเอ่อร์ สร้างปี ค.ศ.1685 เขาว่าปืนกระบอกนี้เคยยิงรัสเซีย

(น.39) ศาลเจ้าขงจื้อนี้ กล่าวว่ามีอายุประมาณ 60 ปี ใหญ่ที่สุดในอีสาน สถาปัตยกรรมแบบแมนจู สมัยราชวงศ์ชิง หนาวก็หนาว ไฟก็ดับ (ทั้งมืดและไม่มีเครื่องทำความอบอุ่น)

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 97-98,100,102-105

(น.97) ไปถึงที่ว่าการอำเภออ้ายฮุยปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ชิงเคยเป็นเมืองด่านชายแดนที่สำคัญด้านตะวันออกเฉียงเหนือ พวกแมนจูเรียกชื่อเมืองอ้ายฮุยว่า ซาฮาเลียนอูลาฮัวทง ในภาษาแมนจูคำว่า ซาฮาเลียน แปลว่า ดำ อูลา แปลว่า แม่น้ำฮัวทง แปลว่า เมือง รวมความแล้วแปลว่า เมืองแม่น้ำดำ ตรงกับความหมายคำว่าเมืองเฮยเหอในภาษาจีน เมืองอ้ายฮุยนอกจากเป็นเมืองด่านชายแดนแล้ว ยังมีความสำคัญทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ด้วย การศึกษาค้นคว้าทำให้ทราบว่าเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีผู้คนมาอาศัยอยู่นานแล้ว


(น.98) รูป 137 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เมืองอ้ายฮุยตั้งแต่สมัยโบราณ

(น.98) เข้าชมพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เมืองอ้ายฮุย ซึ่งแสดงความเป็นมาของเมืองนี้ในด้านต่างๆ เรื่องแรกที่ได้ชมกล่าวถึงรอบๆ บริเวณที่เคยเป็นที่บัญชาการของแม่ทัพเฮยหลงเจียงมาแต่ ค.ศ.1683 ในสมัยราชวงศ์ชิงนั้น มีมนุษย์ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่มาแต่ครั้งโบราณ ขุดค้นพบเครื่องมือหิน หัวลูกศร หัวธนู มีบันทึกประวัติศาสตร์ว่า หัวธนูพวกนี้เป็นบรรณาการส่งเข้าเมืองหลวงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว นอกจากนั้นได้กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดการปกครองและการทหารของเมืองอ้ายฮุยตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ยเหนือมาจนถึงสมัยราชวงศ์ชิง

(น.100) สมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1911) รวบรวมดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเฮยหลงเจียงเข้าด้วยกัน มีแม่ทัพแห่งอ้ายฮุยหรือแม่ทัพแห่งเฮยหลงเจียงมาอยู่ประจำการ ตั้งที่บัญชาการซึ่งขึ้นตรงต่อกองบัญชาการทหารที่จี๋หลิน แม่ทัพมีอำนาจบังคับบัญชาราชการทั้งบู๊ (การทหาร) และบุ๋น (การพลเรือน) ในตู้มีสิ่งของสมัยราชวงศ์จิน เช่น หัวไถ มีดตัดหญ้า ตราของที่ทำการเก่า นอกจากนั้นมีลายครามสมัยราชวงศ์ชิง ของพวกนี้ชาวบ้านบริจาคบ้าง ซื้อชาวบ้านมาบ้าง

(น.102) ตู้แสดงเครื่องหยก เครื่องประดับม้า แววหางนกยูงที่ข้าราชการสมัยราชวงศ์ชิงใช้แสดงลำดับยศ แผนที่แสดงสถานีม้าเร็วที่ใช้ในการคมนาคมสื่อสารสมัยโบราณ ตามสถานีจัดเป็นที่พักด้วย ของใช้ในบ้านมีถาด จานรองแก้ว รูปในหนังสือรัสเซียที่เขียนเกี่ยวกับภูมิภาคบริเวณนี้ ธนู หางทำด้วยขนห่าน หัวธนูเจาะรูที่หัว ยิงแล้วมีเสียงสัญญาณ ข่มขวัญข้าศึกได้ ดาบ ตราประจำตำแหน่ง รองเท้าสำหรับขึ้นเขาล่าสัตว์ของพวกเอ้อหลุนชุน เสื้อแมนจูธงแดง เรื่องต่อไปที่ได้ดูเป็นเรื่องการขยายดินแดนของรัสเซียมายังชายแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือของจีนเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ปัญหาชายแดนในบริเวณนี้เป็นเรื่องสำคัญ มีผลต่อทั้งความมั่นคงของประเทศและเศรษฐกิจในบริเวณชายแดน ราชวงศ์ชิงจึงให้ความสำคัญตลอดมา พยายามแก้ไขปัญหากระทบกระทั่งที่เกิดขึ้น แต่จะแก้ไขได้แค่ไหนขึ้นอยู่กับอำนาจทางการเมืองและประสิทธิภาพทางการปกครองของราชวงศ์ชิงเองด้วย ระหว่าง ค.ศ.1685-1686 ในสมัยพระเจ้าคังซีจีนได้ส่งกองทหารเข้าโจมตีเมือง Albazin เมืองด่านชายแดนของรัสเซียบนฝั่งแม่น้ำเฮยหลงเจียง ปัญหาชายแดนที่ยืดเยื้อนี้ยุติลงด้วย

(น.103) การเจรจาทำสนธิสัญญา Nerchinsk ค.ศ.1689 ผู้แทนฝ่ายรัสเซียที่เข้ามาเจรจาคือ นายพลคาบารอฟ (Khabarovsk) สนธิสัญญา Nerchinsk แม้จะทำให้จีนเสียดินแดนให้รัสเซียบ้างเล็กน้อย คือเมืองโป๋ลี่ของจีนตกเป็นของรัสเซีย กลายเป็นเมืองคาบารอฟ ตามชื่อนายพลที่เป็นผู้แทนเข้ามาเจรจา แต่ก็เป็นสนธิสัญญาที่จีนได้ทำกับรัสเซียอย่างเสมอภาค มีการเจรจาเส้นกั้นเขตแดนทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือให้แน่ชัด ตามสนธิสัญญานี้แม่น้ำเฮยหลงเจียงและเขตสันปันน้ำทั้งหมดเป็นของจีน นอกจากนั้นทั้งสองฝ่ายยังตกลงให้การค้าชายแดนดำเนินไปตามปกติด้วย ใน ค.ศ.1728 สมัยพระเจ้าหย่งเจิ้ง จีนกับรัสเซียได้ลงนามในสนธิสัญญา Kiakhta เพื่อแก้ไขข้อขัดแย้งเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยตามชายแดนที่นี่ การค้าแบบกองคาราวานในบริเวณนี้

(น.104)และการขุดค้นหาทองที่ภาคใต้ของไซบีเรีย ตามสนธิสัญญานี้ทั้งจีนและรัสเซียตกลงกันว่า แนวเขตแดนด้านตะวันออกเฉียงเหนือไปตามเส้นทางของแม่น้ำ Argun และแม่น้ำ Kiakhta ปัญหาข้อพิพาทเรื่องชายแดนได้ดำเนินต่อมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ชิงเสื่อมอำนาจลงเรื่อยๆ จึงต้องเสียดินแดนให้แก่รัสเซียไปเป็นจำนวนมาก รวมดินแดนที่เสียไปประมาณ 1 ล้านกว่าตารางกิโลเมตร ปี 1858 เซ็นสัญญาอ้ายฮุย เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม สัญญานี้ฝรั่งเรียกว่า Argun Peace Treaty ตัดพื้นที่จีนไป 600,000 กว่าตารางกิโลเมตร ต่อมาทำสนธิสัญญาปักกิ่งปี ค.ศ.1900 ตัดพื้นที่ไปอีก 400,000 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่นั้นมาแม่น้ำเฮยหลงเจียงก็กลายเป็นเส้นกำหนดชายแดนระหว่างจีนและรัสเซีย มีรูปรัสเซียมาทุบร้านของชาวบ้านแล้วก็ไป ปี ค.ศ.1900 นี้ทหารรัสเซียรุกเข้ามาในภาคอีสาน 3 มณฑล ตามแผนที่มีแมนจูเรีย จี๋หลิน ต้าเหลียน เทียนสิน เป็นช่วงที่เกิดกบฏนักมวย (Boxer Rebellion) ภาพวาดที่แสดงไว้เห็นการกวาดต้อนผู้คน ช่วงนั้นคนที่เกิดในดินแดนที่ตกเป็นของฝั่งรัสเซียมีอยู่ 64 หมู่บ้านที่ถูกตัดออกไป พวกที่หนีมาจีนบ้านเกิดนั้น บ้านช่องก็ถูกยึดไป เขาไปสัมภาษณ์คนที่เคยอยู่ทางฝั่งรัสเซียที่หนีมา แต่กว่าจะไปสัมภาษณ์พวกนี้ก็อายุมากแล้ว คนหนึ่งไปสัมภาษณ์เมื่อปี ค.ศ.1965 ที่อยู่ใหม่อยู่ที่ชานตุง อายุ 76 ปี ภาพประชาชนช่วยกันต่อต้านรัสเซีย ในปี ค.ศ.1900 นี้มีแม่ทัพเฮยหลงเจียง

(น.105)เป็นวีรชนเสียชีวิต เลนินประณามรัฐบาลสมัยพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ว่ารุกรานดินแดนจีน (แต่ไม่ยักคืนกลับให้จีน) มีรูปผู้บริหารเมืองเฮยเหอที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน เห็นรูปท่านนายกเทศมนตรีด้วย เลยชวนท่านมาถ่ายรูป จะเห็นได้ว่าปัญหาชายแดนระหว่างจีนและรัสเซียเป็นปัญหาที่ดำเนินมานาน 2-3 ศตวรรษ โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นั้นได้กระทบถึงชีวิตของผู้คนในชายแดน การสูญเสียดินแดนเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ชาวจีนไม่ลืมเลือน และได้บันทึกให้ชนรุ่นหลังได้รับรู้เป็นบทเรียนสืบต่อๆ กันมา

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 5 ภาคผนวก หน้า 14,25-27,31-49

(น.14)
ราชวงศ์หยวน ก่อตั้งอาณาจักร ค.ศ. 1206
ผนวกราชวงศ์เซี่ยตะวันตก ค.ศ. 1227
ผนวกราชวงศ์จิน ค.ศ. 1234
ตั้งนามราชวงศ์ว่าหยวน ค.ศ. 1271
ผนวกราชวงศ์ซ่งใต้ ค.ศ. 1279
15. ราชวงศ์หยวน ค.ศ. 1279 – 1368
16. ราชวงศ์หมิง ค.ศ. 1368 – 1644
17. ราชวงศ์ชิง ค.ศ. 1644 – 1911
18. สาธารณรัฐ ค.ศ. 1912 – 1949
19. สาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. 1949 – ปัจจุบัน

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 5 ภาคผนวก หน้า 19-21

(น.19) เตี้ยวหยูว์ไถ
เตี้ยวหยูว์ไถเป็นชื่อหมู่เรือนรับรองแขกบ้านแขกเมืองของรัฐบาลจีน ตั้งอยู่ในบริเวณอันกว้างขวางของพระราชอุทยานเตี้ยวหยูว์ไถ มีพื้นที่ถึง 420,000 ตารางเมตร (ประมาณ 262.5 ไร่) พระราชอุทยานนี้มีทิวทัศน์งดงามเป็นที่เลื่องชื่อในนครปักกิ่ง และมีความเป็นมาที่ยาวนานถึง 800 กว่าปี ในสมัยก่อนเป็นที่พักผ่อนสำราญพระราชอิริยาบถขององค์พระจักรพรรดิ มีตำหนักที่ประทับซึ่งเรียกกันว่าเตี้ยวหยูว์ไถเช่นกัน ในปี ค.ศ. 1959 รัฐบาลจีนได้ก่อสร้างปรับปรุงตกแต่งพระราชอุทยานนี้ให้เป็นเรือนรับรองสำหรับแขกบ้านแขกเมือง และได้ใช้เป็นเรือนรับรองของทางการสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

(น.20) หมู่เรือนรับรองที่สร้างขึ้นมี 15 หลัง เรียงรายไปตามรอบทะเลสาบ ที่มีพื้นที่ถึง 50,000 กว่าตารางเมตร แต่ละหลังมีลักษณะสถาปัตยกรรมแตกต่างกันไป แต่ก็สร้างได้อย่างประณีตสอดคล้องกลมกลืนกับพระตำหนักเตี้ยวหยูว์ไถเดิมในท่ามกลางทิวทัศน์อันงามตระการ มีสายน้ำซีซานไหลผ่านยู่ว์หยวนถานคดเคี้ยวไปตามศาลาและสะพานหินต่างๆ นอกจากนั้น ในบริเวณเตี้ยวหยูว์ไถยังมีสโมสร ร้านขายของที่ระลึก ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข ห้องถ่ายเอกสาร ห้องส่ง

(น.21) โทรเลข ห้องแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สถานีบริการรถแท็กซี่ ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่แขกบ้านแขกเมืองที่มาพัก ในด้านอาหารก็มีรสชาติอร่อย เป็นอาหารชั้นเลิศจากกุ๊กฝีมือเยี่ยม ที่มีความสามารถประกอบอาหาร สำหรับงานเลี้ยงแบบต่าง ๆ ทั้งอาหารจีน อาหารฝรั่ง อาหารในราชสำนัก และอาหารพื้นถิ่นของภูมิภาคต่าง ๆ ปัจจุบันพระตำหนักเตี้ยวหยูว์ไถที่ตั้งอยู่ท่ามกลางหมู่เรือนรับรอง ยังคงรักษารูปแบบเดิมในสมัยพระจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิงไว้อย่างครบถ้วน เช่น มีเรือนหย่างหยวน ภายในเรือนหลังนี้มีทางเดินได้โดยรอบ มีหินซ้อนกันเป็นรูปภูเขา ข้างหน้าเรือนมีธารน้ำไหลผ่านไปรวมตัวกันเป็นสระที่สวยงาม หรือหอชิงลู่ก็ตั้งอยู่ในบริเวณที่งดงามเขียวขจีด้วยต้นสนและไผ่ใบเขียว ส่วนศาลาเซียวปี้ก็มีสถาปัตยกรรมอันวิจิตร สระของศาลานี้เป็นที่พักผ่อนตกปลา สอดคล้องกับชื่อ “เตี้ยวหยูว์ไถ” ที่มีความหมายว่า “บริเวณที่ยกพื้นขึ้นสำหรับตกปลา” (เตี้ยว (釣) = ตกปลา, ตกเบ็ด, หยูว์ (魚) = ปลา, ไถ (台) = เวที, ยกพื้น, พลับพลา)

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 5 ภาคผนวก หน้า 25

(น.25) สุสานของพระจักรพรรดิและจักรพรรดินีแห่งราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644 - 1911)

สุสานของพระจักรพรรดิ จักรพรรดินีและพระสนมแห่งราชวงศ์ชิง จัดแบ่งเป็นหมู่สุสานได้ 4 แห่ง แต่ละแห่งประกอบด้วยสุสานหลายสุสาน หมู่สุสานทั้ง 4 แห่งมีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้
1. สุสานหย่งหลิง ปัจจุบันอยู่ในอำเภอปกครองตนเองซินปินของชนชาติแมนจูในมณฑลเหลียวหนิง ณ ที่นี้มีสุสานจาวหลิง ซิงหลิง จิ่งหลิง และเซี่ยนหลิง สุสานเหล่านี้เป็นที่ฝังพระศพของพระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ที่เป็นบรรพบุรุษของพวกราชวงศ์ชิง ก่อนสมัยพระเจ้าหนูเอ่อร์ฮาชื่อหรือพระจักรพรรดิชิงไท่จู่


(น.26) รูป

(น.26)
2. สุสานฝูหลิง หรือที่เรียกว่าโดยทั่วไปในอีกชื่อหนึ่งว่า ตงหลิง เป็นที่ฝังพระศพของพระเจ้าหนูเอ่อร์ฮาชื่อ สุสานจาวหลิง หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปในอีกชื่อหนึ่งว่า เป่ยหลิง เป็นที่ฝังพระศพของพระเจ้าหวงไท่จี๋หรือพระจักรพรรดิชิงไท่จง สุสานฝูหลิงและจาวหลิงปัจจุบันอยู่ใกล้ ๆ กับเมืองเสิ่นหยางในมณฑลเหลียวหนิง
3. สุสานตงหลิง ปัจจุบันอยู่ในบริเวณอำเภอจุนฮวา ในมณฑลเหอเป่ย นอกเมืองปักกิ่งไปทางตะวันออก ณ ที่นี้มีสุสานเสี้ยวหลิงของพระจักรพรรดิซุ่นจื้อ สุสานจิ่งหลิงของพระจักรพรรดิคังซี สุสานยู่ว์หลิงของจักรพรรดิเฉียนหลง สุสานติ้งหลิงของพระจักรพรรดิเสียนเฟิง สุสานหุ้ยหลิงและสุสานจาวซีหลิงของพระจักรพรรดินีในพระจักรพรรดิชิงไท่จง (พระเจ้าหวงไท่จี๋) นอกจากนั้นยังมีสุสานอื่น ๆ อีกหลายสุสานของพระสนมต่าง ๆ ในพระจักรพรรดิราชวงศ์ชิง สุสานตงหลิงมีอาณาบริเวณกว้างขวาง เป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งของจีนที่ได้รับการอนุรักษ์เป็นพิเศษ


(น.27) รูป

(น.27)
4. สุสานซีหลิง ปัจจุบันอยู่ในบริเวณอำเภอยี่ ในมณฑลเหอเป่ย ณ ที่นี้มีสุสานไท่หลิงของพระจักรพรรดิหย่งเจิ้ง สุสานชางหลิงของพระจักรพรรดิเจียชิ่ง สุสานมู่หลิงของพระจักรพรรดิเต้ากวง สุสานช่งหลิงของพระจักรพรรดิกวงซู่ นอกจากนั้นยังมีสุสานของพระสนมอื่น ๆ สุสานซีหลิงมีพื้นที่กว้างขวาง เป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งของจีนที่ได้รับการอนุรักษ์เป็นพิเศษ ค้นคว้าเรียบเรียงจาก “漢語大詞典” (ศัพทานุกรมภาษาจีนฉบับสมบูรณ์) เล่ม 5 หน้า 1313 หมายเหตุ คำว่า “ซีหลิง” แปลว่า “สุสานตะวันตก” นอกจากสุสานซีหลิงของราชวงศ์ชิงแล้ว ยังมีสุสานซีหลิงของพระจักรพรรดิเว่ยหวู่ตี้ในสมัยสามก๊ก ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอหลินจาง ในมณฑลเหอหนาน ด้วยเหตุนี้ คำว่า ตงหลิง ซีหลิง ที่ใช้กันนั้น จึงต้องพิจารณาว่าหมายถึง ตงหลิง ซีหลิง ณ ที่ใด ในสมัยไหน

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 5 ภาคผนวก หน้า 31-45

(น.31) ระบบปาฉีหรือระบบกองธงทั้งแปด
ระบบปาฉีเป็นการจัดระเบียบสังคมและการปกครองของชาวแมนจู ที่มีพื้นฐานมาจากระบบหนิวลู่ อันเป็นระบบควบคุมทางสังคมที่ชาวแมนจูใช้กันมาตั้งแต่สมัยที่อยู่กันเป็นชนเผ่า ชาวแมนจูเดิมเรียกว่า ชาวหนี่เจิน ในสมัยโบราณเวลาออกรบหรือล่าสัตว์ ชาวหนี่เจินจะรวมตัวกันจัดตั้งเป็นหมวดหมู่โดยอาศัยตระกูลหรือหมู่บ้านเป็นเกณฑ์ แบ่ง 10 คนเป็น 1 หนิวลู่


(น.32) รูป

(น.32) มีหัวหน้า 1 คน เรียกว่า หนิวลู่เอ๋อเจิน คำว่า “หนิวลู่” เป็นภาษาแมนจู แปลว่า “ลูกศร” ส่วนคำว่า “เอ๋อเจิน” เป็นภาษาแมนจูเช่นกัน ความหมายดั้งเดิมแปลว่า “เจ้าของ” ต่อมาขยายความแปลว่า “เจ้านาย” รวมความแล้วคำว่า “หนิวลู่เอ๋อเจิน” แปลว่า “เจ้าแห่งลูกศร” ในช่วงครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นช่วงที่ชาวหนี่เจินก่อร่างสร้างชาติ ในช่วงเวลาดังกล่าว เมื่อ ค.ศ. 1601 พระเจ้าหนูเอ่อร์ฮาชื่อ (ค.ศ. 1616 – 1626) ซึ่งเป็นผู้วางรากฐานและก่อตั้งอาณาจักรแมนจู ได้จัดตั้งระบบกองธงขึ้นบนพื้นฐานของระบบหนิวลู่ ตามระบบกองธงที่จัดตั้งขึ้นกำหนดให้ชาวหนี่เจินที่อยู่ในวัยฉกรรจ์ทุกคนต้องอยู่ในสังกัด และมีการควบคุมเป็นระดับลดหลั่นกันเป็นลำดับดังนี้


(น.33) รูป

Next >>