Please wait...

<< Back

กวางโจว

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 283,284,288

(น.283) เมืองนี้มีชื่อเสียงในด้านการชลประทาน และได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการเกษตร “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” เนื่องจากมีภูมิอากาศที่อบอุ่น ฝนตกชุก ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญคือข้าว น้ำตาล ปลา ที่มีมากจนส่งไปขายเมืองอื่นได้ ตั้งแต่จีนดำเนินนโยบายเปิดประเทศ จงซานได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆ จนเริ่มมีสภาพเป็นเมืองอุตสาหกรรมขนาดกลาง มีการส่งเสริมการค้าพาณิชย์กว้างขวางขึ้น มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกว่า 3,000 ราย นำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ในการผลิต และสามารถส่งสินค้ากว่า 140 ชนิดไปขายยังต่างประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นเมืองท่องเที่ยว เพราะอยู่ใกล้กวางโจว ฮ่องกง และมาเก๊า ที่พิพิธภัณฑ์บ้านเกิด ดร. ซุนยัดเซ็น มีหัวหน้าพิพิธภัณฑ์ และรองนายกเทศมนตรีต้อนรับ ดูภายในบ้าน


(น.283) รูป 224 ห้องต่างๆ ในบ้าน

(น.284) ดร. ซุนยัดเซ็น เดิมชื่อซุนอี้เซียน (ภาษากวางตุ้งอ่านออกเสียงว่า ซุนยัดเซ็น) เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ.1866 ที่หมู่บ้านซุ่ยเฮิง อำเภอเซียงซาน (ชื่อสมัยนั้น) มณฑลกวางตุ้ง ได้ไปศึกษาที่ฮาวาย กวางโจว และศึกษาวิชาแพทย์ที่ฮ่องกง แล้วได้ดำเนินบทบาททางการเมืองเป็นนักปฏิวัติต่อต้านราชวงศ์ชิง และเป็นผู้นำในการปฏิวัติชิงไห่ ค.ศ. 1911 ขบวนการประชาธิปไตยของเขาได้รับการสนับสนุนจากพวกคนจีนโพ้นทะเลจำนวนมาก และจากรัสเซีย ต่อมาเขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีของจีน เสียชีวิตใน ค.ศ. 1925 ด้วยโรคมะเร็ง ใน ค.ศ. 1927 เจียงไคเช็ค เป็นหัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋งต่อ ไกด์กล่าวว่าเขาได้ปฏิบัติแตกต่างจากแนวคิดของ ดร. ซุน

(น.288) หลังจากเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแล้ว จูไห่ได้รับการพัฒนาเป็นเมืองการค้า อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว มีศักยภาพทางการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และการประมง มีความสำคัญทางการค้าระหว่างประเทศ รัฐบาลจีนลงทุนทางด้านการคมนาคมขนส่ง มีท่าเรือน้ำลึกสามารถรับเรือที่มีระวาง 10,000 ตันได้ มีท่าอากาศยาน มีโครงการสร้างทางรถไฟระหว่างจูไห่และกวางโจว เพื่อรองรับการขยายตัวด้านการค้าและการท่องเที่ยว ขณะนี้เดินทางไปกวางโจวใช้เวลาสองชั่วโมงครึ่ง ฐานะของประชาชนดีขึ้นทุกหมู่เหล่า มีการศึกษาดีขึ้น มีโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยม ตั้งแต่ ค.ศ. 1990 จัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี อีก 2 ปีจะบังคับ 12 ปี ปัจจุบันเน้นเรื่องการพัฒนาการศึกษา และจะสร้างมหาวิทยาลัย ถือว่าความเจริญของจูไห่ เกิดจากวิสัยทัศน์ของนายเติ้งเสี่ยวผิง ถ้าไม่เปิดประเทศเช่นนี้ก็จะไม่ก้าวหน้า

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 299

(น.299) ช่วยด้านทุนจัดหาหนังสือ และช่วยหาครู (โครงการ 3 ปี) นอกจากภาษาไทยแล้ว จะสอนเกี่ยวกับวัฒนธรรมและด้านสังคมวิทยาด้วย ทั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความหมายมาก เพราะว่าการที่ฮ่องกงกลับเป็นส่วนหนึ่งของจีนนั้น เพื่อนบ้านและมิตรประเทศของจีนมีบทบาทต่อฮ่องกงมากขึ้น การศึกษาเช่นนี้จะช่วยเป็นสะพานเชื่อมความเข้าใจกันระหว่างประเทศในเอเชีย ส่วน ดร. มาร์ติน กล่าวเสริมว่าที่ต้องเปิดสอนภาษาไทยก่อนมีอีกเหตุผลหนึ่งคือ ในโครงการสถาบันภาษาของเขายังไม่มีการสอนภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลย ในประเทศจีนก็มีไม่กี่มหาวิทยาลัยที่สอนภาษาไทย คือมีที่ปักกิ่ง กวางโจว และยูนนานเท่านั้น กล่าวเสร็จแล้วเขาให้ข้าพเจ้าตัดริบบิ้น บริจาคหนังสือ ต่อไปคิดว่าจะบริจาคเพิ่มขึ้น

แกะรอยโสม
แกะรอยโสม หน้า 101

(น.101) ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ถึงตอนนี้ข้าพเจ้าก็ไม่รู้เรื่องเลย เพราะเป็นงานวิจัยที่เฉพาะมาก ข้าพเจ้าไม่ได้เรียนมาทางนี้ และไม่เคยเห็นเลยเสียด้วยซ้ำ แต่ก็ดีเหมือนกันต่อไปไปเห็นที่ไหนก็ทราบแล้วว่าคืออะไร เช่น Photochemical Smog Chamber อุปกรณ์ศึกษาอัตราการผุกร่อนของธาตุต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการ กำหนดมาตรฐานของชาติ “อุโมงค์ลม” ที่ใหญ่ที่สุดในจีน สำหรับ simulate ฟังค์ชั่นของมลภาวะในอากาศ อันก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในบรรยากาศ โมเดลแบบนี้จะช่วยย่นเวลาในการออกไปเก็บข้อมูลจริงในสนามได้ เป็นประโยชน์ในงานต่างๆ หลายอย่าง เช่น การวางผังเมือง การวางแผนในการสร้างสถานีกำเนิดไฟฟ้า ตัวอย่างเช่นโครงการที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง แถวๆ กวางโจวจะมีโครงการสถานีกำเนิดไฟฟ้าพลังถ่านหิน จะกำหนดได้ว่าปล่องไฟควรจะมีขนาดสูงหรือใหญ่เพียงใด เครื่องมือนี้จะช่วยในการวิเคราะห์ชั้นบรรยากาศ ทิศทางลมเป็นต้น มีการเก็บตัวอย่างอากาศ และการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า 241

(น.241) หน้าร้อนนั่งเรือในทะเลสาบเซียงหูได้ มีนกมาก มีคนเกาหลีใต้มามาก นอกนั้นมีคนญี่ปุ่น รัสเซีย ฮ่องกง ไต้หวัน ประเทศตะวันตกมีน้อย โรงสร้างรถยนต์ที่นี่ร่วมทุนกับเยอรมนี ก็มีคนเยอรมนีมามาก แต่ก่อนมีคนน้อย เพราะเครื่องบินต้องลงปักกิ่งก่อน ปัจจุบันจากฮ่องกงเดินทางได้ตรง รัสเซียก็ไปได้ พยายามเปิดสายการบินไปญี่ปุ่นแต่ยังไม่สำเร็จ จากไทยขณะนี้ไปได้ 3 ทาง คือผ่านฮ่องกง ปักกิ่ง และกวางโจว

"ไอรัก" คืออะไร?
"ไอรัก" คืออะไร?หน้า4

(น.4) จากสนามบินเราจะไปที่ป่ามี่หยุนเลย ฉะนั้นรัฐมนตรีช่วยสูตุนซิ่นกับภริยาจึงส่งแค่ที่สนามบิน มาดามเซี่ยเป็นคนนั่งไปกับข้าพเจ้า คุณหลิวจื่อเจี้ยเป็นล่าม เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยคือคุณหลี่ฟ่งจุนเหมือนปีที่แล้ว มาดามเซี่ยอยู่เมืองไทยมา 3 ปี เพิ่งกลับมาได้ 4 เดือน เขาเคยอยู่ที่กัมพูชาระหว่างปี 1959-1963 เลยรู้จักใครต่อใครในเมืองไทยและเมืองเขมรมาก คุณหลิวนั้นเคยเรียนภาษาไทยที่กวางโจวและมาเรียนจุฬาฯ ปีหนึ่ง ข้าพเจ้าเคยรู้จักเขาเมื่อเขาทำงานอยู่ที่สถานกงสุลจีนที่เชียงใหม่ (คุณก่วนมู่มาแต่นั่งรถคันอื่น ส่วนพี่อู๋หุ้ยชิงกำลังเรียนภาษาอังกฤษ)