Please wait...

<< Back

ฝูเจี้ยน



(น.72) รูป

เยือนจีนถิ่นโพ้นทะเล หน้า 82

(น.82) เดินลงมาฝ่าถัง เป็นหอธรรมะ เป็นที่เทศน์ และพระใหม่มารับศีล (บวช?) ภายในมีป้าย 3 ป้าย มีป้ายที่กล่าวถึงพี่น้อง 2 คน ที่มาบริจาคเงินบำรุงวัด คือ ชิงหลง เป็นผู้บัญชาการทหารที่ฝูโจว และชิงเป่า เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดไต้หวัน ซึ่งขึ้นกับมณฑลฝูเจี้ยนในสมัยราชวงศ์ชิง

เยือนจีนถิ่นโพ้นทะเล หน้า 140-142

(น.140) 2. หอประวัติเจิ้งเฉิงกง (Xiamen Zheng Chenggong Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ ก่อตั้งใน ค.ศ. 1962 เพื่อฉลอง 300 ปี ของการที่เจิ้งเฉิงกงตีไต้หวันคืนมาได้จากฮอลแลนด์ เดิมเป็นคฤหาสน์ของชาวจีนที่อพยพกลับมาจากเวียดนาม จึงมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมและการตกแต่งแบบฝรั่งเศส (ไกด์อธิบายว่าอย่างนี้ ตัวข้าพเจ้าเองแยกไม่ออกว่าอาคารยุค colonial หรือ imperial แบบไหนเป็นแบบฝรั่งเศส แบบไหนเป็นเยอรมัน ฯลฯ เห็นจะต้องไปถามคนอื่น) ปีนี้เป็นปีที่ดำเนินการพิพิธภัณฑ์มาได้ครบ 40 ปี (ค.ศ. 2002) จึงคิดที่จะปรับปรุงภายในบางส่วน


(น.140) รูป

(น.141) เป็นอาคาร 3 ชั้น ชั้นล่างเป็นห้องประชุมเล็กๆ ใช้ในการบรรยาย ไกด์ (ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์) เล่าประวัติเจิ้งเฉิงกงว่า เป็นคนที่มีชื่อเสียงสมัยปลายราชวงศ์หมิงต่อต้นราชวงศ์ชิง บิดาเป็นพ่อค้าที่ค้าขายกับต่างประเทศ คือฮอลแลนด์กับโปรตุเกส มารดาเป็นชาวญี่ปุ่นเมือง Hirado บนเกาะคิวชู เป็นเมืองที่ญี่ปุ่นในสมัยปิดประเทศอนุญาตให้พ่อค้าจีนมาค้าขายได้ เจิ้งเฉิงกงเกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1624 ที่ญี่ปุ่น อยู่ที่นี่จนอายุ 7 ปี จึงกลับมาเรียนหนังสือที่เมืองจีน สอบเข้ารับราชการได้ ปฏิบัติงานดีเด่นในการรบกับแมนจูเพื่อฟื้นฟูราชวงศ์หมิง ตั้งชื่อเมืองเซี่ยเหมินเสียใหม่ว่า ซือหมิงโจว (ซือหมิง แปลว่า คิดถึงหมิง โจว แปลว่า เมือง) ความจงรักภักดีนี้ทำให้จักรพรรดิหมิงหลงอู่ซาบซึ้งในคุณงามความดี ให้เป็นผู้อาวุโสที่ใช้แซ่ของประเทศ ให้ใช้แซ่จู ซึ่งเป็นแซ่ราชวงศ์หมิงได้ เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติ ใน ค.ศ. 1624 ฮอลแลนด์ยึดเกาะไต้หวันได้ 38 ปีให้หลังทหารฮกเกี้ยนไปรบ 9 เดือน ไล่พวกดัตช์ออกไปได้ ขึ้นไปดูนิทรรศการที่ชั้น 2 เล่าประวัติศาสนาและประวัติของเจิ้งเฉิงกงตั้งแต่เกิดที่ญี่ปุ่นกลับมาอยู่ที่อำเภอหนานอาน มณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) บางตำราว่าเกิดที่หนานอาน ไปศึกษาที่หนานจิง สิ้นราชวงศ์หมิงจึงกลับมาที่บ้านเกิด มีเรื่องการรบกับแมนจู ใช้กำลังทหารที่ฝึกพิเศษ เรียกว่า กองทหารเถี่ยเหรินจวิน (กองทหารมนุษย์เหล็ก) เนื่องจากสวมเกราะเหล็กไปรบกับทหารม้าของพวกแมนจู และเป็นพวกที่รบเก่งมาก มีตราของนายทหารแสดงไว้ให้ดูด้วย พร้อมกับเล่าถึงการประกาศกฎหมายท้องถิ่น รายได้ที่นำมาใช้ในการรบมาจากการค้าขายกับต่างประเทศ ทางเหนือไปค้าที่ญี่ปุ่น ทางใต้ไปถึงอินโดนีเซีย เคยค้าขายกับสยามซื้อเสบียงอาหาร เพื่อให้การค้ากับต่างประเทศทำได้สะดวกคล่องตัว จึงทำเงินเหรียญใช้เอง จึงใช้แต่เหรียญทองแดง เจิ้งเฉิงกงทำเหรียญเงินใช้ด้วย เจิ้งเฉิงกงเคยยกกองทัพไปรุกถึงหนานจิง (นานกิง) 3 ครั้ง แต่ไม่สามารถตีได้


(น.142) รูป

(น.142) ขึ้นไปชั้นที่ 3 มีภาพดาวเทียมของเกาะไต้หวัน ซึ่งคนไต้หวันส่งมาให้ แสดงวัตถุโบราณต่างๆ เรื่องประวัติมณฑลฮกเกี้ยน รูปจำลองเรือที่ใช้สมัยเจิ้งเฉิงกง เป็นเรือรบมีรูปตาเขียนไว้ข้างๆ เรือด้านหน้า อธิบายว่าเป็นดวงตาของเทพธิดาหมาจู่ สถานที่ต่อเรือสมัยนั้นอยู่ตงซานในมณฑลฝูเจี้ยน มีปืนใหญ่โบราณ มีบันทึกเกี่ยวกับการเดินทางไปไต้หวันว่า ออกจากเซี่ยเหมินวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1661 ถึงไต้หวันวันที่ 29 บริเวณที่เรียกว่า ลู่เอ่อร์เหมิน เป็นช่องแคบที่พวกดัตช์คิดว่าเป็นที่น้ำตื้น ปรากฏว่าเวลาน้ำขึ้น เรือของจีนแล่นเข้าไปได้

เยือนจีนถิ่นโพ้นทะเล หน้า 165

อาคารเจี้ยถาน ดูเหมือนจะเป็นที่ประกอบพิธีอุปสมบท (พิธีรับศีล) มีพระพุทธรูปตั้งอยู่เป็นชั้นๆ 5 ระดับ ซึ่งพระอธิบายว่าเป็นศีล 5 ขั้น มีเฟยเทียนเหมือนกัน ในมือถือเครื่องดนตรีโบราณของฝูเจี้ยน สร้าง ค.ศ. 1019 ซ่อมใน ค.ศ. 1666

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 181

(น.181) ไปที่ตึกภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เมื่อเข้าไปเห็นรูปศาสตราจารย์เฉิน (รองอธิการกำลังถือต้นพิทูเนียที่ผสมใหม่ให้ประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมิน) รองหัวหน้าภาควิชาชื่อ ดร. กู้หงยา มาต้อนรับ นำขึ้นไปที่ห้องประชุมบรรยายสรุปเรื่องการทำงาน ฟังไม่ค่อยทัน ขอเอกสารก็บอกว่ายังไม่ได้พิมพ์ ที่จริงน่าจะขอให้เขาช่วย print เอกสารเท่าที่เขาแสดงใน powerpoint เอาเป็นว่าภาควิชาได้ทำการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ และมีการวิจัยของภาควิชาเอง การวิจัยบางอย่างก็ร่วมกับภาคเอกชน เช่น มีการปลูกถ่ายยีนที่ป้องกันโรคได้และทำให้มีผลผลิตสูงขึ้นในข้าว มีการปลูกถ่ายยีนป้องกันเชื้อไวรัส CMV ในพริกลูกใหญ่ เป็นการเพิ่มผลผลิต การทดลองภาคสนามทำที่เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ และในมณฑลยูนนาน

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 4

(น.4) ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าเดินทางไปประเทศจีนก็จะเขียนบันทึกประสบการณ์เพื่อเล่าสู่มิตรสหายญาติพี่น้อง และทุกครั้งที่ประสบปัญหาเรื่องการถ่ายทอดเสียงอ่าน เนื่องจากหลายเสียงที่ใช้ภาษาจีนไม่มีใช้ในภาษาไทย จึงไม่สามารถถ่ายทอดออกมาได้ นอกจากพยายามเขียนให้ใกล้เคียงที่สุด คำไหนที่คนไทยรู้จักดีอยู่แล้ว เช่น จะเขียนว่า ปักกิ่ง ไม่เขียนว่า เป่ยจิง ใช้คำว่า ฮกเกี้ยน ไม่ใช้ ฝูเจี้ยน อีกตัวอย่างหนึ่ง