Please wait...

<< Back

ยูนนาน


(น.184) รูป 201 การเพาะเนื้อเยื่อ
Tissue culture.

(น.184) การศึกษาเรื่องโรคข้าว การตัดยีนที่เป็นโรคออก สร้างพันธุ์ดี มีพันธุ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่ได้ปล่อยออกสู่ท้องตลาดเผยแพร่ให้ประชาชน เพราะต้องระมัดระวังมาก ขณะนี้ทดลองในแปลงเล็กๆ ที่มณฑลยูนนาน ทำงานด้านการถอดรหัสพันธุกรรมพืช ทำ DNA sequencing ศึกษาส่วนที่เป็นปัญหาในแต่ละพันธุ์ การทดลองด้านนี้ใช้พืชขนาดเล็กชนิดหนึ่งเรียกว่า Arabidopsis thaliana โตเร็ว เป็นพืชล้มลุก วงจรชีวิตสั้น ทำให้ประหยัดเวลา พืชชนิดนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่มีราคา ไม่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ การปลูกถ่าย tissue การศึกษาพืชด้วยการใช้รังสีช่วงคลื่นแสงที่ต่างกัน พืชแต่ละชนิดมี light signal ต่างกัน

(น.185) การศึกษาเรื่องยาสมุนไพรจีน เช่น เทียนฮวาเฝิ่น เป็นรากของต้นกัวโหลว เอามาหั่นเป็นแว่นๆ แล้วเอามาทำยา เป็นสมุนไพรจีนที่ใช้กันมาแต่โบราณ ใช้รักษาเชื้อ HIV ได้ ขณะนี้ยังมีผลข้างเคียงคือ ทำให้ผู้ป่วยมีไข้สูง กำลังแก้ปัญหา ต้นเทียนหมา (Gastrodia elata) เป็นยาระงับประสาท (Tranquilizer) มีมากที่มณฑลยูนนานและมณฑลเสฉวน มีสรรพคุณบำรุงสมอง แก้ปวดศีรษะ ลงไปชั้นล่างของอาคาร มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ที่ต้องทำห้องใต้ดินเพราะว่าบริเวณนี้เป็นเขตอนุรักษ์ไม่อนุญาตให้สร้างอาคารสูง มีเครื่องมือวิจัย เช่น เครื่องแยก DNA อัตโนมัติ (Biomek 2000) ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ มีห้อง lab ที่ให้นักศึกษามาใช้ศึกษา DNA ยีน ห้อง lab ที่ทำเรื่อง gene transformation ศึกษาพืช Arabidopsis thaliana ซึ่งมียีนที่มีลักษณะซ้ำกัน ใช้ในการศึกษาเรื่องการกลายพันธุ์ได้ เขาศึกษาหน้าที่ของยีนต่างๆ มีการเลี้ยงพืชชนิดนี้ไว้มากมาย ทำ lab ด้าน DNA sequencing lab การเพาะเนื้อเยื่อ ศึกษาเรื่องจีโนมของข้าว ผลิตข้าวพันธุ์ที่มีคุณสมบัติต้านทานโรค เมื่อพืชออกจากห้อง lab แล้วเอาไปปลูกใน greenhouse และนำลงไปแปลงทางภาคใต้ของจีนในภายหลัง ห้อง lab เหล่านี้ควบคุมอุณหภูมิ (22◦c) ควบคุมแสงและควบคุมความชื้น

มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 11

(น.11) ได้พูดคุยกันต่อถึงเรื่องเส้นทางแพรไหมทางทะเลซึ่งกำลังมีคนสนใจมาก แถว ๆ มณฑลฮกเกี้ยนมีโบราณสถานเป็นสุเหร่าอิสลาม ข้าพเจ้าถามถึงเส้นทางลงมาทางยูนนาน ท่านว่าเขากำลังค้นคว้ากัน

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 19,38

(น.19) ห้องบูชาพระพุทธเจ้าขณะนี้ไม่มีอะไร ใช้เป็นห้องขายของที่ระลึกและภาพวาด ห้องพระอรหันต์ 500 องค์ พระอรหันต์ทำด้วยไม้ปิดทองใส่ไว้ในตู้กระจก ดูท่าทางไม่ค่อยมีชีวิตชีวาเท่าที่ไปดูที่ยูนนานคราวก่อน มีป้ายบอกหมายเลขและชื่อ มีพระพุทธรูป 5 องค์ และมีรูปพระเจ้าเฉียนหลงเองใส่หมวก แขนเป็นเกล็ดมังกร รูปพระบ้าซึ่งเป็นคนไม่สมประกอบ แต่มีคุณความดีคือสังหารฉินกุ้ย ขุนนางกังฉินที่รับสินบนจากพวกจินหรือพวกกิมก๊ก แล้ววางแผนใส่ร้ายแม่ทัพเย่วเฟยหรืองักฮุย จนจักรพรรดิซ่งเกาจงมีรับสั่งให้ประหารชีวิตเยว่เฟยในค.ศ. 1411 ประชาชนจึงรักนับถือพระบ้าองค์นี้มาก และถือว่าคนเราถึงจะไม่สมประกอบ แต่ว่ามีความตั้งใจจริงจะประสบความสำเร็จได้ รูปจี้กงเป็นรูปเล็ก ๆ ติดอยู่ที่เสา จี้กงเป็นพระที่มีชื่อเสียงในจีน เป็นคนที่ไม่ค่อยชอบปฏิบัติตามศีลของพระ ชอบฉันเนื้อสัตว์ ดื่มสุรา แต่สร้างความดีหลายอย่าง เช่น สร้างวัดที่หางโจว ช่วยประชาชนที่ตกทุกข์ได้ยาก วันหนึ่งเขาไปเทศน์สายกว่าปกติเพราะเจอหญิงสาวถูกรังแก จึงเข้าไปช่วย เป็นคนที่มีอารมณ์ดีมาก ถามไก๊ด์ถึงเหตุที่ทำพระจี้กงเป็นรูปเล็ก ๆ เขาตอบว่าอยู่ที่เพดานจะทำใหญ่ไม่ได้

(น.38) เพราะอยู่ลึกลงไปในดินอีก 8 เมตร กว้าง 8 เมตร เป็นของถวายพระเจ้าเฉียนหลงจากลามะองค์ที่ 7 จากทิเบต ที่ทิเบตเองก็ไม่มีพระพุทธรูปไม้จันทน์ มีแต่ทองสำริด อาคารนี้ต่อไปที่หอคัมภีร์ ห้องพระศากยมุนี จุดเด่นคือมีเสาเป็นมังกร 99 ตัว ใช้ไม้หนานมู่ชนิดหนึ่งเรียกว่า จินซือ (หนานมู่ลายทอง) มาจากยูนนาน ห้องนี้เป็นที่สวดมนต์พระมารดาเฉียนหลง ห้องต่อไปที่เข้าดูเป็นห้องที่ลามะองค์ที่ 6 เคยมาพักอยู่ตอนมาเฝ้าพระเจ้าเฉียนหลง ปัจจุบันเขาจัดให้เป็นพิพิธภัณฑ์ มีของที่ได้จากต่างประเทศ (มีของจากกรมการศาสนาไทยด้วย) ของที่ใช้ประจำวัน ของต่าง ๆ เช่น หรูอี้ ประคำ เครื่องดนตรีในพิธีเช่น ปี่ สังข์ ระฆัง เสื้อผ้าที่กษัตริย์ราชวงศ์ชิงถวายลามะ เป็นเสื้อผ้า 4 ฤดู ฤดูหนาวหมวกมีขนสัตว์ ฤดูร้อนหมวกกันแดดปีกใหญ่ รูปปันชานลามะองค์ที่ 6,9,10 องค์สุดท้ายนี้เพิ่งเสียชีวิตไป เคยเป็นรองประธานสภาผู้แทน มีห้องหนึ่งเป็นห้องพระไภษัชยคุรุ ถือว่าเป็นที่ปรุงยาของวัด (ในสมัยก่อน) ปัจจุบันที่ปักกิ่งไม่มีพระลามะที่ปรุงยาได้แล้ว แต่ที่ชิงไห่และที่ทิเบตยังมี เรามีเวลาดูกันน้อย และข้าพเจ้าก็ไม่มีความรู้เกี่ยวกับนิกายลามะ แต่รู้สึกสงสัยว่าลัทธิลามะที่มาอยู่ในเมืองหลวงของจีน กับที่อยู่ในถิ่นเดิมจะมีความเชื่อต่างกันบ้างไหม จะเป็นไปได้ไหมที่นิกายลามะในจีนได้รับอิทธิพลพุทธมหายานนิกายต่าง ๆ ที่นับถือกันอยู่ทั่วไป จากวัดลามะไปมูลนิธิซ่งชิงหลิง รองประธานมูลนิธิ ชื่ออู๋เฉียนเหิงมาต้อนรับ (ประธานเป็นภรรยานายพลจูเต๋อ อดีตประธานสภา สุขภาพไม่ดีอยู่โรงพยาบาล จึงมาต้อนรับไม่ได้) รองประธานอธิบายว่าตึกหลังนี้

มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 95

(น.95) นั่งคุยกันก็สนุกดี ได้ทราบว่าเส้นทางที่อาจจะเรียกเส้นทางแพรไหม (แต่ยังไม่เข้าระบบ) คือเส้นที่ลงจากซีอานมาทางมณฑลยูนนาน มีเมืองราชวงศ์ฮั่นที่เรียกว่าเมืองหยงช่าง ปัจจุบันชื่อเป่าสี

ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 2-6,14,18,22

(น.2) วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2538
ใครๆ คงจะว่าข้าพเจ้าไปแต่เมืองจีนบ่อย 5-6 ครั้งยังไม่พอไปอีกทำไม ที่จริงแล้วไปครั้งหนึ่งๆ ก็มีประโยชน์ เพราะว่าได้ซ้อมพูดภาษาจีนในบรรยากาศเมืองจีน จะทำให้ความรู้ภาษาจีนก้าวหน้าขึ้นเสียอยู่อย่างเดียวคือช่วงนี้ข้าพเจ้ามีงานที่จะต้องเดินทางไปค้างแรมที่โน่นที่นี่ จึงไม่มีเวลาเตรียมการ อย่างไรก็ตามครั้งนี้คิดว่าจะไปนานนักจึงเลือกเอามณฑลยูนนาน ซึ่งใกล้และเคยไปมาแล้วเมื่อสิบกว่าปีก่อน ครั้งแรกคิดจะเดินทางจากเชียงใหม่ ง่ายๆ ดี แต่ว่าเผอิญวันที่ 27 ไม่มีเครื่องบินจากเชียงใหม่ จึงกลับไปขึ้นที่กรุงเทพฯ ถึงแม้ว่าจะไปเที่ยวอย่างลำลอง แต่เผอิญปีนี้เป็นปีฉลอง 20 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน จึงมีความรู้สึกว่าเดินทางครั้งนี้มีความสำคัญไม่น้อย


(น.2) รูป 1 ถึงสนามบินคุนหมิง


(น.3) รูป 2 ถึงสนามบินคุนหมิง

(น.3) เมื่อไปเมืองจีนครั้งก่อนมีผู้เล่าให้ฟังว่า ยูนนานเป็นมณฑลที่มีพรรณพืชมากกว่าทุกๆ มณฑลของจีน จึงชวนดร. ธวัชชัย สันติสุข นักพฤกษศาสตร์ซึ่งได้มาศึกษาพันธุ์ไม้จีนหลายครั้งแล้ว ที่เชียงใหม่ข้าพเจ้าเคยไปดูดาวที่หอดูดาวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมี รศ. บุญรักษา สุนทรธรรม เป็นผู้แนะนำอาจารย์บุญรักษาเล่าว่าที่ ยูนนานกล้องดูดาวเขาใหญ่กว่าของเรา คราวนี้ก็เลยชวนอาจารย์มาด้วย บันทึกการเดินทางครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับบันทึกเล่มอื่นๆ ที่เคยเขียนมา คือเพื่อบันทึกประสบการณ์สิ่งที่ได้ยินได้ฟังได้ประสบ รวมทั้งความรู้สึกขณะเดินทาง เสนอประเด็นที่น่าศึกษาต่อบางประการ มิได้มุ่งเป็นผลงานทางวิชาการ ฉะนั้นคงมีข้อผิดพลาดและขาดตกบกพร่องอยู่มาก เมื่อมีผู้อ่านท้วงติงหรือตนเองได้ไปศึกษาเพิ่มขึ้น ก็จะหาโอกาสแก้ไขไปเรื่อยๆ เมื่อไปถึงสนามบินนครคุนหมิง มีท่านทูต (คุณสวนิต คงสิริ) กับอธิบดีสำนักงานการต่างประเทศมณฑลยูนนานขึ้นมารับบนเครื่องบิน คนอื่นๆ ที่สนามบินมี นางเฉิ่นลี่ยิง รองประธานสภาที่ปรึกษาทางการเมืองมณฑลยูนนาน นางหลี่ซื่อฉุน อดีตเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยและภรรยา นายหวังถิงเชิน นายกเทศมนตรีนคร


(น.4) รูป 3 พบเปียนเหมย

(น.4) คุนหมิง ศาสตราจารย์หวงฮุ่ยคุน รองอธิการบดีสถาบันชนชาติมณฑลยูนนาน ฝ่ายไทยมีคณะสถานทูต สถานกงสุล และเจ้าหน้าที่การบินไทย ครั้งนี้เปลี่ยนล่ามใหม่ชื่อ คุณหลิวหลานเจิน เป็นเพื่อนเรียนหนังสือชั้นเดียวกับพี่อู๋หุ้ยชิง และทำงานอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศเหมือนกัน ส่วนตำรวจประจำตัวคราวนี้เป็นคนใหม่ชื่อคุณหลี่หงเยี่ยน (พูดภาษาอังกฤษเก่ง) คุณหลี่เจียถิง รองผู้ว่ามณฑลนั่งรถจากสนามบินไปโรงแรมจินหลง (มังกรทอง) ด้วยกัน ท่านรองฯ บอกว่าเพิ่งกลับมาจากการประชุมที่ BOI จัดที่แหลมฉบัง ถนนเข้านครคุนหมิงมีรถหลายชนิด รถยนต์ รถจักรยาน รถเทียมม้า และรถอีแต๋น เป็นต้น ท่านรองฯ หลี่ชี้ให้ดูศูนย์การค้ายูนนานที่ใหญ่ที่สุด สร้าง 10 เดือน ใช้เงิน 400 ล้านหยวน ท่านเล่าว่าท่านเป็นคนมณฑลยูนนาน ไปเรียนหนังสือที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง และออกไปทำงานอยู่ต่างจังหวัดหลายปีอยู่ฮาร์บิน 30 กว่าปี จึงกลับมณฑลยูนนานเมื่อ 10 กว่าปีมานี้เอง ไปถึงโรงแรมที่แปลกใจที่สุดคือเจอเปียนเหมย เขารู้ข่าวว่าข้าพเจ้ามาเมืองจีน แต่ไม่ได้เข้าปักกิ่ง จึงตัดสินใจนั่งเครื่องบินมาหาที่นี้ ตอนนี้ยังไม่มีเวลาคุยกันมาก คืนนี้หลังอาหารให้ข้าพเจ้าโทรฯ บอก เขาจะได้ขึ้นมาคุยด้วย เจอเพื่อนเก่าอีกคนคือคุณเจียง เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ


(น.5) รูป 4 พิพิธภัณฑ์มณฑลยูนนาน เก็บสิ่งของที่เกี่ยวกับชนชาติส่วนน้อยในยูนนาน

(น.5) ชานตงต้าฮั่นเจ้าเก่าตั้งแต่ท่องเที่ยวเส้นทางแพรไหมเมื่อ พศ. 2533 ห้องในโรงแรมนี้สบายดี หน้าห้องมีเฉลียง มีกุหลาบพันปีสีแดงและชมพู แต่อีกด้านหนึ่งโผล่หน้าต่างออกมาเห็นแต่ตึกและการก่อสร้างใหม่ๆ เขาให้ทหารยืนยามหน้าห้องคนหนึ่ง เวลาบ่ายสามโมงครึ่ง ออกไปพิพิธภัณฑ์มณฑลยูนนาน มาดามเฉินลี่ยิงนั่งรถไปด้วย มาดามเคยเป็นวิศวกรโรงงานทอผ้า ต่อมาเป็นผู้ว่าราชการมณฑล ปัจจุบันนอกจากเป็นรองประธานสภาที่ปรึกษาทางการเมือง มณฑลยูนนานแล้ว ยังเป็นประธานสภากาชาดมณฑล และกรรมการบริหารสภากาชาดจีนด้วย รวมทั้งเป็นประธานมูลนิธิสวัสดิการข้าราชการครูดีเด่นของโรงเรียนระดับอนุบาล ประถม และมัธยมของยูนนาน ตอนที่คณะของท่านผู้หญิงนวลผ่อง เสนาณรงค์ จากสภากาชาดไทยมาคุนหมิง มาดามก็เป็นคนต้อนรับ ไปถึงพิพิธภัณฑ์ มาดามว่าสร้างมานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 กว่าๆ เล็กและคับแคบไปแล้ว อยากจะสร้างใหม่ มีหัวหน้าพิพิธภัณฑ์กับอธิบดีวัฒนธรรมของมณฑลมาต้อนรับ ห้องแรก ที่ดู แสดงชีวิตชนชาติส่วนน้อยในมณฑลยูนนาน 25 ชนชาติ มีแผนที่มณฑลแสดงว่าเผ่าต่างๆ อยู่ที่ไหน มีชนกลุ่มน้อยรวมกันประมาณ 13.7 ล้านคน เป็นจำนวนหนึ่งในสามของประชากรในมณฑลเขาจัดพิพิธภัณฑ์ได้ดีทีเดียว มีสิ่งของต่างๆ ของชนชาติต่างๆ แบ่ง


(น.6) รูป 5 เครื่องดนตรีชนเผ่า มีภาพประกอบให้เห็นวิธีใช้

(น.6) เป็นประเภทและมีภาพถ่ายให้ดูว่าใช้ของนั้นทำอะไร เช่น กลองต่างๆ มีมโหระทึก กลองยาวของพม่า เผ่าจิ่งพอ เหมียว (ม้ง, แม้ว) น่าซี อี๋ ไต่ กลองรูปปลาของเผ่าจ้วง กลองหกเหลี่ยมของพวกไป๋ กลองพระอาทิตย์ของพวกเผ่าจีหนัว แตรยาวของชนชาติอี่ แตรชนิดนี้เป่าแล้วเสียงดังมาก ฟังได้ยินข้ามภูเขา เครื่องสาย (ดีด) ของเผ่าอี๋ ชนชาติน่าซี เป็นเผ่าที่ไม่มีในมณฑลอื่น อยู่เฉพาะทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนาน มีวัฒนธรรมพิเศษคือมีคนกลุ่มหนึ่งเรียกว่าตงปา ดูเหมือนว่าจะเป็นพระหรือเป็นหมอผีประจำเผ่า เป็นผู้มีความรู้มากกว่าคนอื่น รู้จักการเขียนหนังสือด้วยอักษรภาพ พิพิธภัณฑ์จัดแสดงหนังสือที่ตงปาในสมัยราชวงศ์หมิงเขียน ตงปายังทำหน้าที่เป็นหมอรักษาโรคโดยการเต้นระบำไปรอบๆ (เรื่องเต้นรำรักษาโรคแบบนี้ข้าพเจ้าเคยเห็นหมอผีของชาวเขาในเมืองไทยทำ) ปัจจุบันได้ความว่ายังมีตงปาอยู่ แต่ว่าอายุมากๆ 70 กว่าไปแล้ว คนหนุ่มกว่านั้นไม่มีใครถ่ายทอดวิชาการเอาไว้

(น.14) ขึ้นไปชั้นบน มีเครื่องสำริดตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์กาล สมัยชุนชิวและสมัยจ้านกว๋อ มีภาพแสดงว่าเครื่องสำริดรุ่นแรกๆ ขุดพบพร้อมกับโครงกระดูกที่อำเภอเจี้ยนชวน คล้ายๆ กับว่าเป็นสิ่งของของผู้ตาย หรือของที่จะให้ผู้ตายนำไปใช้ในปรโลก ดูจากภาพถ่ายโครงกระดูก บางโครงฝังแบบนอนคุดคู้ บางโครงก็นอนเหยียดยาวนักวิชาการเชื่อว่าอยู่ในสมัยชุนชิวและสมัยจ้านหว๋อ มีการพบสุสานที่เต็มไปด้วยเครื่องสำริด เช่น เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพและอาวุธต่างๆ กลองมโหระทึกที่มีรูปภาพลอยตัว เล่าเรื่องชีวิตประจำวัน กลองนี้มีขนาดเล็ก ข้าพเจ้ามองไม่ออกว่าเป็นรูปอะไรบ้าง ดูในคำอธิบายบอกว่ามีรูปนายทรมานทาส รูปคนจูงควาย ภาพจูงวัวควายแพะแกะไปบูชายัญเทพเจ้า หอยเบี้ยชนิดที่ใช้เป็นเงินมีอยู่มากมายในสุสาน คนอธิบายบอกว่าหอยชนิดนี้พบในมหาสมุทรแปซิฟิก ข้าพเจ้าคิดว่าที่มีอยู่มากตามสุสานย่อมเป็นเครื่องชี้บ่งว่ามีการติดต่อการค้ากันด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งระหว่างกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน และพวกที่อยู่บริเวณชายทะเลหอยเบี้ยเหล่านี้พบอยู่รวมกับโมราซึ่งเป็นหินมีค่าที่พบอยู่ในมณฑลยูนนานนี้เอง ใช้เป็นเครื่องประดับ ของบางอย่างมีลักษณะแปลกไม่เหมือนของที่พบในมณฑลอื่นๆ เช่น ร่ม รูปร่างคล้ายๆ ใบไม้ใหญ่ๆ ทำด้วยสำริด ของใช้ในชีวิตประจำวัน

(น.18) เมื่อออกมาแล้วมาดามเฉินบอกว่ามีความคิดอยากสร้างพิพิธภัณฑ์ชนชาติต่างๆ แยกออกมาต่างหาก เพราะว่ามีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมาก พิพิธภัณฑ์แห่งนี้สมเด็จป้ามาทอดพระเนตรแล้วใน พ.ศ. 2528 คือเมื่อ 10 ปีก่อน และดูเหมือนจะทอดพระเนตรเฉพาะส่วนที่แสดงเครื่องสำริด กลับโรงแรม รถผ่านวังวัฒนธรรมคุนหมิง โบสถ์ศาสนาคริสต์เรียกว่าเทียนจู่ถัง ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด ฯลฯ มาดามเฉินอธิบายว่านครคุนหมิงนี้มีอากาศสบายตลอดปี ไม่ร้อนไม่หนาว ถือว่าเป็นเมืองแห่งฤดูใบไม้ผลิ นอกจากเวลาฝนตกจะหนาวนอกจากนั้นยังมีดอกไม้สวยงาม กลับมาพักผ่อนครู่หนึ่ง จวนถึงเวลาอยู่แล้ว จึงไม่ได้โทรฯ บอกเปียนเหมยให้มาคุยด้วย เวลา 18.00 น. ไปชั้นที่ 3 ของโรงแรมที่พัก พบกับนายเหอจื้อเฉียง ผู้ว่าราชการมณฑลยูนนานและคณะ ท่านผู้ว่าราชการฯ อายุ 60 ปี เป็นชาวน่าซี เกิดที่เขตลี่เจียง มณฑลยูนนาน เป็นนักธรณีวิทยา จบจากมหาวิทยาลัยฉงชิ่งในเสฉวน เคยเป็นรองอธิบดีสำนักธรณีวิทยา มณฑลยูนนาน เมื่อรับการอบรมที่สถาบันฝึกอบรมพรรคคอมมิวนิสต์จีนแล้วได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองผู้ว่าการมณฑลยูนนานและผู้อำนวยการใหญ่ (ระดับรัฐมนตรี) ประจำคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์มณฑลยูนนาน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 จนถึงปัจจุบันได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลยูนนานและเป็นผู้ว่าราชการมณฑลยูนนาน

(น.22) ถามถึงพืชอย่างอื่นที่ปลูกกันมาก ท่านผู้ว่าฯ บอกว่าที่มีการปลูกกันเป็นพิเศษคือการปลูกอ้อย ทำน้ำตาลได้ 8 แสนตัน ส่งทั่วมณฑล ที่สิบสองปันนามีภูมิประเทศคล้ายประเทศไทย จึงปลูกชายาสูบ และดอกไม้กันมาก ในคุนหมิงก็ปลูก ส่งออกไปยังสิงคโปร์และฮ่องกง ดอกไม้บางชนิดก็มีในมณฑลอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่ทางไต้หวันกับฮอลแลนด์มาลงทุน ดอกกล้วยไม้ พันธุ์มาจากประเทศไทย เขาว่ามีบริษัทของเกาหลีเอาต้นอ่อนกล้วยไม้จากประเทศไทยมาปลูกที่คุนหมิงและส่งออกขายญี่ปุ่น เกาหลีมาเช่าที่ดินทำเรื่องการเกษตรในแถบรอบๆ ทะเลสาบคุนหมิงหรือเทียนฉือ พูดเรื่องไฟฟ้าอีกครั้งหนึ่ง ที่แม่น้ำล้านช้างมีสถานีไฟฟ้า เขื่อนสูงร้อยกว่าเมตร ใกล้ๆ ต้าหลี่ก็จะสร้างอีกแห่ง รวมแล้วในยูนนานมี 8 แห่ง สร้างไปแล้วแห่งหนึ่ง สำหรับแห่งที่ 2 จะสร้างห่างจากเชียงรุ้ง 15กิโลเมตร บริษัทของไทยได้ลงนามแล้ว แต่รัฐบาลกลางยังไม่ได้อนุมัติโครงการ แห่งแรกบริษัทยูนนานสร้างเอง ได้ไฟฟ้า 1.5 ล้านกิโลวัตต์ เริ่มสร้างตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 เพิ่งเสร็จปีนี้ ขณะนี้เวลาฤดูฝนมณฑลยูนนานมีไฟฟ้ามากใช้ไม่หมด ต้องส่งไปที่กวางตุ้ง และมณฑลอื่นสถานีกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กมีอยู่ประจำอำเภอ คุยกันถึงเรื่องอื่นๆ เช่น ท่านเล่าว่าที่ฉู่ฉยงที่เราจะไปกินข้าวกลางวันพรุ่งนี้ ได้ขุดพบซากมนุษย์โบราณ และบริเวณใกล้ๆ ต้าหลี่หรือบริเวณฉู่ฉยงเองพบกระดูกไดโนเสาร์ รวมได้ 108 ตัว เขาขุดพบ แต่ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ขุดขึ้นมา คงเก็บรักษาไว้อยู่ที่ใต้ดินนั่นเอง ข้าพเจ้าถามคุณหลี่ซื่อฉุน อดีตเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยว่าขณะนี้ทำอะไร ท่านว่าทำงานมูลนิธิใหญ่ที่มีงานด้านสงเคราะห์ใหญ่

ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 26

(น.26) ตื่นมาแต่เช้า เขียนเรื่องจนถึงเวลารับประทานอาหารเช้าเวลา 7 โมงครึ่ง ดร.ธวัชชัยให้หนังสือเกี่ยวกับ “การล่า” พันธุ์พืชในแถบนี้เรื่อง Plant Hunting in China - A History of Botanical Exploration in China and the Tibetan Marches ของ E.H. Cox พิมพ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945 และเอกสารต่างเกี่ยวกับมณฑลยูนนาน ภูมิอากาศ สังคมพืช และพรรณพฤกษชาติ เรื่องการป่าไม้ของยูนนาน ไม้ดอกและต้นไม้หายากในยูนนาน แผนที่การกระจายของพืชในยูนนาน แผนที่เมืองต้าหลี่ และทะเลสาบเอ๋อร์ไห่

Next >>