<< Back
ราชวงศ์หยวน
จากหนังสือ
เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า 83
(น.83) สมัยหยวน คริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นพวกมองโกล ภาพพระเจ้ากุบไลข่าน มีตั๋วแลกเงินเป็นใบแรกของจีน เครื่องกระเบื้อง
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 8
(น.8) ของสมัยราชวงศ์หยวน หมิง และชิง พบแถวๆ อำเภออู่ฉางและเมืองฮาร์บิน ที่แสดงไว้สมัยหมิง มีตราคันฉ่องสำริดจารึกคำสิริมงคลต่างๆ เช่น ให้พ่อ-ลูกเป็นอัครเสนาบดี (เป็นเจ้าเป็นนายทั้งพ่อทั้งลูก) ให้สอบได้เป็นจอหงวน พวกเครื่องลายคราม (Blue & White) ลายก็เป็นลายสิริมงคล เช่น มังกรคู่ ปลาคู่ พบที่อำเภออี้หลาน
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 98-99
(น.98) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เมืองอ้ายฮุย ซึ่งแสดงความเป็นมาของเมืองนี้ในด้านต่างๆ เรื่องแรกที่ได้ชมกล่าวถึงรอบๆ บริเวณที่เคยเป็นที่บัญชาการของแม่ทัพเฮยหลงเจียงมาแต่ ค.ศ.1683 ในสมัยราชวงศ์ชิงนั้น มีมนุษย์ตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่มาแต่ครั้งโบราณ ขุดค้นพบเครื่องมือหิน หัวลูกศร หัวธนู มีบันทึกประวัติศาสตร์ว่า หัวธนูพวกนี้เป็นบรรณาการส่งเข้าเมืองหลวงมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว นอกจากนั้นได้กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดการปกครองและการทหารของเมืองอ้ายฮุยตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ยเหนือมาจนถึงสมัยราชวงศ์ชิง
สมัยราชวงศ์เว่ยเหนือ (ค.ศ.386-534) มีตำแหน่งแม่ทัพประจำที่เมืองอ้ายฮุย
(น.99) สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618-907) มีกองทัพประจำการที่นี่
สมัยราชวงศ์เหลียว (ค.ศ.946-1125) มีผู้แทนพระองค์ของจักรพรรดิมาอยู่ประจำการ
สมัยราชวงศ์จิน (ค.ศ.1115-1234) เมืองสำคัญอยู่แถวๆ ผู่ยู่ลู่
สมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ.1279-1368) มีแม่ทัพภาคตะวันออกมาตั้งสำนักงานอยู่ที่นี่
สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1368-1644) ตั้งกองบัญชาการทหารขึ้นที่นี่
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 5 ภาคผนวก หน้า 14
(น.14)
ราชวงศ์หยวน ก่อตั้งอาณาจักร ค.ศ. 1206
ผนวกราชวงศ์เซี่ยตะวันตก ค.ศ. 1227
ผนวกราชวงศ์จิน ค.ศ. 1234
ตั้งนามราชวงศ์ว่าหยวน ค.ศ. 1271
ผนวกราชวงศ์ซ่งใต้ ค.ศ. 1279
15. ราชวงศ์หยวน ค.ศ. 1279 – 1368
16. ราชวงศ์หมิง ค.ศ. 1368 – 1644
17. ราชวงศ์ชิง ค.ศ. 1644 – 1911
18. สาธารณรัฐ ค.ศ. 1912 – 1949
19. สาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. 1949 – ปัจจุบัน
แกะรอยโสม
แกะรอยโสม หน้า 110
(น.110) คำว่าต้าตู้เป็นชื่อของปักกิ่งในสมัยราชวงศ์หยวน ซึ่งพวกมองโกลมาเป็นใหญ่ พวกมองโกลนี้เป็นเผ่าที่ขี่ม้าเก่ง เคยบุกไปถึงยุโรป ท่านบ่นว่าในตอนนี้ในปักกิ่งมีโรงแรมมาก
แกะรอยโสม หน้า 163
(น.163) แผ่นศิลาจารึกพระไตรปิฎก แผ่นศิลาจารึกนั้นมิได้มีเฉพาะแต่พระไตรปิฎก จะมีประวัติการสร้างพระไตรปิฎกนี้ด้วย จึงทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ พุทธศาสนา การสลักพระไตรปิฎกนี้ก็ไม่ได้ทำเสร็จภายในคราวเดียวกัน ทำในราชวงศ์สุย ถัง เหลียว จิน หยวน หมิง ชิง และน่าภาคภูมิใจว่าเป็นพระไตรปิฎกภาษาจีนที่สมบูรณ์ที่สุด วัดนี้อยู่ระหว่างการบูรณะฟื้นฟู ค่าใช้จ่ายมาจากเงินบริจาคของราษฎร และการอุดหนุนของรัฐบาล เขาว่าที่นี่เป็นถ้ำตุนหวงของปักกิ่งทีเดียว
คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 44
(น.44) ที่หมายที่ 3 วัดไคหยวน ต้องยอมรับว่าตอนนี้ชักจะเหนื่อยแล้ว จดหรือดูอะไรไม่ค่อยจะรู้เรื่อง จากศาลเจ้าหันเหวิน เราข้ามแม่น้ำหัน ผ่านประตูเมืองเก่า เข้าซอยทางประตูเล็กข้างๆ สองข้างทางเป็นห้องแถวขายของสารพัดอย่างมากมายยาวสุดลูกหูลูกตา
วัดนี้กล่าวกันว่าสร้างในสมัยราชวงศ์ถังราว ค.ศ. 738 สมัยจักรพรรดิถังสวนจง (หมิงตี้) บางส่วนเป็นศิลปะสมัยราชวงศ์ซ่งและหยวน แต่ก่อนเคยมีเนื้อที่ร้อยกว่าโหม่ว แต่ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 20 โหม่ว ถูกรุกที่บ้าง เอาไปทำอย่างอื่นบ้าง
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 63
(น.63) พิพิธภัณฑ์สุสานกษัตริย์หนานเยว่
วัตถุที่พบที่สำคัญที่สุดมีพระราชลัญจกรทองของจักรพรรดิ ตราหยกของมเหสี เครื่องถ้วย เครื่องหยก เครื่องไม้ต่างๆ เมื่อดูวิดีโอจบแล้วเดินดูของจริง เข้าไปในสุสาน ข้างในตั้งรับกล่องบริจาคเงิน สุสานนี้แปลกที่มีทางเข้าได้ 2 ทาง เนินที่เป็นสุสานนี้สูงถึง 18 เมตร เท่ากับตึกสูง 6 ชั้น ขุดยากเพราะว่าเป็นหิน เป็นสุสานหินที่เก่าแก่ที่สุดของจีน ขุดลึก 13 เมตรจึงพบสุสาน ปีที่แล้วฉลองกวางโจวอายุครบ 2,200 ปี กล่าวว่าเป็นเมืองที่จักรพรรดิองค์นี้สร้าง มีตู้แสดงพระราชลัญจกร ซึ่งมีรูปมังกรอยู่ด้านบน กว้าง 3.1 เซนติเมตร ยาว 3 เซนติเมตร หนา 1.8 เซนติเมตร หนัก 148.5 กรัม มีตัวอักษรจารึกว่า เหวินตี้ นับว่าเป็นพระราชลัญจกรที่ใหญ่ที่สุด เดิมไม่ชอบทำใหญ่เพราะต้องพกติดตัวไปไหนๆ สมัยถังและซ้องก็ยังทำเล็กๆ ส่วนสมัยหยวนทำขนาดใหญ่
เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 76
(น. 76)
10. เครื่องเคลือบสมัยราชวงศ์หยวน-หมิง (ค.ศ. 1279 – ค.ศ. 1368 และ ค.ศ. 1368 – ค.ศ. 1644) มีเครื่องเคลือบชนิดต่างๆ สีขาว ขาวลายน้ำเงิน เหลือง สีประสมม่วงออกแดง บางชิ้นมีตราเขียนไว้ที่ชามบอกปีรัชศกที่ทำ มีเครื่องลายครามจากเตาหลวงที่จิ่งเต๋อเจิ้น เตาราษฎร์ทำอ่างลายคราม สิ่งของสมัยจักรพรรดิเจียจิ้งแห่งราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1522 – ค.ศ. 1566) มีเครื่องหยกต่างๆ
เจียงหนานแสนงาม หน้า 111,133
(น. 111) พิพิธภัณฑ์นานกิง หรือ พิพิธภัณฑ์มณฑลเจียงซู
เครื่องลายคราม เริ่มมีมาตั้งแต่ราชวงศ์ถัง ที่จริงแล้วได้เศษมาชิ้นเดียว แต่ว่าพบในชั้นดินสมัยถัง ไม่ทราบว่าในวิชาโบราณคดีสันนิษฐานแบบนี้จะพอหรือไม่ นอกนั้นเป็นสมัยราชวงศ์หยวน หมิง ชิง
(น. 133) อุปกรณ์ที่เรียกว่า Armilla เริ่มใช้ต้นราชวงศ์หยวนในการศึกษาดาวในท้องฟ้า เครื่องมือที่ตั้งแสดงให้ดูนี้สร้างใน ค.ศ. 1437 เป็นปีที่ 2 ในรัชกาลจักรพรรดิเจิ้งถ่ง (ค.ศ. 1436 – ค.ศ. 1449) แห่งราชวงศ์หมิง เครื่องมือนี้เคยถูกทหารเยอรมันปล้นเอาไปขณะที่ทหารต่างชาติบุกเข้าปักกิ่งเมื่อ ค.ศ. 1900 ใน ค.ศ. 1918 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มีการประชุมสันติภาพและลงนามในสนธิสัญญา จีนจึงได้เครื่องมือคืนใน ค.ศ. 1920
เจียงหนานแสนงาม หน้า 146
(น. 146) การแลกเปลี่ยนทางการค้าและการได้ทรัพยากรมนุษย์จากการอพยพเข้ามาของคนจีนแล้ว อิทธิพลของศิลปะและเทคโนโลยีจีนก็มีอยู่ เชื่อกันว่าการทำชามสังคโลกของสุโขทัยก็ได้รับเทคโนโลยีจากจีนสมัยราชวงศ์หยวน ลักษณะทางสถาปัตยกรรมในบางสมัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับอิทธิพลจีนด้านเครื่องบนอาคาร รัชกาลที่ 3 ทรงได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ทำให้การค้าสำเภาไทย-จีนเฟื่องฟูที่สุด นอกจากนั้นภาพจิตรกรรมฝาผนังก็มักมีรูปคนจีนหรืออิทธิพลของศิลปะจีนเช่นกัน ลวดลายมังกรเป็นลวดลายที่เราได้จากจีน
เจียงหนานแสนงาม หน้า 185
(น. 185) ในสมัยราชวงศ์ซ่งและหยวน เมืองหยังโจวเป็นท่าเรือสำคัญ มาร์โคโปโลก็เคยมา
เจียงหนานแสนงาม หน้า 291-292,294
(น. 291) พิพิธภัณฑ์มณฑลเจ้อเจียง
สมัยราชวงศ์สุย ถัง ห้าราชวงศ์ แสดงเครื่องประดับ เช่น ปิ่นปักผม และอุปกรณ์เกี่ยวกับอาหารการกิน เช่น ทัพพี ของที่ใช้ในพิธีชงชา กระโถน ชามฝาสลักลายฉลุ สมัยห้าราชวงศ์ ผู้ปกครองเลื่อมใสศาสนา มีเจดีย์กะไหล่ทอง พบในเจดีย์จินหวาโฝ แผ่นเงินสลักคำอธิษฐานขอความคุ้มครองจากเทพมังกร คัมภีร์ศาสนาสมัยราชวงศ์ซ่ง หยวน มีหีบลงรักใส่คัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร หีบพระธาตุสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 10 – 12 ทั้งสี่ด้านเป็นรูปพระพุทธรูปและรูปกวนอิม เขาบอกว่ายังมีพระพุทธรูปงามๆ อยู่ในโกดังไม่ได้เอาออกมาแสดง ถามว่ากลัวขโมยใช่ไหม เขาว่าไม่ใช่ ของบางอย่างที่แสดงเป็นของจำลอง ของจริงอยู่ในพิพิธภัณฑ์อื่น หรืออยู่ไต้หวัน
(น. 292) ไปอีกตึกหนึ่ง แสดงเครื่องปั้นดินเผาของเจ้อเจียงตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซังถึงราชวงศ์ชิง สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก สมัยชุนชิวพบเครื่องปั้นดินเผาปั้นเลียนแบบเครื่องสำริด สมัยราชวงศ์ฮั่นมีตุ๊กตาหน้าตาเหมือนคนอินเดีย สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก สมัยสามก๊ก สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันออกและพวกราชวงศ์ใต้ มีเครื่องปั้นดินเผาสีดำเต๋อชิง สมัยราชวงศ์สุย ถัง ห้าราชวงศ์ มีเครื่องปั้นดินเผาที่ส่งถวายจักรพรรดิ และของที่พบในสุสาน สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือและซ่งใต้ มีของจากหลงเฉวียน นอกจากนั้นยังแสดงเครื่องปั้นดินเผาอื่นๆ ที่ทำในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้และราชวงศ์หยวน ราชธานีของซ่งใต้อยู่ที่หังโจว จึงมีเตาเผาหลวงหลายเตา เครื่องเคลือบหลงเฉวียน สมัยนั้นส่งออกต่างประเทศ เช่น ประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย มีข้อมูลประวัติศาสตร์จีนว่า ตั้งแต่คริสต์ศตวรรรษที่ 13 – 14 ประเทศไทยได้เทคนิคไปทำเอง สมัยราชวงศ์หมิงและชิง มีตู้กระจกบอกวิธีทำเครื่องปั้นดินเผาตั้งแต่เริ่มหมักดิน ขึ้นรูป เขียนลวดลาย จนถึงเคลือบและนำเข้าเตาเผา และยังมีแผนที่แสดงเส้นทางการค้าทางทะเลที่จีนส่งเรือไปค้าขาย
(น. 294) หังโจวมีทัศนียภาพธรรมชาติที่ต้องอนุรักษ์ไว้ จะปรับสภาพบ้างก็เฉพาะแต่ที่จำเป็น ทะเลสาบซีหูก็มีการขุดลอกเป็นระยะๆ สมัยราชวงศ์หยวนมีการถมทะเลสาบเพื่อเพิ่มเนื้อที่ทำนา สมัยราชวงศ์หมิงและชิงมีการขุดลอก เอาดินที่ขุดลอกออกจากทะเลสาบไปใช้ประโยชน์ ขณะนี้ก็มีการพัฒนาสร้างสวนสาธารณะ สวนนานาชาติ เมืองสมัยราชวงศ์ซ่ง เพื่อต้อนรับการท่องเที่ยว
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 111-112,118
(น.111) ส่วนที่ 2 มีสาระข้อมูลประวัติศาสตร์ที่แสดงว่าทิเบตไม่แบ่งแยกจากจีน เช่น เรื่องเจ้าหญิงเหวินเฉิงและศิลาจารึกพันธมิตรลุง-หลาน ค.ศ. 823 (แสดงการยุติสงครามระหว่างราชวงศ์ถังและอาณาจักรถู่โป๋) แผนที่ทิเบตที่เจ้าหญิงเหวินเฉิงคิดขึ้นเป็นภาพนางยักขินี สร้างวัดที่บริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกายนางยักษ์ วัดต้าเจาซื่ออยู่ที่หัวใจ ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ทิเบตมีรัฐบาลท้องถิ่น มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสาเกีย (Sakya) บัณฑิตสาเกียมีจดหมายเจริญไมตรีกับมองโกล มีตราที่กุบไลข่านให้หลานเจ้าเมืองสาเกียมีอำนาจปกครองทิเบต
เอกสารการปกครอง พวกหนังสือเวียนออกคำสั่งเกี่ยวกับการจ่ายภาษีสมัยต้นราชวงศ์หยวน เงินตราในสมัยนี้
(น.112) สมัยราชวงศ์หมิงรัฐบาลกลางสนับสนุนศาสนาทุกนิกาย ขณะที่ราชวงศ์หยวนสนับสนุนแต่พวกสาเกีย มีตราสำหรับท้องถิ่นต่างๆ เอกสารมอบที่ดินและตำแหน่งแก่ขุนนางในท้องที่ มีภาพเขียนเล่าเรื่องจักรพรรดิหงอู่ (จูหยวนจาง) ให้รัฐบาลท้องถิ่นนำลามะไปสวดมนต์ในวังที่เมืองหนานจิง มีตัวหนังสือเขียนบรรยายเป็น 5 ภาษา คือ ภาษาทิเบต ภาษาจีน ภาษามองโกล ภาษาอาหรับ และภาษาแมนจู
(น.118) ทิเบตแบ่งแยกไม่ได้จากจีน ตั้งแต่สมัยราวงศ์ถังก็มีเรื่องเจ้าหญิงเหวินเฉิง ใน ค.ศ. 1279 สมัยพระเจ้ากุบไลข่านแห่งราชวงศ์หยวนจีนกับทิเบตได้รวมกันเป็นปึกแผ่น
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 172
(น.172) ชั้น 2 นี้สถาปัตยกรรมเป็นแบบทิเบต ผนังมีรูปพระพุทธเจ้า 8 ปาง ตรงช่องหน้าต่างมองเห็นได้ว่ากำแพงอาคารนี้หนามาก มีรูปพระปัทมสัมภวะ พระอมิตาภะ ทำด้วยโลหะ 5 ชนิดผสมกัน มีเจดีย์วิญญาณของพระนิกายหนิงม่าปะในคริสต์ศตวรรษที่ 18 กำแพงอีกชั้นมีภาพฝาผนังอยู่ในสภาพดี เข้าใจว่าเขียนในราชวงศ์หยวนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 รัฐบาลท้องถิ่นที่นับถือนิกายสาเกียปะก็บูรณะไว้อย่างดี ส่วนที่มีแสงเข้าภาพเลือนไปบ้าง ภาพผนังเหล่านี้มีคำอธิบายประกอบด้วย มีรูปจักรวาล ภาพพุทธประวัติ
ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 52
(น.52) พิพิธภัณฑ์เขตปกครองตนเองชนชาติไป๋ต้าหลี่
มีหินสลักรูปกวนอิม หม้อเก็บกระดูกสมัยราชวงศ์หยวน พบในต้าหลี่ มีเครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีต่างๆ สีเขียวไข่กาบางชนิดคล้ายๆ กับสังคโลก หรือเครื่องปั้นทางเมืองเหนือของไทยมีลายครามกังไส
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 209,212,216
(น.209)เขตการปกครองต่างๆ ของจีนทั้งในอดีตและปัจจุบันนั้น ผู้เขียนพยายามหาคำศัพท์ภาษาไทยที่มีความหมายใกล้เคียงสอดคล้องกับคำในภาษาจีน ในขณะเดียวกันก็หาศัพท์ที่คนไทยคุ้นเคย เพื่อสื่อความหมายให้ใกล้เคียงที่สุด และให้คนไทยเข้าใจได้ด้วย คำแปลเหล่านี้จึงเป็นเพียงการเสนอแนะของผู้เขียน เพื่อให้ผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าทางด้านจีนวิทยาได้ช่วยกันอภิปรายพิจารณากันต่อไป
1. เขตการปกครองของจีนในอดีต
ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นชุมชน ศูนย์กลางของสังคมอยู่ที่หมู่บ้าน แล้วจึงค่อยๆ พัฒนามาเป็นสังคมเมืองที่มีการจัดระเบียบสังคมและการปกครองที่ซับซ้อนขึ้น จีนเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน การจัดระเบียบเขตการปกครองของจีนมีหลักฐานให้ศึกษาย้อนกลับไปได้ถึงสมัยชุนชิว (770-476 ปีก่อน ค.ศ.) ในสมัยนี้มีการจัดตั้งเขตการปกครองที่เรียกว่า “เสี้ยน” (Xian) หลังจากนั้นการจัดตั้งเขตการปกครองได้ปรับเปลี่ยนวิวัฒนาการสืบต่อมา จนกล่าวได้ว่าลงตัวในสมัยราชวงศ์ถัง ในสมัยราชวงศ์ซ่ง หยวน หมิง และชิง มีการปรับเปลี่ยนหรือมีการจัดเขตการปกครองที่ใช้เฉพาะสมัยบ้าง แต่ยังคงใช้โครงสร้างหลักสมัยราชวงศ์ถัง
(น.212)
1.6 ลู่ (路) ความหมายเดิมของคำว่า “ลู่” หมายถึง ทาง เส้นทาง ถนน ลู่ทาง แนวทาง แต่ในขณะเดียวกันก็ใช้ในความหมายถึงเขตการปกครองด้วย ในสมัยราชวงศ์ซ่งได้จัดเขตการปกครอง “ลู่” ขึ้นเป็นเขตการปกครองสูงสุดระดับมณฑล แทนที่เต้าซึ่งได้จัดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง การยุบเลิกเต้าเปลี่ยนมาเป็นลู่เป็นการปรับเปลี่ยนในแง่ของพื้นที่ขอบเขตและการรวมอำนาจเข้าส่วนกลาง แต่แนวคิดยังคงเป็นเขตการปกครองระดับมณฑล สมัยราชวงศ์ซ่งในตอนแรกมี 21 ลู่ ต่อมามีการปรับเปลี่ยนขึ้นลงเป็น 15 ลู่บ้าง 18 ลู่บ้าง และ 23 ลู่บ้าง ในสมัยราชวงศ์หยวนได้เปลี่ยนมาเรียกเขตการปกครองระดับมณฑลเป็น “สิงเสิ่ง” หรือ “เสิ่ง” ส่วนคำว่า “ลู่” หมายถึง เขตการปกครองที่รองลงมาและขึ้นกับเสิ่ง “ลู่” ในสมัยราชวงศ์หยวนเทียบเท่า “ฝู่” ในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ถึงสมัยราชวงศ์หมิงได้ยุบเลิก “ลู่” เปลี่ยนมาตั้ง “เต้า” ขึ้นมาแทน เป็นหน่วยการปกครองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างมณฑลและเมืองดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
1.7 จวิน (军) ความหมายเดิมของคำว่า “จวิน” หมายถึง ทหาร กองทัพ และเป็นคำนามที่ใช้ประกอบกับคำอื่นๆ ในการจัดระเบียบหน่วยการปกครองของกองทัพมาตั้งแต่สมัยชุนชิว แต่
(น.213) ในสมัยราชวงศ์ซ่งได้ใช้ความหมายถึงเขตการปกครองด้วย จวินเป็นหน่วยการปกครองที่ตั้งขึ้นเฉพาะในราชวงศ์นี้ มีอยู่ 2 ประเภท ประเภทแรกมีฐานะระดับเดียวกับฝู่ โจว และเจี้ยน ขึ้นกับลู่ ส่วนอีกประเภทหนึ่งมีฐานะระดับเดียวกับเสี้ยน ขึ้นกับฝู่หรือโจว หลังสมัยราชวงศ์ซ่ง จวินถูกยุบเลิกไป
1.8 เจี้ยน (监) ความหมายเดิมของคำว่า “เจี้ยน” หากเป็นคำกริยา แปลว่า ควบคุม หากเป็นคำนาม แปลว่า ขุนนาง แต่ในขณะเดียวกันก็ใช้ในความหมายถึงเขตการปกครองด้วย เจี้ยนก็เช่นเดียวกับจวิน กล่าวคือ เป็นหน่วยการปกครองที่ตั้งขึ้นเฉพาะในสมัยราชวงศ์ซ่ง เจี้ยนจะจัดตั้งในอาณาบริเวณที่เป็นเขตเศรษฐกิจ เช่น บ่อเกลือ เหมืองแร่ ทุ่งเลี้ยงม้า แหล่งหลอมเงินตรา เป็นต้น เจี้ยนมี 2 ประเภทเช่นกัน ประเภทแรกมีฐานะระดับเดียวกับฝู่หรือโจว ขึ้นกับลู่ ส่วนอีกประเภทหนึ่งมีฐานะระดับเดียวกับเสี้ยน ขึ้นกับฝู่หรือโจว หลังสมัยราชวงศ์ซ่งเจี้ยนถูกยุบเลิกไป
1.9 สิงเสิ่ง (行省) หรือเสิ่ง (省) ในสมัยราชวงศ์หยวนมีการปรับปรุงเขตการปกครองระดับมณฑลทั้งในด้านพื้นที่และการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง รวมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น “สิงเสิ่ง” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “เสิ่ง” ในสมัยราชวงศ์หยวนมี 12 เสิ่ง ถึงสมัยราชวงศ์หมิงมี 15 เสิ่ง สมัยราชวงศ์ชิงในระยะแรกมี 18 เสิ่ง ระยะหลังเพิ่มเป็น 22 เสิ่ง ส่วนในสมัยรัฐบาลจีนคณะชาติ (ค.ศ. 1912-1949) เพิ่มขึ้นเป็น 25 เสิ่ง คำว่า “เสิ่ง” ยังคงใช้อยู่ในการจัดระเบียบเขตการปกครองของจีนในปัจจุบัน
(น.216) ถัดจากมณฑลและภูมิภาคปกครองของตนเองก็จะมาถึงระดับ “จังหวัด (ตี้ชีว์) “จังหวัดปกครองตนเอง” (จื้อจื้อโจว) และ “นครที่ขึ้นต่อมณฑลหรือภูมิภาคปกครองตนเอง” (เสิ่งเสียซื่อ, จื้อจื้อชีว์เสียซื่อ) ซึ่งต่างก็มีฐานะที่เท่ากันในระดับนี้ ส่วนมหานครที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางก็จะมีเขต ทั้งที่อยู่ในเมืองและชานเมือง รวมทั้งอำเภอในพื้นที่บริเวณรอบนอกออกไป อยู่ใต้การปกครอง
ต่อจากจังหวัดและจังหวัดปกครองตนเองลงมา หน่วยงานที่มีฐานะเท่ากันในระดับนี้ก็จะเป็น “อำเภอ” (เสี้ยน) “อำเภอปกครองตนเอง” (จื้อจื้อเสี้ยน) และ “เมืองที่ขึ้นต่อจังหวัดหรือจังหวัดปกครองตนเอง” (ตี้ชีว์เสียซื่อ, จื้อจื้อโจวเสียซื่อ) ส่วนนครที่ขึ้นต่อมณฑล หรือภูมิภาคปกครองตนเองก็จะมีเขตและอำเภออยู่ใต้การปกครองเช่นกัน ในด้านสาระสำคัญของเขตการปกครองต่างๆ ที่แสดงในแผนผังนั้นอาจสรุปได้ดังนี้
2.1 เสิ่ง (省) คำว่า “เสิ่ง” ที่เป็นศัพท์แสดงเขตการปกครองในภาษาจีนนั้นเริ่มใช้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน และใช้สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ภาษาอังกฤษใช้ว่า “Province” ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง
มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 24
(น.24) วนอุทยานเซียงซาน
พระนอน สร้างสมัยราชวงศ์หยวน เมื่อ ค.ศ.1321 ทำด้วยสำริด หนักประมาณ 54 ตัน ยาว 5.3 เมตร สูง 1.6 เมตร พระสาวก 12 องค์ ที่เฝ้าอยู่ทำด้วยดินปั้น เขาเล่าว่าแต่ก่อนมีพระทำด้วยไม้จันทน์
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 68
(น.68) ที่มณฑลฮกเกี้ยนพบเรือโบราณมีเครื่องเคลือบมาก ที่กวางตุ้งก็พบเรือของราชวงศ์หยวน ข้อมูลต่างประเทศก็มีของที่พบในอ่าวไทย แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเครื่องถ้วยจีนจากฮกเกี้ยน กังไส เจ้อเจียง เสียเป็นส่วนใหญ่
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 138
((น.138) ราชวงศ์จิน (เผ่า Jurchen เป็นบรรพบุรุษของพวกแมนจู ค.ศ. 1115 – 1234) คนที่ดูมังกรหยก (อีกแล้ว) ควรจะรู้จักพวกนี้ ที่เราเรียกว่าพวกกิมก๊ก แต่งชุดแดง ๆ ที่เป็นคนตีราชวงศ์ซ่ง ได้ครองดินแดนภาคเหนือทั้งหมด ใน ค.ศ. 1126 แต่ตอนหลังก็ถูกพวกราชวงศ์หยวน (มองโกล) โจมตียึดดินแดนไป
สมัยราชวงศ์หยวน (หงวน) ตั้งอาณาจักรใน ค.ศ. 1206 ตั้งนามราชวงศ์ว่าหยวนในค.ศ. 1271 พิพิธภัณฑ์ตั้งเครื่องถ้วยที่พบในกานซู เคลือบสีแดง เครื่องเคลือบทำเป็นบ้านไม้ในสมัยราชวงศ์หยวน แสดงสถาปัตยกรรมสมัยนั้น ที่ประตูมีคนรับใช้ยืนอยู่ เจ้าของบ้านเป็นหญิงชรานั่งอยู่ที่หน้าต่าง
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 220-221
(น.220) ถ้ำตุนหวง ศิลปกรรมที่ถ้ำแห่งนี้เป็นมรดกตกทอดของจีนและทั่วโลก ถ้ำนี้สร้างใน ค.ศ. 366 ใช้เวลาถึง 10 ราชวงศ์ จนถึงปลายราชวงศ์หยวน เป็นเวลารวมแล้วพันกว่าปี ในปัจจุบันรักษาไว้แบบธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์นี้ต่างประเทศจะเทียบก็ไม่ได้ ถือว่ารักษาสมบูรณ์ที่สุดในโลก ถ้ำนี้รักษาวัฒนธรรมพุทธศาสนา ทั้งในด้านภาพเขียนฝาผนังและประติมากรรม ดูแล้วจะเห็นวิวัฒนาการผสมผสานของวัฒนธรรมจีน วัฒนธรรมซินเกียง วัฒนธรรมภาคตะวันตก วัฒนธรรมเอเชียใต้ เอเชียตะวันตก นักวิชาการล้วนกล่าวว่าตุนหวงเป็นจุดผสมผสานวัฒนธรรมจีนกับประเทศทางตะวันตก ศิลปกรรม
(น.221) ที่มีอยู่นี้สะท้อนประวัติศาสตร์จีนหลายยุคหลายสมัย ชนชั้นต่างๆ และชนชาติต่างๆ ของจีนในขณะนั้น
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 283
(น.283) สิ่งของที่แสดงวัฒนธรรมอิสลามของเผ่าเววูเอ๋อร์ เช่น คัมภีร์โกหร่าน แสดงให้เห็นว่าสมัยเดียวกันกับที่มีการนับถือศาสนาอิสลาม ศาสนาอื่นๆ ก็คงมีอยู่ เช่น มานีเคียน พุทธ คริสต์นิกายเนสโตเรียน ในสมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิงมีเสื้อเกราะจากฮามี เครื่องหยกจากเหอเถียน แกะสลักส่งไปเป็นสินค้าที่ภาคกลาง ที่เรียกกันสมัยนั้นว่าจงหยวน (ตงง้วน) สมัยราชวงศ์ชิงมีการทำแผนที่ภาคตะวันตก จักรพรรดิเฉียนหลงยกกองทัพมาปราบ เครื่องมือพิมพ์ผ้า โต๊ะวางหนังสือ มีพจนานุกรม 5 ภาษา เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 368,370
(น.368)
ราชวงศ์หยวน ก่อตั้งอาณาจักร ค.ศ. 1206
ผนวกราชวงศ์เซี่ยตะวันตก ค.ศ. 1227
ผนวกราชวงศ์จีน ค.ศ. 1234
ตั้งนามราชวงศ์ว่าหยวนใน ค.ศ. 1271
ผนวกราชวงศ์ซ่งใต้ ค.ศ. 1279
15. ราชวงศ์หยวน ค.ศ. 1279 – 1368
16. ราชวงศ์หมิง ค.ศ. 1368 – 1644
17. ราชวงศ์ชิง ค.ศ. 1644 – 1911
18. สาธารณรัฐ ค.ศ. 1912 – 1949
19. สาธารณรัฐประชาชนจีน ค.ศ. 1949 – ปัจจุบัน
(น.370) นอกจากพระจักรพรรดิต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ในหนังสือได้กล่าวถึงเจงกิสข่านด้วย เจงกิสข่านมีชื่อเดิมว่าเตมูจิน เกิดเมื่อประมาณ ค.ศ. 1167 ก่อตั้งอาณาจักรมองโกลใน ค.ศ. 1206 ปกครองอาณาจักรในช่วง ค.ศ. 1206 – 1227 เป็นปู่ของกุบิไลข่าน ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์หยวน
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 77
(น.77) คำว่า หูถง เป็นคำทับศัพท์จากภาษามองโกลว่า เซี่ยงทง แปลว่า ตรอก ซอย ออกเสียงเพี้ยนไปเป็น หูถง ในสมัยราชวงศ์หยวนซึ่งตั้งเมืองหลวงที่ปักกิ่งและได้พัฒนาเมืองนี้มาก ทั้งเมืองมีหูถงเพียง 29 สาย เมืองปักกิ่งในสมัยราชวงศ์หยวนเรียกว่า ต้าตู มาถึงราชวงศ์หมิง ในเขตกำแพงเมืองมีหูถง 900 กว่าสาย และนอกกำแพงเมืองมี 300 กว่าสาย สมัยราชวงศ์ชิง ในกำแพงเมืองมี 1,200 กว่าสาย นอกกำแพงเมือง 600 กว่าสาย การสำรวจใน ค.ศ.1946 ได้ข้อมูลว่าทั้งหมดมี 3,065 สาย ปัจจุบันคงเหลือน้อยลง เพราะรื้อทิ้งสร้างตึกสูง
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 138
(น.138) วัดถานเจ้อ
เดินไปที่สะพานหิน มีสิงโต 2 ตัว ใส่ตู้กระจกได้ความว่าเป็นสิงโตสมัยราชวงศ์หยวน เขากลัวของโบราณหัก จึงต้องมีตู้กระจกครอบไว้ ข้ามสะพานหินมีวิหารจตุโลกบาลในนั้นมีรูปพระเมตไตรย ด้านหลังเป็นรูปเหวยถัว (พระเวทโพธิสัตว์) ยืน
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 274-275
(น.274) เรื่อง ไจ้เซิงหยวน นี้ เฉินตวนเซิงได้สื่อสารความคิดการต้านวัฒนธรรมจีนที่ไม่ยกย่องไม่ยอมรับความสามารถและบทบาทของสตรี ผ่านตัวละครชื่อ เมิ่งลี่จวิน หญิงสาวผู้มีปัญญาเลิศ เชื่อมั่นในตนเอง ทำงานเก่ง มีความคิดล้ำสมัย ไม่ติดอยู่ในขนบประเพณี กล้าทำในเรื่องที่ตนเห็นสมควร นักวิจารณ์วรรณคดีวิเคราะห์ว่าเรื่องนี้มีเนื้อหาสาระน่าสนใจ จินตนาการดี การผูกเรื่องดำเนินเรื่องราบรื่น พรรณนาลักษณะของตัวละครได้ละเอียดแจ่มชัด บรรยายการต่อสู้และอุปนิสัยของพวกกังฉินตงฉินได้สมจริงไม่สุดขั้ว แม้เนื้อเรื่องจะสลับซับซ้อน แต่ผู้อ่านก็ไม่สับสน เพราะนำเสนอดีเป็นลำดับ รวมทั้งมีไคลแม็กซ์เป็นช่วงๆ การที่เนื้อเรื่องไม่ยอมรับขนบประเพณีจีน ทำให้วรรณกรรมเรื่องนี้มีชีวิตชีวามาก
ถานฉือ ไจ้เซิงหยวน ที่มีเมิ่งลี่จวินเป็นนางเอกนี้ คนไทยที่เป็นแฟนหนังทีวีจีนรู้จักกันดี เพราะมีหนังทีวีชื่อ เมิ่งลี่จวิน มาเผยแพร่ออกอากาศ
ส่วนเนื้อหาที่เฉินตวนเซิงประพันธ์ไว้มีสาระสำคัญว่า ในสมัยราชวงศ์หยวน ขุนนางผู้ใหญ่คนหนึ่งชื่อ เมิ่งซื่อหยวน เมื่อปลดเกษียณแล้วได้กลับมาอยู่บ้านเกิด ขุนนางคนนี้มีลูกสาวชื่อ เมิ่งลี่จวิน เป็นคนสวย ปัญญาดีหมั้นหมายกับหวงฝู่เซ่าหัว บุตรชายของหวงฝู่จิ้งจือ ผู้ว่ามณฑลยูนนาน มีชายหนุ่มอีกคนหนึ่งชื่อ หลิวขุย เป็นลูกของราชบุตรเขย (เป็นหลานของพระจักรพรรดิ) หลงรักเมิ่งลี่จวิน ต้องการแต่งงานกับนาง แต่ไม่สำเร็จเกิดความโกรธแค้น จึงวางแผนให้ร้ายตระกูลเมิ่งและตระกูลหวงฝู่ จนได้รับความเดือดร้อนลำบาก
เมิ่งลี่จวินตัดสินใจหนีออกจากบ้าน ปลอมเป็นผู้ชาย ไปเรียนหนังสือจนสอบได้เป็นจอหงวน เข้ารับราชการเป็นขุนนาง มีผลงานยอดเยี่ยมทำงานถวายสำเร็จหลายเรื่อง จึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นอัครเสนาบดีระหว่างที่เมิ่งลี่จวินเป็นใหญ่ ตระกูลหลิว (ตระกูลราชบุตรเขย พ่อของหลิวขุย) ตกต่ำ อำนาจถดถอยลง ส่วนหวงฝู่เซ่าหัวนั้นตำแหน่งหน้าที่ราชการก้าวหน้า จนได้เป็นอ๋องในท้องถิ่น เพราะเมิ่งลี่จวินช่วยส่งเสริม
Next >>