<< Back
เหอหนาน
เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 5 ภาคผนวก ค หน้า 27
(น.27)
4. สุสานซีหลิง ปัจจุบันอยู่ในบริเวณอำเภอยี่ ในมณฑลเหอเป่ย ณ ที่นี้มีสุสานไท่หลิงของพระจักรพรรดิหย่งเจิ้ง สุสานชางหลิงของพระจักรพรรดิเจียชิ่ง สุสานมู่หลิงของพระจักรพรรดิเต้ากวง สุสานช่งหลิงของพระจักรพรรดิกวงซู่ นอกจากนั้นยังมีสุสานของพระสนมอื่น ๆ สุสานซีหลิงมีพื้นที่กว้างขวาง เป็นโบราณสถานอีกแห่งหนึ่งของจีนที่ได้รับการอนุรักษ์เป็นพิเศษ
ค้นคว้าเรียบเรียงจาก “漢語大詞典” (ศัพทานุกรมภาษาจีนฉบับสมบูรณ์) เล่ม 5 หน้า 1313
หมายเหตุ คำว่า “ซีหลิง” แปลว่า “สุสานตะวันตก” นอกจากสุสานซีหลิงของราชวงศ์ชิงแล้ว ยังมีสุสานซีหลิงของพระจักรพรรดิเว่ยหวู่ตี้ในสมัยสามก๊ก ปัจจุบันอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอหลินจาง ในมณฑลเหอหนาน ด้วยเหตุนี้ คำว่า ตงหลิง ซีหลิง ที่ใช้กันนั้น จึงต้องพิจารณาว่าหมายถึง ตงหลิง ซีหลิง ณ ที่ใด ในสมัยไหน
เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงามหน้า 91
(น. 91)รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายการชลประทานเป็นเรื่องอันดับ 1 ในการสร้างสาธารณูปโภค ดีใจที่ได้ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระราชหฤทัยพัฒนาการเกษตร เห็นว่าประเทศเราทั้งสองจะร่วมมือกันได้ในด้านนี้ ถ้าบริษัทจีนประมูลได้ ก็จะทำดีที่สุด
ท่านหูเล่าว่าท่านเพิ่งกลับจากมณฑลเหอหนาน ไปตรวจงานการจัดการลุ่มแม่น้ำหวงเหอ ซึ่งเป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่ที่นั่นแต่ละปีช่วงปลายกรกฎาคม – สิงหาคม น้ำในแม่น้ำจะมาก เกิดอุทกภัย ยังเหลือเวลาอีก 3 เดือน ต้องเร่งบูรณะเขื่อน 2 ฟากแม่น้ำต้านน้ำท่วม และต้องทำความสะอาดขุดลอกคลองด้วย
การไปเยือนเจียงซูและเจ้อเจียง ข้าพเจ้าจะได้ไปเยือนหนานจิง (นานกิง) และหังโจว ซึ่งรวมอยู่ในเมืองหลวงโบราณ 7 แห่งของจีน ทราบว่าข้าพเจ้าเคยไปปักกิ่งและซีอานแล้ว คราวนี้ได้ไปอีก 2 เมือง เป็น 4 เมือง ยังมีลั่วหยัง ไคเฟิง และอานหยัง อีก 3 เมืองคราวนี้คงไปไม่ได้ แต่ว่าคราวหน้ายินดีต้อนรับ จะได้เห็นนครหลวงครบทั้ง 7 เมือง
ข้าพเจ้าว่า มีอีกหลายที่ที่เตรียมไว้ เมื่อวานนี้ได้พบศาสตราจารย์ชาวจีน ท่านนำหนังสือมาให้หลายเล่ม ใช้ข้อมูลดาวเทียมรวบรวมระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ศึกษาน้ำท่วมในจีนเมื่อปีก่อน การใช้ที่ดินการเกษตร ข้าพเจ้าถามว่าจะไปที่ไหนดี ท่านศาสตราจารย์แนะนำมณฑลหนิงเซี่ยและมณฑลชิงไห่
ท่านหูว่า ชิงไห่เป็นต้นแม่น้ำหวงเหอและฉังเจียง มีคนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่หลายกลุ่ม เช่น พวกหุย มองโกล อยู่ที่นั่นไม่
เจียงหนานแสนงามหน้า 130
(น. 130) หยวนเจิ่น (ค.ศ. 779 – ค.ศ. 831) เป็นกวีเอกและขุนนางสมัยราชวงศ์ถัง เป็นชาวเมืองลั่วหยังในมณฑลเหอ หนาน เมื่อเยาว์วัย มีฐานะยากจน ไป๋จวีอี้เองก็อยู่ในสถานะเช่นนี้เมื่อตอนเด็ก หยวนเจิ่นมีพรสวรรค์ในบทกลอน เริ่มเขียนบทกวีตั้งแต่เด็กใน ค.ศ. 800 สอบได้จิ้นซื่อ ปีนั้นมีคนสอบได้ 17 คน ไป๋จวีอี้ก็สอบได้เช่นกัน จิ้นซื่อเป็นการสอบแข่งขันเป็นบัณฑิตระดับประเทศ ผู้ที่สอบจิ้นซื่อได้ที่ 1 เรียกว่า จ้วงหยวน (จอหงวน)
เจียงหนานแสนงามหน้า 330
(น. 330) วันนี้พวกที่นั่งรับประทานอาหารด้วยกันก็เป็นพวกหน้าเดิม ท่านรองผู้ว่าฯ สอนภาษาจีนข้าพเจ้าอีกคือสำนวนที่ว่า เหล่าซานเพียน แปลว่า 3 บทเก่า หรือ 3 หน้าเดิม หรือ อย่างเก่าซ้ำๆ ซากๆ เป็นศัพท์สมัยปฏิวัติวัฒนธรรมที่ทุกคนต้องท่องสรรนิพนธ์ท่านประธานเหมาเจ๋อตงให้ได้สามบท ท่องซ้ำๆ อยู่อย่างนั้น
จากโรงแรมไปที่ร้านมิตรภาพ มีของขายหลายอย่าง แต่ว่าแพงกว่าข้างนอก หรือเขาจะบวกค่าล่วงเวลาก็ไม่ทราบ มีของตั้งแต่หมูแฮม ชา เก๊กฮวย ลูกเกดซินเกียง ว่าว หนังสือ ยาจีน ผ้า เครื่องเขียน และอื่นๆ
ข้าพเจ้ามาเยือนเจียงหนานเพียง 7 วัน ได้ไปชมเมืองหนานจิง หยังโจว เจิ้นเจียง ซูโจว หังโจว และเซ่าซิง ในช่วงสั้นๆนี้ไปเยือนถึง 6 เมือง จึงมิได้ชมถ้วนทั่ว จักรพรรดิเฉียนหลงยังต้องเยือนถึง 6 ครั้งเพื่อชมเจียงหนาน แม้ข้าพเจ้าจะมาเพียงช่วงสั้นๆ แต่ก็พอจะเข้าใจแล้วว่า เจียงหนานแสนงาม งามอะไร
อารยธรรมจีนมีจุดกำเนิดที่ลุ่มแม่น้ำหวงเหอหรือฮวงโห พื้นที่ของอารยธรรมเมื่อแรกเริ่มอยู่แถบมณฑลซานซี (ภาษาไทย-ชานสี) ซานตง (ชานตุง) และเหอหนาน (โฮนาน) ในสมัยชุนชิว-จั้นกั๋ว แคว้นต่างๆ ที่อยู่ในเจียงหนาน เช่น แคว้นอู๋ แคว้นเย่ว์ ยังมีความเจริญน้อยกว่าแคว้นต่างๆ ที่อยู่ในจุดเกิดอารยธรรม อย่างไรก็ตาม มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดขึ้นในเจียงหนาน 2 ช่วง คือสมัยราชวงศ์เหนือใต้ และสมัยราชวงศ์ซ่งใต้
ใน ค.ศ. 317 ราชวงศ์จิ้นได้หนีการรุกรานของพวกอนารยชนมาตั้งมั่นทางภาคใต้ ตั้งเมืองหลวงที่หนานจิง เรียกกันว่า
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 162
(น.162) วัดนี้สร้างเสร็จใน ค.ศ. 779 ก่อนหน้านี้ถึงแม้ว่าพุทธศาสนาจะเข้ามาในทิเบตแล้ว แต่ยังไม่มีพระสงฆ์และการประกอบพิธีกรรมที่ถูกต้อง กษัตริย์ฉือซงเต๋อจ้าน (ตรีซงเตเซน Trisong Detsen) ผู้สร้างวัดซังเยจึงตัดสินใจเชิญพระ 3 รูป คือ พระศานตรักษิตะ พระปัทมสัมภวะ แต่ต่อมาเชิญพระกมลศีละจากอินเดีย พระปัทมสัมภวะเป็นผู้เลือกสถานที่ก่อสร้าง และพระศานตรักษิตะเป็นผู้ออกแบบ เมื่อสร้างเสร็จแล้วพุทธศาสนากลายเป็นศาสนาประจำรัฐ ทางวัดเชิญพระผู้มีความรู้จากจงหยวนและอินเดียมาแปลพระสูตรเป็นภาษาทิเบต (คำว่า จงหยวน ภาษาจีนแต้จิ๋วว่า ตงง้วน หรือ China Proper ในภาษาอังกฤษนั้น คือ พื้นที่ช่วงกลางและช่วงใต้ของลุ่มแม่น้ำหวงเหอ ที่เป็นจุดกำเนิดอารยธรรมลุ่มแม่น้ำหวงเหอ พื้นที่ส่วนใหญ่ของจงหยวนอยู่ในมณฑลเหอหนาน บางส่วนอยู่ทางตะวันตกของมณฑลซานตง ทางใต้ของมณฑลเหอเป่ยกับมณฑลซานซี) กษัตริย์ฉือซงเต๋อจ้านคัดเลือกขุนนาง 7 คนมาบวชเป็นลามะ 7 รูปแรก วัดซังเยจึงเป็นวัดแรกที่ถึงพร้อมด้วยพระรัตนตรัย คำว่า ซัมเย่ (หรือ ซังเย ตามเสียงภาษาจีน) เป็นภาษาทิเบต แปลว่า “คิดไม่ถึง” เมื่อกษัตริย์ฉือซงเต๋อจ้านกล่าวขึ้นว่าจะสร้างวัด พระปัทมสัมภวะใช้เวทมนตร์เสกภาพวัดขึ้นมาในอุ้งมือ
เมื่อเข้าไปเป็นห้อง มีรูปปั้นนักแปลมีชื่อเสียง มีรูปผู้สร้าง 3 ท่านที่ได้กล่าวนามมาข้างต้น
สถาปัตยกรรมของวัดนี้เลียนแบบเขาพระสุเมรุ สูง 3 ชั้น มี 3 แบบ คือ แบบทิเบต แบบจีนสมัยราชวงศ์ฮั่น และแบบเนปาล
ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้หน้า 221
(น.221)ระดับหนึ่ง ส่วนจังหวัดทั่วๆ ไปจะใช้ว่าตี้ชีว์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคำว่า “โจว” เป็นศัพท์เก่าแก่ด้านการปกครองที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์จีนมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 220) ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบันจึงมีชื่อเขตการปกครองในระดับต่างๆ ของจีนเป็นจำนวนมากที่มีคำว่าโจวติดอยู่ด้วย โดยที่มิได้มีฐานะเป็นจื้อจื้อโจวแต่อย่างไร ทั้งนี้เพราะคำว่าโจวในเขตการปกครองเหล่านั้นได้ใช้กันมาเป็นเวลานานแล้ว ดังตัวอย่างประกอบข้างล่างนี้
นครที่ขึ้นต่อมณฑล (เสิ่งเสียซื่อ) ที่มีคำว่า “โจว” อยู่ด้วย เช่น หลานโจวในมณฑลกานซู เจิ้งโจวในมณฑลเหอหนาน หังโจวในมณฑลเจ้อเจียง และกว่างโจวในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง)
จังหวัด (ตี้ชีว์) ที่มีคำว่า “โจว” อยู่ด้วย เช่น ฮุยโจวในมณฑลอานฮุย หยางโจวในมณฑลเจียงซู และไถโจวในมณฑลเจ้อเจียง
เมืองที่ขึ้นต่อจังหวัด (ตี้ชีว์เสียซื่อ) เช่น สุยโจวในมณฑลหูเป่ย จังโจวในมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) และเฉาโจวหรือที่คนไทยเรียกว่าเมืองแต้จิ๋วในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง)
ดังนั้น คำว่า “จื้อจื้อโจว” ที่ภาษาอังกฤษใช้ว่า “Autonomous Prefecture” จึงน่าจะแปลเป็นภาษาไทยว่า “จังหวัดปกครองตนเอง” มีผู้แปลคำนี้ว่า “แคว้นปกครองตนเอง” ซึ่งดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกับความรับรู้ของคนไทยเท่าใดนัก เพราะคำว่าแคว้นในภาษาไทยสื่อความหมายถึงเขตการปกครองที่มีอิสระและปลอดจากอำนาจรัฐส่วนกลางในระดับสูง ขณะที่จื้อจื้อโจวของจีนมีอำนาจปกครองตนเองในระดับหนึ่งปัจจุบัน (ตามสถิติ พ.ศ. 2532) ประเทศจีนมีจื้อจื้อโจวอยู่ 30 จื้อจื้อโจวมณฑลที่มีมากที่สุดคือมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) มี 8 จื้อจื้อโจว รองลงมาคือมณฑลชิงไห่มี 6 จื้อจื้อโจว ภูมิภาคการปกครองตนเอง
มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 132
(น.132) กันยังได้พบหม้อเขียนสีดำและแดง ตามแบบวัฒนธรรมยางเชา (ยางเชาจริง ๆ พบที่เหอหนาน) อายุประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสตกาล แหล่งหม้อเขียนสี (เป็นวัฒนธรรมหินใหม่) ในกานซูมีหลายประเภท ได้แก่
1. หม่าเจี้ยเหยา อยู่ในอำเภอหลินเตา ตอนใต้ของกานซูมีลายเขียนภายในและภายนอกหม้อ เป็นลายรูปโลกและจักรวาล เครื่องมือหินใหม่ กระดูกสัตว์ ที่สำคัญคือมีดทำด้วยกระดูก แต่เจาะเป็นช่องใส่ใบมีดหินขัดอย่างบาง เข็มทำด้วยกระดูกสัตว์ (อายุประมาณ 5,000 – 4,000 ปีก่อนคริสตกาล)
2. ป้านชาน อายุประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ลายเขียนจะเป็นรูปฟันปลา
ยังมีอีกหลายแบบแต่ดูไม่ทัน
เขาได้จำลองหลุมฝังศพที่อู่เว่ยมาให้ดู เข้าใจว่าเป็นวัฒนธรรมฉีเจีย (4,000 -3,000 ปีก่อนคริสตกาล) มีโครงกระดูก 3 โครง เป็นชายโครงหนึ่ง หญิงสองโครง มีเครื่องถ้วยชามและลูกปัดอยู่ด้วย วัฒนธรรมนี้อาจารย์หลี่ฮั้วอธิบายว่าเป็นช่วงเวลาที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม คือกลายเป็นวัฒนธรรมที่ผู้ชายมีความสำคัญ เมื่อครั้งที่ย่ำแดนมังกรคราวที่แล้วข้าพเจ้าได้ไปดูวัฒนธรรมก่อนประวัติศาสตร์ที่ป้านโพ ซีอาน เขาอธิบายว่าเป็นวัฒนธรรมที่ผู้หญิงมีความสำคัญ เป็นสังคมแบบดั้งเดิม ไม่มีเวลาถามรายละเอียด (อีกแล้ว)
เดินไปอีกห้องผ่านร้านค้าของพิพิธภัณฑ์ (ซึ่งป้าจันอุตส่าห์ซื้อของได้) วัฒนธรรมต่อจากนี้เรียกว่ายุคโลหะหรือสังคมทาส เริ่มต้นตั้งแต่ก่อนสมัยราชวงศ์โจว มีของที่ใช้ในพิธีบูชาบรรพบุรุษ ได้ขุดพบหอยเบี้ยที่ใช้แทนเงินอย่างที่เมืองไทยก็มี (อายุ 3,500 ปี ก็น่าจะยังเป็นสมัยหินใหม่?)
ย่ำแดนมังกร
ย่ำแดนมังกร หน้า 53
(น.53) แล้วนำมาปฏิบัติได้ ถือเป็นเทคโนโลยีเหมาะสม นึกถึงเมื่อไปเชียงใหม่หลายปีมาแล้วเจอลุงคนหนึ่งแกเคยเป็น สล่า (นายช่าง) ทำเหมืองฝาย บอกเราว่าเดี๋ยวนี้แกเองเฒ่าแล้ว ไม่ทำงานอีกต่อไปจึงมอบเครื่องมือให้ข้าพเจ้าไว้เป็นที่ระลึก เครื่องมือนั้นทำด้วยไม้เป็นรูปสามเหลี่ยม มีเชือกห้อยลงมาถ่วงด้วยตะกั่ว เราถือไม้นี้ส่องจะเห็นระดับที่เท่ากัน นี่เป็นวิธีการของนายช่างที่เป็นชาวบ้าน ข้าพเจ้าเลยถามท่านเสิ่นผิงว่าของจีนมีวิธีอย่างไรบ้าง นอกจากเครื่องมือสมัยใหม่แล้ว ท่านเสิ่นผิงบอกว่า เรา (จีน) มีพวกหนุ่มสาวที่สร้างระบบชลประทาน ที่มณฑล เหอหนาน มีการสร้างคลอง ธงแดง (หงฉี) ซึ่งชาวบ้านทำกันเอง ใช้วิธีเอากาละมังน้ำตั้งบนไม้ เอาขวดผูกเชือก ฯลฯ ฯลฯ...ฟังไม่รู้เรื่องเลย เลยบอกว่าอยากรู้เหมือนกันเวลากลับบ้านทำให้ดูหน่อย จะได้เห็นภาพท่านก็หัวเราะ
พอดีรถเข้าเขตกำแพงเมืองจีนทำเอาโล่งใจไปหน่อย การเขียนเรื่องอะไรยาวๆ เหล่านี้เป็นการฆ่าเวลาคอยรถแล่นเท่านั้น เมื่อรถไปถึงกำแพงเมืองจีน ไกด์ก็ถามว่าจะเข้าห้องน้ำไหม ข้าพเจ้าหันไปถามพรรคพวกต่างก็บอกว่าไม่จำเป็น ก็เลยขึ้นดูเลย กำแพงเมืองจีนส่วนที่เราดูนั้นเรียกว่า ปาต๋าหลิ่ง อยู่ในอำเภอ เหยียนชิ่ง ซึ่งทางการจีนยุคปัจจุบันได้ซ่อมแซมเอาไว้เรียบร้อยแล้ว
กำแพงเมืองจีน (หรือในภาษาจีนเรียกว่า ฉางเฉิง) นั้นยาวทั้งหมด 6,700 กิโลเมตร เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกอย่างหนึ่งทีเดียว ได้ยินว่าเมื่อมนุษย์อวกาศออกนอกโลกไปแล้วหันกลับมามองโลกของเราอีก สิ่งสุดท้ายที่ได้เห็นบนโลกคือกำแพงเมืองจีนนี่แหละ
v
ย่ำแดนมังกร หน้า 126
(น.126) ได้ทราบว่าบริเวณใกล้เคียงนี้ยังมีวัดอรหันต์ห้าร้อย เขาบอกว่าพระอรหันต์แต่ละองค์ทำด้วยไม้ มีวัดพระนอน สมัยราชวงศ์ซ้อง สมัยนั้นอยู่ที่ เหอหนาน อีกทางมีวัด ลามะ แถวนั้นเป็นที่ฝังศพของท่าน ซุนยัดเซ็น เขาเล่าว่าตอนที่ท่าน ซุนยัดเซ็น ถึงแก่อนิจกรรมนั้น โซเวียตส่งโลงศพทำด้วยตะกั่วมาให้
เย็นสบายชายน้ำ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 214
(น.214) ไปที่พิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์ มีเวลาน้อยจึงดูได้คร่าว ๆ มีหินสลักแผนที่ดาวตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ทำให้คิดว่าสัตว์ประจำทิศทั้ง 4 น่าจะเป็นกลุ่มดาว คงจะต้องไปค้นเรื่องนี้ต่อ
มีเรื่องดาว Altair ที่หนุ่มเลี้ยงวัว (หนิวหลาง) กับสาวทอผ้า (จื๋อหนู่ว์) ปีหนึ่งสองหนุ่มสาวจะได้พบกันบนทางช้างเผือกหนหนึ่ง
ในตู้มีเครื่องปั้นศิลปะหยางเชา จากมณฑลเหอหนาน อายุประมาณ 5,000 กว่าปี ลายสีเขียนเป็นเรื่องดาราศาสตร์ ที่ซานตงก็พบเครื่องปั้นที่เขียนเรื่องดาราศาสตร์ อายุ 4,500 ปี แผนที่ดาวพบในสุสานที่อำเภอผู่หยาง มณฑลเหอหนาน เรื่องของจุดดับในดวงอาทิตย์ (sun spot) คนจีนโบราณสังเกตเห็นและบันทึกเอาไว้ว่า มีนกอยู่ในดวงอาทิตย์ อยู่ในหนังสือหวายหนานจื่อ
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 50
(น.50) ปลายสมัยราชวงศ์ถัง ราวคริสต์ศตวรรษที่ 9 มีเรื่องตระกูลอ๋องหมิ่นและชาวนาจากเหอหนานเข้ามาที่ผู่เถียน
สุสานมเหสีหมิ่น มีตุ๊กตาคนรับใช้ตัวเล็กๆ ตัวเป็นคนหน้าเป็นสัตว์ 12 ราศี (บางตัวเล็กกว่าตุ๊กตาสุสานที่เห็นของราชวงศ์ฮั่น)
เรือ (จำลอง) แบบที่ใช้ในการค้าขายต่างประเทศสมัยราชวงศ์ซ่ง คริสต์ศตวรรษที่ 12
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 174
(น.174) ที่สุเหร่ามีนายกสมาคมมุสลิมชื่อ Hajji Abdullah Huang Quirun มารับ ศาสนาอิสลามเข้ามาในจีนราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 ลูกศิษย์ของพระมะหะหมัดได้เดินทางมากับเรือสินค้า เข้ามาอยู่ที่เมืองเฉวียนโจวและเผยแพร่ศาสนาอิสลามที่เมืองนี้จนถึงแก่กรรม และมีสุสานอยู่ที่นี่ด้วย
มีข้อมูลบอกว่าในสมัยราชวงศ์ซ่งมีชาวมุสลิมจำนวนมากเป็นหมื่นๆ คนอยู่ที่นี่ มาจากเมือง Shiraj บริเวณอ่าวเปอร์เซีย ชาวเปอร์เซีย (อิหร่าน) เป็นผู้บูรณะสุเหร่านี้เมื่อ ค.ศ. 1310 ในสมัยราชวงศ์หยวน ปัจจุบันนี้เหลือเพียงประมาณ 1,000 คน ผู้สร้างสุเหร่าเป็นคนอาหรับ สร้างในปี ค.ศ. 1009 ตามประวัติว่าสร้าง 7 แห่ง ขณะนี้เหลืออยู่แห่งเดียว และเป็นวัด-ศาสนาสถานที่สำคัญ 1 ใน 10 ของจีน ที่รัฐบาลประกาศให้อนุรักษ์ใน ค.ศ. 1992
ที่เขาติดป้ายไว้ให้ดู มีดังนี้
1. สุเหร่าชิงจิ้ง เฉวียนโจว (คือที่เราดูอยู่)
2. วัดเส้าหลิน มณฑลเหอหนาน
3. วัดหันซาน เมืองซูโจว
4. วัดไป๋หม่า เมืองลั่วหยัง
5. วัดหลิงอิ่น เมืองหังโจว
6. วัดเซี่ยงกั๋ว เมืองไคเฟิง
7. วัดพระนอน ปักกิ่ง
8. วัดหลงซิง อำเภอติ้ง มณฑลเหอเป่ย
9. วัดจ๋าสือหลุนปู้ ทิเบต
10. วัดถ่าเอ่อร์ มณฑลชิงไห่
หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 110,114-122,126,130-132
(น.109) จดหมายฉบับที่ 6
(น.110) โรงแรมโซฟิเตล นครเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน
วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม 2543
หนีเห่าประพจน์
คุณอู่นั่งรถไปส่งที่สนามบิน บอกว่าที่จริงมณฑลซานตงยังมีอะไรให้ดูอีกมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวัฒนธรรม แถวๆ ริมทะเลก็ควรไป สมัยก่อนซานตงเป็นที่กันดาร คนซานตงจึงไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือกันมาก
ขึ้นเครื่องบินไปลงที่สนามบินนครเจิ้งโจว แล้วนั่งรถไปโรงแรมโซฟิเตลเป็นโรงแรมสร้างใหม่ ทันสมัย รับประทานอาหารกลางวันแล้วตอนบ่ายสองโมงไปที่ทำการคณะกรรมาธิการควบคุมแม่น้ำเหลือง (Yellow River Conservancy Commission) เจ้าหน้าที่พาไปที่ห้องประชุม รองผู้อำนวยการเลี่ยวอี่เว่ยเป็นผู้บรรยายสรุป คุณอู๋หันมาถามฉันว่าจะให้แปลไหม ฉันเห็นว่าล่ามของเขาทำท่าเตรียมพร้อมแปล นอกจากนั้นเขาเป็นคนของกรรมาธิการอาจจะรู้เรื่องเขื่อนดีกว่า ที่ไหนได้ แกพูดเร็วมาก ถึงเป็นภาษาไทยก็คงจะฟัง
(น.110)
รูป 79 ฟังบรรยายสรุป ที่ที่ทำการคณะกรรมการควบคุมแม่น้ำเหลือง
Listening to a briefing at the office of the Yellow River Conservancy Commission.
(น.114) มาตรการสำคัญ ได้แก่
การป้องกันน้ำหลาก ได้แก่ ตอนต้นของแม่น้ำต้องกั้นน้ำ ตอนล่างของแม่น้ำต้องระบายน้ำ แม่น้ำสองฝั่งต้องสร้างฝายย่อยกักเก็บน้ำเพื่อชะลอความเชี่ยวของสายน้ำ
รักษาทรัพยากรน้ำ ได้แก่ มาตรการเพิ่มพูนแหล่งน้ำ ประหยัดการใช้น้ำและบำรุงรักษาควบคู่กันไป แต่ยึดหลักประหยัดเป็นสำคัญ ให้บริหารงานอย่างมีเอกภาพ ควบคุมการระบายน้ำเสีย และปริมาณของน้ำเสียที่อนุญาตให้ระบายได้
การบำรุงรักษาน้ำ ใช้วิธีผสมผสานระหว่างการป้องกันกับการบริหารงานแก้ไขปัญหา และให้การบริหารเข้มแข็งมากขึ้น รวมทั้งการใช้มาตรการผสมผสานระหว่างฝ่ายวิศวกรรม ฝ่ายชีวภาพ และฝ่ายเกษตรรวมกัน
อาศัยการดำเนินงานอย่างทุ่มเทจริงจังตามนโยบายเศรษฐกิจ โดยเพิ่มความเข้มงวดกวดขันในการบริหารงานแก้ไขตามกฎหมาย ปัญหาแม่น้ำหวงเหอคงจะสามารถขจัดได้รวดเร็วและดีขึ้น
ดูวีดีโอพูดภาษาจีน ฟังไม่ค่อยเข้าใจ พอจับใจความได้ว่า กล่าวถึง ความสำคัญของแม่น้ำหวงเหอว่าเป็นแหล่งชีวิต ตั้งแต่ ค.ศ. 1952 ท่านประธานเหมากำชับเรื่องการจัดการลุ่มน้ำหวงเหอนี้มาก ต้นน้ำหวงเหอตั้งแต่ที่ราบสูงดินเหลืองที่ทิเบต ชิงไห่ ซินเจียง กานซู่ หนิงเซี่ย เหอหนาน และซานตง ไปลงที่ทะเลโป๋ไห่ ในประวัติศาสตร์มีน้ำท่วม เกิดปัญหามาก ประธานเหมาไปดู ค.ศ. 1952 ใน ค.ศ. 1999 ประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมินได้มาดูเรื่องการผลิตไฟฟ้า
(น.115)
รูป 80 แผนที่แสดงแม่น้ำเหลือง
Map of the Yellow River Basin.
(น.115) นั่งรถไปที่ พิพิธภัณฑ์ Yellow River Exhibition Hall ซึ่งทำมาตั้งแต่ ค.ศ. 1955 ขึ้นตรงกับสำนักงานชลประทานแม่น้ำหวงเหอ เป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางที่ทำขึ้นเป็นพิเศษ สำหรับรวบรวม สะสม และวิจัยค้นคว้าเกี่ยวกับแม่น้ำหวงเหอ เช่น ลักษณะพิเศษทางธรรมชาติ ระบบนิเวศน์ ประวัติศาสตร์ อารยธรรมของชาวลุ่มแม่น้ำ
มีนิทรรศการชลประทานสมัยราชวงศ์ซ่งและราชวงศ์ชิง ฟอสซิลและวัตถุโบราณที่ขุดพบในลุ่มน้ำ เช่น อักษรโบราณบนกระดองเต่าที่หมู่บ้านเสี่ยวถุนชุน เมืองอานหยัง มนุษย์หลานเถียนซึ่งอยู่ยุคเดียวกับมนุษย์ปักกิ่ง รูปภาพ ข้อมูล และผลงานศิลปะที่เกี่ยวกับแม่น้ำหวงเหออีกร่วมหมื่นชิ้น
ลักษณะพิเศษของแม่น้ำนี้คือ จะมีน้ำท่วมเล็กประจำปี ท่วมขนาดกลางทุก 3 ปี แต่ท่วมขนาดใหญ่ทุก 10 ปี แม่น้ำหวงเหอให้คุณอนันต์ แต่ก็สร้างภัยมหันต์แก่ประชาชน แม่น้ำนี้ชาวจีนทั้งรักทั้งกลัว จนมีคำกล่าวว่า “หวงเหอสงบ โลกสันติ” โลกในที่นี้หมายถึง จีน
(น.116)
รูป 81 โมเดลเขื่อน
Model of the dam.
(น.116) ธรรมชาติของมนุษย์ต้องการที่ดินอุดมสมบูรณ์สำหรับเพาะปลูก และชอบท้าทายธรรมชาติ สองฝั่งแม่น้ำหวงเหอจึงเป็นที่ทำมาหากินของมนุษย์มาตั้งแต่โบราณ รวมทั้งเป็นแหล่งก่อเกิดอารยธรรมจีนด้วย
แม่น้ำหวงเหอเป็นแม่น้ำยาวอันดับสองของจีน มีต้นน้ำจากเทือกเขาที่ราบสูงทิเบต-ชิงไห่ ในเขตกลางมณฑลชิงไห่ สูงเหนือระดับน้ำทะเล 4,500 เมตร ไหลผ่านมณฑลชิงไห่ เสฉวน กานซู่ หนิงเซี่ย มองโกเลียใน ส่านซี ซานซี เหอหนาน และซานตง ออกสู่ทะเลโป๋ไห่ที่รอยต่ออำเภอเขิ่นลี่กับอำเภอลี่จิน
มีรูปถ่ายตั้งแต่ต้นน้ำที่ชิงไห่ รวมทั้งแสดงว่าแม่น้ำมีการกั้นเขื่อนที่ไหนบ้าง มีแผนที่เริ่มตั้งแต่ชิงไห่เช่นเดียวกัน ผ่านมณฑลต่างๆ แล้วไปลงทะเลโป๋ไห่ มีสาขาของแม่น้ำหลายสาขา ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ ส่วนกลางของลุ่มน้ำ เนื้อที่ทั้งหมด 752,443 ตารางกิโลเมตร ความยาว 5,464 กิโลเมตร แสดงปัญหาตะกอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคกลางและปัญหาน้ำน้อย
(น.120) ไปพิพิธภัณฑ์มณฑลเหอหนาน เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รูปร่างอาคารดูสมัยใหม่มาก แต่ที่จริงแล้วทำเลียนแบบหอดูดาวโบราณ ผู้อำนวยการมาต้อนรับอธิบายว่าพิพิธภัณฑ์เหอหนานเริ่มก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1927 แต่ก่อนอยู่ที่เมืองไคเฟิง ปลายทศวรรษ 1950 ต่อต้น 1960 ที่ทำการรัฐบาลย้ายมาอยู่นครเจิ้งโจว พิพิธภัณฑ์จึงย้ายมาด้วย สร้างเสร็จ ค.ศ. 1959 มีพื้นที่ใช้สอย 15,000 ตารางเมตร ได้สร้างอาคารใหม่ระหว่าง ค.ศ. 1991-1994 เปิดให้เข้าชมได้ใน ค.ศ. 1998 จัดแสดงวัตถุโบราณในมณฑลเหอหนาน ซึ่งมีประมาณ 13,000,000 ชิ้น พื้นที่จัดแสดงประมาณ 78,000 ตารางเมตร ได้ดูวัตถุโบราณ 3 ห้อง ได้แก่ วัฒนธรรมโบราณเหอหนาน ศิลปะแกะสลักหิน มี 2 ห้อง คือ 1. ศิลปะชาวบ้าน 2. ศิลปะทางพุทธศาสนา
เครื่องหยกโบราณ ส่วนมากค้นพบจากในสุสาน เครื่องทองสำริดของรัฐฉู่ ซึ่งเป็นรัฐที่มิใช่ชนชาติจีน เป็นรัฐใหญ่มากกลางประเทศ อาณาเขตกว้างขวางถึงแถบมณฑลหูเป่ย รัฐฉู่มีภาษาและวัฒนธรรมที่ค่อนข้างแตกต่างจากจีน มีวรรณคดีตกทอดมาจนทุกวันนี้ จิ๋นซีฮ่องเต้มาตีรัฐนี้ จึงรวมประเทศได้
ศิลปกรรมสมัยราชวงศ์หมิงและชิง แสดงงานศิลป์ต่างๆ หลายรูปแบบ
นอกจากนั้นมีการแสดงเรื่องของไดโนเสาร์และไข่ไดโนเสาร์ให้เยาวชนชม แสดงประวัติภาคกลางเมื่อ 100 ปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ใหญ่ๆ เกิดขึ้นหลายอย่าง วัตถุโบราณที่แสดงในส่วนนี้มีประมาณ 3,000 ชิ้น
(น.120)
รูป 85 พิพิธภัณฑ์มณฑลเหอหนาน
He-nan Provincial Museum.
Next >>