<< Back
การเขียนอักษรพู่กันจีน
จากหนังสือ
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 42
(น.42) รูป 41 ครูหลี่สอนการเขียนพู่กันจีน
(น.42) 14:30 น. เรียนพู่กันจีน วันนี้ครูจังสอนเรื่องการลากเส้น 8 แบบ ลากที่ละเส้นแล้วนำมารวมกันเป็นตัว “หย่ง” (_) การเรียนพู่กันจีน นั้นจะต้องฝึก 4 เรื่อง
เทคนิคการเขียนเส้นต่างๆ 8 อย่าง การนำเอาเส้นมารวมกันจัดองค์ประกอบของตัวอักษร ตัวอักษรหลายๆ ตัวมารวมกัน อารมณ์ศิลปิน (romantic charm) และสไตล์ในการเขียน กว่าจะเรียนได้ก็ต้องใช้เวลานาน การบ้านคือ การเขียนข้อความว่า เทียนเหรินเหออี(ตัวอักษรจีน)แปลว่า สวรรค์กับมนุษย์สัมพันธ์สอดคล้องกันเป็นหนึ่งเดียว เขียนแค่นี้ก็ใช้การลากเส้นทั้ง 8 แบบ เมื่อเขียนแล้วต้องเซ็นชื่อ และเขียนวันที่ เดือน ปีแบบโบราณ ข้าพเจ้ายังไม่เข้าใจดีนัก แต่วันนี้มึนศีรษะแล้ว เมื่อเรียนจบแล้วอาจารย์นิออนกับจี้มาพอดี เอาอาหารจากสถานทูตมาไม่ต้องทำเอง รับประทานแล้วลงไปข้างล่าง เดินเล่นครึ่งชั่วโมง
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 123
(น.123) รูป 136 รูปที่เขียนแล้วปิดฝาผนังไว้
(น.123) รับประทานอาหาร วันนี้อาหารเยอะมากมีทั้งข้าวผัด เนื้อปั้นก้อน ซุป ผักดองแบบกิมจิของเกาหลี
รับประทานเสร็จจดบันทึก
ครูมาซ้อมเขียนตัวหนังสือ และเขียนชื่อเป็นอักษร 3 แบบ ข้าพเจ้าเขียนได้แต่ตัวบรรจง (ไข่ซู) ตัวหวัดแกมบรรจง (สิงซู) ตัวหวัด (เฉ่าซู) เขียนไม่เป็น วันนี้ครูชมว่าพัฒนาขึ้น ได้ความว่าครูจังสอนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสอนพู่กันจีนด้วย เป็นเพื่อนกับอาจารย์หวังเจี๋ยที่ข้าพเจ้าฟังบรรยายเมื่อวานนี้ ถามว่าทำไมยังไม่เกษียณ อาจารย์บอกว่าศาสตราจารย์เกษียณอายุ 63 ข้าพเจ้าถามว่าทำไมศาสตราจารย์จี้ไม่เกษียณ อาจารย์จังว่านั่นเป็นกรณีพิเศษ วันนี้ครูเขียนหนังสือให้ 4 ตัวว่า เสวีย อู๋ จื๋อ จิ่ง แปลว่า เรียนไม่รู้จบ เหมือนที่นายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลพูดไว้ว่า หัว เต้า เหล่า เสวีย แปลว่า มีชีวิตถึงแก่ ก็เรียนถึงแก่
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 170,171,172,173
(น.170) รูป 187 ครูจังสอนพู่กันจีน หัดเขียนชื่อและคำว่าไผ่
รูป 188 ตัวอักษรที่เขียน
(น.171) รูป 189 ตัวอักษรที่เขียน
(น.171) บ่ายสองโมงครึ่ง ครูจังสอนอักษรจีนมา ครูเขียนกลอน “จีนเด็ดดอกไม้” ที่ข้าพเจ้าแต่ง อาจารย์เผย์เสี่ยวรุ่ยแปล ให้ข้าพเจ้าตอกตราเพราะเป็นคนเขียนกลอน อาจารย์เผย์ก็ตอกตราเพราะเป็นคนแปล อีก 2 แผ่นเขียนตุ้ยเหลียนลอกมาจากวัด
ใบแรกเขียนว่า “ห้องนั่งสมาธิ ไม่มีโคมไฟ แสงพระจันทร์ส่อง ประตูวัดไม่มีสลัก มีแต่เมฆบัง”
ใบที่สองเขียนว่า “เสือยืนบนดินปกคลุมด้วยหิมะ (รอยเท้าเหมือน) ดอกบ๊วย 5 ดอก นกกระเรียนยืนอยู่ในทุ่งนา ปกคลุมด้วยเกล็ดน้ำแข็ง (รอยเท้าเหมือน) ใบไผ่ 3 ใบ”
(น.172) รูป 191 เขียนเสร็จตากลมไว้ที่เก้าอี้
รูป 190 กลอนที่ครูเขียนให้
(น.173) รูป 192 ตอนนี้เอาภาพที่ครูเขียนและตัวอักษรพู่กันที่ตัวเองเขียนปิดข้างฝา
(น.173) เสร็จแล้วฝึกเขียนอักษรหวัดแกมบรรจง –ตัวอักษรจีน- (ฮั่น ซื่อ จือ กวง) (ren –ตัวอักษรจีน-เหริ่น) –ตัวอักษรจีน- หย่ง -ตัวอักษรจีน- โฝ และเซ็นชื่อ
ครูเขียนบทกวีของหลี่ไป๋บทที่ข้าพเจ้าชอบให้ดูเป็นอักษร ลายมือเขียนหวัดแกมบรรจงและลายมือเขียนหวัด บอกว่าจะกลับไปเขียนดีๆ ให้ที่บ้าน
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 237,238
(น.237) ครูเขียนให้ดูก่อนภาพหนึ่งใช้แต่สีเขียวกับสีดำและผสมน้ำ ต้องเขียนแบบมีกำลังภายใน ลากเส้นยาวๆ ด้วยด้านข้างของพู่กัน ใช้สีดำเขียนรูปข้อไม้ไผ่ ทิศทางของกิ่งและใบต้องให้เหมาะสม ไม่ซ้ำซาก ต้องเขียนภาพสีอ่อนสีแก่ แสดงระยะ
เมื่อเสร็จแล้วครูให้เขียนคำว่า เกา เฟิง เลี่ยง เจี๋ย -ตัวอักษรจีน- (แปลว่า รสนิยมลีลาสูงสง่า คุณธรรมงามพิสุทธิ์) เป็นคำที่นิยมเขียนเวลาเขียนภาพต้นไผ่ และเขียนว่ามอบให้มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
ครูให้วาดอีกภาพหนึ่ง เป็นภาพใช้สีเขียวดำผสมกันเหมือนกัน เป็นภาพดอกบัว ครูวาดภาพใบบัวกับบัวตูมเอาไว้ ให้ข้าพเจ้าเติมภาพบัวบาน บัวต้องมีก้าน ข้าพเจ้ายังติดเขียนภาพต้นไผ่ ก้านบัวจึงออกมาประหลาด ครูแก้ให้นิดหนึ่งดูดีขึ้น
(น.237) รูป 240 เขียนรูปดอกบัวรูปนี้ให้ครู
(น.238) รูป 241 กำลังเซ็นชื่อ
รูป 242 ภาพที่วาดให้ครู