<< Back
ราชวงศ์ชิง
เจียงหนานแสนงาม หน้า 173,181,183-184,195-196
(น. 173) รายการแรกวันนี้ไปพิพิธภัณฑ์หยังโจว เดิมเป็นวัดในสมัยราชวงศ์ชิง ต่อมาเป็นโรงพิมพ์ที่ใช้แม่พิมพ์ไม้ แล้วเป็นพิพิธภัณฑ์
(น. 181) อาคารนี้ยังมีสิ่งของอื่นๆ จัดแสดงไว้ ตั้งแต่เครื่องสำริดสมัยต่างๆ เช่น กลองมโหระทึกมีอักษรจารึก เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ เช่น ตุ๊กตาอูฐ ม้าสมัยราชวงศ์ถัง เครื่องเคลือบ 5 สี สมัยราชวงศ์หมิง เครื่องประดับเงิน ไม้แกะสลัก สมัยราชวงศ์ชิง มีการสลักรากไผ่อย่างละเอียดประณีต แกะงาเป็นรูปตั๊กแตนในผักกาด แกะรูปปู นอกจากนั้นยังมีเครื่องหยก หินแกะสลัก และเครื่องเขิน
(น. 183) กำหนดการต่อไปเป็นการลงเรือชมทะเลสาบโซ่วซีหู โซ่ว แปลตามศัพท์ว่า ผอม แต่ในบริบทนี้ตรงกับคำว่า แคบ ในภาษาไทย ส่วนคำว่า ซีหู แปลว่า ทะเลสาบตะวันตก เพราะอยู่ทางตะวันตกของเมืองหยังโจว ทะเลสาบโซ่วซีหู เดิมมีชื่อว่า เป่าจั้นหู เป็นลำน้ำที่มีต้นน้ำมาจากภูเขาสู่กัง ทางตะวันตกเฉียงเหนือของหยังโจว ก่อนกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ยังมีสภาพเป็นลำน้ำหรือลำคลองธรรมชาติ ต่อมามีการสร้างสวนบนสองฟากฝั่งลำน้ำที่เรียวยาวคดเคี้ยว ก่อเกิดทัศนียภาพที่งดงาม ภาพกิ่งและใบต้นหลิวแตะลงบนผิวน้ำที่ทอดยาวสองฟากฝั่ง ภาพห้องหอศาลาในหมู่ไม้นานาพันธุ์ที่งามหลากสี นับจากนั้นเป็นต้นมาทะเลสาบโซ่วซีหูจึงเป็นที่ล่องเรือชมสวน ชมทิวทัศน์ ที่งามตระการ เป็นแหล่งท่องเที่ยวลือนามของหยังโจว
ลงเรือที่ท่าจักรพรรดิ เป็นท่าที่จักรพรรดิเฉียนหลงเคยมาลงเรือประพาสทะเลสาบ เรือลำที่ข้าพเจ้านั่งจึงให้ชื่อว่า เฉียนหลง ในเรือมีคนบรรยายว่า กวีหลี่ไป๋เคยมาที่หยังโจวในเดือนสาม (เทียบปฏิทินจีนแล้วตกประมาณเดือนเมษายน) และพรรณนาถึงดอกไม้งามในม่านหมอก ข้าพเจ้ามองสองฝั่งแล้วดูไม่ออกว่าเป็นทะเลสาบเหมือนกับแล่นเรือในลำคลอง เห็นคนมานั่งเขียนภาพอยู่ริมฝั่ง มีร้านขายขนม ร้านน้ำชา ซึ่งเป็นที่ชุมนุมของบรรดาคนที่มีชื่อเสียงและกวีที่จะต้องมาจิบน้ำชาคุยกันในตอนเช้า สมัยราชวงศ์ชิงรุ่งเรือง จักรพรรดิเฉียนหลง (ค.ศ. 1736 – 1795) เสด็จมาภาคใต้ 6 ครั้ง (ค.ศ. 1751, 1757, 1762, 1765, 1780 และ 1784) ทุกครั้งต้องมาแวะที่หยังโจว เมืองนี้เป็นศูนย์กลางของสินค้าข้าวและเกลือที่จะส่งไป
(น. 184) ทางเหนือ พ่อค้าเกลือเอาพระทัยจักรพรรดิ ด้วยการสร้างสวนที่สวยงาม 2 ฝั่งคลองยาว 10 ลี้ (ประมาณ 5 กิโลเมตร)
(น. 195) หลังไป 1,500 กว่าปี จักรพรรดิเซี่ยวอู่ตี้ แห่งราชวงศ์หลิวซ่งในสมัยราชวงศ์เหนือใต้เป็นผู้สร้างในรัชศกต้าหมิง อันเป็นรัชศกที่ใช้ในช่วง ค.ศ. 457 – 464 หรือกลางศตวรรษที่ 5 จึงเรียกชื่อวัดตามปีรัชศก คำว่า ต้าหมิง แปลว่า สว่างเจิดจ้า
ในสมัยราชวงศ์ถังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดซีหลิง แปลว่า ที่สถิตแห่งจิตวิญญาณ ราชวงศ์ซ่งกลับมาใช้ชื่อเดิมว่า วัดต้าหมิง ในสมัยราชวงศ์ชิง จักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จประพาสเมืองหยังโจว เห็นคำว่า ต้าหมิง ทรงไม่พอพระทัย เพราะทรงเกรงว่าจะทำให้ผู้คนคิดถึงราชวงศ์หมิง จึงให้เปลี่ยนชื่อเป็น ฝ่าจิ้งซื่อ หรือ วัดฝ่าจิ้ง คำว่า ฝ่าจิ้ง แปลว่า พระธรรมพิสุทธิ์ ใน ค.ศ. 1980 ได้เปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อดั้งเดิมคือ วัดต้าหมิง เพราะในเดือน 4 ปีนั้นได้อัญเชิญรูปปั้นพระเจี้ยนเจิน (ค.ศ. 688 – 763) จากประเทศญี่ปุ่น กลับมาตั้งบูชาที่วัดนี้
พระเจี้ยนเจินเป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงของวัดต้าหมิง ใน ค.ศ. 753 สมัยราชวงศ์ถังได้เดินทางไปเผยแผ่พุทธศาสนาที่เมืองนาราในประเทศญี่ปุ่น ได้ตั้งนิกายวินัยขึ้นที่นั่น และอยู่ที่ญี่ปุ่นจนถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 763 ท่านเคยฟันฝ่าอุปสรรคเดินทางไปญี่ปุ่นหลายครั้งแต่ไปไม่ถึง จนในครั้งที่ 6 จึงประสบผลสำเร็จ ที่วัดต้าหมิงมีหออนุสรณ์พระเจี้ยนเจินที่สร้างตามลักษณะสถาปัตยกรรมราชวงศ์ถัง สร้างแล้วเสร็จใน ค.ศ. 1973
เจ้าอาวาสบอกว่า วัดที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้สร้างในสมัยราชวงศ์หมิงแทนวัดเก่าที่ถูกไฟไหม้ไป บูรณะในสมัยราชวงศ์ชิงและสมัยปัจจุบัน ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม (ค.ศ. 1966 – 1975) วัดนี้
(น. 196) ไม่ถูกทำลาย เพราะท่านโจวเอินไหล มาห้ามไว้ทัน
เจียงหนานแสนงาม หน้า 223-224,237
(น. 223)
12. เครื่องเคลือบสมัยราชวงศ์ชิง มีเคลือบสีเหลือง ลายเขียว ม่วง เป็นชามใบใหญ่ ผู้บรรยายว่าเป็นของใช้จักรพรรดิ ทำสมัยจักรพรรดิคังซี (ค.ศ. 1662 – 1722) เครื่องถ้วยชิงหวา เป็นกาเหล้าลายครามสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง กระปุกมีฝาลายขาวเขียว ลายมังกรห้าเล็บ แจกันต่างๆ ตัวแจกันเป็นลายครามรูปกลมแป้น ลายดอกไม้ ลายกลีบบัว ในกลีบมีรูปมงคลแบบจีน แจกันสีฟ้า และยังมีช้างเคลือบสีเหลืองสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง
(น. 224) ส่วนภาพเขียนต่างๆ ที่นำมาให้ดูมีดังนี้
1. ม้วนภาพ เป็นรูปนก ไม้ เขา หิน มีลักษณะเป็นสมุดแบบฝึกหัดเขียนรูปหรือภาพร่าง ภาพม้วนนี้ถือเป็นสมบัติของชาติ ม้วนภาพแบบนี้หาได้ยาก เป็นผลงานของจิตรกรปลายสมัยราชวงศ์หมิงต่อต้นราชวงศ์ชิงชื่อ ปาต้าซันเหริน เป็นเชื้อพระวงศ์ราชวงศ์หมิง มีรูปฝูหรง กล้วยไม้ บัวเห็นแต่ใบ ดอกเหมย ก้อนหิน ทับทิม รูปกา ศิลปินมีความสามารถในการเขียนดวงตาของกา ผู้บรรยายบอกว่าอีกาตาโปนดูดุร้าย (ลูกตากลับขึ้นไปด้านบน) เพราะโกรธพวกราชวงศ์ชิงที่มายึดเมืองทางใต้
(น. 237) ซูโจวเป็นแหล่งวัฒนธรรมแคว้นอู๋ในสมัยชุนชิว รุ่งเรืองในสมัยราชวงศ์ชิง มีชื่อเสียงด้านวัฒนธรรม ยูเนสโกประกาศเป็นมรดกโลก
เจียงหนานแสนงาม หน้า 257-261,268-269,282
(น. 257) ส่วนตัวและวัดวาอาราม สมัยราชวงศ์ซ่งและหยวนนิยมศิลปะการจัดต้นไม้และหิน สมัยราชวงศ์ชิงนิยมสวนและศาลา
กล่าวโดยสรุปเขาถือว่า “บนแผ่นดินนี้สวนในเจียงหนานเป็นเลิศในความงาม สวนซูโจวงามเป็นเลิศในเจียงหนาน”
ศิลปะในการจัดสวนซูโจวมีวิวัฒนาการมาร่วมพันปี ถึงราชวงศ์หมิงและชิงควรนับได้ว่า เป็นศิลปะที่เป็นแบบฉบับ ทั้งยังได้ผสมผสานเข้ากับศิลปะสถาปัตยกรรมหลากหลายรูปแบบ ศิลปะการสลักลวดลาย โคลงกลอน ภาพวาด การเขียนตุ้ยเหลียน นับเป็นศิลปะอันงดงามสมบูรณ์ยิ่ง
สวนของจีนแบ่งเป็นสวนหลวงและสวนราษฎร์หรือสวนของเอกชน สวนหลวง เป็นที่ประทับและที่พักผ่อนหย่อนพระทัยของจักรพรรดิ มักมีขนาดใหญ่ มีการตกแต่งหลากหลายรูปแบบ นอกจากเป็นของจีนแท้ๆ แล้ว ยังนิยมเอาของแปลกๆ มาสะสมไว้ หรือมีรูปแบบสถาปัตยกรรมต่างประเทศมาผสมอยู่ด้วย รวมทั้งเป็นที่รวบรวมพืชสัตว์หายาก ส่วนสวนราษฎร์มีขึ้นภายหลังสวนหลวง (ซูโจวมีชื่อที่สุด) ผู้สร้างส่วนใหญ่เป็นขุนนาง (มักเป็นขุนนางนอกราชการ) หรือพ่อค้าที่มีฐานะดี รักธรรมชาติ และชมชอบศิลปะแขนงต่างๆ หรือพวกนักปราชญ์ นักคิด มีขนาดเล็กกว่าสวนหลวง
จากนั้นไปพิพิธภัณฑ์เมืองซูโจว สมัยกบฏไต้เผ็ง หรือไท่ผิงเทียนกั๋ว เคยใช้เป็นที่ทำการหลี่ซิ่วเฉิง ญาติของหงซิ่วฉวนผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าของพวกกบฏ และได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ในพื้นที่หลายมณฑลทางตะวันออกเฉียงใต้ที่พวกกบฏยึดครองไว้ได้ กบฏไท่ผิงเป็นกบฏชาวนาครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์จีน เกิดขึ้น
(น. 258) ในสมัยราชวงศ์ชิงระหว่าง ค.ศ. 1850 – 1864 พวกกบฏเริ่มก่อการในอำเภอกุ้ยผิง ภูมิภาคปกครองตนเองก่วงซี (กวางสี) แล้วเข้ายึดครองพื้นที่อีกหลายมณฑล พวกกบฏตั้งเมืองหลวงที่นานกิง และมีอุดมการณ์ว่าจะตั้งประเทศสวรรค์เปี่ยมสันติ (ไท่ผิงเทียนกั๋ว)
สถานที่ที่เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองซูโจวในปัจจุบันจึงมีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์จีนในศตวรรษที่ 19 ที่นี่เขาไม่ได้ให้ดูข้าวของต่างๆ ที่จัดแสดงไว้เพราะมีเวลาจำกัด แต่เอาของชิ้นเอกออกมาให้ชมเลย
1. คัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตร สมัยราชวงศ์ถัง เขียนตัวทอง มี 7 ม้วน พบในเจดีย์เมื่อ ค.ศ. 1976
2. คัมภีร์สัทธรรมปุณฑริกสูตร สมัยราชวงศ์ซ่ง
3. เครื่องถ้วยลายดอกบัว พบที่เนินเสือ เป็นสีเขียวไข่กา จากเตาเผาเย่ว์ ของมณฑลเจ้อเจียง สมัยราชวงศ์เหนือใต้ ใช้อุณหภูมิ
1,000 กว่าองศาในการเผา และจะต้องเผาในสูญญากาศจึงจะออกมาเป็นสีเขียว ถ้าอากาศเข้าจะกลายเป็นสีน้ำตาล กลายเป็นของไม่มีค่า
4. หยกสมัยราชวงศ์ชิง รัชกาลจักรพรรดิเฉียนหลง มาจากเมืองเหอเถียนหรือเมืองโคทาน ในภูมิภาคปกครองตนเองซินเจียง สลักเป็นตัวหนังสือว่า กั๋วไท่หมินอาน แปลว่า ชาติร่มเย็น ประชาเป็นสุข และ ไท่ผิงอู๋เซี่ยง แปลว่า ไม่มีเหตุ ประเทศสงบ หยกสีอย่างนี้หายาก
5. เครื่องปั้นดินเผาสีม่วงแดงรูปพระ เป็นของเมืองซูโจว สมัยราชวงศ์หมิง
(น. 259)
6. ถ้วยสุรา ทำด้วยดินเผาจื่อซา สมัยจักรพรรดิคังซี สลักรูปพืชที่เป็นมงคล เช่น มันฮ่อ (เหอเทา walnut) มีความหมายคือ ให้มีอายุยืน กระจับ ให้ความหมายว่า เฉียบไว ลิ้นจี่ หมายความว่า ได้กำไร มีไหวพริบ ถั่วลิสง หมายความว่า มีลูกหลานมากมาย แปะก๊วย เม็ดแตงโม ไม่ได้บอกว่าหมายความว่าอะไร
7. ที่วางพู่กัน เป็นดินเผาจื่อซา สมัยราชวงศ์ชิง เป็นรูปกิ่งไม้ มีจักจั่นเกาะ
8. ภาพวาดสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ รูปกษัตริย์ 5 พระองค์กำลังทรงพระเกษมสำราญอยู่กับเหล่านางสนมกำนัลในฤดูใบไม้ผลิ ภาพเขียนสีได้สวยงามมาก ภาพเครื่องเรือน อาคาร อาหารสมัยนั้น และการแต่งกายของบุคคลในภาพ แสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของคนในสมัยนั้นว่าเป็นเช่นใด
9. ภาพวาดสมัยราชวงศ์หมิง เป็นภาพเหมือนของนักปราชญ์ต่างๆ ในสมัยราชวงศ์ซ่งมาพบปะกัน แล้วร่วมกันเขียนตัวอักษร ที่ซีหยวน ในเมืองลั่วหยัง นักปราชญ์คนหนึ่งที่เห็นในภาพก็คือ ซูตงปัวหรือซูซื่อนั่นเอง
10. ภาพคนแก่ที่เขียนในสมัยราชวงศ์ชิง เขียนแบบโบราณ การใช้เส้นใหญ่ เล็ก หนัก เบา ทำให้ภาพนี้มีชีวิตชีวา ภาพของจงขุย ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเป็นยมบาล มีเรื่องเล่าว่า วันหนึ่งจักรพรรดิถังเสวียนจง (ค.ศ. 712 – 756) ทรงพระสุบินว่า เห็นผีตัวใหญ่จับผีตัวเล็กกินไปเลย ผีตัวใหญ่ทูลว่า เมื่อเป็นมนุษย์ เคยไปสอบแข่งขันเป็นจอหงวน แต่สอบตก จึงเอาศีรษะชนบันไดหินตายได้ตั้งปณิธานไว้ว่า เมื่อตายแล้ว จะปราบผีไม่ดี เลยกินผีตัวเล็กที่ไม่ดี จงขุยก็คือผีตัวใหญ่นั่นเอง
(น. 260)
11. การเขียนลายมือ (ซูฝ่า) ขนาดใหญ่ คนเขียนชื่อ สวีเหวินฉัง มีชื่อเสียงในการเขียนตัวอักษรจีน นอกจากนั้นยังมีความสามารถทางการพูดและมีความคิดลึกซึ้ง นับถือลัทธิเต๋า ซูฝ่าของเขาเป็นเรื่องธรรมชาติตามแนวลัทธิเต๋า เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างยินและหยัง ธาตุทั้ง 5 หรืออู่สิง (ไม้ ไฟ ดิน โลหะ น้ำ) ลีลาการเขียนของเขาแปลกใหม่ เหมือนกับการร่ายรำที่ต้องอาศัยที่กว้าง ไม่อยู่เฉพาะในกรอบสี่เหลี่ยม
12. คัมภีร์อวตังสกสูตร สมัยราชวงศ์ซ่งใต้ คนแซ่จางเขียนเก็บไว้ที่บ้านของตน มีลักษณะพิเศษคือตัวอักษรตั้งแต่ตัวแรกถึงตัวสุดท้าย ลายมือสม่ำเสมอเหมือนกันหมด มีการตีตารางกรอบสี่เหลี่ยมสำหรับเขียน กระดาษดีมาก ถึงจะเก่าแก่ก็ยังดูเหมือนของใหม่
13. จางอวี่ สมัยราชวงศ์หยวน เขียนบทกวีให้เพื่อนๆ
14. ภาพวาดใบไผ่และดอกกล้วยไม้ มองดูอ่อนๆ แต่มีพลัง เขียนสมัยราชวงศ์หมิง เป็นฝีมือของหวังตั๋ว มีบทกวีประเภทซือประกอบภาพด้วย การเขียนภาพประกอบบทกวีนี้เป็นที่นิยมในสมัยราชวงศ์ซ่งถึงราชวงศ์หมิง
(น. 260) รูป 181 ภาพวาดกิ่งไผ่และนก
Painting of bamboo
(น. 261) รูป 182 ถ้วยสุราทำด้วยนอแรด สมัยราชวงศ์หมิง
Wine glass made of rhino's horn, Ming Dynasty.
(น. 261)
15. ภาพวาดไม้ไผ่สมัยราชวงศ์หมิง ฝีมือหวังเหมิง ไม้ไผ่นี้ข้างนอกแข็งข้างในกลวงว่างเปล่า
16. ภาพเขียนทิวทัศน์ภูเขาอวี๋ซาน อำเภอฉังสู อยู่ห่างเมืองซูโจวประมาณ 40 กิโลเมตร เป็นภาพสีน้ำขาวดำ ฝีมือหวังเจี้ยน จิตรกรเอกสมัยราชวงศ์ชิง ในสมัยนี้ที่ซูโจวมีศิลปินเขียนภาพที่มีชื่อเสียงอยู่ 4 ท่าน ภาพเขียนของหวังเจี้ยนให้ความรู้สึกต่างๆ ตามฤดูกาล
17. ภาพดอกโบตั๋น ดอกลิลลี่ ดอกโก๋วฉี่หรือเก๋ากี้ (เครื่องยาจีนเม็ดแดงๆ) สมัยจักรพรรดิคังซี ราชวงศ์ชิง
18. ภาพดอกอวี้หลาน เขียนได้สวยงามดี
19. ลายมือของหวังเอ้า เสนาบดีสมัยราชวงศ์หมิง
20. ถ้วยสุราทำด้วยนอแรดสมัยราชวงศ์หมิง จักรพรรดิใช้สำหรับพระราชทานสุราแก่แม่ทัพที่อยู่บนหลังม้า ก่อนออกไปรบ เป็นการพระราชทานขวัญกำลังใจ
21. ภาพวาดท้าวจตุโลกบาลบนหีบไม้ เป็นศิลปวัตถุที่ทำขึ้นใน ค.ศ. 1013 สมัยราชวงศ์ซ่ง สำหรับเป็นที่เก็บรักษาพระบรมสารีริกธาตุ พบในเจดีย์รุ่ยกวง สีที่เขียนทำจากแร่ ทำให้ไม่ซีดจาง มีรูปมังกรทำด้วยมุก หีบใบนี้อยู่ในหีบอีกใบหนึ่ง
(น. 268) ไปวัดซีหยวน ผ่านแหล่งอุตสาหกรรม วัดนี้ตามประวัติว่าเป็นวัดโบราณ แต่ที่เห็นในปัจจุบันเป็นวัดใหม่ที่สร้างและบูรณะในสมัยจักรพรรดิกวงสู (ค.ศ. 1875 – 1908) แห่งราชวงศ์ชิง ในวิหารเทวราช มีรูปปั้นท้าวจตุโลกบาล ตรงกลางของวิหารมีรูปปั้นพระเมตไตรย ส่วนในมหาวิหาร มีรูปแกะสลักจากไม้ เป็นรูปพระศากยมุนีพุทธเจ้าอยู่ตรงกลาง ด้านหนึ่งเป็นรูปพระอมิตพุทธ
(น. 269)อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระไภษัชยคุรุ นอกจากนั้นมีพระกัสสปะ พระอานนท์ พระกวนอิมขี่ปลา เจ้าอาวาสเอาพระสูตรที่เขียนเป็นอักษรข่ายซู ลายมืองาม ทั้งชุดมี 81 เล่ม
(น. 282) เมืองซูโจวมีทั้งประวัติศาสตร์อันยาวนานและสภาพภูมิศาสตร์ที่ดี ทั้งเมืองเต็มไปด้วยแม่น้ำลำคลองและทะเลสาบใหญ่น้อย การคมนาคมทางน้ำสะดวก น้ำท่าอุดมสมบูรณ์ ภูมิอากาศอบอุ่น จึงเหมาะแก่การเพาะปลูกรวมทั้งการติดต่อค้าขาย ทั้งการค้าภายในและการค้ากับต่างประเทศ ซูโจวเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าแพรไหมมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ช่วงที่ราชวงศ์ชิงยังรุ่งเรืองเมืองซูโจวมีเครื่องทอแพรไหมถึง 3,000 - 4,000 เครื่อง มีคนงานหมื่นกว่าคน
เจียงหนานแสนงาม หน้า 291-292
(น. 291) อีกตึกหนึ่งแสดงสิ่งของสมัยราชวงศ์ชิงและต้นสาธารณรัฐ มีเตียงสลักลวดลาย ทำด้วยไม้แดง บางส่วนใช้กระดูกวัวและไม้หวงหยังสลักติดเข้าไป เกี้ยวเจ้าสาว เกี้ยวหลังนี้ถือว่าเป็นที่รวมศิลปะต่างๆ หลายอย่าง เช่น ลงรัก ปิดทอง ติดกระจก สลักไม้ สร้างสมัยสาธารณรัฐ นอกจากนี้มีเครื่องเรือน ฝังมุกไฟ
(น. 292) ไปอีกตึกหนึ่ง แสดงเครื่องปั้นดินเผาของเจ้อเจียงตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซังถึงราชวงศ์ชิง สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก สมัยชุนชิวพบเครื่องปั้นดินเผาปั้นเลียนแบบเครื่องสำริด สมัยราชวงศ์ฮั่นมีตุ๊กตาหน้าตาเหมือนคนอินเดีย สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก สมัยสามก๊ก สมัยราชวงศ์จิ้นตะวันออกและพวกราชวงศ์ใต้ มีเครื่องปั้นดินเผาสีดำเต๋อชิง สมัยราชวงศ์สุย ถัง ห้าราชวงศ์ มีเครื่องปั้นดินเผาที่ส่งถวายจักรพรรดิ และของที่พบในสุสาน สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือและซ่งใต้ มีของจากหลงเฉวียน นอกจากนั้นยังแสดงเครื่องปั้นดินเผาอื่นๆ ที่ทำในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้และราชวงศ์หยวน ราชธานีของซ่งใต้อยู่ที่หังโจว จึงมีเตาเผาหลวงหลายเตา เครื่องเคลือบหลงเฉวียน สมัยนั้นส่งออกต่างประเทศ เช่น ประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย มีข้อมูลประวัติศาสตร์จีนว่า ตั้งแต่คริสต์ศตวรรรษที่ 13 – 14 ประเทศไทยได้เทคนิคไปทำเอง สมัยราชวงศ์หมิงและชิง มีตู้กระจกบอกวิธีทำเครื่องปั้นดินเผาตั้งแต่เริ่มหมักดิน ขึ้นรูป เขียนลวดลาย จนถึงเคลือบและนำเข้าเตาเผา และยังมีแผนที่แสดงเส้นทางการค้าทางทะเลที่จีนส่งเรือไปค้าขาย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 22
(น.22) กำแพงเมืองจีนสมัยราชวงศ์หมิง กำแพงเมืองจีนที่นี่ก่อด้วยดิน ถูกกัดกร่อนด้วยลมพายุทรายและน้ำฝนตามธรรมชาติ จึงชำรุดทรุดโทรม บางคนบอกว่าที่พังมากเพราะไม่ได้รับการดูแลที่ดีในสมัยราชวงศ์ชิง เนื่องจากราชวงศ์ชิงเป็นชนชาติแมนจู ไม่มีปัญหาเรื่องการต่อต้านการรุกรานในพื้นที่ด้านนี้ สมัยโบราณมีคนกลุ่มน้อยเผ่าซีเชียงและเผ่าซีหรงอยู่ที่นี่ มีอาชีพเลี้ยงปศุสัตว์เร่ร่อน กำแพงเมืองจีนในรูปลักษณะนี้ต่อเนื่องไปจนถึงด่านเจียอวี้กวนในมณฑลกานซู่
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 41
(น.41) ขึ้นมาแล้วเดินทางต่อไปเกาเมี่ยว อยู่ในเมืองจงเว่ย* วัดนี้สร้างในสมัยจักรพรรดิหย่งเล่อ ราชวงศ์หมิง มีอีกชื่อว่า วัดเป่าอัน (รักษาสันติ) ที่เรียกว่าเกาเมี่ยว (แปลว่า วัดสูง) อาจเป็นเพราะสร้างอยู่บนป้อมเก่า ทำให้สูงกว่าวัดธรรมดา วัดนี้พังเสียหายและซ่อมสร้างขึ้นใหม่หลายครั้ง เช่น หลังแผ่นดินไหวสมัยจักรพรรดิคังซี ราชวงศ์ชิง ต่อมาใน ค.ศ. 1942 ไฟไหม้ต้องบูรณะใหม่อีก เดิมเป็นศาสนสถานของ 3 ศาสนา คือ พุทธ ขงจื้อ และเต๋า แต่ว่าปัจจุบันมีแต่ศาสนาพุทธ
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 80-81
(น.80) ทังกาสมัยราชวงศ์ชิง แสดงพุทธประวัติ ตั้งแต่ประสูติจนปรินิพพาน และถวายพระเพลิง แสดงท่าพระพุทธเจ้านั่งเวลาถวายพระเพลิง จะเป็นต้นความคิดการเผาแถวนี้
(น.81) ทังกาสำหรับถวายพระจักรพรรดิราชวงศ์ชิงมีตัวอักษรแมนจู ทิเบต และภาษาจีน
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 186-191
(น.186) มีห้องนิทรรศการให้ดู มีประวัติศาสตร์ทิเบตตั้งแต่สมัยราชวงศ์หยวน มีของให้ดู เช่น พระบรมราชโองการ กฎมณเฑียรบาลสมัยราชวงศ์หมิง มีเอกสารแสดงการใช้นโยบายพระราชทานตำแหน่งแก่ข้าราชการทิเบตและอื่นๆ
เอกสารราชวงศ์ชิง รัชศกซุ่นจื่อ ตั้งพระดาไลลามะ พระปันฉานลามะ และขุนนางทิเบต
เข้าไปในห้องนิทรรศการประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์หยวนถึงปัจจุบัน กฎหมายราชวงศ์หยวน ค.ศ. 1304 พระบรมราชโองการเป็นภาษามองโกล เขาอธิบายว่ามณฑลอื่นจะไม่ค่อยพบพระบรมราชโองการแบบนี้ มีป้ายทองภาษามองโกลด้วย
จักรพรรดิหงอู่ (จูหยวนจาง) ในราชวงศ์หมิง มีพระบรมราชโองการให้ตั้งจวนผู้ว่าราชการทั้งทหารและพลเรือนของเขตอาหลี่ใน ค.ศ. 1373 (เดือนที่ 2 ปีที่ 6) กระดาษที่เขียนเป็นสีๆ จวนที่ตั้งนี้เป็นทั้งบ้านพักและที่ทำการ
จดหมายเหตุสมัยราชวงศ์หมิง จักรพรรดิหย่งเล่อให้พระนิกายกาตัมปะของทิเบตไปปักกิ่ง
สมัยราชวงศ์ชิง มีเอกสารการแต่งตั้งดาไลลามะและพระปันฉานลามะ สมัยจักรพรรดิคังซีตั้งนายพลท่านหนึ่งที่ชนะกบฏของมองโกล เป็นปีที่ 60 ในรัชกาล
ใน ค.ศ. 1724 สมัยจักรพรรดิยงเจิ้งพระราชทานตราทองคำดาไลลามะองค์ที่ 7 มีภาษาทิเบต มองโกลและแมนจู (ไม่มีภาษาจีน) รวมทั้งมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเสนาบดีทิเบตที่ปราบมองโกลได้
(น.187) รูป 153 คำสั่งเสนาบดีทิเบต
Order of a Tibetan minister.
(น.187) จักรพรรดิเฉียนหลงอนุมัติรับรองดาไลลามะองค์ที่ 8 ในปีที่ 27 ของรัชกาล (ค.ศ. 1762) ในรัชศกเฉียนหลงปีที่ 44 ตรงกับ ค.ศ. 1779 ปันฉานลามะองค์ที่ 6 ไปเฝ้าจักรพรรดิเฉียนหลง เพื่อถวายพระพรในโอกาสพระชนมายุ 70 ปี
ค.ศ. 1762 จักรพรรดิเฉียนหลงอนุญาตให้ผู้ที่เป็นทายาททางวิญญาณของดาไลลามะขึ้นครองราชย์ได้
ค.ศ. 1793 เป็นปีที่ 58 ในรัชกาล จักรพรรดิเฉียนหลงขอออกกฎหมาย 29 ข้อ เริ่มประเพณีจับฉลากดาไลลามะจากแจกันทอง กฎหมายนี้ใช้อยู่ 100 กว่าปีจนถึงตอนที่ราชวงศ์ชิงถูกโค่นล้ม
คำสั่งเสนาบดีทิเบต อาศัยอำนาจกฎหมาย 29 ข้อ ให้ชาวทิเบตอยู่ในพื้นที่ที่มีอยู่ ออกคำสั่งใน ค.ศ. 1795 ปีที่ 60 รัชกาลจักรพรรดิเฉียนหลง
(น.188) จักรพรรดิเจียชิ่งให้ทายาทสืบทอดวิญญาณของดาไลลามะองค์ที่ 9 ขึ้นครองได้โดยไม่ต้องจับฉลากปีที่ 13 ของรัชกาล ค.ศ. 1808
จักรพรรดิเจียชิ่งตอบจดหมายดาไลลามะองค์ที่ 9 ซึ่งไปเฝ้าที่ปักกิ่ง ตั้งขุนนางสำเร็จราชการ ค.ศ. 1820
พระบรมราชโองการจักรพรรดิเต้ากวง ค.ศ. 1822 ตั้งขุนนางคนเดิมสำเร็จราชการ เมื่อดาไลลามะองค์ที่ 9 มรณภาพ ยังหาองค์ที่ 10 ไม่ได้
สาส์นแสดงความยินดีของจักรพรรดิเต้ากวงตอนฉลองดาไลลามะองค์ที่ 10 ค.ศ. 1823
จักรพรรดิเต้ากวงให้หาเด็กสืบทอดดาไลลามะองค์ที่ 10 ตั้งดาไลลามะองค์ที่ 11
จักรพรรดิเต้ากวงมีลายพระหัตถ์ป้ายชื่อวัดแห่งหนึ่งในซานหนาน
จักรพรรดิเสียนเฟิงออกพระบรมราชโองการตั้งเจ้าเมืองสำเร็จราชการที่ทิเบต เนื่องจากดาไลลามะองค์ที่ 12 ยังเด็ก แต่งตั้งดาไลลามะองค์นี้ใน ค.ศ. 1858 จับสลากแจกแจกันทองตามประเพณีที่เริ่มใช้ใน ค.ศ. 1793
จักรพรรดิถงจื่อเขียนลายพระหัตถ์พู่กันเป็นชื่อวัดจ๋าสือหลุนปู้ เป็น 4 ภาษา
ภาพที่พระนางซูสีเขียนให้ดาไลลามะองค์ที่ 13 ข้อความบนภาพนั้นเสนาบดีชื่อจางจือเว่ยเป็นผู้เขียน
Next >>