<< Back
ราชวงศ์ชิง
(น.188) รูป 154 ภาพฝีพระหัตถ์พระนางซูสีพระราชทานดาไลลามะองค์ที่ 13
Painting by the Empress Dowager Cixi, a gift to the 13th Dalai Lama.
(น.189) จักรพรรดิกวงสวี่ตั้งดาไลลามะองค์ที่ 13 พอตั้งไม่นานก็เปลี่ยนแปลงการปกครอง รัฐบาลจีนเลยให้การรับรอง
ป้ายที่จักรพรรดิเฉียนหลงเขียนให้วังโปตาลา แต่เขาอวดว่าที่ในหอจดหมายเหตุเป็นของแท้ เขียนเมื่อ ค.ศ. 1760 เป็นปีที่ 25 ในรัชกาล
หนังสือรายงาน (เขียนบนกระดาษ) ว่าทหารเนปาลโจมตีถึงทิเบตแล้ว ให้ทหารจีนไปปราบให้ได้ เอานายพล 2 ท่านจากเสฉวนมาประจำการที่เมืองลาซา และภาคส่วนหลังของทิเบต
บันทึกเสนาบดีทิเบตร่วมกับพระปันฉานลามะรายงานจักรพรรดิเต้ากวง ขอให้ปรับปรุงกฎหมายทิเบต 29 ข้อ
บันทึกประวัติที่อังกฤษเข้ามารุกรานทิเบต ฆ่าคนตายไป 3,000 คน ชิงทรัพย์สินชาวบ้าน ทำลายวัด
สมัยสาธารณรัฐ มีโทรเลขของยวนซีไขถึงดาไลลามะองค์ที่ 13
ลายมือเจียงไคเช็คถึงดาไลลามะองค์ที่ 13 ให้เข้าข้างรัฐบาลกลางของจีน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ ดาไลลามะองค์นี้มรณภาพใน ค.ศ. 1933 ในปี ค.ศ. 1940 ตั้งองค์ที่ 14
โทรเลขประธานกิจการมองโกล ทิเบต หวงมู่ซง
หลังจาก ค.ศ. 1959 มีลายมือประธานเหมาและหลิวเซ่าฉีถึงดาไลลามะ จดหมายหลิวเซ่าฉี จดหมายโจวเอินไหลถึงดาไลลามะ ลายมือเติ้งเสี่ยวผิงและเจียงเจ๋อหมิน
(น.190)ห้องจดหมายเหตุทิเบต แสดงวัสดุและวิธีการบันทึกจดหมายเหตุทิเบต คัมภีร์ใบลาน ทังกา การเขียนบนไม้ ปกคัมภีร์กันจูร์ทำด้วยไม้ แม่พิมพ์ไม้ที่นี่มี 100,000 แผ่น
มีรูปวาดรูปหนึ่งเขียนแบบชาวบ้านเขียนไม่ได้มีศิลปะอะไรมากนัก คนที่หอจดหมายเหตุบอกว่าเรื่องราวที่เขียนน่าสนใจ เขียน ค.ศ. 1941 แต่คาดเหตุการณ์อนาคตได้
ตอนที่ปันฉานลามะองค์ที่ 9 สิ้น ก็ต้องหาเด็กมาเป็นปันฉานลามะองค์ที่ 10 การแสวงหาต้องไปดูที่ทะเลสาบ เมื่อไปดูที่ทะเลสาบ ผิวน้ำสะท้อนเป็นภาพ 13 ภาพ ช่างจึงวาดเอาไว้ ภาพแรกเป็นภาพวัดที่มณฑลชิงไห่ ข้างๆ วัดมีต้นไม้ เด็กควรอยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบนี้ วัดที่อยู่ข้างๆ ควรเป็นวัดที่พ่อของเด็กเคยบวช มีเสือตัวหนึ่ง กระต่ายหลายตัว ตีความว่าเด็ก 2 คน ปีเสือกับปีกระต่าย คนที่ได้รับเลือกควรจะปีเสือ มีรูปผู้หญิงสันนิษฐานว่าเด็กคนนี้จะไปทิเบต รูปเจดีย์ไม่มียอด แสดงว่าจะลาสิกขาแล้วแต่งงาน (แต่งงานช่วงปฏิวัติวัฒนธรรมจริงๆ ) สีดำหมายถึงจะต้องเดินทางไกลและยากลำบาก นกปากแดงหมายถึงสิ่งที่ไม่เป็นสิริมงคลอายุอาจไม่ยืน วัดจ๋าสือหลุนปู้แสดงว่าจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในวัดนี้ มีกลองใหญ่สูงเท่าตึก 2 ชั้น แสดงว่าจะมีชื่อเสียง ตรงกลางเป็นรูปที่แสดงว่ามีการปกครองระหว่างชนชาติ
เอกสารอื่นๆ มีโฉนดที่ดิน เอกสารแสดงอัตราภาษี
(น.191) ดาไลลามะตั้งขุนนางมองโกล จดหมายเหตุเกษตรปศุสัตว์ เรื่องการปลูกต้นไม้ เลี้ยงแกะแพะ บัตรยกย่องเกษตรกรดีเด่น ผู้ที่เลี้ยงแกะได้มาก เงินโบราณต่างๆ แม่พิมพ์เงินธนบัตร แสตมป์ทิเบต รหัสโทรเลข เอกสารหลักฐานการสร้างถนนและท่าเรือ รายชื่อคนเป็นทหาร รายงานการทำอาวุธ ตำราหมอแมะทิเบต ภาพสรีระ สาเหตุของโรค แผนที่เขตเจียงจือ เขียนเป็นภาพแสดงภูเขาแม่น้ำเหมือนภาพฝาผนัง เป็นแผนที่สมัยราชวงศ์ชิง มีรายละเอียดสถิติมากมาย เช่น หมู่บ้านมีกี่วัด วัดมีลามะกี่รูป มีประชากรกี่ครัวเรือน มีหมาเฝ้าบ้านกี่ตัว การวัดเส้นทางบอกว่าขี่ม้าไปกี่วัน
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 224,227-228
(น.224) รับประทานเสร็จแล้วตอนบ่ายไปที่วังฤดูร้อนเย่อเหอ (Jehol) บริเวณอุทยานของวังนี้กว้างใหญ่ เป็นราชอุทยานที่ใหญ่ที่สุดของจีน จักรพรรดิคังซีโปรดสถานที่แห่งนี้ เริ่มสร้างวังใน ค.ศ. 1703 จักรพรรดิเฉียนหลงสร้างต่อจนเสร็จ วังแห่งนี้แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นตำหนักและสวน เป็นที่ประทับและว่าราชการ กับอีกส่วนหนึ่งเป็นป่าสำหรับล่าสัตว์และฝึกทหาร อีกประการหนึ่งเฉิงเต๋ออยู่ใกล้ชายแดนมีคนหลายเชื้อชาติ ที่สำคัญคือ ทิเบต แมนจู และมองโกล ราชวงศ์ชิงมีนโยบายขยายดินแดน รวมเชื้อชาติต่างๆ เข้าด้วยกันมาอยู่ที่เฉิงเต๋อจักรพรรดิมีโอกาสพบปะพูดคุยกับคนเชื้อชาติต่างๆ
(น.227) ห้องหนึ่งค่อนข้างใหญ่ เดิมเป็นที่พักของพวกนางใน ตอนนี้แสดงเครื่องกระเบื้องสมัยราชวงศ์ชิง มีหลายแบบ ไกด์เล่าว่าของพวกนี้ยังอยู่ดี เพราะนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลป้องกันไม่ให้พวกเรดการ์ดมาทำลายตอนปฏิวัติวัฒนธรรม ห้องที่จัดแสดงค่อนข้างมืดมองเห็นของไม่ชัด
ต่อไปเป็นห้องเล็กๆ มีห้องพระบรรทมซึ่งเป็นที่ที่จักรพรรดิเสียนเฟิงและจักรพรรดิเจียชิ่งสวรรคต ว่ากันว่าจักรพรรดิเสียนเฟิงประชวรโรคปอด ส่วนจักรพรรดิเจียชิ่งไม่แน่ใจว่าเป็นอะไร บริเวณใกล้ห้องบรรทมมีห้องที่จักรพรรดิลงพระนามในสนธิสัญญาต่างๆ คนจีนถือว่าเป็นห้องอัปยศ
(น.228) ที่ประทับพระนางซูสี ในตู้มีของต่างๆ ที่พระนางเคยใช้ มีของที่ชาวต่างประเทศถวาย มีเครื่องแต่งพระองค์ เสื้อผ้าขุนนาง เสื้อสุนัขก็ยังมี ไพ่ของพระนางดูเหมือนไพ่ตอง มีฉลองพระองค์พระนางซูสีที่ทรงใช้ทอดพระเนตรการแสดงงิ้ว มีทั้งที่ปักเป็นรูปมังกร รูปดอกไม้ (ใช้กับข้าราชการพลเรือน) และภาพสัตว์ (ใช้กับข้าราชการทหาร)
ห้องตะวันตก เป็นที่ประทับพระนางซูสีเมื่อจักรพรรดิเสียนเฟิงสวรรคตแล้ว พระนางหาวิธีจัดการขุนนาง 8 คน แล้วกุมอำนาจ
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 235
(น.235) วัดผู่หนิง เป็นวัดลามะหนึ่งใน 8 ที่เรียกกันว่า วัดนอกเมือง 8 วัด ที่จักรพรรดิให้สร้างฉลองวันพระราชสมภพของจักรพรรดิและพระราชมารดา วัดผู่หนิงนี้จักรพรรดิเฉียนหลงสร้างฉลองชัยชนะพวกมองโกลที่ก่อกบฏ เป็นการอธิษฐานขอให้มีความสงบสุขในแถบแอ่งทาริมและมีการปรองดองกันในชาติ
เมื่อไปถึงมีเจ้าอาวาสห่มเหลือง เอาผ้าฮาดาสีเหลืองมาให้ เมื่อเข้าประตูวัดไปมีศาลาศิลาจารึกเขียนเป็นภาษาจีน มองโกล ทิเบต แมนจู เล่าประวัติการที่จักรพรรดิราชวงศ์ชิงปราบคนกลุ่มน้อยทางภาคเหนือ จักรพรรดิถือว่าตนเองอยู่กลาง มีมองโกลและทิเบตอยู่ 2 ข้าง มีจีนหนุนหลัง จารึกที่เขียนเป็นลายพระหัตถ์จักรพรรดิเฉียนหลง ด้านซ้ายมีหอระฆัง ด้านขวามีหอกลอง ทุกวันเวลาสวดมนต์ต้องตีกลอง
ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 119
(น.119) หนังสืออีกเล่มที่น่าสนใจเป็นหนังสือนิเวศวิทยาเล่มแรกของจีน มีลักษณะเป็นพจนานุกรมพฤกษศาสตร์ สมัยราชวงศ์ชิง จักรพรรดิคังซี ที่จริงตำราเล่มนี้เริ่มเขียนมาตั้งแต่สมัยซ่ง แบ่งเป็นแผนกๆ เช่น แผนกดอกไม้ มีดอกเหมย อธิบายว่ามีกี่ชนิด อะไรบ้าง อธิบายลักษณะและอธิบายด้วยว่าดอกไม้นี้เติบโตอยู่ในสวนธรรมดา
หนังสือภาพชนชาติส่วนน้อยในมณฑลยูนนานสมัยราชวงศ์ชิงปีที่ 18 ในรัชกาลกวางสู เขาอวดว่าไม่มีที่อื่นอีก มีภาพสีสวยงามมาก แต่ที่ยากก็คือในสมัยต่างๆ นั้นชื่อชนชาติก็เรียกไม่เหมือนกับในปัจจุบัน เช่นพวกจ้วง เรียกว่า พวกหลงเหริน พวกอาข่า เรียกว่า ซานซู ส่วนพวกไป๋และพวกอี๋ เรียกว่า หลอหลอ ทำให้นึกถึงอาณาจักรต้าหลี่น่านเจ้าโบราณ เห็นจะเป็นพวกหลอหลอ แต่ไม่ชัดเจนว่าเป็นไป๋หรือเป็นอี๋หนังสือเล่มนี้ยังมีภาพชนกลุ่มน้อยอีกหลายเผ่า
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 174,179,180,211-214
(น.174) คัมภีร์ใบลานของสิบสองปันนาก็มีเป็นจำนวนมากเช่นกัน เป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ตำรายา นอกจากนั้นมีหนังสือภาษาไทใหญ่จากเต๋อหง มีคนแปลเป็นภาษาจีนแล้ว เอกสารที่พิมพ์แล้วอยู่ในตู้หนังสือ มีเอกสารโบราณของพวกอี๋ ปัจจุบันนี้พวกอี๋ได้ปรับปรุงตัวอักษรจากภาษาโบราณผสมกับอักษรจีนมาใช้ โทรทัศน์วิทยุก็ออกเป็นภาษาอี๋ เผ่าฮาหนี (อีก้อ) ใช้อักษรโบราณเขียนหนังสือ นอกจากนั้นยังมีพจนานุกรมภาษาฮั่น (จีน) - จิ่งพอ จีน – ลีซอ จีน – ตู๋หลง อี๋ – ฮั่น คัมภีร์ไบเบิลภาษาเหมียว (แม้ว, ม้ง) คัมภีร์ทิเบต ภาษามองโกล ภาษาหุย (อาหรับ) ภาษาเววูเอ๋อร์ (อุยกูร์) ภาษาคาซัก ภาษาแมนจู หนังสือเรื่องอักษร 5 ลักษณะในราชวงศ์ชิง มีภาษาหม่าน (แมนจู) ฮั่น (จีน) มองโกล ทิเบต และหุย หนังสือวรรณคดีทิเบตสมัยต่างๆ
(น.179) พิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย ข้างหน้าพิพิธภัณฑ์มีจารึกอักษรชาติต่างๆ 9 ชาติ คือ อี๋ ตงปา (เผ่านาซี) ทิเบต จิ่งพอ ลีซอ หว่า (ว้า) ลาฮู ไทใหญ่ (เต๋อหง) ไทลื้อ (สิบสองปันนา)
ของในพิพิธภัณฑ์มีเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ขวานหินขัด เครื่องมือล่าสัตว์ เช่น ธนู บ้าน กระจกสำริด เหรียญเงิน หอยเบี้ย เครื่องประดับสมัยจ้านกว๋อ จอบ แท่งเงินชนิดต่างๆ ที่พบในยูนนาน หนังสือใบลาน กระดาษทำจากเปลือกต้นโก้ว ใช้รากผักกูดเป็นปากกา
(น.180) ชั้นบนเป็นเรื่องเสื้อผ้า เครื่องประดับ ส่วนใหญ่ทำด้วยเงิน มีกำไลต่างๆ ตุ้มหู เสื้อผ้าเผ่าต่างๆ มีรองเท้าคู่เล็กๆ ตอนแรกคิดว่าเป็นรองเท้าเด็กที่จริงเป็นรองเท้าผู้หญิงโตๆ ที่ถูกรัดเท้า เสื้อผ้าที่จักรพรรดิราชวงศ์ชิงให้ชนชาติไต่สมัยนั้น ตราประทับที่จักรพรรดิพระราชทานเจ้าเมืองไต่ ดาบอาญาสิทธิ์ เสื้อผ้าขุนนางราชวงศ์ชิงให้เจ้าเมืองชนชาติอี๋ ของพวกนี้ทางมหาวิทยาลัยเก็บจากชาวบ้านนานมาแล้ว
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 211-214
(น.211) เขตการปกครองด้วย ในสมัยราชวงศ์ถังได้จัดเขตการปกครอง “เต้า” ขึ้นเป็นเขตการปกครองสูงสุดระดับมณฑล ในตอนแรกมี 10 เต้า ต่อมาเพิ่มเป็น 15 เต้า ในสมัยราชวงศ์ซ่งได้เปลี่ยนชื่อเขตการปกครองระดับมณฑลมาเป็น “ลู่” (路) มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ขอบเขตและการรวมอำนาจเข้าส่วนกลาง แต่แนวคิดก็ยังเป็นเขตการปกครองระดับมณฑลอยู่ ในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงได้จัดตั้งเขตการปกครอง “เต้า” ขึ้นอีก แต่มิได้อยู่ในฐานะของมณฑล หากมีฐานะกลางๆ ระหว่าง “มณฑล” และ “เมือง” ทำหน้าที่ตรวจตราราชการของเมืองในฐานะตัวแทนของมณฑล เช่น ในสมัยราชวงศ์ชิงที่มณฑลยูนนานได้จัดตั้ง “ผู่เอ๋อเต้า” ขึ้นที่ด้านเหนือของเชียงรุ่ง เพื่อกำกับดูแลสิบสองปันนาและหัวเมืองใกล้เคียง
1.5 ฝู่ (府) ความหมายเดิมของคำว่า “ฝู่” หมายถึง ทำเนียบ คฤหาสน์ของขุนนางผู้ใหญ่ แต่ในขณะเดียวกันก็ใช้ในความหมายถึงเขตการปกครองด้วย ในสมัยราชวงศ์ถังได้จัดตั้งเขตการปกครอง “ฝู่” ขึ้น หมายถึง เมืองที่มีขนาดใหญ่และมีความสำคัญ ส่วนเมืองที่ขนาดรองลงมาเรียกว่า “โจว”
การแบ่งเมืองออกเป็นระดับต่างๆ นั้นไทยเราก็แบ่งเช่นกันเป็นเมืองเอก เมืองโท เมืองตรี เมืองจัตวา เมืองเอก เมืองโท เมืองตรีนั้นยังมีเมืองเล็กๆ เป็นเมืองบริวารมาขึ้นอยู่ด้วย ดังนั้น คำว่า “เมือง” ในความรับรู้ของคนไทยจึงสื่อความหมายถึง หน่วยการปกครองเหนือระดับหมู่บ้านขึ้นมาจนถึงประเทศ มีระดับของความเป็นเมืองต่างกัน และตรงกับคำภาษาอังกฤษหลายคำตั้งแต่ town, city จนถึง nation state เช่น เมืองบางละมุง เมืองมโนรมย์ (town) เมืองพิษณุโลก เมืองนครศรีธรรมราช (city) เมืองไทย เมืองจีน เมืองอังกฤษ (nation state)
(น.212) ในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง มีทั้งโจวที่ขึ้นกับฝู่ และโจวที่มีฐานะเป็นเมืองอิสระ คำว่า “โจว” เป็นคำเก่าแก่ที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์การปกครองของจีน เช่นเดียวกับคำว่า “เสี้ยน” ทั้งสองคำนี้มีการปรับเปลี่ยนขอบเขตในแต่ละช่วงสมัย และยังเป็นคำที่ใช้อยู่ในการจัดระเบียบเขตการปกครองของจีนในปัจจุบัน คำว่า “ฝู่” ที่แปลว่า “เมือง” นี้ คนไทยออกเสียงเพี้ยนไปเป็น “ฟู” เช่น ต้าหลี่ฝู่ เป็น ตาลีฟู
1.6 ลู่ (路) ความหมายเดิมของคำว่า “ลู่” หมายถึง ทาง เส้นทาง ถนน ลู่ทาง แนวทาง แต่ในขณะเดียวกันก็ใช้ในความหมายถึงเขตการปกครองด้วย ในสมัยราชวงศ์ซ่งได้จัดเขตการปกครอง “ลู่” ขึ้นเป็นเขตการปกครองสูงสุดระดับมณฑล แทนที่เต้าซึ่งได้จัดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง การยุบเลิกเต้าเปลี่ยนมาเป็นลู่เป็นการปรับเปลี่ยนในแง่ของพื้นที่ขอบเขตและการรวมอำนาจเข้าส่วนกลาง แต่แนวคิดยังคงเป็นเขตการปกครองระดับมณฑล สมัยราชวงศ์ซ่งในตอนแรกมี 21 ลู่ ต่อมามีการปรับเปลี่ยนขึ้นลงเป็น 15 ลู่บ้าง 18 ลู่บ้าง และ 23 ลู่บ้าง ในสมัยราชวงศ์หยวนได้เปลี่ยนมาเรียกเขตการปกครองระดับมณฑลเป็น “สิงเสิ่ง” หรือ “เสิ่ง” ส่วนคำว่า “ลู่” หมายถึง เขตการปกครองที่รองลงมาและขึ้นกับเสิ่ง “ลู่” ในสมัยราชวงศ์หยวนเทียบเท่า “ฝู่” ในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ถึงสมัยราชวงศ์หมิงได้ยุบเลิก “ลู่” เปลี่ยนมาตั้ง “เต้า” ขึ้นมาแทน เป็นหน่วยการปกครองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างมณฑลและเมืองดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
1.7 จวิน (军) ความหมายเดิมของคำว่า “จวิน” หมายถึง ทหาร กองทัพ และเป็นคำนามที่ใช้ประกอบกับคำอื่นๆ ในการจัดระเบียบหน่วยการปกครองของกองทัพมาตั้งแต่สมัยชุนชิว แต่
(น.213) ในสมัยราชวงศ์ซ่งได้ใช้ความหมายถึงเขตการปกครองด้วย จวินเป็นหน่วยการปกครองที่ตั้งขึ้นเฉพาะในราชวงศ์นี้ มีอยู่ 2 ประเภท ประเภทแรกมีฐานะระดับเดียวกับฝู่ โจว และเจี้ยน ขึ้นกับลู่ ส่วนอีกประเภทหนึ่งมีฐานะระดับเดียวกับเสี้ยน ขึ้นกับฝู่หรือโจว หลังสมัยราชวงศ์ซ่ง จวินถูกยุบเลิกไป
1.8 เจี้ยน (监) ความหมายเดิมของคำว่า “เจี้ยน” หากเป็นคำกริยา แปลว่า ควบคุม หากเป็นคำนาม แปลว่า ขุนนาง แต่ในขณะเดียวกันก็ใช้ในความหมายถึงเขตการปกครองด้วย เจี้ยนก็เช่นเดียวกับจวิน กล่าวคือ เป็นหน่วยการปกครองที่ตั้งขึ้นเฉพาะในสมัยราชวงศ์ซ่ง เจี้ยนจะจัดตั้งในอาณาบริเวณที่เป็นเขตเศรษฐกิจ เช่น บ่อเกลือ เหมืองแร่ ทุ่งเลี้ยงม้า แหล่งหลอมเงินตรา เป็นต้น เจี้ยนมี 2 ประเภทเช่นกัน ประเภทแรกมีฐานะระดับเดียวกับฝู่หรือโจว ขึ้นกับลู่ ส่วนอีกประเภทหนึ่งมีฐานะระดับเดียวกับเสี้ยน ขึ้นกับฝู่หรือโจว หลังสมัยราชวงศ์ซ่งเจี้ยนถูกยุบเลิกไป
1.9 สิงเสิ่ง (行省) หรือเสิ่ง (省) ในสมัยราชวงศ์หยวนมีการปรับปรุงเขตการปกครองระดับมณฑลทั้งในด้านพื้นที่และการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง รวมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็น “สิงเสิ่ง” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “เสิ่ง” ในสมัยราชวงศ์หยวนมี 12 เสิ่ง ถึงสมัยราชวงศ์หมิงมี 15 เสิ่ง สมัยราชวงศ์ชิงในระยะแรกมี 18 เสิ่ง ระยะหลังเพิ่มเป็น 22 เสิ่ง ส่วนในสมัยรัฐบาลจีนคณะชาติ (ค.ศ. 1912-1949) เพิ่มขึ้นเป็น 25 เสิ่ง คำว่า “เสิ่ง” ยังคงใช้อยู่ในการจัดระเบียบเขตการปกครองของจีนในปัจจุบัน
1.10 ทิง (厅) ความหมายเดิมของคำว่า “ทิง” หมายถึง ห้องโถง เป็นเขตการปกครองเฉพาะที่ตั้งขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง ใน
(น.214) อาณาบริเวณที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ซึ่งส่วนใหญ่อยู่แถบชายแดน เช่น อำเภอหลานชางในมณฑลยูนนานที่มีชนชาติมูเซอร์อยู่มาก ได้ตั้งขึ้นเป็น “เจิ้นเปียนทิง” (镇边厅)แปลตามศัพท์ว่า “ปราบชายแดน” ทิงมี 2 ประเภท ประเภทแรกมีฐานะระดับฝู่หรือโจว ขึ้นกับเสิ่ง ส่วนอีกประเภทหนึ่งมีฐานะระดับเสี้ยน ขึ้นอยู่กับฝู่หรือโจว
มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 31,33
(น.31) พระราชโอรสคือ พระเจ้าเฉียนหลงได้ขึ้นครองราชย์ จึงอุทิศตำหนักนี้ถวายเป็นของวัดลามะ เมื่อ ค.ศ. 1744 เพื่อให้ชาวทิเบตและชาวมองโกลมีความภักดีต่อแมนจู ได้เชิญลามะ 7 องค์ มาจากมองโกเลีย ปลายสมัยราชวงศ์ชิงวัดนี้ทรุดโทรมมากเพราะไม่มีทุนบูรณะ มาบูรณะใหม่เมื่อปลด
(น.33) ปล่อยแล้ว ขณะนี้ก็มีพระชาวมองโกลอยู่วัดนี้ได้รับความคุ้มครองจากโจวเอินไหล ตอนปฏิวัติวัฒนธรรมนักศึกษาจะมาทำลายวัด ท่านโจวได้ให้ท่านหันเหนียนหลงมาคุยกับนักศึกษาไม่ให้เข้าทำลาย จึงรักษาไว้ได้ ขณะนี้มีพระลามะอยู่ 30 องค์
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 138
(น.138) สมัยราชวงศ์ชิง (เช็ง) ค.ศ. 1644 (ปีที่เข้าปักกิ่งทางด่านซ่านไห่กวน) – 1911 แสดงแผนที่เมืองหลานโจวเมื่อ 200 ปีมาแล้ว สมัยนั้นเรียกชื่อว่าเมืองจินเฉิง
มีศิลาจารึกที่กำแพงเมือง และแสดงภาพวาดของศิลปินท้องถิ่นในสมัยราชวงศ์ชิง
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 186
(น.186) หอเจียยู่กวนมองไปทางทิศใต้เห็นเก๋งหนึ่งอยู่ใกล้ ๆ ภายในเก๋งมีศิลาจารึกสมัยราชวงศ์ชิง ผู้สร้างศิลาจารึกเป็นผู้บัญชาการทหารมณฑลซูโจว (กานซู) ชื่อนายพลหลี่ถิงเฉิง
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 204-207
(น.204) เดินไปที่บ่อน้ำซึ่งหัวชู่ปิ้งเทสุราลงไป ข้างหน้ามีบทกวีของหลี่ไป๋
ถ้าท้องฟ้าไม่ชอบสุรา
ดาวสุราก็ไม่อยู่บนฟ้า
ถ้าแผ่นดินไม่ชอบสุรา
แผ่นดินก็ไม่ควรมีจิ่วฉวน
มีธรรมเนียมตั้งแต่เมื่อไรก็ไม่ทราบที่จะต้องโยนเหรียญลงในบ่อ แต่ถ้าจะให้ดีต้องให้เหรียญตกช้า ๆ หรือให้ลอยอยู่ได้ยิ่งดี ภายหลังข้าพเจ้าจึงทราบเทคนิคว่าจะต้องเอาเหรียญไปคลุกกับทรายก่อน แล้วเอื้อมมือค่อย ๆ วางไปให้ถึงน้ำ เหรียญจึงจะไม่จม
บริเวณสวนสาธารณะนี้มีทะเลสาบสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูชุนเทียน มีต้นหลิวมากมาย มีประวัติว่าในราชวงศ์ชิง ค.ศ. 1867 นายพล
(น.205) รูป 133. บ่อน้ำที่มีประวัติว่าขุนพลหัวชู่ปิ้งเทสุราพระราชทานเพื่อจะได้แบ่งให้นายทหาร พลทหารในกองทัพได้ดื่มกันทั่วถึง
A pond in which, according to a legend, General Huaquping poured liquor bestowed upon him by the Emperor so that everyone in his army, offices and privates, could partake of the imperial gift equally.
รูป 134. ทดลองลอยเหรียญในบ่อ
The floating coin.
(น.206)จว่อจงถังมาเป็นแม่ทัพภาคและข้าหลวงใหญ่ที่นี่ ได้ทำความเจริญให้มณฑลส่านซีและกานซูอย่างมาก สรุปแล้วบริเวณนี้มีความสำคัญในหลายราชวงศ์ เช่น ฮั่น ถัง ทางสายแพรไหมก็ผ่านมาที่นี่ จักรพรรดิเฉียนหลงในราชวงศ์ชิงเคยเสด็จมาแถวนี้ ในบริเวณนี้มีวัดซึ่งกำลังบูรณะอยู่ ปิดทองพระพุทธรูปเสร็จเรียบร้อยแล้วจะเปิดให้ประชาชนเข้านมัสการได้
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 225-226,249
(น.225) ถ้ำที่ 217 เป็นถ้ำราชวงศ์ถังในสมัยที่เจริญที่สุด การเขียนลายละเอียดมาก มีสีมากขึ้น แสดงสวรรค์ในพุทธศาสนา ตามคัมภีร์ฝ่าหัวจิง
(น.226) (สัทธรรมปุณฑริก?) มีใจความว่าพระพุทธเจ้าทรงเกื้อกูลประชาชนทั่วทั้งปฐพี เบิกลู่ทางให้สัตว์โลกทั้งปวงให้ล่วงพ้นภัยในวัฏสังสาร
ภาพที่เขียนประกอบเป็นภาพผู้ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนาขอคัมภีร์ภาพพุทธประวัติตอนเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์ ข้อที่ควรสังเกตคือการเขียนรูปพระได้อย่างมีชีวิตชีวา แฝงลักษณะของคนจีนไว้
ออกมาข้างนอกเพื่อเดินลงมาชั้นล่าง อาจารย์ต้วนอธิบายว่าถ้ำนี้สมัยราชวงศ์ถังทำเป็น 3 ชั้น สมัยอู่ใต้ (ห้าราชวงศ์) เป็น 5 ชั้น ราชวงศ์ชิง เพิ่มเป็น 9 ชั้น
(น.249) ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศาสนาอิสลามเผยแพร่มาแถบนี้ เมืองตุนหวงก็ซบเซาไปพักหนึ่ง จนถึงราชวงศ์ชิงก็ได้ทำนุบำรุงขึ้นมาใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 265
(น.265) สุเหร่าซึ่งมีหอสูงสำหรับอิหม่ามขึ้นไปสวดชักชวนคนมาสวดมนต์ ทำด้วยอิฐ เป็นแบบเววูเอ๋อร์ ผู้ที่เริ่มก่อสร้างเป็นเจ้าเมืองชื่อเอ๋อมิน ใน ค.ศ. 1777 ไก๊ด์เล่าว่าเอ๋อมินได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองสมัยพระเจ้าคังซี ลูกชายชื่อสุไลมานเป็นผู้สร้างต่อ ตอนนั้นเมืองนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์ชิงไปแล้ว หอนี้จึงได้ชื่อว่าซูกงถะ แปลว่าหอเจ้าซู
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 283
(น.283) สิ่งของที่แสดงวัฒนธรรมอิสลามของเผ่าเววูเอ๋อร์ เช่น คัมภีร์โกหร่าน แสดงให้เห็นว่าสมัยเดียวกันกับที่มีการนับถือศาสนาอิสลาม ศาสนาอื่นๆ ก็คงมีอยู่ เช่น มานีเคียน พุทธ คริสต์นิกายเนสโตเรียน ในสมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิงมีเสื้อเกราะจากฮามี เครื่องหยกจากเหอเถียน แกะสลักส่งไปเป็นสินค้าที่ภาคกลาง ที่เรียกกันสมัยนั้นว่าจงหยวน (ตงง้วน) สมัยราชวงศ์ชิงมีการทำแผนที่ภาคตะวันตก จักรพรรดิเฉียนหลงยกกองทัพมาปราบ เครื่องมือพิมพ์ผ้า โต๊ะวางหนังสือ มีพจนานุกรม 5 ภาษา เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 302
(น.302) ข้าพเจ้าไม่ได้ดูเรื่องจอมใจจอมยุทธ แต่มีคนเล่าให้ฟัง (จากหนังสือไม่ใช่ดูจากวิดีโออย่างเดียว) ไก๊ด์บรรยายว่าตามที่เล่ากันจักรพรรดิเฉียนหลงยกทัพมารบทางเมืองปาฉู่ เซียงเฟยตกเป็นเชลย จักรพรรดิรักพระนางเซียงเฟยมาก สร้างตำหนักและสวนตามแบบกาชการ์ให้ด้วย พอพระนางเซียงเฟยตายมีคนแห่ศพกลับมาที่กาชการ์
เล่ากันว่าสุสานนี่เป็นที่ขอลูกได้ โดยการเอาด้ายผูกหน้าต่างเหมือนที่อินเดีย
เรื่องเล่าเกี่ยวกับพระนางเซียงเฟยเป็นตำนานที่แพร่หลายของเมืองกาชการ์ นิยายหลายเรื่องได้นำเอาตำนานเรื่องนี้ไปเขียนเพิ่มเติมให้มีสีสันยิ่งขึ้น เมื่อกลับจากจีนข้าพเจ้าได้อ่านเรื่องสุสานของครอบครัวอาบัคโคจา และเรื่องพระนางเซียงเฟย จากเอกสารที่มณฑลซินเกียงให้มา จึงได้ทราบว่านักประวัติศาสตร์จีนได้ค้นคว้าวิเคราะห์เรื่องพระนางเซียงเฟยแล้ว และได้สรุปว่าพระนางเซียงเฟย ก็คือพระสนมหรงเฟยนั่นเอง พระนางมีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1734 – 1788 เป็นพระสนมที่จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดปราน และไม่ได้ถูกฮองไทเฮากลั่นแกล้งจนตาย เมื่อพระนางเซียงเฟยสิ้นชีวิตแล้วก็ได้ฝังศพอยู่ที่สุสานตงหลิงของราชวงศ์ชิง
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 369-370
(น.369) รายพระนามพระจักรพรรดิที่กล่าวถึงใน “มุ่งไกลในรอยทราย” และปีที่ครองราชย์
(น.370) ราชวงศ์ชิง
คังซี ค.ศ. 1661 – 1722
หย่งเจิ้ง ค.ศ. 1723 – 1736
เฉียนหลง ค.ศ. 1736 – 1795
ซวนถ่ง (หรือปูยี) ค.ศ. 1908 – 1911
Next >>