<< Back
ราชวงศ์ชิง
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 65
(น.65) ต้นอวี้หลาน (Magnolia) สีขาว ปลูกในสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง (ค.ศ.1736-1795) แห่งราชวงศ์ชิง ตอนนี้เพิ่งเริ่มฤดูใบไม้ผลิจึงมีแค่ดอกตูมๆ
อาคารที่เข้าไปดู ด้านนอกประตูมีลายพระหัตถ์จักรพรรดิเฉียนหลง ด้านในประตูเป็นลายพระหัตถ์พระนางซูสี เป็นคำทางพุทธศาสนาทั้งนั้น ที่เพดานมีลายไม้สลักรูปมังกรในบ่อน้ำ มีพระพุทธรูป 3 องค์ (ตรีกาล) คือ พระอมิตาภะ พระศากยมุนี และพระไภษัชยคุรุ
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 77
(น.77) ห้องรับประทานอาหารจัดเป็นห้องนิทรรศการแสดงประวัติของเหล่าเซ่อ ท่านเป็นลูกคนแมนจูที่มีฐานะค่อนข้างยากจน อยู่ในกองธงสีแดง (ในแปดกองธงหรือปาฉี) ชื่อเดิมว่า ซูชิ่งชุน มีอีกชื่อว่า เซ่อหยู เกิด ค.ศ.1899 ที่เสี่ยวหยังเชวียนหูถง ทางตะวันตกของปักกิ่ง ปัจจุบันเรียกว่า เสี่ยวหยังเจียหูถง
คำว่า หูถง เป็นคำทับศัพท์จากภาษามองโกลว่า เซี่ยงทง แปลว่า ตรอก ซอย ออกเสียงเพี้ยนไปเป็น หูถง ในสมัยราชวงศ์หยวนซึ่งตั้งเมืองหลวงที่ปักกิ่งและได้พัฒนาเมืองนี้มาก ทั้งเมืองมีหูถงเพียง 29 สาย เมืองปักกิ่งในสมัยราชวงศ์หยวนเรียกว่า ต้าตู มาถึงราชวงศ์หมิง ในเขตกำแพงเมืองมีหูถง 900 กว่าสาย และนอกกำแพงเมืองมี 300 กว่าสาย สมัยราชวงศ์ชิง ในกำแพงเมืองมี 1,200 กว่าสาย นอกกำแพงเมือง 600 กว่าสาย การสำรวจใน ค.ศ.1946 ได้ข้อมูลว่าทั้งหมดมี 3,065 สาย ปัจจุบันคงเหลือน้อยลง เพราะรื้อทิ้งสร้างตึกสูง
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 98
(น.98) พระไตรปิฎกโบราณนี้เริ่มสลักสมัยราชวงศ์สุย (ค.ศ.581-618) พระสงฆ์ชื่อจิงหวั่นเป็นผู้เริ่มสลัก ทำอยู่ 30 ปี ได้เพียงพระสูตรเดียว คือ มหาปรินิวาณสูตรใน ค.ศ.639 ต่อจากนั้นได้สลักต่อๆ กันมาจนมาถึงราชวงศ์ชิง เป็นเวลาพันปีเศษ จึงแล้วเสร็จใน ค.ศ.1691 มีจำนวนแผ่นหิน 15,061 แผ่น รวม 900 กว่าพระสูตร ถ้าจะอ่านก็ต้องใช้แว่นขยายดู ขณะนี้ที่วัดฝังซานดูของจริงได้แล้ว ที่เขาบอกว่าฝังดิน ที่จริงก็คือเอาไว้ห้องใต้ดิน ซึ่งเขาเรียกว่าถ้ำ มีประตูเปิดเข้าได้
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 134
(น.134) คณะจากสถานทูตมาสมทบ ทูตฟู่กับภรรยาอู๋จวิ้นก็มา และพวกอาจารย์มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ไปที่วัดถานเจ้อ อยู่ห่างจากปักกิ่ง 45 กิโลเมตร เริ่มสร้างสมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ.265-316) 1,700 กว่าปีมาแล้ว แต่เดิมชื่อว่า วัดเจียฝู สมัยราชวงศ์ถังเรียกว่า วัดหลงเฉวียน
วัดนี้สร้างก่อนสร้างเมืองปักกิ่งเสียอีก ปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ใน ค.ศ.1692 สมัยจักรพรรดิคังซี เปลี่ยนชื่อเป็นวัดซิ่วอวิ๋น เรียกกันมาจนทุกวันนี้ แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดถานเจ้อ เพราะมีบ่อน้ำและต้นเจ้อ (คือต้นหม่อนพันธุ์หนึ่ง) บนภูเขา
สมัยราชวงศ์ชิงวัดนี้เป็นวัดหลวงที่สำคัญอันดับที่ 1 ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 มีพระสงฆ์มากกว่า 3,000 รูป ใน ค.ศ.1997 วัดนี้จึงมีผู้มาปฏิบัติศาสนกิจ
วัดนี้ตั้งอยู่บนไหล่เขา อาคารต่างๆ เรียงรายกันไปตามลำดับชั้นความสูงของภูเขา มีประตู สะพานหิน วิหารจตุโลกบาล วิหารมหาวีระ วิหารไวโรจนะ เป็นต้น
เย็นสบายชายน้ำ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 107
(น.107) กวนซิงถิง (หอดูดาว) 6 เหลี่ยม เขาว่าเป็นหอที่ขงเบ้งดูดาว หอนี้ที่จริงสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิงนี่เอง
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 176-178
(น.176) เดินขึ้นชั้น 2 มีร้านน้ำชาสำหรับนักท่องเที่ยว ถึงชั้น 2 โผล่หน้าต่างดู เห็นยอดเจดีย์ทำด้วยสำริด ไกด์อธิบายว่าเป็นยอดหอนกกระเรียนเหลืองตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง หอพังไปแล้ว เหลือแต่ยอดแค่นี้เอง หอนี้พังไปสร้างใหม่ทุกราชวงศ์ ถือเป็นเรื่องแปลก สร้างครั้งแรกสมัยสามก๊ก ค.ศ. 223 ซุนกวนสร้างเอาไว้ดูศัตรู
ตอนนี้รอบๆ หอเป็นสวนสาธารณะกระเรียนเหลือง มองออกไปเห็นอาคารทรงจีนชื่อ อาคารเมฆขาว (ไป๋หยุน) มีเอ่ยถึงในบทกวีสมัยราชวงศ์จิ้น เดิมชื่อหอใต้ (หนานโหลว) เพิ่งเรียกหอเมฆขาวเมื่อสมัยราชวงศ์หมิง ที่จริงกวีขึ้นไปแต่งบทกวีที่หอเมฆขาว ไม่ใช่ที่หอนกกระเรียนเหลือง
(น.177) ไปที่ห้องหนึ่ง ซึ่งทำหอจำลองนกกระเรียนเหลืองในสมัยต่าง ๆ เล่าประวัติว่าหอนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยสามก๊กประมาณ ค.ศ. 223 ซุนกวนสร้างเป็นหอดูข้าศึก เขาเล่าเรื่องสามก๊กตอนเล่าปี่ตีกังตั๋ง เรื่องกวนอูฆ่าตัวตาย
สมัยราชวงศ์ถัง เป็นสถานที่ใหญ่โตหรูหรา มีหลายตึก
สมัยราชวงศ์ซ่ง ก็ใหญ่เหมือนราชวงศ์ถัง
สมัยราชวงศ์หยวน ใช้ในทางยุทธศาสตร์อย่างแท้จริงคือ เอาไว้ดูข้าศึก
(น.178) สมัยราชวงศ์หมิง เป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพในจีน เพราะว่าถูกเผาไปบ่อยๆ เมื่อใดที่สร้างขึ้นมาและอยู่ได้ แสดงว่าประเทศสงบสุขและมั่นคง
สมัยราชวงศ์ชิง ที่เราเห็นยอดหลังคาตั้งไว้ในสวน หอปัจจุบันคล้ายสมัยราชวงศ์ชิงมากที่สุด
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 199
(น.199) ไปที่ตึกหอสมุด มีหนังสือจำนวนมาก ใช้คอมพิวเตอร์ลงทะเบียนหนังสือ แต่ก็ยังใช้บัตรรายการหนังสือ มีหนังสือต่างๆ ที่ข้าพเจ้าเขียนอยู่บ้าง คิดว่าจะส่งหนังสือให้เขา มีห้องหนังสือโบราณตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิงประมาณ 51,000 เล่ม การจัดหมวดหมู่ของหนังสือแยกประเภทเป็น จิง (คัมภีร์ศาสนา) สื่อ (ประวัติศาสตร์) จื่อ (ปรัชญา) จี๋ (เรื่องต่างๆ เบ็ดเตล็ด) มีหนังสือ ซื่อคู่ฉวนซู ที่ตีพิมพ์ใหม่แล้ว เป็นหนังสือรวบรวมวิชาการแขนงต่างๆ ที่รวบรวมในสมัยราชวงศ์ชิงรัชกาลพระเจ้าเฉียนหลง ใช้เวลารวบรวมระหว่าง ค.ศ. 1772 – 1782 ใช้นักปราชญ์กว่า 3,000 คน ในการรวบรวมที่พิมพ์ใหม่ ในยุคปัจจุบันนี้ยังพิมพ์เสร็จไม่ครบ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 215
(น.215) เรื่องสุริยุปราคา จันทรุปราคา มีบันทึกอยู่ในหนังสือโบราณของจีน ตั้งแต่สมัยชุนชิวไปจนถึงราชวงศ์ชิง ดาวหางแบ่งเป็น 29 ประเภท สะเก็ดดาวและอุกกาบาต Nova and Supernova ดาวเหนือบอกฤดู กลุ่มดาว 28 กลุ่ม โครงสร้างจักรวาล (cosmic structure) โหราศาสตร์ แผนที่ดาวสมัยราชวงศ์ถัง (ถ่ายรูปมา ของจริงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ในลอนดอน) แผนที่ดาวสมัยราชวงศ์ซ่ง (ของจริงอยู่ที่ซูโจว) ที่จริงยังมีเรื่องดาราศาสตร์อีกมากในพิพิธภัณฑ์ แต่เราไม่มีเวลาดูเพราะต้องเดินทางไปสภากาชาดจีน
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 305-308
(น.305) พู่กันที่มีชื่อเสียงในสมัยราชวงศ์ถังและซ่งคือ พู่กันฝีมือจูเก๋อ เรียกกันว่า พู่กันจูเก๋อ ราชวงศ์หยวนมีพู่กันฝีมือจางจิ้นจงและเฝิงยิ่งเคอ ราชวงศ์หมิงมีพู่กันของลู่จี้เวิง จางเหวินกุ้ย และราชวงศ์ชิงมีพู่กันฝีมือซุนจือฟาและเฮ่อเหลียงชิง
(น.306) พู่กันมีหลายขนาด ที่ใช้เขียนหนังสือตัวโตๆ เรียกว่า โต้วปี่ หัวพู่กันใหญ่ ขนหนา อุ้มน้ำหมึกได้มาก ขนาดมีลดหลั่นกันลงมาจนถึงขนาดเล็กปลายแหลมมาก พระเจ้าหย่งเจิ้ง ราชวงศ์ชิงโปรดทรงใช้พู่กันขนาดเล็กชื่อเสี่ยวจื่อหยิ่ง ปลายแหลม แต่พู่แตกง่าย เมื่อทรงพระอักษรแต่ละครั้งจึงต้องทรงใช้พู่กันเป็นร้อยๆ ด้ามทีเดียว
(น.307) หมึกสำหรับพระจักรพรรดิโดยปกติทำเป็นลายมังกร ฝีมือสลักประณีตสวยงามปิดทองคำเปลวหรืออาจจะทำด้วยดินสีทอง หมึกของจักรพรรดิราชวงศ์ชิงเน้นเรื่องรูปร่างก้อนหมึกและลวดลาย จิตรกรในราชสำนักเป็นผู้ออกแบบให้สวยงามน่าเก็บสะสม หมึกเหล่านี้มิได้มีเพียงสีดำเท่านั้น แต่มีสีแดง น้ำเงิน เหลือง และขาวด้วย
(น.308) กระดาษที่มีชื่อเสียงอื่นๆ มีกระดาษของต้วนเฉิงซื่อ เมืองจิ่วเจียง เรียกกันว่า หยุนหลานจื่อ มีผู้นิยมใช้มาก นอกจากนี้ที่เสฉวนมีกระดาษที่มีชื่อเสียงหลายอย่าง ที่นิยมมากคือ กระดาษสีแดงที่นางคณิกาเสวียเถาคิดผลิตขึ้นเรียกว่า เสวียเถาเจียน กวีและจิตรกรนิยมใช้เขียนจดหมาย โคลงกลอน วาดภาพ ตู้มู่ ไป๋จู้อี้ หลิวอวี้ก็ชอบใช้กระดาษชนิดนี้ สมัยราชวงศ์ซ่งกระดาษที่นิยมกันคือกระดาษของเฉินซินถัง กระดาษนี้เนื้อขาวละเอียดเป็นมันเงา ราชวงศ์ชิงมีกระดาษที่ทำจากนุ่นและจากต้นไผ่
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 12,24
(น.12) ยุคที่ 1 เป็นมหาวิทยาลัยหลวงแห่งปักกิ่ง (ค.ศ. 1898-1912)
ขณะนั้นเป็นช่วงปลายราชวงศ์ชิง ระหว่างที่มีการปฏิรูปบ้านเมือง ค.ศ. 1898 มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงที่รวมวิทยาการหลากหลายสาขา ถือเป็นหน่วยราชการ เทียบปัจจุบันใกล้เคียงกับกระทรวงศึกษาธิการ ผู้นำของมหาวิทยาลัยมีตำแหน่งเป็นเสนาบดี
ปรัชญาการศึกษาของยุคนี้คือ นำนักศึกษาให้คิดให้ถูกแนว เที่ยงตรง ฝึกให้รู้รอบกว้างไกล ความรู้พื้นฐานต้องเป็นความรู้แบบจีน แต่ต้องเรียนวิทยาการตะวันตกเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
(น.24) ช่วงบ่ายไปกงหวังฝู่ เป็นวังเก่าตั้งแต่สมัยจักรพรรดิหงอู่ ราชวงศ์หมิง แต่ไม่เหลือร่องรอยของสมัยนั้นแล้ว สมัยราชวงศ์ชิง เหอเซิน (ค.ศ. 1750-1799) เสนาบดีผู้เป็นนักปราชญ์ในรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง เคยได้มาอยู่วังนี้ แต่ในที่สุดเสนาบดีเหอเซินต้องราชภัย วังแห่งนี้จึงถูกยึด ค.ศ. 1857 จักรพรรดิเสียนเฟิงพระราชทานสถานที่นี้ให้เป็นวังอนุชาอี้ซิน (ค.ศ. 1832-1898) ซึ่งมีตำแหน่งเป็นกงชิงหวัง จึงเรียกว่า กงหวังฝู่ มีเนื้อที่ 60,000 ตารางเมตร แบ่งเป็นสัดส่วนวังและส่วนที่เป็นสวน เราได้ดูแต่ส่วนที่เป็นสวน เพราะส่วนที่เป็นวังยังไม่ได้บูรณะ ส่วนที่เป็นสวนเปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่ ค.ศ. 1988 เป็นสวนสวยงาม จัดได้ถูกต้องตามตำราฮวงจุ้ย มีลักษณะคล้ายคลึงกับสวนที่นิยมกันในเจียงหนาน (มณฑลเจียงซูและมณฑลเจ้อเจียง) อันเป็นดินแดนที่จักรพรรดิเฉียนหลงโปรดปราน เสด็จถึง 6 ครั้ง
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 58,60-61
(น.58) ห้องต่อไปที่ดูคือ เรื่องการแสดงในมณฑลฝูเจี้ยน
งิ้วมีหลายประเภท แม้แต่ในมณฑลฝูเจี้ยนเท่านั้นก็มีหลายแบบ งิ้วเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่งและหยวน มีงิ้วแบบผู่เซียน (อยู่ใต้ฝูโจวประมาณ 100 กิโลเมตร) หลีหยวน (แถวๆ เฉวียนโจว) สมัยราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง จึงมีงิ้วเกาเจี่ย งิ้วหมิ่น งิ้วเซียง (แถวฮกเกี้ยนตอนใต้นิยมเล่นกันจนถึงปัจจุบันและแพร่ไปที่ไต้หวัน)
(น.60) เรื่องหุ่น
แสดงขั้นตอนการทำหุ่น ใช้ไม้แกะ มี 9 ขั้นตอน ตัวอย่างงิ้วในราชวงศ์ชิง ตัวเป็นหวายสาน ผูกเชือก
(น.61) หุ่นมีหลายประเภท มีชนิดที่มีเท้า มีเชือกชัก หุ่นมือ มีมาแต่สมัยราชวงศ์ถัง หุ่นที่ใช้ก้านเหล็ก 3 ก้านเชิด อยู่เขตเจ้าอานติดกับซัวเถา (ซ่านโถว) มีรูปคนทำหุ่นที่มีชื่อเสียงปลายราชวงศ์ชิง
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 82-83
(น.82) หอธรรมะ เป็นที่เทศน์ และพระใหม่มารับศีล (บวช?) ภายในมีป้าย 3 ป้าย มีป้ายที่กล่าวถึงพี่น้อง 2 คน ที่มาบริจาคเงินบำรุงวัด คือ ชิงหลง เป็นผู้บัญชาการทหารที่ฝูโจว และชิงเป่า เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดไต้หวัน ซึ่งขึ้นกับมณฑลฝูเจี้ยนในสมัยราชวงศ์ชิง
(น.83) หอไตรเป็นที่เก็บคัมภีร์สมัยราชวงศ์หมิงและชิงราว 20,000 ฉบับ มีคัมภีร์ที่เขียนด้วยเลือดทั้งหมด 657 ฉบับ เขียนสมัยราชวงศ์ชิง มีบางฉบับใช้เลือดผสมสีแดง บางฉบับเขียนด้วยเลือดล้วนๆ ผู้เขียนเป็นพระภิกษุวัดนี้หลายรูป การใช้เลือดเขียนคัมภีร์ผู้เขียนจะต้องไม่กินเกลือ เลือดจึงจะเป็นสีสดแดง ฉะนั้นเมื่อเขียนไปได้ระยะหนึ่ง ผู้เขียนก็จะตายไป เพราะขาดเกลือเท่ากับเป็นการเขียนด้วยชีวิต แสดงความศรัทธาแก่กล้าในพระพุทธศาสนา คัมภีร์เหล่านี้จึงถือว่าเป็นของพิเศษอย่างหนึ่งของวัด
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 156-157
(น.156) เข้าไปดูห้องสมุด มีเคานเตอร์ให้ยืมหนังสืออยู่ตรงล็อบบี้ ตรงห้องโถงวางแคตาล็อก คู่มือ Bulletin ต่างๆ ทั้งของแผ่นดินใหญ่และของไต้หวัน มีหนังสือชื่อ ซื่อคู่ฉวนซู (ประมวลหนังสือสมัยราชวงศ์ชิง) คำว่า “ซื่อคู่ฉวนซู” แปลว่า “คลังหนังสือ 4 คลัง” เป็นหนังสือชุดที่ประมวลหนังสือจีนทุกชนิดจากสมัยโบราณถึงยุคที่ทำ (ราชวงศ์ชิง) แบ่งหนังสือเป็น 4 แผนก ได้แก่
(น.157)
1) ปรัชญาสำนักขงจื่อ
2) ประวัติศาสตร์
3) ปรัชญาสำนักอื่นๆ ทั้งหมด
4) เบ็ดเตล็ด รวมทุกอย่าง เช่น การแพทย์ วรรณคดี พยากรณ์
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 175,181,191
(น.175) คำว่า ชิงจิ้ง ที่เป็นชื่อสุเหร่านั้น หมายถึง การถือศีล ภาษาอาหรับเรียกสุเหร่านี้ว่า Ashab Mosque ตั้งตามชื่อเพื่อนพระมะหะหมัด
สมัยราชวงศ์หมิง จักรพรรดิหย่งเล่อประกาศพระบรมราชโองการในรัชศกหย่งเล่อปีที่ 5 ตรงกับ ค.ศ. 1407 จารึกในหลักศิลามีความตอนหนึ่งว่าให้รักษาศาสนาอิสลามในจีน ไม่ว่าข้าราชการ ชาวบ้าน ทหาร ในพื้นที่ที่มีสุเหร่า ห้ามรังแกชาวอิสลาม ถ้ารังแกจะลงโทษ
เข้าไปข้างในมีห้องละหมาด หันหน้าไปทางกรุงเมกกะ มีลักษณะศิลปะแบบจีน แต่ก่อนมีประวัติว่าเป็นศิลปะแบบอาหรับ แต่ชำรุดผุพังไปตามกาลเวลา ที่เห็นอยู่นี้ทำขึ้นสมัยจักรพรรดิเจียชิ่ง ราชวงศ์ชิง
(น.181) บริเวณสุสานมีแผ่นศิลาจารึกโบราณที่สำคัญอยู่ 5 แผ่น สมัยราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิง เป็นภาษาอาหรับ แผ่นแรก ค.ศ. 1322 มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบูรณะศาสนสถาน อีกแผ่นหนึ่ง ค.ศ. 1417 ปีที่ 15 ของจักรพรรดิหย่งเล่อ นายพลเจิ้งเหอได้มาคารวะสุสานนี้และได้ไปที่ต่างๆ หลายแห่ง มีการกล่าวถึงเมืองล่าถง เมืองถง เมืองหลี่เฉิง ทั้งหมดนี้เป็นชื่อของเมืองเฉวียนโจว คนอาหรับชื่อถังซง กล่าวถึงศิษย์พระมะหะหมัดที่พูดว่า “เราจะไปหาความรู้ จะไม่กลัวทางไกล” (ไปประเทศจีน) คริสต์ศตวรรษที่ 17 สมัยราชวงศ์ชิง มีจารึกกล่าวถึงข้าราชการชั้นสูงที่นับถือศาสนาอิสลามต้องมาคารวะที่นี่
(น.191) ลำดับต่อไปแสดงเรื่องราวของศาสนามานีเคียน ศาสดาชื่อ มานิ (ค.ศ. 216-276) ชาวเปอร์เซีย เป็นผู้ตั้งศาสนานี้ ที่ผสานแนวคิดความเชื่อทั้งจากศาสนาคริสต์ และลัทธิโซโรอาสเตอร์ ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 3 ศาสนามานีเคียนมีผู้นับถือและสานุศิษย์อยู่มาก เผยแพร่เข้ามาในเอเชียและรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในคริสต์ศตวรรษที่ 6 หมดอำนาจในดินแดนตะวันตก และแอฟริกาเหนือ ส่วนทางตะวันออกเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 และรวมความเชื่อศาสนาอื่นเข้ามาด้วย มีอิทธิพลต่อศาสนาคริสต์นิกายนอกรีตทั้งหลาย ปัจจุบันยังมีศาสนานี้อยู่ในเอเชียกลาง
ศาสนามานีเคียนเชื่อว่าความสว่างจะชำระขจัดสิ่งที่ไม่ดีทั้งปวง จักรวาลนี้ควบคุมโดยอำนาจ 2 อย่างที่ขัดกันคือ ความดี-ความชั่ว ในตอนนี้อยู่รวมกัน แต่ในอนาคตจะแยกออกจากกัน ความดีจะไปสู่โลกแห่งความดี ความชั่วก็จะแยกไปอยู่ในโลกแห่งความชั่ว
ศาสนามานีเคียนแพร่เข้ามาในจีนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 6-7 จากเปอร์เซียเข้ามาทางเมืองซีอานในสมัยราชวงศ์ถัง เรียกกันว่า หมอหนีเจี้ยว แต่ถูกต่อต้านว่าเป็นพวกมาร เนื่องจากศาสนามานีเคียนนับถือแสงสว่าง พวกที่นับถือศาสนานี้ในจีนจึงเรียกนิกายของพวกตนว่า หมิงเจี้ยว (ภาษาแต้จิ๋วว่า เม้งก่า) ใน ค.ศ. 845 ถูกปราบจึงหนีไปอยู่ทางตะวันตกแถวซินเจียง มีบางตำรากล่าวว่าในราวคริสต์ศตวรรษที่ 14-15 พวกหมิงเจี้ยวเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธนิกายสัทธรรมปุณฑริก (ไป่เหลียนเจี้ยว หรือนิกายดอกบัวขาว) นิกายนี้มีอิทธิพลต่อสมาคมลับในภาคเหนือของจีน ซึ่งสมาคมที่ใหญ่ที่สุดมีชื่อว่า “สมาคมดอกบัวขาว” มีอิทธิพลในหมู่ชาวนา และเป็นองค์กรนำในการก่อกบฏชาวนาในภาคเหนือสมัยราชวงศ์ชิง
เยือนถิ่นจีนโพ้นทะเล หน้า 205
(น.205) อาคารเสวียผู่ถัง สร้างในราชวงศ์ชิง สมัยจักรพรรดิเจียชิ่ง รัชศกปีที่ 14 ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้สร้างโรงเรียนนี้ เพื่อคัดสรรคนที่มีสติปัญญาดีเยี่ยมของไหหลำไปสอบรับราชการในภาคกลาง เชิญอาจารย์ที่เก่งๆ มาสอนที่โรงเรียนนี้
หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 68,79,81
(น.68) สมัยราชวงศ์หมิง มีเครื่องเขิน ฝังมุก สมัยราชวงศ์ชิงมีงาช้างสลัก เครื่องเคลือบ 3 สีของราชวงศ์ถัง มีพระมาลาทำด้วยหนัง ปักด้วยดิ้นเป็นของพระเจ้าอู่เหลียน
งาช้างสลักตามเรื่องในนวนิยายหงโหลวเมิ่ง (ความฝันในหอแดง) และเรื่องโป๊ยเซียนข้ามสมุทร สมัยราชวงศ์ชิง
(น.79) ในต้าหมิงหูมีเกาะ 6 เกาะ มีอยู่เกาะหนึ่งมีศาลากลางทะเลสาบ (หูซินถิง) ที่เกาะฉวินฟังเซียงเต่า มีสวนบุปผชาติ มีวัดทางศาสนาเต๋า และศาลาแปดเหลี่ยมชื่อ ลี่เซี่ย ซึ่งมีประวัติว่าสร้างมา 1,400 กว่าปีแล้ว แต่ที่เห็นในปัจจุบันคือ ศาลาที่สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิคังซี ปีที่ 32 มีประวัติ 300 กว่าปีเท่านั้น ป้ายหน้าศาลาเป็นลายพระหัตถ์จักรพรรดิเฉียนหลง ข้างในจัดให้มีรูปคนดังเมืองจี่หนานทุกยุคทุกสมัย 15 ท่าน คือ
1. โจวเหยียน สมัยจั้นกว๋อ ก่อน ค.ศ. 355-265 ปี เป็นนักปรัชญา
2. ฝูเซิง สมัยราชวงศ์ฮั่น ในยุคที่ฉินสื่อหวงตี้ (จิ๋นซีฮ่องเต้) สั่งเผาคัมภีร์ขงจื่อจนหมด แต่ท่านผู้นี้จำไว้ได้ ภายหลังท่องให้ผู้อื่นเขียน
3. หลวงจีนอี้จิ้ง สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 635-713) เป็นผู้นำคัมภีร์พุทธศาสนาจากอินเดียมา 300 กว่าเรื่อง แปลได้ 107 เรื่องก็ถึงแก่มรณภาพ
4. กวีเอกหลี่ชิงเจ้า สมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 1084-1151) มีชื่อเสียงในด้านการแต่งบทกวีรักและโศก
5. ซินชี่จี๋ (ค.ศ. 1140-1207) สมัยราชวงศ์ซ่ง เป็นกวีผู้รักชาติ
6. ตู้เหรินเจี๋ย สมัยราชวงศ์จินหรือกิมก๊ก (ค.ศ. 1210-1280) เป็นนักแต่งบทขับสำหรับเล่นงิ้ว
7. จังหยั่งเหา สมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1270-1329) นักแต่งบทขับสำหรับเล่นงิ้ว
8. จังฉี่เหยียน สมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1285-1353) เป็นนักประวัติศาสตร์
(น.81)
9. เปิ้นถง สมัยราชวงศ์หมิง เป็นกวี
10. หลี่ไคเซียน (ค.ศ. 1502-1568) สมัยราชวงศ์หมิง แต่งบทขับสำหรับเล่นงิ้ว
11. หลี่พานหลง สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1514-1570) กวีเอกและนักปกครอง
12. อวี๋เซิ่นสิง สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1559-1608) นักวิชาการ และเป็นเสนาบดี
13. จังเอ่อร์จือ สมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1612-1678) นักวิชาการขงจื่อ
14. หวังสือเจิน สมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1634-1711) นักแต่งนวนิยาย
15. ผู่ซงหลิง สมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1640-1715) เขียนเรื่องสั้น เรื่องผี เรื่องสัตว์แปลกๆ ประชดประชันสังคมและคนจริงสมัยนั้น
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 115
(น.115) พิพิธภัณฑ์ Yellow River Exhibition Hall ซึ่งทำมาตั้งแต่ ค.ศ. 1955 ขึ้นตรงกับสำนักงานชลประทานแม่น้ำหวงเหอ เป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางที่ทำขึ้นเป็นพิเศษ สำหรับรวบรวม สะสม และวิจัยค้นคว้าเกี่ยวกับแม่น้ำหวงเหอ เช่น ลักษณะพิเศษทางธรรมชาติ ระบบนิเวศน์ ประวัติศาสตร์ อารยธรรมของชาวลุ่มแม่น้ำ
มีนิทรรศการชลประทานสมัยราชวงศ์ซ่งและราชวงศ์ชิง ฟอสซิลและวัตถุโบราณที่ขุดพบในลุ่มน้ำ เช่น อักษรโบราณบนกระดองเต่าที่หมู่บ้านเสี่ยวถุนชุน เมืองอานหยัง มนุษย์หลานเถียนซึ่งอยู่ยุคเดียวกับมนุษย์ปักกิ่ง รูปภาพ ข้อมูล และผลงานศิลปะที่เกี่ยวกับแม่น้ำหวงเหออีกร่วมหมื่นชิ้น
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 157,163
(น.157) จากนั้นไปสุสานกวนอู ตอนนี้กำลังสร้างลานจอดรถ มีที่แสดงงิ้ว ในแต่ละปีที่มีพิธีไหว้กวนอูจะจัดงานในวันขึ้น 13 ค่ำเดือนอ้าย (ทำไมก็ไม่ทราบ) เดือน 5 และเดือน 9 ประตูทางเข้าสร้างในราชวงศ์ชิง ตัวสุสานสร้างในรัชศกว่านลี่ ราชวงศ์หมิง เป็นสุสานฝังหัวกวนอู ส่วนตัวฝังที่ตังหยัง มณฑลหูเป่ย ฉันรู้สึกว่าฝังแบบตัวไปทาง หัวไปทางนี่ไม่ดีเลย แต่ถ้าไม่ถือ คิดเสียว่าตายไปแล้วก็ทิ้งร่างก็ไม่เป็นไร ดูเหมือนว่าโจโฉเป็นผู้ฝังหัวกวนอู เพราะข้าศึกตัดหัวกวนอูส่งให้โจโฉเพื่อเอาความดีความชอบ แต่โจโฉกลับทำพิธีศพให้อย่างสมเกียรติ
ทั่วประเทศมีศาลเจ้ากวนอูมากมาย แต่ที่สำคัญมี 3 แห่ง คือ
1. กวนหลิน เมืองลั่วหยัง
2. กวนหลิง อำเภอตังหยัง มณฑลหูเป่ย
3. อำเภออวิ้นเฉิง มณฑลซานซี เป็นบ้านเก่า
(น.163) ขณะนี้ในสวนเจดีย์มีเจดีย์ 244 องค์ เก่าที่สุดสมัยราชวงศ์ถัง มีเจดีย์ใหม่ 2 องค์ เขาว่ากันว่าสมัยราชวงศ์ชิงมีกว่า 500 องค์ มีเรื่องว่า จักรพรรดิเฉียนหลงต้องพระประสงค์ทรงทราบจำนวนเจดีย์ ก็ไม่มีใครนับถ้วน เลยให้กองทัพมีทหาร 500 นาย ไปกอดเจดีย์คนละองค์ ก็ยังนับไม่ได้
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 204
(น.204) หนังสือของชนชาติส่วนน้อย สมัยราชวงศ์ชิง ค.ศ. 1720 เป็นอักษรมองโกล เป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก เรียกว่า กานจูเอ่อร์ แกะสลักบนแผ่นไม้
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 227-228
(น.227) กำแพงนี้เริ่มสร้างตั้งแต่สมัยจักรพรรดิเซวียนหวัง (827-782 ปีก่อนคริสต์กาล) ราชวงศ์โจวตะวันตก แต่สมัยนั้นมีขนาดเล็ก ก่อด้วยดินเหนียวมาถึงสมัยราชวงศ์หมิง ปีที่ 3 ในรัชสมัยจักรพรรดิหงอู่ (ค.ศ. 1370) ได้ปรับโครงสร้างใหม่ และซ่อมแซมในสมัยราชวงศ์ชิงอีกหลายครั้ง จนเหมือนกับที่เห็นอยู่ตอนนี้ แม้ว่าจะมีอายุถึง 630 ปีแล้ว ก็ยังแข็งแรง กำแพงนี้ยาว 6.4 กิโลเมตร ส่วนความสูงนั้นตามเอกสารว่า กำแพงสูง 10 เมตร เชิงเทิน 2 เมตร รวมเป็น 12 เมตร สร้างตามหลัก “สร้างกำแพงให้สูง สะสมเสบียงให้มาก” มีช่องสี่เหลี่ยมสำหรับส่องดูข้าศึกทั้ง 4 ทิศ ทั้งหมด 3,000 ช่อง มีป้อมบนกำแพง 72 แห่ง นัยว่าสร้างเท่าตัวเลขของศิษย์เอกขงจื่อ 72 คน และศิษย์ทั่วไป 3,000 คน
(น.228) กำแพงเมืองมี 6 ประตู ทิศเหนือและใต้ ทิศละหนึ่งประตู ทิศตะวันออก และทิศตะวันตกทิศละ 2 ประตู จะสร้างประตูไม่ตรงกันเพราะแถวนี้ใกล้ที่ราบสูงหวงถู่ ลมจะพัดแรงมากถ้าประตูตรงกัน ภายในตัวกำแพงสร้างกับดักข้าศึก มีลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมเหมือนอ่างน้ำ เมื่อหลอกต้อนข้าศึกเข้าไปแล้วก็ปิดประตู เหมือน “ปิดประตูตีสุนัข” (เหมือนที่คนไทยเรียกว่า “ปิดประตูตีแมว” ทำไมต้องเป็นสัตว์คนละชนิดก็ไม่ทราบ) หรือ “จับเต่าในอ่าง” มีอาวุธรูปร่างเป็นแท่งมีหนาม ชักรอกลงมาทับข้าศึก อีกวิธีคือ เปิดน้ำมาท่วมศัตรู เขาบอกว่าในเมืองจีนมีเมืองอ่างแบบนี้ 6 แห่ง
บนกำแพงมีศาลา 3 ชั้น สูง 16 เมตร กระเบื้องเชิงชายทำเป็นรูปสัตว์ประจำทิศ มีป้อมสำหรับดูข้าศึก ขึ้นไปดูบนศาลานี้เขาจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องเมืองผิงเหยา
ชั้นล่างมีที่ขายของและมีแผนที่โบราณ รูปอาวุธโบราณ เป็นรถหนามสำหรับชนข้าศึก
ชั้นที่ 2 มีรูปถ่ายโบราณสถานระดับชาติ ที่โดดเด่นที่สุดคือ เป็นแหล่งกำเนิดธุรกิจการเงินหรือการธนาคารยุคแรก (ภาษาจีนเรียกว่า เพี่ยวเฮ่า) ร้านแรกที่ทำธุรกิจเช่นนี้คือ ร้านรื่อเซิงชัง (พระอาทิตย์ขึ้นและรุ่งเรือง) ในสมัยราชวงศ์ชิง รัชสมัยจักรพรรดิเต้ากวาง ปีที่ 3 (ค.ศ. 1823) ขณะนี้ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 246
(น.246) ถ้ำที่ 5 เป็นรูปพระศากยมุนี รูปใหญ่ที่สุดของหยุนกั่ง สูง 17 เมตร ปางสมาธิยกนิ้วพระหัตถ์ สร้างสมัยราชวงศ์เป่ยเว่ย ชำรุดเสียหายมาก ที่เห็นปัจจุบันเป็นส่วนที่ซ่อมแซมสมัยราชวงศ์ชิง (รัชศกซุ่นจื้อปีที่ 8 ค.ศ. 1651) โดยการพอกดินและทาสี มีรูปต้นโพธิ์และรูปคนกลุ่มน้อย เข้าใจว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่อุปถัมภ์พุทธศาสนา