Please wait...

<< Back

หลานโจว

ใต้เมฆที่เมฆใต้
ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 220,221

(น.220)::2.5 จื้อจื้อโจว (自治州) ในตี้ชีว์หรือจังหวัดที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จนเป็นชนส่วนใหญ่ของตี้ชีว์นั้นๆ รัฐบาลจีนก็จะให้ตี้ชีว์นั้นๆ เป็นจื้อจื้อโจว มีระเบียบการปกครองที่แตกต่างจากตี้ชีว์ แต่มีฐานะที่อยู่ในระดับเดียวกัน จื้อจื้อโจวจะมีรัฐบาลประจำจังหวัดของตนเอง มีสิทธิออกกฎหมายขึ้นใช้ภายในจื้อจื้อโจวและบริหารงานต่างๆ โดยมีอิสระในระดับหนึ่ง แต่ก็ต้องขึ้นกับรัฐบาลมณฑลหรือภูมิภาคปกครองตนเองที่รับผิดชอบดูแลจื้อจื้อโจวนั้นๆ ส่วนข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของจื้อจื้อโจวจะเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอยู่มากที่สุดในจื้อจื้อโจวนั้นๆ ดังนั้นในปัจจุบันคำว่า “โจว” ในการจัดระเบียบการปกครองของจีนใช้กับเขตการปกครองระดับจังหวัดที่มีการปกครองตนเองใน

(น.221)ระดับหนึ่ง ส่วนจังหวัดทั่วๆ ไปจะใช้ว่าตี้ชีว์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากคำว่า “โจว” เป็นศัพท์เก่าแก่ด้านการปกครองที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์จีนมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 220) ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบันจึงมีชื่อเขตการปกครองในระดับต่างๆ ของจีนเป็นจำนวนมากที่มีคำว่าโจวติดอยู่ด้วย โดยที่มิได้มีฐานะเป็นจื้อจื้อโจวแต่อย่างไร ทั้งนี้เพราะคำว่าโจวในเขตการปกครองเหล่านั้นได้ใช้กันมาเป็นเวลานานแล้ว ดังตัวอย่างประกอบข้างล่างนี้ นครที่ขึ้นต่อมณฑล (เสิ่งเสียซื่อ) ที่มีคำว่า “โจว” อยู่ด้วย เช่น หลานโจวในมณฑลกานซู เจิ้งโจวในมณฑลเหอหนาน หังโจวในมณฑลเจ้อเจียง และกว่างโจวในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) จังหวัด (ตี้ชีว์) ที่มีคำว่า “โจว” อยู่ด้วย เช่น ฮุยโจวในมณฑลอานฮุย หยางโจวในมณฑลเจียงซู และไถโจวในมณฑลเจ้อเจียง เมืองที่ขึ้นต่อจังหวัด (ตี้ชีว์เสียซื่อ) เช่น สุยโจวในมณฑลหูเป่ย จังโจวในมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) และเฉาโจวหรือที่คนไทยเรียกว่าเมืองแต้จิ๋วในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) ดังนั้น คำว่า “จื้อจื้อโจว” ที่ภาษาอังกฤษใช้ว่า “Autonomous Prefecture” จึงน่าจะแปลเป็นภาษาไทยว่า “จังหวัดปกครองตนเอง” มีผู้แปลคำนี้ว่า “แคว้นปกครองตนเอง” ซึ่งดูเหมือนจะไม่สอดคล้องกับความรับรู้ของคนไทยเท่าใดนัก เพราะคำว่าแคว้นในภาษาไทยสื่อความหมายถึงเขตการปกครองที่มีอิสระและปลอดจากอำนาจรัฐส่วนกลางในระดับสูง ขณะที่จื้อจื้อโจวของจีนมีอำนาจปกครองตนเองในระดับหนึ่งปัจจุบัน (ตามสถิติ พ.ศ. 2532) ประเทศจีนมีจื้อจื้อโจวอยู่ 30 จื้อจื้อโจวมณฑลที่มีมากที่สุดคือมณฑลหยุนหนาน (ยูนนาน) มี 8 จื้อจื้อโจว รองลงมาคือมณฑลชิงไห่มี 6 จื้อจื้อโจว ภูมิภาคการปกครองตนเอง

ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย
ต้นน้ำ ภูผา และป่าทราย หน้า 249

(น.249) ข้าพเจ้าถามถึงทะเลสาบชิงไห่ว่าน้ำลดลงไปทำอย่างไร มีคนบอกให้ย้ายน้ำจากแม่น้ำหวงเหอเข้าไป มาดามบอกว่าเมื่อ 100 ปีมาแล้ว มีชาวรัสเซียวัดระดับน้ำและบันทึกไว้ เป็นฉบับเดียวที่รู้สึกว่าน้ำลดแยะ ใน 50 ปีนี้น้ำไม่ได้ลดมากอย่างที่เข้าใจกัน ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการย้ายน้ำ เพราะทุกคนหวงน้ำ เช่น แม่น้ำต้าทงเหออยู่ระหว่างชิงไห่กับกานซู่ 2 มณฑลนี้ก็แย่งน้ำกัน มาดามต้องเป็นผู้เสนอรายงานผลการศึกษาเรื่องการใช้น้ำในภาคตะวันตกของจีน บริเวณที่ต้องแบ่งน้ำกันระหว่างกานซู่กับมองโกเลียใน กระทรวงชลประทานต้องส่งคนไปนครหลานโจวคอยควบคุมการใช้น้ำ

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 99,100

(น.99) สถาบัน Remote Sensing มีโครงการหลายอย่าง เช่น การศึกษาดินแดนซินเกียง ค้นหาแหล่งเหมืองทอง และแหล่งปิโตรเลียม ปัญหาการวางท่อ (pipeline) ปัญหาด้านการคมนาคม การวางท่อทำยาก เพราะจากแหล่งในซินเกียงไปเมืองหลานโจวระยะทางไกลมาก ด้านการหาแหล่งน้ำใต้ดิน ถึงแม้ซินเกียงจะมี

(น.100) หิมะและธารน้ำแข็ง แต่ก็ยังถือว่ามีแหล่งน้ำจำกัด เขตตะวันออกเฉียงเหนือที่ข้าพเจ้าจะไปนั้นมีน้ำพอ มีโครงการจะนำน้ำแยงซีเกียงจากทางใต้ไปใช้ในปักกิ่ง ขณะนี้กำลังศึกษาเรื่องสิ่งแวดล้อม

"ไอรัก"คืออะไร?
"ไอรัก"คืออะไร? หน้า 15,16,17

(น.15) มีห้องแสดงวิวัฒนาการของการเขียนหนังสือจีน เทียบอักษรสมัยต่างๆ ตัวหนังสือสลักบนกระดองเต่าและโลหะ ไม้ไผ่ พบในสุสานหม่าหวังตุย สมัยราชวงศ์ฮั่น กระดาษสมัยต่างๆ การพิมพ์หนังสือ สมัยราชวงศ์ซ้อง การทำบล็อกดินเผา
ดูหนังสือ Sì Kŭ Quán Shŭ ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้สี่ประเภทของจีน ได้แก่
คัมภีร์ศาสนา หน้าปกสีเขียว เปรียบกับฤดูชุนเทียน (ฤดูไม้ผลิ)
คัมภีร์ปรัชญา หน้าปกสีเหลือง เปรียบกับฤดูชิวเทียน (ฤดูใบไม้ร่วง)
คัมภีร์เบ็ดเตล็ด หน้าปกสีเทา เปรียบกับฤดูตงเทียน (ฤดูหนาว)
คัมภีร์ประวัติศาสตร์ หน้าปกสีแดง เปรียบกับฤดูเซี่ยเทียน (ฤดูร้อน)


(น.16) รูป 10 ดูหนังสือโบราณ
Ancient books.


รูป 11 สายพานส่งหนังสือ
Conveying belts for delivering books.

(น.17) รวมทั้งหมดเป็นพันๆ เล่ม หนังสือนี้จักรพรรดิเฉียนหลงมีพระราชโองการให้รวบรวมเขียนด้วยลายมือทั้งหมด (ทั้งๆ ที่ในเวลานั้นมีการพิมพ์แล้ว) สร้างไว้ 7 ชุด ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 3 ชุด เก็บรักษาไว้ที่ปักกิ่ง ไต้หวัน และหลานโจว ตอนกบฏไท้เผ็งถูกทำลายไป 3 ชุด เมื่อตอนที่กองทัพผสม 8 ชาติเข้าเผาวังหยวนหมิงหยวนถูกทำลายไปอีกชุดหนึ่ง เขาบอกว่าธรรมดาไม่ให้คนอื่นดูคัมภีร์นี้ตัวจริง ผู้ที่ต้องการศึกษาต้องอ่านจากไมโครฟิล์ม คนที่จับหนังสือต้องใส่ถุงมือ