Please wait...

<< Back

เจียงซู


(น. 340) รูป 227 งานเลี้ยงอำลา
Farewell dinner.

(น. 340)
3. การท่องเที่ยว การท่องเที่ยวของยูนนานอาศัยทัศนียภาพธรรมชาติที่สวยงาม โบราณสถานที่น่าสนใจ และประเพณีหลายหลากของชนกลุ่มน้อย ถือได้ว่ามีทรัพยากรท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ที่สุดมณฑลหนึ่ง เมื่อปีที่แล้วในบรรดา 31 มณฑลและนครของประเทศรวมกัน ยูนนานถือได้ว่าเป็นอันดับที่ 7 ในด้านการท่องเที่ยวและเป็นที่ 1 ในภาคตะวันตก มณฑลที่ประสบความสำเร็จทางด้านการท่องเที่ยวส่วนมากเป็นมณฑลทางทิศตะวันออก ได้แก่ มณฑลกวางตุ้ง นครปักกิ่ง นครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง มณฑลฮกเกี้ยน
4. อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อัญมณี และการป่าไม้

คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 52

(น.52) เขาคุยว่าเมืองนี้ค้าขายกับต่างประเทศมาก มูลค่าส่งออกมากกว่านำเข้า สินค้าสำคัญ ได้แก่ อาหารแปรรูป (ขายปลาไหลได้มาก) เครื่องเย็บปักเสื้อและผ้า มีชื่อแห่งหนึ่งใน 4 แห่งคือ ปักกิ่ง ซูโจว เสฉวน และที่นี่ เครื่องปั้นดินเผาแต้จิ๋ว มีศิลปะดี เขาบอกว่าของขวัญที่เติ้งเสี่ยวผิงให้กิมอิลซุง อดีตผู้นำเกาหลีเหนือก็ทำที่แต้จิ๋ว แหล่งเครื่องปั้นที่มีชื่อเสียงอื่นๆ เช่น ชานตุง เจียงซู เจียงซี (กังไส) กวางตุ้งที่โฝซาน เซรามิกที่ใช้ในเครื่องอิเล็คโทรนิคส่งขายญี่ปุ่น นอกจากนี้มียาสมุนไพร

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า60

(น.60) คำว่า เยว่ นั้นพจนานุกรมบอกว่าเป็นแคว้นหนึ่งในสมัยโจวตะวันออก (770-256 ก่อนคริสต์กาล) ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเจ้อเจียง และเจียงซู ตัวอักษรจีนเขียนดังนี้ 越 นั่นเป็นพวกที่หนึ่ง พวกนี้ถูกพระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้ผนวกดินแดน พวกที่ 2 คือพวกหนานเยว่(南越) มีข้อน่าสังเกตว่าจีนเรียกประเทศเวียดนามว่า เยว่หนาน(越南) และใช้ตัวอักษรเดียวกันกับพวกหนานเยว่ในกวางโจว ข้าพเจ้าคิดว่าพวกหนานเยว่อาจจะเป็นบรรพบุรุษของคนเวียดนามในปัจจุบัน น่าสังเกตว่ามีอีกคำที่อ่านว่า เยว่ เหมือนกันแต่ใช้อักษรคนละตัว 粤 หมายถึงมณฑลกวางตุ้งและกวางสี ข้าพเจ้าเคยได้ยินว่าคนจีนเรียกชนเผ่าต่างๆที่อยู่ทางตอนใต้ว่า ไป่เยว่ แปลว่าเยว่ร้อยเผ่า ในร้อยเผ่านี้มีเผ่าไทอยู่ด้วย

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า236-237

(น.236) รัฐบาลกลาง มณฑล ภูมิภาคปกครองตนเอง และมหานครต่างๆ มอบของขวัญให้แก่ HKSAR เวลามอบมีตะกร้าใหญ่ๆ มาตั้งบนเวที มีคนแต่งตัวเป็นชนพื้นเมืองจูงเด็กแต่งตัวเป็นชาติต่างๆ เอาดอกไม้ใส่ตะกร้า ขณะที่ประกาศชื่อว่าใครให้ของอะไร ฉายรูปของขวัญให้ดูชัดๆ ในจอ ฉายแผนที่มณฑลและสถานที่ที่ให้ของ และรูปทิวทัศน์ในที่นั้นด้วย มีคำอธิบายดังนี้
รัฐบาลกลาง ให้รูปปั้นทำด้วยสำริดหุ้มทอง เป็นรูปดอกชงโค (Bauhinia) บานตลอดกาล มีคำอธิบายว่าดอกชงโคเป็นสัญลักษณ์ของ HKSAR ตั้งอยู่บนฐานทำด้วยหินแกรนิตสีแดงจากเสฉวน ทำเป็นรูปกลมและรูปเหลี่ยม เป็นสัญลักษณ์ของทั้งประเทศและรูปกำแพงเมืองจีนที่สลักไว้ด้านใน หมายถึง มาตุภูมิที่ยิ่งใหญ่ รูปดอกชงโคเป็นศิลปะแบบจีน หมายถึง อนาคตอันมั่งคั่งของฮ่องกง รูปปั้นดอกชงโคนี้สูง 6 เมตร
มหานครปักกิ่ง ให้แจกันถมปัดแบบจิ่งไท่หลาน แสดงความยินดีทั่วโลก
มหานครเทียนสิน ให้พรมแขวนผนังเป็นรูปกำแพงเมืองจีน
มณฑลเหอเป่ย ให้ขวดแก้วเจียระไนที่เขียนข้างในขวด แสดงความยินดีระดับชาติ
มณฑลซานซี ให้รูปจำลองเจดีย์ที่ตำบลอินเซี่ยงทำด้วยไม้สลัก

(น.237) ภูมิภาคปกครองตนเองมองโกเลียใน ให้รูปปั้นม้าวิ่งสู่อนาคต
มณฑลเหลียวหนิง ให้เครื่องรัก วิญญาณของชาติจีน
มณฑลจี๋หลิน ให้หินฝนหมึก รูปสนและชงโคหยั่งรากลึกในดินแดนจีน
มณฑลเฮยหลงเจียง ให้แจกันรูปดอกชงโคบานอีกครั้งในฤดูใบไม้ผลิ
มหานครเซี่ยงไฮ้ ให้หยกสลัก รูปชาวลุ่มน้ำผู่เจียงฉลองการกลับคืนของฮ่องกง
มณฑลเจียงซู ให้ผ้าปักซูโจว รูปการเดินทางกลับ

แกะรอยโสม
แกะรอยโสมหน้า 94-95

(น.94) เรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องระบบข้อสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ GIS เรื่องนี้งงไปหมด เพราะว่าเขาเร่งอธิบายมาก อาจารย์หวางบอกว่าประชุมกับกระทรวงการต่างประเทศแล้ว เขาให้เฉพาะช่วงเช้าวันเดียวจะต้องให้เสร็จ มีอะไรอยากโชว์อีกเยอะ ถ้าฟังไม่รู้เรื่องก็อ่านหนังสือที่เขาจะจัดให้มากที่สุดเท่าที่จะหาได้ หรือถามมาทีหลัง ตั้งแต่ ค.ศ. 1980 ได้ทำระบบสำหรับใช้ทั่วประเทศ ประสานกับระบบในระดับท้องถิ่น ใช้เครื่องหลายอย่าง ทั้งไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่อง Mi-

(น.95) cro vax 2 เครื่อง VAX 785 ใช้โปรแกรม ARC INFO เป็นหลัก ศึกษาเก็บข้อมูลในด้าน Slope ใช้ DTM กับภาพดาวเทียม เส้นทางน้ำ แผนที่ การบันทึกข้อสนเทศเรื่องแผนที่นั้นมีทั้งใช้คน digitize ที่ละจุด หรือใช้เครื่อง Scan การทำระบบข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบด้วยแผนที่พืชพันธุ์ต่างๆ แผนที่ดิน แผนที่ที่มีเส้นระดับ ตัวอย่างที่ศึกษาอยู่บริเวณเทียนสิน บริเวณทะเลสาบในมณฑลเจียงซู

แกะรอยโสมหน้า 172

(น.172) ข้าพเจ้าเรียนถามท่านนายกฯ ในเรื่องของแผน 8 ว่ามีสาระอะไรที่สำคัญ ท่านบอกว่ารัฐบาลตระหนักถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากการพัฒนา ฉะนั้นจะต้องทำด้วยความระมัดระวัง จีนก็ยังยืนหยัดกับนโยบายเปิดประเทศ ให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ ไม่ให้โตเร็วเกินไป และช้าเกินไป ให้สม่ำเสมอ ไม่ใช่ว่าบางปีสูง บางปีต่ำ สัดส่วนของการเกษตรและการอุตสาหกรรมก็ต้องเหมาะสม และจะต้องคำนึงถึงสัดส่วนของอุตสาหกรรมหนัก และอุตสาหกรรมเบา ทุกอย่างมาจากประสบการณ์ของการพัฒนาตลอด 40 กว่าปีนี้การเกษตรเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เพราะประชากรจีนมีอัตราการเติบโตมาก ท่านว่าโตน้อยๆ จะดีกว่า เห็นตัวอย่างจากประเทศต่างๆ ที่มีประชาชนมากและชาวนาทิ้งที่ดินเข้าเมืองก็ทำให้ประชากรเมืองมีมากเกินไป แนวทางที่คิดว่าเหมาะสมคือเสริมเรื่องอุตสาหกรรมย่อยๆ การก่อสร้าง งานบริการ ขณะนี้มีคนประมาณ 90 ล้านคนที่ทำกิจกรรมเช่นนี้ ท่านว่าคราวหน้าถ้ามาเมืองจีนอีกเขาจะพาไปดูอุตสาหกรรมหมู่บ้าน ท่านสูตุนซิ่น ชาวหยางโจวแนะนำให้ไปทางเจียงซู

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 1 ปักกิ่ง หน้า 18

(น.18) การอนุรักษ์พืชพรรณธรรมชาติเขตร้อน ซึ่งสามารถร่วมงานกับไทยได้นั้นมีอยู่ 2 แห่ง คือ ที่สิบสองปันนา และที่เกาะไหหลำ อยากให้มีการขยายงานเพิ่ม และแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญกับไทย ในจีนเริ่มทดลองปลูกยางพารา โดยเอาพันธุ์จากไทยและพม่า ส่วนมากซื้อจากไทย (ว่าท่านรัฐมนตรีกู้เป็นผู้ซื้อ) หลายแสนตัน น้ำมันปาล์มซื้อจากมาเลเซีย ท่านรัฐมนตรีกู้ (เคยเป็นผู้แทนอยู่มณฑลเจียงซู) เล่าว่าปีที่แล้วไปเมืองไทย ทำความตกลงซื้อยางพารา และได้ไปสวนยางพาราทางด้านตะวันออกได้ไป EASTERN SEABOARD ด้วย

เกล็ดหิมะในสายหมอก หน้า 51,55

(น.51) ไปถึงสวนจำลองนานาชาติปักกิ่ง เป็นสวนสาธารณะใหญ่ รวมสิ่งก่อสร้างจากประเทศต่างๆ 40 ประเทศ รวม 109 อาคาร สร้างตามตำแหน่งในแผนที่โลก ผู้อำนวยการนายหวังหยุนเฟิงและหัวหน้าฝ่ายวิเทศสัมพันธ์มาต้อนรับและพาเดินชม ไปบน Table Land Garden ของอิตาลี สร้างมาตราส่วน 1 : 1 เวลาหน้าร้อนคงจะสวยกว่านี้ คือมีน้ำพุและน้ำตกลงมาเป็นชั้นๆ


(น.52) รูป 45 ไปอุทยานโลกที่ปักกิ่ง จำลองสิ่งก่อสร้างต่างๆในโลกมาไว้

(น.55) เดินลงบันไดซ้ายมือเป็นจัตุรัสแดงของมอสโก เดินผ่านตำหนัก Katsura เป็นภาษาญี่ปุ่นตรงกับภาษาจีนว่า “กุ้ย” ของจีน เขาจำลองตำหนักที่หยางโจว เจียงซู ชื่อตำหนักปลอดเสียง นอกจากนั้นมีสวนจำลอง ที่จริงแล้ว หยางโจวมีสวน 2 แห่ง แต่เขาจำลองมาเพียงสวนเดียว สร้างอาคารพิงภูเขาหิน เครื่องเรือนที่ใช้ล้วนแต่ทำด้วยไม้แดง จำลองจากแบบของโบราณ มีตั่งเบาะเป็นหวาย หน้าร้อนเย็นสบายดี