Please wait...

<< Back

คุนหมิง


(น.29) รูป 26 อาหารกลางวันที่โรงแรมฉู่ฉยง

(น.29) มีโรงงานปูนซีเมนต์ ภูเขาบางลูกก็ถูกตัด (เอาไปทำซีเมนต์กระมัง) ข้างทางมีป้ายบอกว่าเป็นเหมืองเกลือ ไม่ทราบว่าเขาทำเกลือกันอย่างไร มีซุ้มบอกชื่อหมู่บ้านไปตลอดทาง เมื่อออกจากเขตคุนหมิงเข้าเขตฉู่ฉยงมีด่าน แล้วเข้าไปพักที่โรงแรมฉู่ฉยง (Chu Xiong) เพื่อรับประทานอาหารกลางวัน มีเลขาธิการมณฑลซึ่งอยู่ที่ฉู่ฉยงชื่อผู่เต๋อเฉิงมาต้อนรับ โรงแรมนี้สร้างมา 20 กว่าปีแล้ว ไปถึงขึ้นไปที่ห้อง เข้าห้องน้ำห้องท่ากัน 20 นาที แล้วมารับประทานอาหารกลางวัน รองประธานฯ เฉิน อธิบายว่า ฉู่ฉยงนั้นเป็นโจว ที่จริงเป็นเขตปกครองตนเองของพวกอี๋ พวกอี๋ยังแยกออกเป็นเผ่าย่อยอีกหลายพวก พวกอี๋แต่ครั้งโบราณนับถือไฟและเสือ

(น.37) สถานที่ธรรมชาติที่มีชื่อเสียงคือ เขาชางซานมียอด 19 ยอด แต่ละยอดสูงประมาณ 4,000 เมตร มีหิมะปกคลุมตลอดปี สถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งคือทะเลสาบเอ๋อร์ไห่ มีพื้นที่ 250 ตารางกิโลเมตร เก็บน้ำได้ประมาณ 30 ล้านลูกบาศก์เมตร น้ำประปาก็ทำจากทะเลสาบนี้ ที่เรียกว่าเอ๋อร์ไห่เห็นจะเป็นเพราะว่ามีคนเห็นว่าทะเลสาบนี้มีรูปร่างเหมือนหูคน นอกจากทะเลสาบเอ๋อร์ไห่แล้ว ยังมีทะเลสาบอีกแห่งหนึ่งคือทะเลสาบเทียนฉือหรือทะเลสาบคุนหมิง เอ๋อร์ไห่ลึก มีน้ำมากกว่า เทียนฉือกว้างกว่าแต่ตื้น ทิวทัศน์ของต้าหลี่มีลม (feng) ดอกไม้ (hua) หิมะ (xue) พระจันทร์ (yue) สินค้าออกมีต้นเหอเถาหรือวอลนัท เห็ดต่างๆ สิ่งทอ กระดาษ เป็นต้น ชาวบ้านยังปลูกข้าวเจ้า ข้าวสาลี ถั่วปากอ้า มีเห็ดชนิดต่างๆ และกัญชาขึ้นในป่าสน มีราคาแพง แต่ชาวบ้านเองก็ปลูก สำหรับสิ่งทอนั้น มาดามเฉินอธิบายเรื่องการย้อมเสื้อแบบมัดแล้วเอาไปย้อม พวกกลุ่มอาชีพมี สตรีทอผ้า การสานหมวกฟาง แกะไม้ เป็นต้น งานพวกนี้เป็นของผู้หญิงทำและขายได้ ฉะนั้นบางที่พวกผู้หญิงอาจจะได้เงินร่ำรวยกว่าสามีไปอีก เขตอำเภอเหวยซาน มีสตรีเป็น

ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 44,86

(น.44) รูป 43 เครื่องมือหินที่พบในจังหวัดต้าหลี่

(น.44) ต้าหลี่อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑล มีเนื้อที่ 28,356 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 3,001,770 คน มีคนกลุ่มน้อย 13 ชนชาติ เป็นชาติไป๋ประมาณ 33.17 % ผังของต้าหลี่ที่เห็นอยู่นี้มาตราส่วน 1:18,500 มี 13 อำเภอ มีวัฒนธรรมอันยาวนาน มีชื่อเสียงในประเทศจีน มีทิวทัศน์ที่งดงาม มีสถานที่ท่องเที่ยวมาก ที่สำคัญได้แก่ ทะเลสาบเอ๋อร์ไห่ เขาชางซาน และยังมีอีกหลายเขา เช่น สือเป่าซาน ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยว มีถ้ำที่แปลก สวยงาม จีซูซานเป็นแหล่งโบราณสถานทางพุทธศาสนา เว่ยเป่าซานเป็นโบราณสถานทางศาสนาพุทธและเต๋า ซื่อปี๋หูมีน้ำพุและทะเลสาบ เป็นแหล่งท่องเที่ยว ในพิพิธภัณฑ์มีโบราณวัตถุ มีหินอ่อน ต้าหลี่มีเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีของชนชาติ แสดงบุหรี่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นสินค้าสำคัญของต้าหลี่ พิพิธภัณฑ์นี้มีห้องแสดง 9 ห้อง จากนั้นผู้อำนวยการนำชมศิลปะสมัยหินและสมัยสำริด เริ่มต้นเมื่อ 4,000 ปีก่อน เมื่อสมัยหินใหม่แถบนี้ก็เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์อยู่แล้ว (ข้อสังเกตอีกอย่างคือ พิพิธภัณฑ์ที่คุนหมิงกับที่นี่มีคำ

(น.86) มาดามเฉินอธิบายว่าในระยะนี้พวกชาวนามีรายได้ดีขึ้นจึงสร้างบ้านกันใหม่ บางคนเห็นว่าบ้านเก่ายังอยู่ดี เขาก็ไม่ไปอยู่บ้านใหม่ ปัจจุบันมีการวางผังเมืองเพื่อให้มีระเบียบเรียบร้อย กำแพงบ้านที่นี่นิยมก่ออิฐที่ไม่เผา อยู่ได้ 100 ปี มาดามเห็นว่าข้าพเจ้าชอบดอกชาจึงเล่าว่า ที่คุนหมิงมีต้นชาต้นหนึ่งอายุประมาณ 500-600 ปี เวลาดอกบาน ต้นเดียวมีดอกเป็นหมื่นดอก ดอกใหญ่ที่สุดมีขนาด 20 เซนติเมตร ดอกมีทั้งสีขาวและสีแดง ไปวัดพระเจดีย์ 3 องค์ หรือที่เรีกกันว่าวัดช่งเซิ่น วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยน่านเจ้า มีพระเจดีย์ 3 องค์อยู่ในวัด พระเจดีย์องค์แรกสร้างในสมัยราชวงศ์ถังราวปี ค.ศ. 823 มีรูปร่างสี่เหลี่ยม สูง 69 เมตร มี 16 ชั้น องค์เล็ก 2 องค์สร้างสมัยราชวงศ์ซ่ง สูง 43 เมตร 10 ชั้น รูปร่างแปดเหลี่ยม เกิดแผ่นดินไหวหลายครั้งในแถบนี้ เมืองและ

ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 96,98

(น.96) ขึ้นรถกลับคุนหมิง บ่นๆ กันว่าต้องเลี้ยวรถ 58 แห่ง จริงๆ แล้วข้าพเจ้าคิดว่ามากกว่านั้น มองดูก็เหมือนเมืองไทย มีอะไรๆ ขายข้างทาง ขายกระเทียม หยุดเข้าห้องน้ำที่เดิมเหมือนตอนขามา มาดามเฉินบอกว่าเราเดินทางกว่า 800 กิโลเมตร ผ่าน 8 ตำบล วันนี้รถติด รถมากจริงๆ กว่าจะถึงโรงแรมฉู่ฉยงรู้สึกว่าใช้เวลานาน แต่ที่จริงแล้วถึงก่อนเวลา มีท่านเลขาธิการ (ท่านเดิม) มาคอยรับส่วนรองผู้ว่าราชการเมืองท่านนี้เป็นชาวอี๋ ท่านบอกว่าเวลาไปประชุมที่มณฑล หรือไปประชุมสภาที่ปักกิ่ง จะแต่งกายชุดพื้นเมืองอี๋เสมอ วันนี้มีการต้อนรับที่ค่อนข้างจะพิเศษคือมีการร้องเพลงเผ่าอี๋ มีใจความว่า
“ท้องฟ้าทำไมไม่มีเมฆ
เนื่องจากลมพัดมา
ในโรงแรมฉู่ฉยงคึกคัก
เพราะแขกผู้มีเกียรติคนไทยมา
ไม่ถึงเวลาดอกไม้ไม่บาน
ไม่เป็นคนสนิทไม่เชิญดื่ม
มา...ขอให้แขกรับคำอวยพรของชนชาติอี๋
ดื่มด้วยความยินดี......”
พอฟังเพลงแบบนี้เข้าแล้ว ใครจะทนทำปั้นปึ่งอยู่ได้ ก็ต้องกระชับมิตรภาพกับสหายใหม่ชาวอี๋ เหล้าของท้องถิ่นนี้มีหลายชนิด มีทั้งที่ทำจากข้าวเจ้า ข้าวฟ่างรองผู้ว่าฯ อธิบายว่าปกติจะต้องรินเหล้าใส่ชามขนาดใหญ่ และส่งต่อๆ กัน เพื่อความสามัคคีและแก้หนาว วันนี้เขาเลี้ยงเหล้าทำจากข้าว 50 ดีกรี ยกจอกดื่มหมด แต่ก็ไม่ใช่จอกเดียว เนื่องจากมีสหายหลายคน

(น.98) มัวแต่พูดเรื่องอื่นลืมเขียนเรื่องอาหาร ที่จริงก็คล้ายๆ ขามา มีมันเทศ มันฝรั่ง หยูชิงเช่าเป็นยาสมุนไพร บำรุงตา บำรุงปอด แก้ร้อนใน ผัดเปรี้ยวหวาน (อะไรก็ไม่ทราบ) เต้าหู้ ดอกสาลี่ผัด ปลาซิ่งฉิวใส่เห็ดและหมูแฮม นกพิราบต้มยาจีน เห็ดผัดถั่วงอก รับประทานเสร็จลาจากโรงแรมฉู่ฉยงเดินทางต่อ ก่อนไปบอกกับท่านรองผู้ว่าฯ จะหาโอกาสมาเยือนใหม่ คราวหน้าจะขึ้นเขาไปเต้นระบำชาติอี๋ ออกมารถติดมากแบบแล่นไม่ไปเลย ตำรวจเปิดหวออยู่พักใหญ่จึงไปได้ แล่นๆ ไปหยุดขบวนรถ ได้ยินว่าดุมล้อรถคันไหนหลุดก็ไม่รู้มีใครต่อใครเดินด้อมๆ มองๆ ที่รถ ไม่ใช่รถเรา ตกลงไม่พบทั้งของกลาง (ดุมล้อ) ทั้งเจ้าทุกข์ (รถที่ดุมล้อหลุด) ก็เลยเดินทางต่อ มองโน่นมองนี่บ้าง คุยกันบ้าง หลับไปบ้าง นาขั้นบันไดแถวนี้เขาทำได้ดีเป็นระเบียบเรียบร้อยดูมั่นคงแข็งแรง กลับมาถึงโรงแรม 4 ดาวของเราที่คุนหมิง เห็นจะต้องให้ 5 ดาว แล้วคราวนี้ บริการดีชงกาแฟรสชาติถูกใจป้าจัน แถมพูดสวัสดีค่ะทุกคน เอาตู้เย็นมาใส่ในห้อง อื่นๆ ก็สะดวกสบายทุกอย่าง เห็นว่างๆ อยู่ ออกไปเดินดูหนังสือข้างนอก เข้าไปในร้านหนังสือเด็กก่อน ความรู้ภาษาจีนของข้าพเจ้าเหมาะสำหรับอ่านหนังสือเด็กมากกว่าหนังสือผู้ใหญ่ ไปได้หนังสือสอนเรื่องต้นไม้ให้เด็กราวๆ ชั้น ป.4 พจนานุกรมเกี่ยวกับพืช พจนานุกรมเกี่ยวกับสัตว์ บทเรียนเกี่ยวกับกวีจีนที่มีคำอธิบาย เดินต่อไปที่ร้านขายหนังสือทั่วไป ซื้อหนังสือเกี่ยวกับดนตรียูนนาน และหนังสือเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติในยูนนาน ดอกไม้ต่างๆ ซื้อพู่กันด้ามหนึ่งคิดว่าจะซ้อมเขียนหนังสือจีน แต่ร้านนี้ก็แปลก มีพู่กันแต่ไม่ยักมีหมึก ป่านนี้ก็ยังไม่ได้เขียนหนังสือ

ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 110,120,132

(น.110) วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม 2538
เมื่อคืนนี้เขียนเรื่องอยู่จนตีสามครึ่ง วันนี้อุณหภูมิ 9°C เวลา 8.30 น. เดินทางไปโรงงานผลิตยานครคุนหมิง มาดามเฉินนั่งไปด้วยเล่าว่าขณะนี้ทางการจีนห้ามการจุดประทัดวันตรุษจีน คนจีนหลายคนรู้สึกไม่ค่อยสบายใจ เพราะว่าถ้าไม่จุดประทัดก็ไม่รู้สึกว่าเป็นวันตรุษจีน ในวันตรุษจีนได้หยุดพักงาน 6 วัน ส่วนวันสุดสัปดาห์นั้นมีสองแบบที่เรียกว่าวันอาทิตย์ใหญ่พัก 2 วัน วันอาทิตย์เล็กพักวันเดียว พวกแม่บ้านชอบพัก 2 วัน เพราะเมื่อทำงานบ้านเสร็จจะได้มีโอกาสพาเด็กๆ ไปเที่ยว ขณะนี้คนจีนมีเงินมีทองสบายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก จึงนิยมไปเที่ยวที่ต่าง ๆ เข้าเขตซีซานเป็นเขตอุตสาหกรรม แถว ๆ นี้กำลังสร้าง ตลาดผัก สวนสาธารณะ ขณะนี้มีการแสดงกล้วยไม้ ในวันอาทิตย์จะมีคนมาเต็ม ชาวคุนหมิงชอบเที่ยวในวันอาทิตย์ แม้พวกเด็กนักเรียนก็ชอบไปเที่ยว หรือไปอ่านหนังสือในสวนสาธารณะ ที่คุนหมิงนี้ยังมีทะเลสาบซุ่ยหู ซึ่งบางฤดูมีนกบินมาจากไซบีเรีย (ฤดูหนาว) ชาวบ้านชอบเอาอาหารมาป้อนนก รอบๆ สวนมีคนเอาขนมปังสำหรับเลี้ยงนกมาขาย วันไหนอากาศไม่ดีไม่มีคนมา พนักงานของสวนจะป้อนนกเอง ไปถึงที่โรงงานผลิตยานครคุนหมิง เมื่อเข้าไปแล้วไปที่ห้องพักใส่เสื้อคลุมสีขาว ใส่หมวก มีถุงหุ้มรองเท้า แล้วไปที่ห้องประชุมเล็กๆ นายหลี่หนานเกา ผู้อำนวยการ กล่าวต้อนรับ และบรรยายสรุปเกี่ยวกับความเป็นมาของโรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการผลิตยารักษาโรคไข้มาลาเรีย สรุปความได้ว่าโรงงานแห่งนี้เป็นวิสาหกิจผลิตยาหลายชนิดใหญ่ที่สุดในมณฑลยูนนาน ได้รับสิทธิในการประกอบการนำเข้าและ


(น.120) รูป 128 ที่เก็บหนังสือ

(น.120) ลงมาชั้นล่างห้องสมุด มหาวิทยาลัยยูนนานมอบหนังสือให้ข้าพเจ้าจำนวนหนึ่ง รวมทั้งหนังสือที่ท่านอธิการแต่งเองด้วย มาดามเฉินบอกว่าแต่ก่อนนี้มหาวิทยาลัยยูนนานมีคณะเกษตร คณะแพทย์ และคณะอุตสาหกรรม ขณะนี้แยกออกมาเป็นมหาวิทยาลัยต่างหาก เส้นทางจากมหาวิทยาลัยกลับโรงแรม เห็นบ้านเก่าๆ มาก แต่ก่อนถือว่าแถวนี้เป็นศูนย์กลางของเมือง มีร้านขายยา บ้านมาดามเฉินเองก็อยู่แถวนี้ ผ่านวัดหยวนทง มาดามบอกว่าแถวนี้มีร้านขายธูปแยะ สวนสัตว์คุนหมิง ข้ามแม่น้ำหลงเจียง ตัวเมืองคุนหมิง ตึกที่ทำงานของกรรมาธิการวิทยาศาสตร์มณฑล ผ่านบ้านรับรองของรัฐบาล แต่เดิมเป็นบ้านของหลงหยุนแม่ทัพก๊กมินตั๋ง เมื่อมาครั้งก่อน (14 ปีมาแล้ว) ได้มาพักที่นี่ ตอนที่สมเด็จป้าเสด็จมาก็ประทับที่นี่เช่นเดียวกัน ได้ทราบ


(น.132) รูป 142 คุยกับลูกสาวผู้ว่า

(น.132) ขอพูดเรื่องอาหารสักเล็กน้อย วันนี้อาหารเป็นแบบไทย ไม่ได้เป็นแบบจีน เครื่องดื่มมีเหล้าตรานกคำ (นกยูง) เป็นเหล้าข้าวเหนียว 46 ดีกรี หมากเน็ง น้ำแห้ว น้ำพริกใส่มะเขือเทศ หนังพอง ปลาไหล ถั่วปากอ้า ข้าวหลาม แกงปลาฝา (ตะพาบ) ผัดกบกับถั่วดิน (ถั่วลิสง) ยังมีอาหารอีกหลายอย่างจำไม่ได้ ลูกสาวท่านผู้ว่าฯ คนเล็กชื่อกองเสียง อายุ 17 ปี รำละครด้วย ดูเหมือนจะเรียนด้านนาฏศิลป์ ส่วนลูกสาวคนโตชื่ออินเสียง เรียนอยู่ที่สถาบันชนชาติมณฑลยูนนานในคุนหมิง เมื่อเรียนจบแล้วอยากส่งมาเรียนต่อที่เมืองไทย สุดท้ายมีการจัดรำวงรอบหนึ่ง เมื่อเสร็จงาน กลับโรงแรมนั่งเขียนหนังสือดูทีวีตามเคย (ที่นี่มี Star T.V. ดูด้วย) อารยากับเอื้องโผล่มาหัวเราะคิกคักว่าเขาไปตลาดหรืองานวัดมา เขาสองคนกับผู้ช่วยทูตทหารอากาศ รวมเป็นคนไทย 4 คนเท่านั้น นอกจากนั้นเป็นพวกคนจีนซึ่งตื่นเต้นมากกว่าคนไทยไปเสียอีก แต่ที่จริงของก็ไม่ต่างจากที่ตลาดเมืองไทย ตลาดลาวมากนัก ทั้งสองคนซื้อหนอนไม้ไผ่ที่คนไทยเรียกว่ารถไฟด่วนมาให้ 5 หยวน (แพง) เก็บไว้กินเป็นอาหารเช้า

ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 155,159


(น.155) รูป 172 ลากลับ

(น.155) ข้าพเจ้าอยากดูหอพรรณไม้ (Herbarium) ของเขา ได้ยินว่ามีพรรณไม้หลายอย่าง การจัดและดูแลรักษาดี มีเครื่องดูดอากาศ แต่ไม่มีพนักงานอยู่เพราะเป็นวันหยุด จึงเปิดเข้าไปดูไม่ได้ เราเลยลากลับ ขากลับนี้เดินทางโดยรถ คุยกับมาดามเฉิน ถามมาดามว่าเป็นคนหูหนานแต่ทำไมมาทำงานอยู่ยูนนาน มาดามบอกว่าเมื่อเรียนจบจากมหาวิทยาลัยที่เทียนสิน (เป่ยหยาง) อันเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของจีนแห่งหนึ่ง ทางด้านเครื่องกลปั่นทอ ตอนนั้นอายุยังน้อย คิดแต่จะทำประโยชน์ มีอุดมการณ์ จะไปพัฒนาประเทศในที่ห่างไกล ตอนนั้นยูนนานห่างไกลมากที่สุดแห่งหนึ่ง ไม่มีทางรถไฟ ถนนก็ไม่ค่อยจะดี เดินทางจากเทียนสินถึงคุนหมิง ใช้เวลาถึงครึ่งเดือน รถแล่นน้อยต้องรอเป็นอาทิตย์ ช่วงนั้นปี ค.ศ. 1957 อายุ 22-23 ปี ที่ต้องทำงานลำบากกว่าคนอื่นเพราะเป็นสมาชิกของพรรค ต้องเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นจึงสมัครไป ปัญหาของยูนนานคือเรื่องการคมนาคม และการศึกษา อำเภอในยูนนานที่ติดทิเบต มีคนทิเบตอยู่มาก อากาศหนาวเดือนกันยายนหิมะตกจนถึงเมษายน รถธรรมดาไปไม่ได้ ต้องเอารถกวาดหิมะแหวกทางไปก่อน ส่วนถนนที่รถแล่นนั้นนั่งรถแล้วเหมือนเต้นดิสโก้ ฟังเขาแล้วก็ขัน เพราะคำว่าถนนดิสโก้นี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกถนนสายที่เข้าไปที่โครงการที่ใช้ “ทฤษฎีใหม่” ของท่าน คือการขุดบ่อน้ำ ปลูกพืชต่างๆ แต่ทางเข้าก็ต้องดิสโก้น่าดู ตอนนี้คงจะดีขึ้นแล้ว

(น.159) รูป 176 ปลูกต้นไม้

(น.159) จากนั้นออกไปข้างนอกปลูกต้นโพธิ์ แล้วกลับโรงแรม ดูๆ แล้วแถวนี้เป็นหมู่บ้านค่อนข้างเจริญ มีโรงเรียนอนุบาล สถานสงเคราะห์คนชรา (หรือบ้านพักคนชราก็ไม่ทราบ) มีร้านอาหารมากมาย มีที่พัก มาดามเฉินว่าราคาไม่แพง กลับโรงแรม รับประทานอาหารเย็น แล้วเตรียมตัวกลับคุนหมิง ตอนนั่งรถไปสนามบินคุยกับมาดามเฉินเรื่องกาชาด กาชาดจีนมีอายุ 90 ปี กาชาดมณฑล 80 ปี มาดามได้ไปดูงานกาชาดไทย พอใจเรื่องการเป็นองค์การที่มีระบบ การมีงานประจำปี และระบบการกู้ภัยกาชาดมณฑลยูนนานคิดว่าจะสร้างห้องเก็บของเพื่อการบรรเทาทุกข์อย่างของไทย ที่สนามบินมีคณะมาส่งแบบเดียวกับตอนรับ ผู้ว่าสิบสองปันนานั่งเครื่องบินไปกับเราถึงคุนหมิง ที่สนามบินคุนหมิงมีเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของมณฑลมารับ กว่าจะถึงโรงแรมก็ค่อนข้างดึก

ใต้เมฆที่เมฆใต้ หน้า 160,161,164,167,184

(น.160) วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม 2538


(น.160) รูป 177 สถาบันพฤกษศาสตร์คุนหมิง

(น.160) เช้าวันนี้เราไปที่สถาบันวิชาการพฤกษศาสตร์นครคุนหมิง ศาสตราจารย์สี่วไจ้ฟู่ ผู้อำนวยการสถาบันต้อนรับและพาเข้าไปห้องบรรยายสรุปถึงกิจการของสถาบันว่าสถาบันนี้เป็นหน่วยงานขึ้นกับสภาวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน (Academia Sinica) ท่านผู้อำนวยการได้เป็นผู้อำนวยการของสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนที่สิบสองปันนาด้วย สถาบันนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1938 นับเป็นเวลา 50 กว่าปีมาแล้ว มีพนักงานด้านเทคโนโลยี 650 คน ระดับศาสตราจารย์และรองศาสตราจารย์มีอยู่ 20% ของพนักงาน สถาบันวิจัยนี้ศึกษาพรรณพฤกษชาติทั้งใน


(น.161) รูป 178 ผู้อำนวยการสถาบันบรรยายกิจการสถาบัน

(น.161) ประเทศจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และภูมิภาคอื่นๆ ของเอเชีย ส่วนใหญ่เป็นพืชแถบร้อนและเขตอบอุ่น นอกจากเก็บพันธุ์ไม้เอาไว้แล้วยังมีงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ การจำแนกประเภทพันธุ์ไม้ การศึกษา สรีรศาสตร์ของพันธุ์ไม้ การศึกษาพฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์ หรือพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน (Ethnobotany) มีสวนพฤกษศาสตร์ 2 แห่ง คือที่คุนหมิงและที่สิบสองปันนา มีการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้นมีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์หลายห้อง

(น.164) โครงการสวนพฤกษศาสตร์เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถที่เชียงใหม่ (Queen Sirikit Botanical Garden) ต่อไปคงจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการดูงานระหว่างสถาบันกับประเทศไทยมากขึ้น หลังจากนั้นท่านแนะนำอาจารย์อีกหลายท่าน เช่น ศาสตราจารย์เหาเสี่ยวเจียง รองผู้อำนวยการ รองศาสตราจารย์ก่วนไค้หยุน ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ดูห้องแสดงนิทรรศการ แสดงพืชต่างๆ ที่ดองเอาไว้ เช่น Camellia มีตั้ง 40-50 species มี 100 cultivars แผนที่มณฑลยูนนานแสดงเขตป่าแบบต่างๆ บอกระดับความสูง ข้าพเจ้าถามเขาว่าข้าพเจ้าเคยไปสวนพฤกษศาสตร์ที่เอดินเบอระเห็นมีพืชจากแถบนี้มาก ส่วนมากจะเป็นของที่นักพฤกษศาสตร์ชื่อ George Forrest เป็นผู้มาเก็บ ปัจจุบันมีการศึกษาร่วมกันหรือไม่ เขาบอกว่าที่นั่นกับที่คุนหมิง ถือว่าเป็น sister institutes ทำงานร่วมกัน พืชอื่นๆ มี Magnolia delavayi, Primrose, Camellia, Rhododendron พันธุ์ต่างๆ Gentian และ Lily เขาแสดงรูปเก่าๆ อันเป็นประวัติของสถาบัน ไปดูแผนก Ethnobotany เขาศึกษาว่าแต่ละเผ่าแต่ละท้องถิ่นใช้ต้นไม้หรือพืชชนิดต่างๆ เป็นประโยชน์อย่างไรบ้าง ข้าพเจ้าเคยไปดูที่กรมป่าไม้ของบ้านเราก็มีงานในลักษณะนี้ ที่นี่เขายกตัวอย่างเช่น ชาวไทลื้อหรือจีนที่เรียกว่าไต่ ในสิบสองปันนาใช้กิ่งขี้เหล็กเป็นเชื้อเพลิง หรือชาวไทลื้อที่นับถือพุทธศาสนาถือว่าต้นโพธิ์สำคัญ เพราะเชื่อกันว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ หวายใช้ประโยชน์หลายอย่าง ใช้ทำเครื่องหวาย เช่น เก้าอี้ โต๊ะ ลูกหวายกินได้ ไผ่ใช้สร้างบ้านเรือน ทำสิ่งของ



Next >>