Please wait...

<< Back

ฮ่องกง

จากหนังสือ

เกล็ดหิมะในสายหมอก
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 3 จี๋หลิน หน้า 241

(น.241) หน้าร้อนนั่งเรือในทะเลสาบเซียงหูได้ มีนกมาก มีคนเกาหลีใต้มามาก นอกนั้นมีคนญี่ปุ่น รัสเซีย ฮ่องกง ไต้หวัน ประเทศตะวันตกมีน้อย โรงสร้างรถยนต์ที่นี่ร่วมทุนกับเยอรมนี ก็มีคนเยอรมนีมามาก แต่ก่อนมีคนน้อย เพราะเครื่องบินต้องลงปักกิ่งก่อน ปัจจุบันจากฮ่องกงเดินทางได้ตรง รัสเซียก็ไปได้ พยายามเปิดสายการบินไปญี่ปุ่นแต่ยังไม่สำเร็จ จากไทยขณะนี้ไปได้ 3 ทาง คือผ่านฮ่องกง ปักกิ่ง และกวางโจว เรื่องประวัติศาสตร์สมัยก่อน ญี่ปุ่นยึดอยู่ฉางชุน ตั้งเป็นเมืองหลวงของแมนจูกัว แต่ว่าขณะนี้คนแมนจูก็กลืนกลายวัฒนธรรมเหมือนคนจีนซึ่งมีคนมากกว่า ไม่มีใครรู้ภาษาแมนจู ในชนบทจะยังมีเหลืออยู่หรือไม่ก็ไม่รู้ อาณาจักรของแมนจูทำให้ประเทศจีนกว้างใหญ่ ยุคที่รุ่งเรืองคือสมัยพระเจ้าคังซี หย่งเจิ้ง เฉียนหลง ซึ่งครองราชย์อยู่นาน ปลายราชวงศ์ชิงอ่อนแอ จักรวรรดินิยมจึงแย่งดินแดนไปได้ รัสเซียยึดแถบเฮยหลงเจียง อูซูหลี่เจียง ส่วนอังกฤษยึดฮ่องกง คุยกันเรื่องหนังสือ ข้าพเจ้าบอกว่าพอจะรู้อังกฤษ ฝรั่งเศส และภาษาจีนบ้าง แต่ภาษาญี่ปุ่นนี้ไม่รู้เรื่องเอาเลย ท่านบอกว่าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ใช้ตัวอักษรจีนบ้าง (เกาหลีเหนือไม่ใช้)

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 71

(น.71) รูป 101 งานเลี้ยงอาหารค่ำ

(น.71)เรื่องโป๋ไห่สืบทอดกันมา มีเรื่องงิ้วที่ส่งไปแสดงที่ฮ่องกงเกี่ยวกับพระราชธิดากษัตริย์โป๋ไห่ซึ่งมีความงามและความสามารถ ท่านประธานสภาฯ กล่าวว่า เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้วได้ร่วมกับคณะเดินทางไปเมืองไทย 8 วัน เพื่อดูงานด้านเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตของประชากรและการศึกษา สนใจเรื่องอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และเรื่องปูนซีเมนต์ ได้หารือเรื่องการผลิตอาหารสัตว์และปูนซีเมนต์ นอกจากนี้ก็มีเรื่องสำนักพิมพ์ มณฑลนี้มีน้ำมันมากจึงกลั่นทำยางมะตอยได้ การร่วมมือเป็นไปได้สูงมาก คนจีนและคนไทยผูกพันกันมานาน มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกันที่จะสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ ได้พูดถึงประสบการณ์ที่ไปเมืองไทย

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 4 เฮยหลงเจียง หน้า 117

(น.117) รูป
(น.117) วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม
รับประทานอาหารเช้า ได้ยินว่าเมื่อคนนี้คณะนักเต้นรำทั้งหลายสนุกกันทั้งจีนและไทย คนที่เต้นมากที่สุดคือนายกเทศมนตรี เต้นกับคุณหลี่เฟิ่งจุนของเรานั่นเอง 8.30 น. ออกเดินทาง แต่แรกคิดว่าวันนี้อาจจะกลับฮาร์บินไม่ได้ เพราะเมื่อคืนนี้หิมะตกมาก ถ้าหิมะตกต่ออีกเครื่องบินขึ้นไม่ได้ ต้องกลับรถไฟ หรือไม่ก็ค้างเฮยเหออีกต่อไป ยังมีปัญหาต่อไปว่าเครื่องบินจากฮาร์บินไปฮ่องกงมีเพียงอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ข้าพเจ้าเองไม่ค่อยจะกลัวอะไรเพราะคิดว่ากลับรถไฟก็น่าจะจัดได้และนั่งต่อไปปักกิ่งขึ้นเครื่องกลับกรุงเทพฯ เลย ยังได้เที่ยวปักกิ่งอีก อย่างไรก็ตามเรื่องของดินฟ้าอากาศพวกนี้ไม่ได้อยู่ในความควบคุมของมนุษย์ เป็นอย่างไรก็เป็นกัน ปรากฏว่าอากาศดี แดดออกสว่าง หิมะก็ไม่ตก เปิดหน้าต่างได้อากาศบริสุทธิ์ทำให้ข้าพเจ้ามีความสุขขึ้นมาอีกแยะ

คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 6, 9

(น.6) รูป 5 นายกเทศมนตรี โจวรื่อฟางเลี้ยงที่โรงแรม

(น.6) อยู่ฮ่องกง ลูกคนหนึ่งไปอยู่มาเลเซีย ดูเหมือนว่าคนหนึ่งจะไปอยู่เมืองไทย แยกย้ายกันไปหมด บางคนพูดภาษาแต้จิ๋วไม่เป็นเสียด้วยซ้ำ คนแต้จิ๋วจากซัวเถาไปอยู่ต่างประเทศกว่า 10 ล้านคน ส่วนใหญ่ไปอยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองไทย) และสหรัฐอเมริกา ที่อื่นๆ เช่น แคนาดา ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย ภาษาแต้จิ๋วนี้แปลกคือ ประกอบด้วยอีกหลายสำเนียงย่อยที่ไม่เหมือนกันในแต่ละถิ่น และมีวัฒนธรรมต่างกัน จนต้องมีการรวบรวมพจนานุกรมและสารานุกรมแต้จิ๋ว

(น.9) เมื่อออกกำลังกายแล้ว ข้าพเจ้ายังอ่านหนังสือศึกษาเรื่องจีนและเรื่องฮ่องกงต่อได้โดยไม่มีผลของเหมาไถ การอ่านข้อมูลต่างๆ ที่ได้มาทำให้รู้ความเป็นมาของเมืองแต้จิ๋วที่เกี่ยวพันมาถึงนครซัวเถาและเมืองเจียหยางได้กระจ่างขึ้น เมืองแต้จิ๋วเป็นเมืองเก่าแก่ ตั้งขึ้นเมื่อประมาณศตวรรษที่ 3 เป็นเขตห่างไกลล้าหลัง ต่อมาในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 ตรงกับปลายราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420) ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางการปกครองแห่งหนึ่งในดินแดนตะวันออกเฉียงใต้ และมาเจริญรุ่งเรืองมากในราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) เมืองแต้จิ๋วได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามมณฑลกวางตุ้ง ซึ่งป็นมณฑลที่มีสภาพทำเลที่ตั้งที่เปิดกว้างต่อการติดต่อกับต่างประเทศ

(น.9) รูป 6 เรือมังกรที่มณฑลกวางตุ้งเตรียม เป็นของขวัญให้ฮ่องกง

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 18,19,20,21,22,23,24,25,26,27,28,29,30,31

(น.18) รูป 10 บ้านตระกูลหวั่งหลี

(น.19) รูป 11 ลวดลายไม้แกะสลัก

(น.19) เฉินสื่อหวางไปเปิดบริษัทหวั่งหลีที่กรุงเทพฯ ถือเป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท จากนั้นก็สร้างโรงสี ทำโพยก๊วน โกดังเก็บสินค้า ประกันภัย ทั้งที่ฮ่องกง ซัวเถา และที่กรุงเทพฯ ค.ศ. 1903 เฉินสื่อหวางกลับมาอยู่ที่เมืองจีนและสร้างบ้านหลังนี้ ลูกๆทำธุรกิจต่อทั้งในด้านการธนาคาร โรงสี กิจการสั่งเข้าและส่งออกสินค้าต่างๆ ปรัชญาการค้าของตระกูลใช้หลักการของขงจื๊อผสมกับหลักทางการค้า คือจะต้องสะสมทรัพย์ บริหารจัดการทรัพย์เพื่อส่วนรวม บริโภคทรัพย์ และแบ่งปันทรัพย์เพื่อช่วยเหลือคนอื่น บุคคลในตระกูลได้ทำสาธารณประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างโรงงเรียนประถมศึกษาโพ้นทะเลแห่งแรกเมื่อ ค.ศ.1912 ต่อจากนั้นก็สร้างอีกหลายโรงเรียนทั้งโรงเรียนประถมและมัธยม ช่วยบริจาคเงิน ส่งข้าวมาบรรเทาสาธารณภัย เช่น เมื่อเกิดอุทกภัยในซัวเถาเมื่อ ค.ศ.1922 เมื่อเกิดอัคคีภัย เกิดแผ่นดินไหวสมัยปลายราชวงศ์ชิง ยังช่วยสนับสนุนบ้านเมืองสมัยต่อต้านญี่ปุ่น สมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองได้ช่วยเรื่องอาวุธแก่องค์กรใต้ดินของคอมมิวนิสต์ก่อนปฏิวัติสำเร็จ สร้างหมู่บ้านสร้างบ้านตนเอง 3 แห่ง สร้างบ้านให้ผู้อื่น 246 แห่ง

(น.20) อาคารหลังที่เราดูมีส่วนที่เป็นจีนเรียกว่า ซื่อหม่าทัวเซอ หรือ ม้าสี่ 4 ตัว ลากรถ คือมีอาคารวางตามขวาง เป็นอาคารหลัก 4 หลัง มีอาคารเชื่อม มีประตูเข้า ไปนั่งที่รับรอง หลังคาไม่มีฝ้าเพดานปูพื้นด้วยโมเสกฝรั่งตั้งแต่ ค.ศ. 1930 กำนันมาต้อนรับ เลี้ยงลิ้นจี่แล้วอธิบายว่า ธุรกิจของบริษัทที่นี่คือ ธุรกิจประกันภัย และมีธุรกิจที่ถือว่าสำคัญมากคือการเดินเรือหัวแดง พวกที่มาทำงานเมืองไทยส่วนใหญ่จะโดยสารเรือชนิดนี้มา เขาว่าคนไหนขัดสนมากๆถึงกับไม่มีค่าโดยสารเรือ เจ้าของเรือก็จะให้โดยสารฟรี เขาไม่ได้พาชมทุกหลัง แต่พาขึ้นไปดาดฟ้าเพื่อชมวิว มีช่างภาพจีนยืนถ่ายรูปอยู่บนสันหลังคา น่าหวาดเสียวมาก มองจากดาดฟ้าเห็นเล้าห่านของชาวบ้าน เห็นจะเป็นห่านแบบนี้เองที่เรากินตีนมันเมื่อคืน ตัวมันโตจริงๆ เลี้ยงไว้เฝ้าบ้านท่าจะดี มองเห็นตึกแบบฝรั่งอยู่ข้างๆ ตึกทั้งหมดดูโทรมๆ เมื่อปฏิวัติเสร็จใหม่ๆ เห็นจะเป็นค่ายทหาร ที่กรอบประตูมีรูปท่านประธานเหมา ขณะนี้ไม่ทราบว่าใช้ทำอะไร ส่วนหนึ่งมีป้ายเขียนไว้ว่าเป็นที่ทำการกลุ่มสตรี ได้ทราบภายหลังว่ารัฐบาลคืนให้ทายาทเจ้าของเดิม แต่เจ้าของมอบไว้ให้ทางการจีนใช้ประโยชน์ต่อไป

(น.20) รูป 12 ช่างภาพจีนยืนถ่ายภาพอยู่บนหลังคา เห็นน่าหวาดเสียวดี จึงถ่ายไว้ดูเป็นที่ระลึก

(น.21) รูป 13 มองจากหลังคาบ้านหวั่งหลี เห็นฟาร์มห่านแบบที่เรารับประทานเมื่อคืนนี้

(น.21) ข้าพเจ้าไม่ได้เขียนละเอียดตามเอกสารที่เขาแจกทั้งหมด เกรงจะยาวยืดยาดเกินไป ผู้ที่สนใจหนังสือที่น่าอ่านมากชื่อเรื่อง ดุจนาวากลางสมุทร เรื่องของเวลาที่ผ่านไป ผู้เขียนคือ คุณหญิงจำนงศรี รัตนิน พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพคุณสุวิทย์ หวั่งหลี เป็นเรื่องประวัติของตระกูล เกี่ยวกับบ้านหลังนี้ และมีเรื่องเกี่ยวกับท่าเรือจางหลินด้วย ที่หมายที่สามคือ ท่าเรือโบราณจางหลิน ในสมัยก่อนขึ้นกับเมืองแต้จิ๋ว (ภาษาจีนกลางว่า เฉาโจว)

(น.22) รูป 14 บริเวณท่าเรือโบราณจางหลิน

(น.22) เข้าไปถึงเห็นเสาทำด้วยหินแกรนิตสีชมพู เขียนว่าท่าเรือโบราณจางหลิน (คนแต้จิ๋วอ่านว่า จึงลิ้ม) มีจารึกประวัติท่าเรือ ท่าเรือนี้ถือว่าเป็นท่าเรือที่เก่าแก่มากแห่งหนึ่งของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง มีความสำคัญทางการทหารและพาณิชย์เจริญรุ่งเรืองที่สุดสมัยราชวงศ์ชิง ในรัชสมัยจักรพรรดิเฉียนหลง (ค.ศ.1736-1796) ต่อมาถึงจักรพรรดิเจียชิ่งหรือเกียเข่ง (ค.ศ. 1796-1821) หรือประมาณ 200 ปีมาแล้ว หลังจากนั้นก็ค่อยๆเสื่อมไปเมื่อฝรั่งบังคับให้เปิดซัวเถา ความเจริญก็ย้ายไปทางนั้น ท่าเรือจางหลินนี้เดิมเป็นศูนย์กลางของเรือหัวแดงหรืออั้งเท้าจุ๊น ซึ่งเป็นเรือของมณฑลกวางตุ้ง (เรือของมณฑฝูเจี้ยนหรือฮกเกี้ยน จะทาสีเขียว) เส้นทางเดินเรือทางเหนือไปถึงต้าเหลียน เซี่ยงไฮ้ หนิงโป ส่วนทางใต้ไปอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทย เชื่อกันว่าพระราชบิดาของพระเจ้าตากสินก็ใช้ท่าเรือนี้เดินทางมาประเทศไทย สมัยก่อนเขาว่ากันว่าใช้เวลาประมาณเดือนหนึ่ง

(น.23) ผู้ที่จะเดินทางจะต้องกราบไหว้หมาจู่ เทพธิดาแห่งท้องทะเล ท่าเรือทุกแห่งจะมีศาลเจ้าหมาจู่ให้ผู้โดยสารกราบไหว้เพื่อขอพรให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ ในนิราศกวางตุ้งของนายมหานุภาพซึ่งเขียนในสมัยกรุงธนบุรี (พ.ศ. 2324) เรียกว่า พระหมาจอ คนเดินทางมักจะนำของกินเรียกว่า เตียมก๊วย เป็นขนมทำจากแป้งข้าวเหนียวคลุกน้ำตาลไปด้วย เก็บไว้ได้นานประมาณเดือนหนึ่ง เตียมก๊วยนี้คนไทยรู้จักกันดี เรียกกันว่า ขนมเข่ง เพราะสมัยก่อนใส่ในเข่งเล็กๆ เดิมท่าเรือแห่งนี้เป็นท่าเรือชายทะเล แต่ดินงอกเร็วและไม่มีการขุดลอก ปัจจุบันจึงกลายเป็นพื้นดินอยู่ห่างทะเลประมาณ 10 กิโลเมตร เหลือแต่คลองเล็กๆ ที่ยังเป็นน้ำ ดูไม่ออกว่าเป็นท่าเรือ เขาวางหุ่นจำลองว่าต่อไปจะปรับปรุงสถานที่นี้เป็นอย่างไร ดูคล้ายจะเป็นสวนสาธารณะ ไม่มีรูปเก่าหรือหุ่นจำลองว่าของเก่าเป็นอย่างไร

(น.23) รูป 15 หุ่นจำลองที่จะปรับปรุงสถานที่

(น.24) รูป 16 นั่งพักคุยกันใต้ต้นลำไย

(น.24) เมื่อดูหุ่นจำลองแล้วก็ไม่มีอะไรดูอีก คุณไฉก็เลยพาไปนั่งพักที่ใต้ต้นลำไยกำลังมีลูกอ่อนๆ ชวนกันดูต้นไม้ บรรยายเรื่องต้นทับทิมว่าเป็นไม้มงคล เวลาจะไปไหนให้หักกิ่งติดไปด้วย เคยได้ยินว่าดีเพราะเมล็ดมาก เป็นเครื่องหมายของการมีลูกมาก อุดมสมบูรณ์ดี คนจีนบางคนเวลาไปเผาศพกลับมาต้องล้างหน้าด้วยน้ำแช่ใบทับทิม

(น.24) รูป 17 ดอกเทียน

(น.25) นอกจากนั้นมีต้นโหระพา ใบงามดี สีค่อนข้างอ่อน ต้นเทียนซึ่งไม่ทราบว่าไปเอามาจากเมืองไทยหรือเปล่า เขาบอกว่าภาษาจีนเรียกว่า ต้นเล็บมือนาง แล้วก็คุยกันเรื่องใช้แป้งมาทำขนม คนแต้จิ๋วเรียกว่าก้วย (แต่คนที่ไม่รู้ภาษาแต้จิ๋วอย่างข้าพเจ้าเรียกว่าก๊วย เพราะฉะนั้นจะเขียนผิดตลอดเวลา ประเดี๋ยวเรียกก้วย ประเดี๋ยวเรียกก๊วย ขอให้ผู้อ่านทราบว่าเป็นของอย่างเดียวกัน) มีมากมายหลายอย่าง ที่นั่งนึกกันตอนนั้นก็เป็นสิบอย่าง นอกจากนั้นก็ชี้ชวนกันดูผีเสื้อ ดูนก ฟังเสียงจักจั่น อากาศค่อนข้างร้อน ข้าพเจ้าเกิดอยากเจี๊ยะเฉาก๊วย มีคนเดินออกไปไหนไม่ทราบ ครู่เดียวกลับมาบอกว่ากลางวันนี้ได้เจี๊ยะ ที่หมายที่ 4 คือ ศาลเจ้าของตระกูลเฉิน เล่ากันว่าศาลนี้เริ่มสร้างกันในปีที่ 49 แห่งรัชสมัยพระเจ้าเฉียนหลง แต่มาซ่อมครั้งสุดท้ายเมื่อสองปีมานี่เอง พวกคนตระกูลเฉินมักจะมาพบปะกัน ดูเหมือนจะมีสมาคมตระกูลเหมือนที่เมืองไทย เมื่อข้าพเจ้าไปถึงพวกเขาก็มารับ

(น.25) รูป 18 ศาลเจ้าตระกูลเฉิน

(น.26) รูป 19 ภายในศาลเจ้า

(น.26) ลักษณะก็เหมือนศาลเจ้าทั่วๆไป ป้ายชื่อศาลมี 2 ชื่อ ดูเหมือนว่าเดิมจะเป็น 2 ศาลแล้วมารวมกัน มีป้ายชื่อบรรพบุรุษวางบนแท่นบูชามีชื่อต้นตระกูล รุ่นที่ 2 รุ่นที่ 3 ยังไม่มีรุ่นที่ 4 สมาชิกตระกูลประกอบพิธีไหว้ประจำปีในวัน 12 ค่ำ เดือน 8 ต้องตั้งเครื่องเซ่น หมูและแพะทั้งตัว เมื่อเซ่นแล้ว คนอายุ 80 ปีขึ้นไปสังสรรค์กัน นอกจากนั้นยังบูชาเมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิและฤดูหนาว พวกคนตระกูลนี้ในประเทศจีนบริจาคปีละ 350,000 หยวน ส่วนคนในต่างประเทศส่งมาบริจาคปีละ 340,000 หยวน จากนั้นไปที่โรงแรม Shantou International นายเฉินชิวเฉานายกเทศมนตรีเมืองเท่งไฮ้มาต้อนรับ เขากล่าวว่าเท่งไฮ้กับไทย มีความสัมพันธ์กันมาช้านาน สถานที่ที่ข้าพเจ้าได้ไปเยี่ยมชมในวันนี้ก็ล้วนแต่เกี่ยวกับไทยทั้งสิ้น ร้อยกว่าปีมานี้มีคนจีนล่องเรือหัวแดงไปเมืองไทยมาก ปัจจุบันคนเมืองเท่งไฮ้ไปเป็นจีนโพ้นทะเลถึง 680,000 คน ที่เมืองไทยมีมากที่สุด ลูกหลานจีนได้อยู่เย็นเป็นสุขในเมืองไทย ที่ข้าพเจ้ามานี้ก็เหมือนญาติพี่น้องมาเยี่ยมกัน ขอเชิญให้มาเยี่ยมบ่อยๆ แล้วเชิญรับประทานอาหาร

(น.27) ระหว่างรับประทานอาหารเขาเล่าว่า เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ปีนี้ ได้ไปเมืองไทยเพื่อประชุมสมาคมชาวเท่งไฮ้ครบ 50 ปีและได้ถือโอกาศติดต่อธุรกิจเพื่อให้มีการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น ขั้นตอนการส่งเสริมของเขาคือ ก่อนที่จะไปก็จะลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ว่า จะไปประชุมที่ไทยและเวียดนาม เชิญนักข่าวมาให้สัมภาษณ์ว่าขณะนี้มีความเปลี่ยนแปลงการพัฒนาของจีนและของเมืองเท่งไฮ้ เชิญชวนบุคคลในสังคมมาร่วมช่วยกัน เมื่อไปแล้วก็เจรจาลงนามในสัญญาความร่วมมือต่างๆ ชี้แจงลู่ทางลงทุน ทางการจีนส่งเสริมการลงทุนโดยให้มีระยะปลอดภาษีการนำเข้าเครื่องจักร ขณะนี้มีโครงการผลิตจักรยานยนต์ พลาสติก อาหารสัตว์ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น เร็วๆ นี้จะมีการประชุมอีกอย่างหนึ่งคือ การประชุมชาวแต้จิ๋วทั่วโลก จำนวนคนแต้จิ๋วมีมาก แต่ละประเทศต้องส่งตัวแทนมา ก็มีจำนวนมากแล้ว พูดถึงคนจีนเท่งไฮ้ที่ไปอยู่เมืองไทยก็พูดภาษาไทยกันหมดแล้ว ในมณฑลกวางตุ้งนี้มีภาษาแต้จิ๋ว กวางตุ้ง และแคะ ส่วนมากก็จะพอฟังภาษากันออก วันนี้เขาเลี้ยงน้ำชาทิกวนอิมหรือเถี่ยกวนยิน (ชงแบบชากงฟู หรือที่แต้จิ๋วเรียกว่ากังฮูเต๊ นำมาให้จิบเป็นถ้วยตะไลเล็กๆตามเคย) อาหารมีหลายอย่าง เช่น ปลา หมู กุ้ง ปู เป๋าฮื้อขนาดเล็กหน่อย ผักปวยเล้ง ลูกหนำเลี้ยบ บวบ สมุนไพรหลายอย่าง เต้าหู้ปรุงพิเศษแบบแต้จิ๋ว ขนมก็มีหลายอย่าง ทั้งขนมผักกาด ขนมกุยช่าย มีเฉาก๊วยโรยน้ำตาลทรายแดงตามคำขอ ผลไม้ต่างๆ

(น.28) รูป 20 ท่าเรือซัวเถา ที่เห็นด้านซ้ายเป็นเรือที่จอดอยู่

(น.28) ตอนบ่ายที่หมายแรกเราไปท่าเรือซัวเถา ท่าเรือนี้นับว่าเป็นท่าเรือที่สำคัญด้านชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกวางตุ้ง เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในมณฑลกวางตุ้ง และมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) อยู่บริเวณปากแม่น้ำสามสายที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นศูนย์กลางด้านส่งออกและสั่งเข้า (export, import) เป็นหน้าต่างของเขตเศรษฐกิจพิเศษซัวเถา ท่าเรือแห่งนี้เริ่มขนส่งสินค้าตั้งแต่ ค.ศ. 1861 ในปัจจุบันมีท่าเทียบเรือขนาด 5,000 ตัน 15,000 ตัน 20,000 ตัน และ 35,000 ตัน สำหรับขนส่งผู้โดยสาร สินค้า และมีท่าเรือเฉพาะสำหรับขนส่งถ่านหิน รวม 24 ท่า ถ่านหินนี้สำหรับใช้ในโรงไฟฟ้าหัวหนาน (ขนาด 6 เมกกะวัตต์ มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เครื่อง) ที่อยู่ตรงอ่าวนี้ จุดจอดเรือนอกท่าอีก 17 จุด ขณะนี้มีความสามารถในการขนส่งสินค้าปีละ 8.6 ล้านเมตริกตัน (ปีที่แล้วรับได้ 8.3 ล้านเมตริกตัน) ผู้โดยสารปีละ 400,000 คน ถือเป็นท่าเรือใหญ่อันดับ 11 ของจีน (ข้อมูล ค.ศ. 1994) ติดต่อกับท่าเรือทั่วโลก 210 ท่าใน 47 ประเทศ ท่าเรือนี้มีโครงการขยายการก่อสร้างในระยะที่ 2 ให้เสร็จสิ้นใน ค.ศ. 2000

(น.29) ท่าเรือที่เราเข้าไปดูเป็นท่าเรือกลางที่จอดเรือขนาด 15,000 ตันได้ มีเรือรัสเซียชื่อ Stepan Kreshennikov จอดอยู่ มีปั้นจั่นยกของหนักได้ 40 ตัน นอกจากสร้างท่าเรือแล้วเขายังขยายแม่น้ำเข้าท่าเรือ เมื่อก่อนเรือเกิน 5,000 ตันเข้าไม่ได้ ปัจจุบันรับได้หลายหมื่นตัน เขาเตรียมสร้างทางรถไฟและถนนสายใหม่ หน้าอ่าวมีสะพานแขวนใหญ่ ยาว 2.5 กิโลเมตร กว้าง 460 เมตร เริ่มสร้าง ค.ศ. 1991 สร้างเสร็จ ค.ศ. 1995 ประธานาธิบดีเจียงเจ๋อหมินมาเปิดและเขียนลายมือเอาไว้ สะพานนี้เชื่อมแผ่นดินใหญ่กับเกาะหมาหยู่ ซึ่งเป็นที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของซัวเถา ตรงลานมีลวด เหล็กเส้น ตะกั่วแผ่น กองอยู่มาก ไม่ทราบว่าเป็นของเอาขึ้นจากเรือหรือกำลังจะลงเรือ ออกจากท่าเรือขึ้นสะพานวนมาเห็นรูปหมาจู่ขนาดใหญ่ 2 รอบ ตอนแรกรู้สึกมืดครึ้มเฉยๆ ต่อมาฝนตกฟ้าร้องประเดี๋ยวเดียวน้ำท่วมถนนตำรวจจราจรยังต้องถอดรองเท้า

(น.29) รูป 21 รูปหมาจู่บนเกาะ

(น.30) เราไปที่มหาวิทยาลัยซัวเถา อธิการบดีคือ ศาสตราจารย์จางเซียงหยู มหาวิทยาลัยแห่งนี้ถือว่าค่อนข้างจะใหม่ ได้รับอนุมัติให้ก่อตั้งใน ค.ศ. 1981 เปิดสอนใน ค.ศ. 1983 มีอาณาเขตประมาณตารางกิโลเมตรหนึ่ง เป้าหมายของการเปิดมหาวิทยาลัยแห่งนี้คือ การผลิตบุคคลากรเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าและการขยายตัวของซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง ในด้านเศรษฐกิจ เพื่อพัฒนาประเทศตามนโยบายสี่ทันสมัย เงินทุนในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนจากนายลีกาซิง นักธุรกิจชาวฮ่องกง เป็นเงิน 1,100 ล้านเหรียญฮ่องกง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเปิดสอนในระดับปริญญาตรี 18 สาขา ประกาศนียบัตร 17 สาขา แบ่งเป็น 6 คณะวิชาคือ
1. คณะศิลปศาสตร์ แบ่งเป็นภาคภาษาและวรรณคดีจีน และภาควิชาภาษาและวรรณคดีต่างประเทศ

(น.30) รูป 22 ในห้องประชุม มหาวิทยาลัยซัวเถา

(น.31) 2. คณะวิทยาศาสตร์ แบ่งเป็น ภาควิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาฟิสิกส์ ภาควิชาเคมี ภาควิชาชีววิทยา
3. คณะวิศวกรรมศาสตร์ แบ่งเป็น ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมโครงสร้าง ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล ภาควิชาวิศวกรรมออกแบบ
4.คณะนิติศาสตร์และธุรกิจ แบ่งเป็น ภาควิชากฎหมาย ภาควิชาเศรษฐศาสตร์
5.คณะแพทยศาสตร์ เป็นหลักสูตร 5 ปี
6.คณะการศึกษาผู้ใหญ่ นอกจากนี้ยังมีสถาบัน และศูนย์วิจัยอีก 15 แห่ง มหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิตไปแล้วกว่า 6,000 คน และเปิดอบรมบุคคลากรให้รัฐไปกว่า 1,000 คน ขณะนี้มีนักศึกษาประมาณ 5,000 คน และผู้เข้ารับการอบรม 626 คน มีนักเรียนจากต่างประเทศหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย สิงคโปร์ อเมริกา ออสเตรเลีย มาเลเซีย นอกจากนั้นยังมีที่มาจากฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน การเรียนการสอนเน้นด้านวิทยาศาสตร์ ได้เชิญอาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาสอน และส่งอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยไปศึกษาต่อ ฝึกอบรม และดูงานที่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เบลเยี่ยม ออสเตรเลีย และฮ่องกง ให้ไปร่วมประชุมสัมมนาระดับนานาชาติ ทำวิจัยร่วมกับนักวิชาการต่างประเทศ ปรัชญาในการศึกษาคือ จะต้องยึดหลักจริยธรรม ส่งเสริม

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 53

(น.53) ใหญ่ที่สุดของจีนตอนใต้ มีงานแสดงสินค้าส่งออกของจีนปีละ 2 ครั้งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1957 เมื่อไปถึงสนามบินมีนายหลูจงเหอ รองผู้ว่าราชการมณฑลมาต้อนรับ พาไปที่มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศและการค้าต่างประเทศกวางโจว ระหว่างทางได้ชมตัวเมืองกวางโจวซึ่งเป็นเมืองใหญ่ มีการก่อสร้างมาก มีแต่ตึกสูงๆ สร้างแทนตึกเก่าๆ ที่อยู่อาศัยก็ดูจะกลายเป็นคอนโดหรืออาคารสงเคราะห์ไปหมด ถนนหนทางมาก มีถนนให้คนเดิน ถนนจักรยาน ผู้คนมีจำนวนมาก แต่บ้านเมืองก็ดูสะอาดดี มีคนเก็บขยะแต่งชุดสีแดงคอยเก็บกวาด ในเมืองมีป้ายคำขวัญการคืนฮ่องกงตลอดทาง เมื่อไปถึงมหาวิทยาลัย อธิการบดีคือ ศาสตรจารย์หวงเจี้ยนหัวและคณาจารย์ต้อนรับ พาขึ้นไปที่ห้องรับแขก อาคารคณะภาษาตะวันออก ชั้นที่ 5 (เดินขึ้นไป) อธิการบดีแนะนำมหาวิทยาลัยว่ามหาวิทยาลัยนี้ขึ้นตรงกับมณฑลกวางตุ้ง ก่อตั้งเมื่อค.ศ. 1995 โดยการรวมมหาวิทยาลัย 2 แห่งคือ มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกวางโจว ซึ่งขึ้นกับกระทรวงศึกษาธิการ และมหาวิทยาลัยการค้าต่างประเทศกวางโจว ซึ่งขึ้นกับกระทรวงการคลังเข้าด้วยกัน มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศกวางโจวตั้งขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1965 ผู้ตั้งคือ นายกรัฐมนตรี โจวเอินไหล ตั้งแต่ ค.ศ. 1965-1995 มีนักศึกษาที่สำเร็จระดับอนุปริญญาและปริญญาตรีไปกว่า 9,000 คน ปริญญาโทและปริญญาเอกกว่า 200 คน รวมทั้งยังอบรมภาษาให้บุคคลภายนอกอีกกว่า 10,000 คน นับว่าเป็นศูนย์อบรมทางภาษาที่สำคัญ

คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 58,97,103,106,107,108,109,110,111
(น.58) วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน 2540
เช้านี้ลงไปที่ห้องอาหารพบกับอาจารย์อำพล พรรณเชษฐ์เลยชวนอาจารย์รับประทานอาหารเช้าด้วย อาจารย์มาที่มหาวิทยาลัยจงซานเพื่อมาปาฐกถาเกี่ยวกับจีนโพ้นทะเล อาจารย์เคยบรรยายหัวข้อนี้ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งมาแล้ว จากนี้อาจารย์จะไปฮ่องกงเพื่อสังเกตการณ์การคืนสู่เหย้า เวลา 08.30 น. เดินทางไปพิพิธภัณฑ์สุสานกษัตริย์หนานเยว่ริมแม่น้ำจูเจียง มีคนมารำมวยจีน คนที่ขับรถให้เราก็เป็นคนเดียวกับที่ขับให้ที่ซัวเถา แต้จิ๋ว เขาขับรถมาจากซัวเถา 5 ชั่วโมง มาถึงเมื่อคืนนี้ คนที่มานั่งด้วยเป็นรองนายกเทศมนตรีหญิงหวังโช่วชู รองฯ หวังเคยพบกับข้าพเจ้าหลายครั้งแล้ว ทั้งที่เมืองไทย ซึ่งเขาไปในนามสภาสตรีและสโมสรไลอ้อน (เขาแปลของเขาว่า สโมสรสิงโต) และที่กวางโจวเมื่อข้าพเจ้าเดินทางกลับจากการเดินทางตามเส้นทางสายแพรไหมเมื่อ 7 ปีมาแล้ว เขาบอกว่าเมื่อไปส่งข้าพเจ้าที่พิพิธภัณฑ์แล้วก็ต้องขอตัวตามข้าพเจ้าไปตลอดไม่ได้ เพราะจะต้องเป็นประธานเปิดรถไฟใต้ดิน คิดโครงการก็นานแล้ว สร้างก็อีกนาน เพิ่งใช้ได้เพียงส่วนเดียว ยังต้องสร้างต่อไป พิพิธภัณฑ์นี้สร้างครอบสุสานจริงๆ เอาไว้ สร้างด้วยปูนทาสีอิฐ ขุดพบสุสานนี้เมื่อ ค.ศ. 1983 เมื่อจะสร้างอาคารที่อยู่อาศัย นักโบราณคดีมาศึกษาดู พบข้าวของจำนวนมาก สันนิษฐานว่าเป็นที่ฝังพระศพพระเจ้าแผ่นดินแคว้นหนานเยว่

(น.97)กระดาษปั้นเป็นรูป ที่เรียกว่า papier mache ทำเป็นหัวสิงโตขนาดต่างๆ วางของสำเร็จรูปไว้ในห้องเดียวกัน มีคนกำลังขึ้นโครงโคมไฟ และรูปต่างๆ โครงทำด้วยไม้ไผ่สานบ้างหรือเป็นลวดพันหุ้มผ้าขาว เห็นจะกันสนิม เขาบอกว่างานฉลองฮ่องกงกลับคืนสู่จีนครั้งนี้จะมีการเชิดสิงโต และต้องใช้โคมไฟเป็นจำนวนมาก สิงโตและโคมไฟที่ใช้ในงานส่วนใหญ่มาจากศูนย์นี้ เขาว่าจะทำมังกรยาวสามกิโลเมตรครึ่ง การตัดกระดาษเป็นลายแบบจีนเป็นศิลปะโบราณ ใช้เครื่องมือต่างๆ กัน เช่น ใช้กรรไกรตัด ใช้มีดตัด (คล้ายๆ กับคัตเตอร์) และใช้เครื่องมือสลักที่เราเรียกว่าตุ๊ดตู่ เราใช้แกะหนังใหญ่ หนังตะลุงไม่ทราบว่าจีนเรียกว่าอะไร ถ้าใช้มีดตัดหรือใช้ตุ๊ดตู่ต้องมีแผ่นรองตัดทำด้วยขี้ผึ้งหรือชัน มีทั้งที่ทำอย่างละเอียดและใหญ่ๆ หยาบๆ ส่วนมากทำเป็นรูปสัตว์ รูปนางฟ้า รูปวิว ที่เห็นใหญ่ที่สุดเป็นรูปจากวรรณคดีจีนเรื่อง หงโหลวเมิ่ง (ความฝันในหอแดง) ฉลุแล้วทาทองใส่กรอบมองเหมือนลายรดน้ำ


(น.97) รูป 103 ช่างตัดกระดาษ


รูป 104 รูปกระดาษตัดเป็นเรื่องความฝันในหอแดง


(น.103) รูป 108 นิทรรศการที่แสดงในสำนักงานชลประทาน

Next >>