Please wait...

<< Back

ความฝันในหอแดง

ประเภทคำ

วรรณคดีจีน

คำอธิบายเพิ่มเติม

จากหนังสือ

แกะรอยโสม
แกะรอยโสม หน้า 110,111

ข้าพเจ้าก็พูดว่าเที่ยวนี้ข้าพเจ้ามาเพราะมีราชการที่เกาหลี แต่อยากมาเยี่ยมเพื่อนๆ ที่จีนและรัฐบาลจีนก็ต้อนรับ รู้สึกเกรงใจมาก แต่ก็ยินดี ท่านบอกว่าไปเกาหลีก็จะเห็นอะไรหลายๆ อย่างที่คล้ายจีน ก็เขียนหนังสือก็มีตัวจีนปน คนเกาหลีนิยมวรรณคดีของจีน เช่นเรื่องสามก๊ก ซ้องกั๋ง และหงโหลวเมิ่ง (ความฝันในหอแดง) ข้าพเจ้าว่าเรื่องพวกนี้เป็นที่นิยมทั่วโลก เมื่อเร็วๆ นี้ยังมีเพื่อนที่อยู่สหรัฐอัดวีดีโอเรื่องหงโหลวเมิ่งส่งมาให้ (น.110) ท่านบอกว่าพูดถึงเรื่องหงโหลวเมิ่ง ท่านคิดว่าข้าพเจ้าควรจะอ่านให้จบ เพราะมีเรื่องราวอันเป็นความรู้ที่มีประโยชน์ ข้าพเจ้าก็อ่านภาษาอังกฤษได้มิใช่หรือ เรื่องนี้มีคนแปลหลายคน แต่ที่ท่านคิดว่าแปลได้ครบถ้วนที่สุดคือของท่านศาสตราจารย์ หยางเซี่ยนอี (น.111)

เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 2 เหลียวหนิง
เกล็ดหิมะในสายหมอก เล่ม 2 เหลียวหนิง หน้า 3

(น.33) เจอสุสานของสตรีสูงศักดิ์ ทำเป็นรูปบ้านคน ศพใส่โลงหิน ของที่ใส่ในสุสานหลายอย่างไม่ใช่ของในท้องถิ่น เป็นของมาจากทางใต้ มีภาชนะเคลือบขาวสมัยราชวงศ์ซ้อง (ถ้าไม่บอกว่าเป็นของเก่าก็ดูไม่ออก คิดว่าเป็นชามก๋วยเตี๋ยวยุคปัจจุบัน) หมากรุกโบราณเรียกว่าชวงลู่ เข้าใจว่าเป็นอย่างเดียวกับที่มีบรรยายไว้ในวรรณคดีเรื่องหงโหลวเมิ่ง เครื่องเขิน ผู้ตายสวมเสื้อไหมปักทองซ้อนกันหลายชั้น มีเครื่องประดับม้า มีม้วนภาพเขียน ของทำด้วยแก้วโมรา

คืนถิ่นจีนใหญ่
คืนถิ่นจีนใหญ่ หน้า 97

การตัดกระดาษเป็นลายแบบจีนเป็นศิลปะโบราณ ใช้เครื่องมือต่างๆ กัน เช่น ใช้กรรไกรตัด ใช้มีดตัด (คล้ายๆ กับคัตเตอร์) และใช้เครื่องมือสลักที่เราเรียกว่าตุ๊ดตู่ เราใช้แกะหนังใหญ่ หนังตะลุงไม่ทราบว่าจีนเรียกว่าอะไร ถ้าใช้มีดตัดหรือใช้ตุ๊ดตู่ต้องมีแผ่นรองตัดทำด้วยขี้ผึ้งหรือชัน มีทั้งที่ทำอย่างละเอียดและใหญ่ๆ หยาบๆ ส่วนมากทำเป็นรูปสัตว์ รูปนางฟ้า รูปวิว ที่เห็นใหญ่ที่สุดเป็นรูปจากวรรณคดีจีนเรื่อง หงโหลวเมิ่ง (ความฝันในหอแดง) ฉลุแล้วทาทองใส่กรอบมองเหมือนลายรดน้ำ

เจียงหนานแสนงาม
เจียงหนานแสนงาม หน้า 168

ท่านนายกเทศมนตรีให้ของขวัญเป็นหนังสือนวนิยาย พิมพ์โดยใช้เทคนิคการพิมพ์ด้วยแม่พิมพ์ไม้อย่างโบราณ มี 4 เรื่องคือ ซ้องกั๋ง สามก๊ก ไซอิ๋ว และหงโหลวเมิ่ง (ความฝันในหอแดง)

เจียงหนานแสนงาม หน้า 316

ไปบ้านเกิดท่านหลู่ซวิ่น (หลู่ซุ่น) ท่านเกิดที่บ้านนี้เมื่อวันที่ 25 กันยายน ค.ศ. 1881 ท่านมีชื่อเดิมว่า โจวซู่เหริน ใช้นามปากกาในการเขียนหนังสือว่า หลู่ซวิ่น แซ่หลู่เป็นแซ่ของมารดา นามปากกา “หลู่ซวิ่น” เป็นที่รู้จักกันดี จนเรียกขานท่านในชื่อนี้ มิได้เรียกชื่อเดิม ท่านอยู่ที่บ้านนี้จนอายุ 18 ปี จึงออกไปเรียนหนังสือ เมื่อกลับมาอยู่เมืองเซ่าซิงอีกก็มาอยู่ที่นี่ บ้านหลังนี้เป็นตัวอย่างของบ้านคนเซ่าซิงที่มีฐานะดีปานกลาง โจวสงจั้น (ค.ศ. 1742 – 1821) ได้ซื้อที่ดินและปลูกบ้านระหว่างรัชสมัยจักรพรรดิเจียชิ่ง (ค.ศ. 1796 – 1820 เมื่อครอบครัวตกอับใน ค.ศ. 1918 คนในตระกูลตกลงขายสวนหลังบ้าน (ไป๋เฉ่าหยวน) และอาคารด้านหลังให้เพื่อนบ้านแซ่จู หลังสมัยปลดปล่อย รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนจ่ายงบประมาณเป็นค่าซ่อมแซมบ้านหลังนี้ รวมทั้งขอซื้อคืนเครื่องเรือนและสิ่งของเครื่องใช้ที่เคยอยู่ในบ้านหลังนี้มาจัดแสดงเป็นที่ระลึกถึงหลู่ซวิ่น และเป็นที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เมื่อเข้าประตูบ้าน ผ่านลานโล่ง มีเกี้ยวและพายที่ครอบครัวเคยใช้ มีลานโล่งระหว่างอาคาร มีต้นไม้ดอกติงเซียงออกดอกม่วงหรือขาว มีอาคารเสี่ยวเค่อถังที่ครอบครัวใช้เป็นที่รับแขก

(น. 316) รูป 216 ห้องแม่ (น. 316)รับประทานอาหาร และเขียนหนังสือ มีห้องนอนของหลู่ซวิ่นตอนที่เขากลับมาอีกครั้งหนึ่ง ห้องนอนของคุณแม่ เตียงที่คุณแม่นอน มีรูปถ่ายของคุณแม่แขวนอยู่ คุณแม่เป็นคนฉลาดถึงแม้จะไม่มีโอกาสเข้าโรงเรียนแต่ก็ศึกษาด้วยตนเองจนสามารถอ่านหนังสือ หงโหลวเมิ่ง (ความฝันในหอแดง) ได้ ในห้องนี้มีรูปเขียนน้องชายของหลู่ซวิ่นที่เสียชีวิตเมื่ออายุ 6 ปี ของที่วางในห้องมีเตารีดแบบโบราณ เครื่องมือเย็บผ้า

มุ่งไกลในรอยทราย
มุ่งไกลในรอยทราย หน้า 6

เมื่อถึงที่พักบ้านรับรองเตี้ยวหยูวไถ ไปที่ตึกหมายเลข 7 ไม่ใช่ตึกเดิมที่เคยพักเมื่อ พ.ศ.2524 ห้องพักจัดอย่างสวยงามทันสมัย เป็นห้องชุดมีห้องนอน ห้องทำงาน ห้องรับแขก มีหนังสือมากมายที่ใช้เป็นหนังสืออ้างอิงได้ เช่น เรื่องหงโหลวเมิ่ง หรือความฝันในหอแดง ไซอิ๋ว คลองใหญ่ (Grand Canal) เรื่องของหลู่ซุ่น นิทานสั้น ๆ เช่นเรื่องนางพญางูขาว รวมบทกวีของไป๋จู่อี้ เรื่องกองทัพของจิ๋นซีฮ่องเต้ หนังสือเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก
เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 62

คุณหวังเหมิงให้หนังสือเกี่ยวกับกวีสมัยราชวงศ์ถังชื่อ หลี่ซังอิ่น และหนังสือวิจารณ์วรรณคดีเรื่อง หงโหลวเมิ่ง หรือความฝันในหอแดง นอกจากท่านจะเป็นนักเขียนนวนิยายและบทความแล้ว ยังเป็นนักค้นคว้าและวิจัย (หรือจะเรียกว่าวิจารณ์) วรรณคดีโบราณ สำหรับกวีราชวงศ์ถังนั้นท่านสนใจศึกษากวีหลี่ซังอิ่นเป็นพิเศษ เพราะมีเรื่องที่ยังต้องศึกษาอีกมาก นักค้นคว้าวิจัยวรรณคดีก็ยังมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน

เมื่อข้าพเจ้าเป็นนักเรียนนอก หน้า 85

นอกจากศึกษาโบราณคดีแล้ว ยังศึกษาวรรณกรรมโบราณและกวีโบราณด้วย ตั้งแต่ชวีหยวน โจโฉ หลี่ไป๋ ตู้ฝู่ และเฉินตวนเซิง (ค.ศ.1751 – ประมาณ ค.ศ.1796) กวีหญิงในราชวงศ์ชิงผู้ประพันธ์ถานฉือ (บทขับ) ชื่อ ไจ้เซิงหยวน กัวมั่วรั่ววิจารณ์ว่า วรรณกรรมเรื่องนี้ดีกว่า หงโหลวเมิ่ง (ความฝันในหอแดง) เสียอีก คำวิจารณ์ของกัวมั่วรั่ว ทำให้ข้าพเจ้าสนใจ ได้ค้นข้อมูลเพิ่มเติมและเรียบเรียงไว้ในภาคผนวก

เย็นสบายชายน้ำ
เย็นสบายชายน้ำ หน้า 238

ยอดท้อสวรรค์ เขาว่ากองถ่ายภาพยนตร์เรื่อง ความฝันในหอแดง ก็มาถ่ายที่นี่ หัวสิงโต หน้าโรงแรมมีเขาห้ายอด เรียกว่า เขาที่วางพู่กัน

หวงเหออู่อารยธรรม
หวงเหออู่อารยธรรม หน้า 68

งาช้างสลักตามเรื่องในนวนิยายหงโหลวเมิ่ง (ความฝันในหอแดง) และเรื่องโป๊ยเซียนข้ามสมุทร สมัยราชวงศ์ชิง